นี้คงเป็นโพสต์สุดท้ายของปี พ.ศ. ๒๕๔๘ 2005 นี้ ต่อไปคงจะขี้นปีใหม่
ไม่รู้ว่าปีหน้าจะมีเวลามาเขียนบ่อยแค่ไหน อาจจะน้อยกว่าเดิมก็ได้่
ผมขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แต่ละท่านเคารพนับถือ
โปรดประทานพรให้ปีใหม่นี้ จงเป็นปีที่ทุกท่านประสบความสำเร็จในสิ่งที่ท่านประสงค์
ขอให้ท่านมีความจำเริญในธรรม เปี่ยมในคุณธรรมยิ่งๆขึ้นไป
สวัสดีปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครับ
ปกิณกะ ไทย I posted about interesting items information I found, write my views on books I read, education, science and technology, Buddhism and meditation, economic and business, music, and movies, country and rural development. Articles are in English or Thai.
Saturday, December 31, 2005
Buddhism: philosophy or religion ?
I read some books recently and here is the conclusion. If some people just discuss it in academic or intellectual sense, it is just a philosophy for them:although I should add that it is a hugh subject (dozens of tomes). But for many who practice it in their lives, every breath, it is a religion.
Good summary, isn't it.
Good summary, isn't it.
The World's largest jade Buddha statue
Today is New Year's eve so I decided to make some merit. I went to Wat Dhammamongkol, in Soi Sukhumvit 101, where the World's largest jade Buddha image is placed. Behind the statue, there was also a jade Guan-im, a chinese female-form of an incarnated bodhisatva. Both statues were sculpted over a decade ago from a 32 ton dark green jade block from Canada. The Buddha statue was crafted by an Italian artist. The King has given the name "Phra Mongkoldhamsrithai" to the statue, which had been meditated upon by the venerable Phra Sangkharaj and other meditation-master monks. I had read about it recently and decided to go to pay my respect. Seen in the picture, the white threads linked like web from the statue were just tied in by monks in preparation for a meditation ceremony to be held a week after this post.
Before I left, I donated some cash to join an effort to build a Buddhist Ubosot (or Uposot ?, the main congregation hall).
Oh, I forgot to mention that this Wat also has the biggest (perhaps tallest) traditional style Buddhist pagoda (Jetiya or Jedi). To me, it looks like Indian style structure except for the attached Vihara and the white pagoda at the top of the 11 storey-high building.
Thursday, December 29, 2005
ผ่านไปอีกปี เวลาผ่่านไปเรื่อยๆ
พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่ง จำได้แต่คำแปล กล่าวไว้ว่า
วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุเหลือน้อยลงทุกที
อีกบทกล่าวไว้แปลได้ว่า
เวลาผ่านไปอย่าให้ผ่านไปเปล่า จะน้อยหรือมาก ก็ให้ได้อะไรบ้าง
ผมรู้สึกว่าในปีที่ผ่านมาได้อะไรเล็กน้อยแต่เขียนออกมาเป็น KPI (Key Performance Index) ลำบาก
สงสัยจะ planning มากไป คือเขาบอกว่า แปลนแล้วนิ่ง
แย่จัง
ไปอ่านบันทึกส่วนตัวเมื่อปีที่แล้วกับตอนนี้ ยังไงก็ยังงั้น ไม่ค่อยมีอะไรใหม่
