เมื่อวานขณะใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ้คอยู่ที่บ้าน
ผมเผอิญไปอ่านเจอบทความเกี่ยวกับ
แอ็ปสำหรับใช้ อีเมลซอฟต์แวร์สำหรับมือถือ
จากยาฮู ก็เลยตามไปอ่านที่หน้าเว็บ
ปรากฎว่า บนหน้้าเว็บนั้้น
ขึ้นข้อมูลหราเลย ความว่า
ซอฟต์แวร์นี้ใช้กับมือถือรุ่นหมายเลข
….
ที่คุณมีอยู่ได้
และชวนให้ดาวน์โหลด
ผมรู้สึกประหลาดใจทีเดียว
และออกจะตระหนกเล็กน้อยด้วยซ้ำ
ในเรื่องความเป็นส่วนตัวที่หายไปจากการใช้เน็ต
สาเหตุก็เพราะว่าผมเพิ่งซื้อมือถือรุ่นนี้มาได้แค่
๒ สัปดาห์ และมีคนแต่ ๓-๔
คนในโลกนี้เท่านั้นที่รู้เบอร์โทรศัพท์ใหม่ผม
และผมไม่ค่อยได้ใช้เน็ตจากมือถือเลย
เพราะใช้เป็นเครื่องสำรองตัวที่สอง
และเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน
ผมก็ไม่ได้ใช้ยาฮูเมล์มานานแล้ว
เป็นไปได้อย่างไรว่าเว็บไซต์นี้รู้จักว่าคนดูเว็บคนนี้ใช้มือถือรุ่นไหน
แสดงว่า เขาต้องรู้ได้จากไอพีบ้านผม
ว่า ผู้ใช้คือนายคนนี้เป็นใครด้วยซ้ำ
และเดาว่าคงจะได้ข้อมูลจากการจดทะเบียนลูกค้ามือถือที่เราต้องกรอกไปตอนซื้อในเมืองไทยนั่นเอง
(น่าไปโวยกับบริษัทมือถือ
ที่ปล่อยข้อมูลเราออกไป !)
น่าทึ่ง
ที่เขาเอาข้อมูลส่วนตัวเราตอนจดทะเบียนมือถือที่ซื้อที่ต่างจังหวัด
ซึ่งตอนนั้นต้องระบุอีเมล์หนึ่งไปด้วย
แต่ไม่ใช่ยาฮู
ไปเชื่อมโยงกับไอพีที่บ้านผมที่กรุงเทพฯ
ได้ นี่ขนาดว่าผมไม่ได้เล่นเฟซบุ้ค
การทำเหมืองข้อมูลตัวผมจากเครือข่ายสังคมนั้น
มีข้อมูลไม่มาก
ก็ยังมีข้อมูลของผมได้ขนาดนี้
วันนี้ก็มีข่าวต่างประเทศมาตอกย้ำความเชื่อของผม
ว่าตอนนี้ บริษัทต่างประเทศ
สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ
ของผู้ใช้เน็ตแต่ละคนได้
จากการซื้อขายข้อมูลลูกค้าที่บริษัทต่างๆ
ปะติดปะต่อได้
ก็สามารถรู้จักตัวตนลูกค้าได้สบายๆ
มีอีกเรื่อง
ประเด็นน่าจะเชื่อมโยงกัน
ผมเคยไปเดินบางห้างต่างจังหวัด
ได้เห็นบนจอมอร์นิเตอร์วงจรปิดว่ามีการใช้ซอฟต์แวร์ติดตามตัวลูกค้าแต่ละคนจากจอทีวีวงจรปิดอยู่
เหมือนกับที่สนามบินต่างประเทศมีใช้
ดูจากกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงที่เคลื่อนที่ตามการเดินไปมาของลูกค้าได้
ไม่ทราบว่าห้างติดตั้งเอาไว้คอยจับขโมยที่รู้จักหน้าไว้ก่อนแล้ว
หรือว่าจะพยายามระบุตัวตนของลูกค้าที่เดินไปเดินมากันแน่
ในอนาคตคงจะเริ่มเป็นอย่างหลังมากขึ้น
ผมเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมฝรั่งถึงโวยวายกันนักเรื่องความเป็นส่วนตัว
ซึ่งตอนนี้เราแทบไม่เหลืออะไรแล้ว
No comments:
Post a Comment