Saturday, December 28, 2013

พุทธศาสนาและแนวคิดปรัชญาตะวันตก

ไปเจอบทความของ Heinrich Dumoulin เขียนเมื่อ ๓๒ ปีก่อน ในหัวข้อ
Buddhism and nineteenth-century German philosphy.

ผมชอบมาก จึงตัดสินใจแปลเป็นภาษาไทย แรกกะว่าเอาไว้อ่านเองเป็นหลัก
เรื่อง พุทธศาสนากับนักปรัชญาเยอรมันสมัยศตวรรษที่ ๑๙
ในบทความดังกล่าวของเขา เขาพูดถึง นักปรัชญา ๔ คนคือ คานท์ เฮเกล โชเปนเฮาเออร์ และ นีทเช่อ

อยากแบ่งปันคนอื่นบ้าง เพราะว่าอาจหาอ่านยาก
แก้ไขสำนวนแปลตัวเองหลายรอบแล้ว คิดว่าดีพอใช้แล้ว แต่ที่ไม่ได้ใช้สำนวนไทยแท้ ยังเสมือนติดกลิ่นนมกลิ่นเนยอยู่ เพราะอยากเก็บรูปแบบของต้นฉบับเอาไว้ เป็นประโยชน์ให้คนไทยคุ้นกับสำนวนฝรั่งในบทความทางปรัชญา

ร่างคำแปลมีอัพโหลดอยู่ที่นี่ เป็นเอกสาร pdf ใครสนใจเชิญลองอ่านดูได้ เผื่อเป็นประโยชน์

Note: This blog points to my translation of the said article into Thai language.

Wednesday, December 25, 2013

Will the upcoming election in February 2014 fail ?

I just checked out a Thai newspaper website (Naewna) and found an interesting statistics about the upcoming Thailand's general election due February 2014. This is not scientific, since the number of voted people was small (only over 2100 as of today), and population of people on the web does not represent well the majority of offline people. Also that statistics came from a newspaper aligned with the opposition view, and the figure likely represents the current political mood in Thailand today.

Anyway, the statistics showed that (perhaps among people with opposition view), the majority would go to the ballot station but choose nobody (48% vote No, in green), a significant number of people would not go to the ballot at all (40% absent, in red). Small number of people would go, but would make the ballot invalid one way or another (6% to make ballot invalid, blue), the smallest number of people would go and vote (5%, beige)

If the current statistics is any indication, the election result will not solve any political problem. Clearly political reforms are needed before an effective election can be held.

Here is the graphic (as of December 25, 2013).


For latest statistics, try this link



Saturday, December 14, 2013

หลักธรรมล้ำลึกของพุทธศาสนา

หากมีผู้ใฝ่ในธรรม อยากรู้หลักปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงธรรมในระดับลึกสุดของพุทธศาสนา ผมขอแนะนำว่าท่านควรดู การบรรยายธรรมของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช (ในคลิปตอนที่ ๔) แสดงที่ บ้านจิตสบาย ตั้งแต่เมื่อปี ๒๕๕๔ ที่ฝังไว้ข้างล่างนี้ หรือว่า อยากจะย้อนไปดูตั้งแต่คลิปที่ ๑ ด้วยก็ตามแต่



ผมขอกราบนมัสการระลึกถึงในพระคุณของ หลวงพ่อฯ ซึ่งผมเคารพเป็นครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งของผม ที่ทำให้ผมได้มีโอกาสก้าวหน้าในทางธรรมมาจนถึงจุดนี้ได้

และ ขอขอบคุณเจ้าของคลิป ที่ผมฝังไว้ในโพสต์นี้ด้วยครับ




Friday, December 13, 2013

ความเป็นเอกลักษณ์ของปัจเจกที่หายไปด้วยฝีมือองค์กรของรัฐ

ไม่กี่วันก่อน ผมไปพักผ่อนที่ ดอยอ่างขาง กับครอบครัว
น่าสนใจที่เผอิญพบว่า ที่นั่นก็มี โรงเรียนเทพศิรินทร์ ด้วยแฮะ มาแบบนี้อีกแล้ว
แต่ที่ผมประหลาดใจกว่า คือ เช้าวันรุ่งขึ้น ก่อนเวลาโรงเรียนเข้า เขาเปิดเพลงเชียร์ มาร์ชชมพูฟ้า ของสวนกุหลาบวิทยาลัย ออกลำโพงลั่นไปทั้งหุบเขา ได้ยินไปถึงโรงแรมผมที่อยู่บนเขา !  อ้าว เทพศิรินทร์ สีเขียวเหลืองนี่นา ? เปิดทำไม โรงเรียนสาขาอยู่ใน หรือรู้จักจตุรมิตรด้วยหรือ ? การ implement อะไรมันจะวุ่นวายปนเปกันอย่างนั้น !

