อะไรคือหญ้ากุสสะ
ในวันเพ็ญเดือนวิสาข เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงนั่งขัดสมาธิเพชร บนหญ้ากุสสะ ที่พราหมณ์คนหนึ่งถวาย ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ที่โคนต้นโพธิ ก่อนจะทรงตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนนั้น
หนังสือเรียนทางพุทธศาสนา บางเล่มแปลชื่อหญ้ากุสสะ เป็นไทยว่า หญ้าคา ผมว่าไม่ถูก ต้องแปลว่า หญ้าแฝก (Vetiver) จึงจะถูก ก็ลองดูสิว่าใบหญ้าคาของไทยมันคมแค่ไหน ใครจะไปนั่งได้
ที่สำคัญ ในเปเปอร์ของ Rao & Suseela แห่ง สถาบันวิจัยทางพฤกษศาสตร์แห่งชาติ ของอินเดีย ได้กล่าวถึงหญ้าแฝก Vetiveria zizanioides ว่า เรียกว่า หญ้ากาส Khas หรือ กุส Khus ในอินเดีย
เป็นพืชที่พบได้ประจำถิ่นในแถบทางเหนือของอินเดีย ให้กลิ่นหอม ใช้สกัดทำหัวน้ำหอมของราชสำนักในสมัยโบราณ และ ก็ รากของหญ้ากุสสะยังใช้เอามาสานเป็นเสื่อได้ และในอินเดียหน้าร้อน ชาวบ้านจะนิยมใช้หญ้าแฝกถักเป็นม่าน เมื่อพรมน้ำแล้ว ก็ใช้ห้อยลงมาเพื่อลดความร้อนของอากาศในบ้านเรือนได้ ให้ทั้งความเย็น และให้กลิ่นหอมอ่อนๆด้วย
ผมเลยเกิดความคิดต่อไปว่า หรือว่า พราหมณ์ถวายหญ้าแฝกทั้งใบทั้งรากแด่เจ้าชายสิทธัตถะ ไปทรงใช้รองนั่งขัดสมาธิในคืนนั้น น่าจะเป็นไปได้ เพราะใบจะได้ให้กลิ่นที่หอมเย็น และก็เป็นการระบายความร้อนจากก้อนหินที่จะทรงใช้นั่งสมาธิอีกด้วย ผมเดาว่า อาจจะทรงเอาใบรองไว้ด้านล่าง พรมน้ำเสียหน่อยยังได้ ส่วนรากก็เอาไว้รองชั้นบนๆ เรียกว่านั่งเย็นสบาย นอกจากนุ่มอีกต่างหาก
อ้างอิง
Rao, RR., Suseela, MR. Vetiveria zizanioides (Linn.) Nash, A multipurpose eco-friendly grass of india.
http://www.vetiver.com/TVN_IVC2/CP-6-2.PDF
No comments:
Post a Comment