Saturday, May 31, 2008

ถ้ามีภัยควรจะทำตัวอย่างไร

ไปเจอบทความของไทม์ น่าสนใจ ให้ประโยชน์มาก ใครอยากเตรียมใจไว้รับอันตรายในกาลข้างหน้าอย่างฉลาด เพิ่มโอกาสรอดชีวิตจากอุบัติภัย ที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดฝัน อ่านบทความดูได้จากลิงก์ข้างบน

Thursday, May 29, 2008

ไปพักสมองต่างประเทศ (ตอน ๖) ปารีส

รูปถ่ายหน้าพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (Louvre) ยามค่ำ ประมาณสามทุ่ม ก่อนจะปิด


ไปพักสมองต่างประเทศ (ตอน ๕) ปารีส




แวะดูพิพิธภัณฑ์ Musee D'Orsay เป็นแห่งแรก ผมตั้งใจไปดูภาพเขียนของพวกศิลปิน impressionists โดยเฉพาะ Renoir, Degas, etc. ซึ่งไม่มีที่ลูฟร์ แต่ไม่ได้ถ่ายรูปพวกนั้นมา รู้สึกดูแล้วที่มีอยู่ที่นี่ไม่ประทับใจมากเท่าที่คาดหวังก่อนมา รูปสวยๆที่ผมเคยเห็นไปดูเหมือนจะไปอยู่ที่อเมริกาเสียมากกว่า ถ้าจำไม่ผิดเคยเห็นที่สมิทธโซเนียน ที่ วอชิงตันดีซี ก็เลยถ่ายเก็บแต่รูปพวกปั้น หล่อ มาแทน



Wednesday, May 28, 2008

Global warming and wind mills to generate electricity

Europeans are now more concerned about global warming and its impact to their lives. They saw in their eyes that they had less snow last winter. My French friend recently asked me if Thai people are aware of the global warming issue. I replied to him "yes", although knowing that perhaps the wider population might not have realized its impact to their lives in the near future yet. My friend then recommended a book for me to read, "Plan B" by Lester Brown. He and a colleague have just translated it into French. Since I can not read his French version I had to resort to an (older but free) English version on the web. I will be checking the content out on the web link below :-

http://www.earth-policy.org/Books/PlanB_contents.htm

The web version is the 2003 version of manuscript while the latest paper published version of 2008 is third edition.

Another link below is to an interesting article by Time magazine on an interview with Lester Brown, and his proposal to save the earth. Very good reading.

http://www.time.com/time/health/article/0,8599,1700189,00.html

When I was riding TGV in France, I saw a lot of gigantic wind mills in the fields to generate electricity in various locations (They are not seen in the picture below though). A year ago, I heard a someone in Thailand mentioned that electricity generation by wind mills was not yet economically feasible in Thailand. Now that the price of oil is sky rocketting, I have a feeling that it is now a possible option. I wished someone in this present Samak government of Thailand would do something good once for the country in this regard. Also I believe that Thailand 's all diesel trains should be replaced into electricity ones, not only that action will reduce carbon dioxide emission to help slowing down global warming and improving the air quality, it will save foreign exchange money to buy fuel as well. Perhaps my wish is just unrealistic: I wished I were wrong. However, this issue can not wait.

Statistics on Thailand 's e-commerce

I just read current (paper) issue of Matichon Weekend (issue 1449 for 23-29 May B.E. 2551, 2008) in order to catch up the missing news while I went abroad last week. Apart from political news, I found one small news on p. 19 which catched my interest and thus worth blogging here. Below is my own summary in English from a long Thai text, with numerical figures rounded-off.

The news said that Thailand Statistics Office has just released result of its e-mail survey on Thailand e-Commerce for the year B.E. 2549 (i.e. 2006) which had 39,500 e-commerce licenses (as of that year). Only just over 1,500 of the replied surveys were complete and thus processed for analysis. They estimated that, the market size of e-commerce for 2006 was over 305 billion Bahts. Over 73% of Thailand e-biz operators were small SMEs with less than 5 employees and 83 % of the e-biz were B2C type. Out of the 305 billion Baht market size, 58 % or over 176 billion Baht were activities due to Thai Government procurements via e-auctions. Only about 37 billion Baht were attributed to sales to foreign customers.