ผมเขียนบันทึกนี้ด้วยความเห็นหลายๆ อย่างที่ปนๆ กันอยู่ แต่ที่ต้องพูดให้ชัดก่อนคือ ผมไม่ได้รู้สึกว่า เป็นเจ้าเข้าเจ้าของสถาบัน หรือยึดมั่นถือมั่นอะไร ผมปฏิบัติธรรมมามาก แม้ผมเป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย การได้ยินเพลงโปรดที่สมัยเมื่อ สี่สิบกว่าปีก่อนได้ยินทุกเช้าก่อนเดินแถวเข้าห้องเรียนสมัยมัธยม ที่สวนกุหลาบวิทยาลัย ถนนตรีเพชร ย้อนนำความฮึกเหิมเล็กน้อยกลับมา ผมรู้สึกรื่นเริงที่ได้ฟังเพลงนั้น แต่ความคิดที่เกิดขึ้นวันนั้นมันปนๆ กันอยู่ ไม่ทราบว่าจะเขียนออกมาได้ครบถ้วนกระบวนความหรือไม่ และคนอ่านจะเข้าใจเจตนาผมได้ถูกต้องหรือไม่

แรกที่เดียว ผมอยากจะพูดในเรื่องหนึ่งที่คนไทยดูจะไม่เคยกล้าพูดกันมาเลยหลายสิบปีมาแล้ว คือเรื่องที่กระทรวงศึกษาถือสิทธิ์ไปสร้าง franchise โรงเรียนดังหลายๆ แห่งในกรุงเทพฯ ด้วยการไปเปิดสาขาโรงเรียนต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ เอง และ ที่ต่างจังหวัด ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สวนกุหลาบ สตรีวิทย์ เตรียมอุดม เทพศิรินทร์ ฯลฯ

ผมไม่อยากจะตำหนินโยบายในอดีตว่า บางโรงเรียนเขาเป็นโรงเรียนพระราชทาน ที่ในหลวงองค์ก่อนๆ พระราชทานนามมา สัญญลักษณ์สถาบันก็อีก บางโรงเรียนท่านก็เสด็จมาเปิดเองเลย เป็นโรงเรียนของท่าน ไม่ทราบว่าในยุคที่เริ่มเปิดโรงเรียนชื่อเหมือนนั้น มีใครเคยขอพระราชทาน พระราชานุญาตกันหรือเปล่า หรือว่าทำโดยถือสิทธิว่าเป็นหน่วยราชการจะทำอะไรก็ได้ เอาละ เวลาก็ผ่านมาเป็นสิบๆ ปีแล้ว ป่วยการจะไปฟื้นฝอยหาตะเข็บ ประเด็นนี้ก็พับไป

แต่ผมว่าประเด็นหลักที่สำคัญกว่า คือ ตอนนี้ผมอยากรู้ว่า เท่าที่ผ่านมาหลายสิบปีนั้น กระทรวงศึกษาเพียงแค่เอาชื่อ franchise นั้นไปหลอกชาวบ้านทั่วประเทศหรือเปล่า มาตราฐานของโรงเรียน(น้อง)ในต่างจังหวัด ทำได้ดีเหมือนโรงเรียนหลักหรือเปล่า ผมว่านี่เป็นเรื่องซีเรียส คนไทยติดแบรนด์กันมาก สุดท้ายกระทรวงฯ ดูเหมือนว่าต้องตกกระไดพลอยโจนหลอกชาวบ้าน และชาวไทยก็ดูเหมือนจะทำเป็นลืมๆ ไปเหมือนกัน ที่ลูกหลานตัวเองไปเข้าโรงเรียน"สาขาในเครือ" ต่างๆ นั้น ทั้งๆ ที่เป็นแค่โรงเรียนชื่อเหมือน (นี่ยังไม่ได้ยืดประเด็นไปถึงมหาวิทยาลัยสาขานะ)