ทักษะเพิ่มไม่มากนักในความเห็นส่วนตัวยังไม่น่าพอใจ
งานก็ยังไม่ก้าวไปเร็วนัก
เริ่มใหม่ปีนี่ ต้องรีเซ็ท biological clock ให้มี frequency สูงขี้นหน่อยถ้าจะดี
ผลที่ตามมาอันหนึ่งคืออาจจะเขียนบล๊อกน้อยลง
วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุเหลือน้อยลงทุกที
อีกบทกล่าวไว้แปลได้ว่า
เวลาผ่านไปอย่าให้ผ่านไปเปล่า จะน้อยหรือมาก ก็ให้ได้อะไรบ้าง
ผมรู้สึกว่าในปีที่ผ่านมาได้อะไรเล็กน้อยแต่เขียนออกมาเป็น KPI (Key Performance Index) ลำบาก
สงสัยจะ planning มากไป คือเขาบอกว่า แปลนแล้วนิ่ง
แย่จัง
ไปอ่านบันทึกส่วนตัวเมื่อปีที่แล้วกับตอนนี้ ยังไงก็ยังงั้น ไม่ค่อยมีอะไรใหม่
ทักษะเพิ่มไม่มากนักในความเห็นส่วนตัวยังไม่น่าพอใจ
งานก็ยังไม่ก้าวไปเร็วนัก
เริ่มใหม่ปีนี่ ต้องรีเซ็ท biological clock ให้มี frequency สูงขี้นหน่อยถ้าจะดี
ผลที่ตามมาอันหนึ่งคืออาจจะเขียนบล๊อกน้อยลง
ปีนี้นานกว่าปกติ
ข่าวที่เพิ่งเจอบอกว่า สิ้นปี พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือ ค.ศ. 2005 นี้ นักวิทยาศาสตร์ตกลงเพิ่มเวลาให้อีก ๑ วินาที ทำให้ปีนี่ยาวกว่าปกติเล็กน้อย ตามเวลาที่กรีนิช แต่จะเป็นเวลา ๗ โมงเช้าวันที่ ๑ ม.ค. พ.ศ. ๒๕๔๙ แล้วในเมืองไทย ดูเหมือนโลกจะมีแนวโน้มที่หมุนรอบตัวช้าลงเล็กน้อย
Wednesday, December 28, 2005
ใช้แม็คแล้วดีอย่างไร คุ้มเงินไหม
How good is Mac and OS-X ? Is it worth the money spent ?
จะตอบคำปุจฉาข้างต้น ต้องอธิบายว่าก่อนผมจะเปลี่ยนมาใช้แม็ค โอเอสเท็น นั้น ชีวิตผมเคยเป็นอย่่างไรบ้าง
ก่อนหน้านั้น ผมใช้ระบบวินโดวส์ผมต้องอัพเดทข้อมูลนิยามของไวรัสทุกวัน อัพเดทข้อมูลของพวกสปายแวร์ทุกวัน และต้องเสียเวลาสแกนเครื่องราว ๔๐ นาทีทุกวัน
(ก่อนหน้านั้นเคยใช้แม๋็คนานมาแล้ว ก่อนจำต้องหันมาใช้วินโดวส์ตามออฟฟิส)
เครื่องระบบวินโดวส์เก่าของผมนั้นแฮงก์บ่อยมาก และวันละหลายๆครั้ง
นอกจากนั้นแต่ละวัน ก่อนจะใช้เครื่องแต่ละทีก็เสียเวลาบู้ทเครื่องหลายนาที และเสียเวลาชัทดาวน์เมื่อเลิกใช้
ส่วนเวลาทำงานนั้น ผมจำต้องเปิดหลายๆวินโดวส์ทำให้เต็มจอไปหมด การทำงานข้ามไปมาระหว่างหน้าต่างลำบาก แต่ละวินโดวก็เต็มจอไปหมด วินโดวอึ่นทับไปทับมากันวุ่นวายต้องไล่ปิดวินโดวจนหาเจอแล้วค่อยไล่เปิดมาใหม่
และคนที่มีแฟ้มเอกสารแยะๆอย่างผม วันหนึ่งสร้างไฟล์ใหม่ขี้นมาหลายๆสิบไฟล์ การจะไปหาแฟ้มเก่าที่ต้องการโดยใช้เสอร์ชในโอเอสนั้นยากในคอมพิวเตอร์ตัวเก่า และคำสั่งค้นหาในวินโดวส์นั้นมันก็ไม่เคยจำเอาเลยว่าแฟ้มที่เคยค้นไปแล้วเมื่อวานนี้มันอยู่ที่ไหน
และในวินโดวส์หากเปิดเอกสารขนาดใหญ่ โปรแกรมบางตัวไม่รับ หรือโหลดช้ามากๆจนเครื่องหยุดทำงาน และถ้าใครมีไฟล์ขนาดใหญ่สัก 500 MB ต่อแฟ้มอย่างผมละก็ คงจะเข้าใจ
และการดีลีืืทแฟ้มทิ้งจำนวนมากในคราวเดียวนั้น ผมมักทำเป็นประจำ ผมมักลบแฟ้มเก่าที่สำเนาข้อมูลไว้แล้วทิ้งทีหนึ่งหลายๆพันไฟล์ รวมขนาดก็หลาย GB ทำให้ระบบวินโดวส์นั้นแฮงก์
ระบบวินโดวส์ไม่สามารถรันยูนิกส์โปรแกรมไปในเครื่องได้ และในหน้าต่างคอมมานด์นั้น คำสั่งของ ดอส ก็ไม่ดีเท่ากับยูนิกส์ ต้องบอกว่าทำอะไรไม่ได้ แต่แม็ครันโปรแกรมยูนิกส์ได้สบาย โดยเฉพาะโปรแกรม 64 bit
ซื้อแม็คแล้วปัญหาข้างต้นหมดไปทั้งหมด และเป็นเดือนแล้ว ยังไม่ได้ปิดเครื่องเลย (เว้นหลังอัพเดทโอเอสใหม่) เวลาจะย้ายเครื่องไปไหนๆก็แค่ sleep และมันจะตรวจเจอเน็ตเวอร์คใหม่ให้โดยอัตโนมัติ