ไปพักสมองต่างประเทศ (ตอน ๔) ปารีส




A day after arriving in Paris, we went to Versailles to take a peek at the grand chateau. I had long heard of this place in Thai history when King Narai the Great of Ayutthaya Kingdom sent his envoys and Louis XIV received them there.

ไปพักสมองต่างประเทศ (ตอน ๓) ปารีส




These are pictures of Eiffel tower I took in the evening. We did not bother to go up due to long lines of tourists and we were tired after arriving Paris via TGV late afternoon due to a (partial) strike of railway workers so we had to shift to a new train in the afternoon. Luckily, I had monitored news from France via Google 's news so I knew it in advance about the pending strike just few hours before my departure to France and my French friend helped me rebooking & getting new tickets for the TGV.
Perhaps in the future trip I 'd go up.

Monday, May 26, 2008

From Grenoble to Paris via TGV

From Southeastern France we arrive Paris 's Gare de Lyon via TGV. Here is a picture of our arrived train and the clock tower at the front of the station. The next picture shows the first place we visited in Paris via subway.



Christian forest monastery near Grenoble

It 's been a while since I have not posted in English. So this one is just for a change.

It 's been a great pleasure to visit an old friend, whom I had not met for 18 years, in Grenoble, France. It was a very warm feeling. We had great time chatting old stories. The vivid memories that flew out made me felt like we just departed only few years ago. The environment in the city and in the suburb of Grenoble were extremely pleasant. My friend took me (and our families) up the Chatreuse mountain nearby the city where there is a forest monastery there. Grenoble is the city known for its high tech and nanotech industries and science park, yet the presence of a Christian forest monastery on one of the 3 flanking mountains is quite paradoxical. The atmosphere there is very serene. My friend told me that the monks there live separately in each hut and don't talk to each other, perhaps only once a week at most. It 's amazing that a Christian Order has forest monastery like Buddhism has forest monateries (like several hundreds that we have in Thailand, although I think ours might be better suitably called Jungle monateries). However, technically speaking, I guess their meditation techinique might be more similar to the Samatha style, rather than Vipassana style for sure. My friend also told me that Dalai Lama visited this place once several years ago.



ไปพักสมองต่างประเทศ (ตอน ๒) เกรอโนบล์

ออกจากมาร์เซลล์ก็นั่งทีจีวีต่อไป Grenoble ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับต้นๆของฝรั่งเศส เชิงเทือกเขาแอลป์ ใกล้ชายแดนสวิส ที่นี่มีประชากรนักวิทยาศาสตร์ และชาวต่างชาติอยู่สูงสุดในประเทศนั้น เมืองนี้ล้อมรอบด้วยภูเขาสำคัญสามลูก อากาศฤดูใบไม้ผลิตอนนี้กำลังเย็นสบาย ในเมืองราว ๑๕ องศาเซลเซียส แต่บนยอดเขาก็ประมาณ ๙ องศา
รูปที่ลงคือส่วนหนึ่งของดอกไม้ที่วางขายอยู่หน้าร้านแห่งหนึ่งในเมือง รูปที่สองคือลานในเมือง และรูปที่สามคือสนามหญ้าข้างพิพิธภัณฑ์ของเมือง จะแลเห็นป้อมปราการอยู่บนเขาด้านบน