นอกจากมาตราฐานการศึกษาพอจะเป็นสิ่งที่พอจะจับต้องได้ และตรวจสอบได้แล้ว หากต้องการตรวจ (แต่ผลเป็นอย่างไรนั้น สาธารณชนไม่เคยรับทราบ ไม่เคยมีการประชาสัมพันธ์) มันยังมีเรื่องอื่นอีก ซึ่งก็สำคัญ แต่เป็นเรื่องเชิงนามธรรม แง่ความรู้สึก "จิตวิญญาณ" ประเพณี ความผูกพัน การบ่มเพาะสปริต ความรักเกียรติของสถาบันและชื่อเสียงของโรงเรียน เคารพรักครูเก่าๆ (ความรักนี้เป็นเรื่องของศักดิ์ศรีและความดี ดังนั้นจึงไม่มีเหตุการณ์นักเรียนไปตีกันเหมือนพวกโรงเรียนอาชีวะ ที่เปลี่ยนแค่ชื่อมาเป็นวิทยาลัยบางแห่ง) ความผูกพันของศิษย์เก่าที่แวะเวียนมาช่วยเหลือ ความภูมิใจที่ไม่เสื่อมคลายแม้ผ่านไปหลายสิบปีแล้ว ความผูกพันที่บางครอบครัวเรียนโรงเรียนหนึ่ง กับครูประจำชั้นคนเดียวกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อจนถึงรุ่นลูก ผมอยากจะเชื่อว่า โรงเรียนที่ชื่อเหมือนโรงเรียนต้นแบบนั้น คงทำประเด็นนี้ไม่ได้ อาจจะพยายามทำแต่คงทำไม่ได้เหมือน

ส่วนผลกระทบของคนในสังคมส่วนหนึ่งที่เขาเป็นศิษย์เก่าสถาบันต้นแบบ ก็ไม่เคยมีใครกล้าพูดมาก่อน
ผมอาจจะยกอุปลักษณ์ หรือ อุปไมย (metaphore) หน่อยก็ได้ ในรูปแบบของคำถาม ที่สถานการณ์คล้ายๆ กันว่า คุณจะรู้สึกอย่างไรถ้าวันหนึ่งไปเจอใครก็ไม่รู้ที่ต่างถิ่น มีชื่อเดียวกัน นามสกุลเดียวกัน กับญาติผู้ใหญ่ของคุณ แล้วไปทำเรื่องเสียหายขึ้นมา ? (ต้องบอกก่อนว่า กรณีอุปไมยนี้เป็นเรื่องจริง มีมาแล้วกับผม ประสบการณ์ที่เจอ จึงไม่ใช่เรื่องตลก)

เมื่อเร็วๆ นี้ ผมอ่านบทความเกี่ยวกับ นีทเช่ เขาพูดประมาณว่า  "รัฐทำให้ความเป็นปัจเจกสูญหายไป" ผมเริ่มเห็นด้วยกับเขา ผมรู้สึกว่า การทำ franchise สถาบันการศึกษาขึ้นมานี้ เป็นแค่นโยบายลูบหน้าปะจมูก ซึ่งทำลายเอกลักษณ์ของแต่ละสถาบัน ทำลายความเป็นปัจเจกของแต่ละหน่วยย่อยที่ดีงามของสังคม ให้ทุกอย่างดูเหมือนว่าดี(หรือเลว)เท่าๆ กัน แบบมีความเสมอภาคกัน ตอนนี้ในใจผมตั้งคำถามว่า ที่ทำไปแล้วในอดีต มันถูกต้องดีแล้วหรือ ที่หน่วยงานรัฐทำ mass franchise  ดูเหมือนว่าตั้งใจหลอกคนในสังคม ผลลัพท์คือเป็นการทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสิ่งที่ดีงามหายไปหมด จะดีกว่าไหม ถ้าหากในอนาคต หันมาส่งเสริมให้แต่ละแห่งแต่ละที่มีความเป็นเอกลักษณ์ความดีของตัวเอง และให้เขาบ่มเพาะเอกลักษณ์เฉพาะตัวของตัวเองขึ้นมา บ่มเพาะความเป็นเลิศขึ้นมา สั่งสมประเพณีที่ดีงามขึ้นมา ทำไมต้อง mass production สถาบันการศึกษาอย่างกับโรงงานอุตสาหกรรม หรือภัตตาคารแดกด่วน (แต่ทำไม่ได้มาตราฐานเดียวกันเป๊ะแบบภาคธุรกิจ) หรืออย่างกับหลักสูตร ที่เลวเท่ากันหมด ... (เอ้อ เรื่องนี้เอาไว้ก่อน)

จบแค่นี้ก่อนดีกว่า