แม็ดได้ชื่อว่าเป็นระบบที่ user interface ดีที่สุดในโลก โดยเฉพาะรุ่น Tiger (OS-X 10.4) ที่มีคุณลักษณะดีๆแยะมาก และซอฟต์แวร์ฟรีก็มีให้ดาวน์โหลดมาใช้อย่างพอเพียงโดยไม่ต้องซื้อ เคยอ่านเจอเมื่อไม่กี่เดือนก่อนว่า ขนาดเจ้าของ Linux คือ Linux Torvalds ก็ยังใช้ Mac ในการทำงานพัฒนาระบบลินุกส์ เพราะมันใช้ดีจริงๆน่ะสิ
อ้อ วันก่อนก็เห็นรูปใน หนังสือพิมพ์ Bangkok Post ลงภาพประธานบริษัทโตโยต้าแถลงข่าว เขาก็ยังใช้แม๋็ค รุ่นเดียวกันกะผมเลย (PowerBook)
และก็ที่สำคัญแม็คก็ยังใช้กับบรอดแบนด์ ของทรูก็ได้ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ในปีที่ผ่านมานี้ มีคนเปลี่ยนจากวินโดวส์มาใช้แม็คแล้วราว ๑ ล้านคน
ราคาแม็คถ้ากระจายไปสักสามสี่ปีก็ไม่แพงอย่างที่คนเข้าใจ และราคาก็รวมค่าซอฟต์แวร์ที่จำเป็นไว้แล้ว และโอเอสกะซอฟต์แวร์จากแอปเปิ้ลยังอัพเดทให้เป็นประจำฟรีผ่านเน็ตเวอร์คทุกๆสองเดือนอีกด้วย
แม็คก็เหมือนรถยนต์ ถ้าคุณพอมีสตางค์ซื้อรถเก๋ง ก็เลิกขับรถอีแต๋นดีกว่า ใช่ไหมล่ะ
มีข่าวล่าสุดเพิ่งเจอรายงานบอกว่า จากสถิติการใช้เว็บหลักๆของนานาชาติ ตอนนี้เฉลี่ยเป็นเครื่องแม็ค ราว 4.11 % คงหมายความถึงอเมริกาเป็นหลักละมัง เมืองไทยน่าจะน้อยมากๆ อย่างไรก็ดี ก็น่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น
จะตอบคำปุจฉาข้างต้น ต้องอธิบายว่าก่อนผมจะเปลี่ยนมาใช้แม็ค โอเอสเท็น นั้น ชีวิตผมเคยเป็นอย่่างไรบ้าง
ก่อนหน้านั้น ผมใช้ระบบวินโดวส์ผมต้องอัพเดทข้อมูลนิยามของไวรัสทุกวัน อัพเดทข้อมูลของพวกสปายแวร์ทุกวัน และต้องเสียเวลาสแกนเครื่องราว ๔๐ นาทีทุกวัน
(ก่อนหน้านั้นเคยใช้แม๋็คนานมาแล้ว ก่อนจำต้องหันมาใช้วินโดวส์ตามออฟฟิส)
เครื่องระบบวินโดวส์เก่าของผมนั้นแฮงก์บ่อยมาก และวันละหลายๆครั้ง
นอกจากนั้นแต่ละวัน ก่อนจะใช้เครื่องแต่ละทีก็เสียเวลาบู้ทเครื่องหลายนาที และเสียเวลาชัทดาวน์เมื่อเลิกใช้
ส่วนเวลาทำงานนั้น ผมจำต้องเปิดหลายๆวินโดวส์ทำให้เต็มจอไปหมด การทำงานข้ามไปมาระหว่างหน้าต่างลำบาก แต่ละวินโดวก็เต็มจอไปหมด วินโดวอึ่นทับไปทับมากันวุ่นวายต้องไล่ปิดวินโดวจนหาเจอแล้วค่อยไล่เปิดมาใหม่
และคนที่มีแฟ้มเอกสารแยะๆอย่างผม วันหนึ่งสร้างไฟล์ใหม่ขี้นมาหลายๆสิบไฟล์ การจะไปหาแฟ้มเก่าที่ต้องการโดยใช้เสอร์ชในโอเอสนั้นยากในคอมพิวเตอร์ตัวเก่า และคำสั่งค้นหาในวินโดวส์นั้นมันก็ไม่เคยจำเอาเลยว่าแฟ้มที่เคยค้นไปแล้วเมื่อวานนี้มันอยู่ที่ไหน
และในวินโดวส์หากเปิดเอกสารขนาดใหญ่ โปรแกรมบางตัวไม่รับ หรือโหลดช้ามากๆจนเครื่องหยุดทำงาน และถ้าใครมีไฟล์ขนาดใหญ่สัก 500 MB ต่อแฟ้มอย่างผมละก็ คงจะเข้าใจ
และการดีลีืืทแฟ้มทิ้งจำนวนมากในคราวเดียวนั้น ผมมักทำเป็นประจำ ผมมักลบแฟ้มเก่าที่สำเนาข้อมูลไว้แล้วทิ้งทีหนึ่งหลายๆพันไฟล์ รวมขนาดก็หลาย GB ทำให้ระบบวินโดวส์นั้นแฮงก์
ระบบวินโดวส์ไม่สามารถรันยูนิกส์โปรแกรมไปในเครื่องได้ และในหน้าต่างคอมมานด์นั้น คำสั่งของ ดอส ก็ไม่ดีเท่ากับยูนิกส์ ต้องบอกว่าทำอะไรไม่ได้ แต่แม็ครันโปรแกรมยูนิกส์ได้สบาย โดยเฉพาะโปรแกรม 64 bit
ซื้อแม็คแล้วปัญหาข้างต้นหมดไปทั้งหมด และเป็นเดือนแล้ว ยังไม่ได้ปิดเครื่องเลย (เว้นหลังอัพเดทโอเอสใหม่) เวลาจะย้ายเครื่องไปไหนๆก็แค่ sleep และมันจะตรวจเจอเน็ตเวอร์คใหม่ให้โดยอัตโนมัติ
แม็ดได้ชื่อว่าเป็นระบบที่ user interface ดีที่สุดในโลก โดยเฉพาะรุ่น Tiger (OS-X 10.4) ที่มีคุณลักษณะดีๆแยะมาก และซอฟต์แวร์ฟรีก็มีให้ดาวน์โหลดมาใช้อย่างพอเพียงโดยไม่ต้องซื้อ เคยอ่านเจอเมื่อไม่กี่เดือนก่อนว่า ขนาดเจ้าของ Linux คือ Linux Torvalds ก็ยังใช้ Mac ในการทำงานพัฒนาระบบลินุกส์ เพราะมันใช้ดีจริงๆน่ะสิ