ไปพักสมองต่างประเทศ (ตอน ๑) มาร์เซลล์

ผมไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตไปสิบวัน นับว่าเป็นเหตุการณ์แปลกประหลาด เพราะปกติเมื่อไปต่างประเทศก็จะเอาเครื่องแม็คจีโฟว์ผมไปด้วย ยกเว้นคราวนี้ แล้วก็ไม่ได้อัพเดทบล๊อกมาสองสัปดาห์ ทั้งขาดเรียนอภิธรรมไปสองอาทิตย์ เนื่องจากไปฝรั่งเศส ก่อนไปรู้สึกว่าเครียดมากกับงาน นับว่าได้จังหวะพอดีที่ลาไปพักผ่อนต่างประเทศ ไปต่างประเทศมาเหมือนกับได้รีเซ็ทตัวเอง ตอนนี้ก็หวังว่าอย่างนั้น ขณะที่เขียนอยู่นี้ เพิ่งลงจากเครื่องที่สุวรรณภูมิมาได้ไม่กี่ชั่วโมง แต่เมื่อถึงบ้านก็แอบไปงีบมาหน่อยแล้วก่อนจะมาโพสต์นี่

มานั่งเลือกรูปบางรูปมาโพสต์ประดับบล๊อกตัวเองบ้าง เพราะไม่ได้โพสต์รูปมานาน สำหรับตอนนี้ ลงรูปจากมาร์เซลล์ก่อน รูปแรกเป็นรถไฟ TGV (ฝรั่งเศสเรียก เตเจเว) ถ่ายที่สถานี เซนต์ชาลส์ ของมาร์เซลล์ (Gare de Marseille Saint Charles) หัวรถเก่าๆด้านซ้ายนั่นแหละที่ใช้โดยสารมาหลังจากลงเครื่องบินที่สนามบิน ซาลส์ เดอ โกลด์ ที่ ปารีส (Paris 's CDG Airport) ใช้เวลาเดินทางเพียงสามชั่วโมงกว่า ด้วยความเร็วสูงถึง ๓๐๐ กม. ต่อชั่วโมง (ถามตัวเองว่า เมื่อไรเมืองไทยจะมีรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองมั่งก็ไม่รู้ คิดตอบเอาเองว่าคงไม่ได้เห็น อย่างน้อยก็ในอีกสิบปีข้างหน้านี้) รูปที่สองเป็นรูปวิวอ่าวท่าเรือเก่าเมืองมาเซลล์ ถ่ายหลังจากเดินลงมาจากยอดเขาที่ตั้งโบสถ์ Nortre Dame ของเมืองมาเซลล์ รูปที่สามเป็นชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน วันที่ลมแรงนิดหนึ่ง คลื่นซัดโขดหินชายฝั่ง ถ่ายในวันทำงาน เลยไม่มีคนให้เห็นที่หาด อากาศหนาวประมาณสิบห้าองศา แต่ยังไม่ได้คิด wind chill factor ซึ่งจะทำให้เย็นกว่านั้น และคลื่นก็แรงเกินกว่าผมจะถอดแจ็คเก็ตเปลี่ยนเป็นสวมชุดว่ายน้ำลงไปแหวกว่าย



Monday, May 12, 2008

มหันตภัยในพม่า

อ่านดูข่าวในลิงก์ข้างบนแล้วก็เศร้าใจ ชาวพม่าโชคร้ายเพราะรัฐบาลเขาดูเหมือนไม่ไยดีกับความเดือดร้อนของประชาชนมากเท่าที่ควร อาจจะถือว่าพวกนั้นเป็นเชื้อสายมอญหรือเปล่าก็ไม่รู้ พวกนายพลพม่าอาจจะลอยตัว เพราะพวกตนได้ย้ายเมืองหลวงหนีมหันตภัยไปล่วงหน้าแล้วสองสามปีเหมือนกับเป็นนกรู้

ผมไปบริจาคผ่านสภากาชาดไทยมาแล้ว ไม่มากไม่น้อย คือหนึ่งพันบาท ก็แอบหวังในใจว่า ของบรรเทาทุกข์ของชาวไทยที่มีกุศลจิตคงได้กระจายไปถึงชาวบ้านพม่าที่เดือดร้อนหนักๆ หวังว่าของคงไม่ไปติดอยู่ที่ผู้มีอำนาจตุนเอาไว้แจกพรรคพวกตัวเอง เหมือนอย่างที่องค์กรต่างประเทศเกรง(แต่ไม่ค่อยพูดออกมา)