อ้อ วันก่อนก็เห็นรูปใน หนังสือพิมพ์ Bangkok Post ลงภาพประธานบริษัทโตโยต้าแถลงข่าว เขาก็ยังใช้แม๋็ค รุ่นเดียวกันกะผมเลย (PowerBook)
และก็ที่สำคัญแม็คก็ยังใช้กับบรอดแบนด์ ของทรูก็ได้ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ในปีที่ผ่านมานี้ มีคนเปลี่ยนจากวินโดวส์มาใช้แม็คแล้วราว ๑ ล้านคน
ราคาแม็คถ้ากระจายไปสักสามสี่ปีก็ไม่แพงอย่างที่คนเข้าใจ และราคาก็รวมค่าซอฟต์แวร์ที่จำเป็นไว้แล้ว และโอเอสกะซอฟต์แวร์จากแอปเปิ้ลยังอัพเดทให้เป็นประจำฟรีผ่านเน็ตเวอร์คทุกๆสองเดือนอีกด้วย
แม็คก็เหมือนรถยนต์ ถ้าคุณพอมีสตางค์ซื้อรถเก๋ง ก็เลิกขับรถอีแต๋นดีกว่า ใช่ไหมล่ะ
มีข่าวล่าสุดเพิ่งเจอรายงานบอกว่า จากสถิติการใช้เว็บหลักๆของนานาชาติ ตอนนี้เฉลี่ยเป็นเครื่องแม็ค ราว 4.11 % คงหมายความถึงอเมริกาเป็นหลักละมัง เมืองไทยน่าจะน้อยมากๆ อย่างไรก็ดี ก็น่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น
Thai lunar calendar for B.E. 2549 / 2006
วันพระ ขึ้น แรม ใน พ.ศ. ๒๕๔๙
Buddhists' Dhamma Savana Days (Dhamma observation days)
According to Thai lunar calendar for B.E. 2549 / 2006
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๒ - ๗ มกราคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ - ๑๔ มกราคม
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๒ - ๒๒ มกราคม
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ - ๒๙ มกราคม ตรุษจีน
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ - ๖ กุมภาพันธ์
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ - ๑๓ กุมภาพันธ์
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๓ - ๒๑ กุมภาพันธ์
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ - ๒๗ กุมภาพันธ์
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔ - ๗ มีนาคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ - ๑๔ มีนาคม
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๔ - ๒๒ มีนาคม
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ - ๒๙ มีนาคม
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ - ๖ เมษายน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ - ๑๓ เมษายน
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๕ - ๒๑ เมษายน
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ - ๒๗ เมษายน
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ - ๕ พฤษภาคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ - ๑๒ พฤษภาคม วิสาขบูชา
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ - ๒๐ พฤษภาคม
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ - ๒๗ พฤษภาคม
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๗ - ๔ มิถุนายน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ - ๑๑ มิถุนายน
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ - ๑๙ มิถุนายน
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ - ๒๕ มิถุนายน
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ - ๓ กรกฎาคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ - ๑๐ กรกฎาคม อาสาฬหบูชา