ปลาในมหาสมุทรกำลังลดลงเรื่อยๆ

จากลิงก์ข้างบน อ่านดูแล้วก็น่าเศร้าใจ ประชากรในอนาคตอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้าส่วนใหญ่จะไม่มีปลาทะเลกิน เพราะทั่วโลกต่างจับปลาเกินจำนวนที่มันจะเกิดได้ทัน
มันเป็นเรื่องของความโลภแท้ๆ

Sunday, May 11, 2008

เมล์ขยะจาก ไฮไฟฟ์

ในรอบสองเดือนที่ผ่านมา ผมได้รับจังก์เมล์ หรือ เมล์ขยะหลายฉบับ จาก ไฮไฟฟ์ ส่วนมากทำเป็นว่าส่งจากใครต่อใคร (ซึ่งเป็นคนที่ผมไม่เคยรู้จักเลย) จำได้ว่ามีฉบับเดียว ที่อ้างว่า ส่งมาจากอดีตนักศึกษาปริญญาโทของผม เชิญผมไปเป็นสมาชิกไฮไฟฟ์ ผมคลิ๊กลบเมล์พวกนั้นทั้งหมดโดยไม่ได้คิดอะไรมากนัก ความจริงก็อยากรู้จักมันเหมือนกันแหละ แต่กลัวเสียเวลา เวลาผมยิ่งมีน้อยๆอยู่ (และยิ่งน้อยลงๆทุกๆขณะ) ผมเชื่อว่าเมล์พวกนี้ส่งมาโดยไฮไฟฟ์โดยอัตโนมัติ และผมถือว่าเป็นสแป็ม และคิดว่าเป็นเรื่องน่ารังเกียจมาก ที่มีธุรกิจใดใช้กลยุทธการตลาดแบบสแปม มาวันนี้ไปอ่านเจอบทความออนไลน์จากประชาชาติ (ลิงก์ข้างบน) ทำให้ผมอธิบายได้ว่า ทำไมอัตราเพิ่มจำนวนผู้ใช้ในไทยของบริษัทนี้ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นไทย จึงแยะมาก (รวมลูกผมเข้าไปด้วย)

ผมไม่อยากขัดคอการหาความสุขของเด็กๆจากสิ่งเร้าภายนอก ตอนนี้ที่พวกเขายังไม่รู้จักกับความสุขภายในโดยไม่ต้องอาศัยส่ิงเร้า ตอนนี้ปิดเทอมก็ปล่อยไปก่อน สมัยผมเด็กๆ เมื่อสี่สิบปีก่อนนั้น ผมก็เคยโดนคุณพ่อและคุณแม่ผมคอยดูแลตักเตือนเรื่องการดูโทรทัศน์ไม่ให้มากเกินไปบ่อยๆ แต่ตอนน้ันผมก็ไม่ได้ขัดอะไรท่าน แต่เด็กสมัยนี้ถ้าเตือนเข้าก็มักจะโวยวายกลับ และแสดงอาการโกรธเกรี้ยวออกมาอย่างออกนอกหน้า ผมก็ไม่ได้ว่าอะไร ปลงเสียแล้ว ต้องมารับวิบาก(ทางอภิธรรมคำว่าวิบากนี้หมายถึงผลของการกระทำ ทั้งดีและไม่ดี) เป็นพ่อคน

ผมคิดว่าเรื่องแสดงอาการก้าวร้าวของเด็กสมัยนี้เป็นเพราะผลกระทบจากละคอนโทรทัศน์บ้านเรา ที่ผู้จัดชอบทำบทเว่อร์ๆออกมาให้้เห็นบ่อยๆ อย่างเช่น ในบทอาจจะให้พระเอกพูดจาสามหาวตะคอกใส่กับบิดา อย่างที่คนไทยส่วนมากในชีวิตจริงเขาไม่ทำกัน เป็นต้น การแสดงอารมณ์ที่ผู้กำกับจงใจทำออกมาให้สะใจตนเองและคนดูนั้น คนจัดคงหารู้ไม่ว่าผลกระทบนั้นมันจะไปตกอยู่กับเด็นรุ่นใหม่ ที่โตมาก็เห็นแต่การแผดเสียงและใส่อารมณ์กันทางละคอนโทรทัศน์กันแบบไม่มียับยั้งเป็นปรกติวิสัย และก็ไม่มีใครจะคิดหรือจะกล้าเซ็นเซอร์ (ผมเลยไม่ดูเลยละครทีวี) ผมเคยคิดเล่นๆว่า ผลกระทบของลครโทรทัศน์กับบุคคลิกของคนไทยรุ่นใหม่ที่แสดงออกแบบก้าวร้าวขึ้นนั้น น่าจะอธิบายปรากฎการณ์ได้ด้วยการประยุกต์แนวคิดจากทฤษฎีทางพันธุศาสตร์ประชากรของฮาร์ดีและไวน์เบอร์กมาใช้ได้ นั่นคือพฤติกรรมการแสดงออกของคนส่วนน้อย(ในละครทีวี) มีผลต่อพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ในสังคมในรุ่นต่อไป

สำหรับลูกหลานผม ผมก็ได้แต่หวังในใจว่า เมื่อเด็กๆโตขึ้น เขาก็จะค่อยๆรู้ว่า อะไรที่มันเวอร์ไปก็ต้องลดลงบ้าง ทั้งการแสดงอารมณ์ ที่เมื่อเขามีวุฒิภาวะสูงขึ้น ก็คงจะควบคุมอารมณ์ให้ดีได้เองมากขึ้น และเรื่องการใช้เวลาหลงไปกับสื่อต่างๆนั้น เมื่อถึงจุดหนึ่ง เขาก็อาจจะเบื่อเอง แล้วก็จะลดลง หรือเมื่อเขามีเหตุผลมากขึ้น และรู้จักการบริหารเวลามากขึ้น ก็คงจะลดลง ทุกอย่างมันเป็นอนิจจตาทั้งหมดนั่นแหละ มีจุดเริ่ม ก็ต้องมีจุดสิ้นสุด ผมเองตอนนี้ก็เริ่มเบื่ออินเทอร์เน็ตเข้าไปมากขึ้น มันเลยจุดสูงสุดมาแล้ว