แรม ๑ ต่ำ เดือน ๘ - ๑๑ กรกฎาคม เข้าพรรษา
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ - ๑๘ กรกฎาคม
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ - ๒๕ กรกฎาคม
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙ - ๒ สิงหาคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ - ๙ สิงหาคม
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ - ๑๗ สิงหาคม
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ - ๒๓ สิงหาคม
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ - ๓๑ สิงหาคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ๗ กันยายน
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ ๑๕ กันยายน
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ๒๒ กันยายน
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ๓๐ กันยายน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ - ๗ ตุลาคม ออกพรรษา
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ - ๑๕ ตุลาคม
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ - ๒๑ ตุลาคม
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ - ๒๙ ตุลาคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ - ๕ พฤษจิกายน ลอยกระทง
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ - ๑๓ พฤษจิกายน
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ - ๒๐ พฤษจิกายน
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑ - ๒๘ พฤษจิกายน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑ - ๕ ธันวาคม
(แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑ - ๖ ธันวาคม วันปีใหม่ไทยเดิม ไม่ใช่วันพระ)
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑ - ๑๓ ธันวาคม
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑ - ๑๙ ธันวาคม
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๒ - ๒๗ ธันวาคม
Buddhists' Dhamma Savana Days (Dhamma observation days)
According to Thai lunar calendar for B.E. 2549 / 2006
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๒ - ๗ มกราคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ - ๑๔ มกราคม
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๒ - ๒๒ มกราคม
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ - ๒๙ มกราคม ตรุษจีน
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ - ๖ กุมภาพันธ์
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ - ๑๓ กุมภาพันธ์
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๓ - ๒๑ กุมภาพันธ์
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ - ๒๗ กุมภาพันธ์
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔ - ๗ มีนาคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ - ๑๔ มีนาคม
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๔ - ๒๒ มีนาคม
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ - ๒๙ มีนาคม
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ - ๖ เมษายน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ - ๑๓ เมษายน
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๕ - ๒๑ เมษายน
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ - ๒๗ เมษายน