เอ ตอนแรกจะบ่นเรื่องไฮไฟฟ์ทำไมวกไปเรื่องวัยรุ่นก็ไม่รู้แฮะ

Saturday, May 10, 2008

ทำบุญสัปดาห์นี้

ระยะหลังนี้ นอกจากผมจะเข้าสมาธิรายวันแล้ว ผมก็จะทำบุญทำทานบ่อยกว่าเดิม น่าจะพูดได้ว่าทุกสัปดาห์ ต้องทำมากบ้างน้อยบ้าง มากหน่อยก็เช่น สมทบทุนสร้างพระ สร้างกุฏิพระ สร้างโบสถ์ ผ้าป่า กฐิน เรื่อยมาจน ถายเงินพระอาจารย์ ฯลฯ ส่วนน้อยๆก็ถวาย หรือ ให้ทานวณิพกและคนขอทาน (ยังไม่นับช่วยซื้อของอุดหนุนพ่อค้าแม่ค้าขายของต่างๆ เวลาเห็นหน้าตาแกจ๋อยๆ) อาทิตย์ที่ผ่านมาก็ร่วมกับคนใกล้ตัวบริจาคเงินสมทบทุนพิมพ์หนังสือธรรมะเล่มหนึ่ง (ว่างๆจะมาพูดเรื่องนี้ต่อ) และตอนนี้ก็ตั้งใจว่าจะไปบริจาคเงินช่วยผู้ประสบภัยชาวพม่า อาจจะเป็นพรุ่งนี้ (เลยเขียนเตือนความจำตัวเองไว้ก่อน) เพราะพม่าก็เป็นชาวพุทธด้วยกันก็ต้องช่วยกัน และยังมีลูกหลานเชื้อสายไทยจำนวนมาก ที่สืบสายมาจากชาวไทยที่โดนกวาดต้อนไปจากสมัยกรุงศรีอยุธยาแตก และน่าสงสารที่พวกเขาโดนปกครองด้วยระบอบกดขี่และโกงกินกันมากแบบนั้น ปกติก็ยากจนค่นแค้นอยู่แล้ว การมาได้รับเคราะห์กรรมครั้งนี้เรียกว่าเป็นการซำ้เติมทีเดียว ในใจผมนึกว่า ยังดีที่ยังไม่เกิดเหตุหายนะแบบนี้กับเมืองไทยบ้าง มิฉะนั้นไทยจะเสียหายหนักกว่ามาก เพราะอาคาร สิ่งก่อสร้าง ถนน และอุตสาหกรรมต่างๆบ้านเรามีมากกว่า แต่พูดก็พูดเถอะ (เคาะโต๊ะ ป๊อกๆ) ของพรรค์นี้ บอกไม่ได้แน่นอน ในยุคโลกร้อนนี้ อากาศแปรปรวนมาก ใครจะไปรู้ว่า เมื่อไรใต้ฝุ่นที่บางปีจะเข้าภาคใต้ของไทยนั้น มันจะไม่มีบางลูกวกขึ้นเหนือมากรุงเทพฯและภาคกลางบ้าง ถ้าเป็นดังนั้น เรื่องเศรษฐกิจบ้านเราที่ถูกถล่มเมื่อปี ๒๕๔๐ นั่นจะกลายเป็นเรื่องเล็กๆไปเลยทีเดียวแหละ เพราะภัยพิบัติคราวหน้ามันก็จะเป็นเรื่องความสูญเสียของชีวิตจำนวนมาก และความสูญเสียทางอารยธรรมของชาติพ่วงเข้าไปอีก เพราะกรุงเทพฯคือเกือบทุกอย่างที่ประเทศไทยมี ฝรั่งเขามีสำนวนเรียกว่า เอาไข่ทุกใบใส่ไว้ในตระกร้าใบเดียว

ผมนึกถึงเรื่องสึนามิเมื่อหลายปีก่อน ก่อนเกิดเหตุไม่กี่เดือน ผมไปเที่ยวทะเลที่แถวๆกระบี่ ยังจำได้ดีว่า ตอนนั้นมันมีความรู้สึกประหวั่นในใจผมอย่างบอกไม่ถูก คือรู้สึกว่ามันอาจมีภัยที่จะเข้ามาถล่มชายฝั่งได้จากทะเลสู่ชายฝั่งเมื่อไรก็ได้ แต่ตอนน้ันผมก็คิดปลอบใจตัวเองต่อไปอีกว่า แต่เมืองไทยไม่มีสึนามินี้นา ก็ไม่น่าจะมีอะไร แต่อีกใจหนึ่งก็บอกตัวเองว่า วิทยาศาสตร์สอนเรามาว่า อย่าพูดว่า never สุดท้ายแล้วสิ่งที่ผมเคยรู้สึกมันก็เกิดขึ้นมาได้วันหนี่งจนได้

Tuesday, May 06, 2008

ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน

ไปอ่านเจอลิงก์ข้างต้นมา เขารายงานว่า ค่ารักษาพยาบาลในญี่ปุ่นต่ำกว่าในอเมริกามาก แม้ว่าส่วนมากจะเป็นโรงพยาบาลเอกชนก็ตาม เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นควบคุมราคาต่างๆหมด และก็ทุกคนต้องมีประกันสุขภาพ ไปอ่านดูแล้วก็คิดเอาว่าก็น่าจะต่ำกว่าค่ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนเมืองไทยก็ได้นะ
มีคนรู้จักเคยไปตรวจหัวใจที่โรงพยาบาลเอกชนแถวคลองประปาแห่งหนึ่ง ชั่วโมงเดียว หมดไปหมื่นบาท มิน่าเล่า แพทย์พาณิชย์แบบนี้นี่เอง
ถึงได้สร้างตึกใหม่ได้ เมืองไทยน่าจะใช้แบบเขามั่งน่าจะดี อาจจะดีกว่าบัตรทองก็ได้