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ - ๕ พฤษภาคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ - ๑๒ พฤษภาคม วิสาขบูชา
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ - ๒๐ พฤษภาคม
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ - ๒๗ พฤษภาคม
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๗ - ๔ มิถุนายน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ - ๑๑ มิถุนายน
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ - ๑๙ มิถุนายน
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ - ๒๕ มิถุนายน
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ - ๓ กรกฎาคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ - ๑๐ กรกฎาคม อาสาฬหบูชา
แรม ๑ ต่ำ เดือน ๘ - ๑๑ กรกฎาคม เข้าพรรษา
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ - ๑๘ กรกฎาคม
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ - ๒๕ กรกฎาคม
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙ - ๒ สิงหาคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ - ๙ สิงหาคม
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ - ๑๗ สิงหาคม
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ - ๒๓ สิงหาคม
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ - ๓๑ สิงหาคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ๗ กันยายน
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ ๑๕ กันยายน
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ๒๒ กันยายน
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ๓๐ กันยายน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ - ๗ ตุลาคม ออกพรรษา
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ - ๑๕ ตุลาคม
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ - ๒๑ ตุลาคม
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ - ๒๙ ตุลาคม
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ - ๕ พฤษจิกายน ลอยกระทง
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ - ๑๓ พฤษจิกายน
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ - ๒๐ พฤษจิกายน
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑ - ๒๘ พฤษจิกายน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑ - ๕ ธันวาคม
(แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑ - ๖ ธันวาคม วันปีใหม่ไทยเดิม ไม่ใช่วันพระ)
แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑ - ๑๓ ธันวาคม
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑ - ๑๙ ธันวาคม
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๒ - ๒๗ ธันวาคม
Tuesday, December 27, 2005
หนังสืออ่านสนุก Buddhist books (ต่อ)
เพิ่งไปได้หนังสือมาอีกหลายเล่ม ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาจาก ร้านนายอินทร์ ท่าพระจันทร์
ที่น่าสนใจคือ หนังสือแปลจากภาษาฝรั่งเศสชื่อ ภิกษุกับนักปรัชญา ยังอ่านยังไม่จบ แต่น่าสนใจมาก เป็นการสนทนาธรรมหรือปรัชญากันสองคน
ดูแค่ประวัติคนเขียนก็น่าสนใจแล้ว เพราะเป็นฝรั่งพ่อลูกกัน คนพ่อเคยเป็นศาสตราจารย์ทางปรัชญา คนลูกจบ Ph.D. Molecular Biology จาก Pasteur Institute ที่ปารีส เป็นลูกศิษย์ของ Jacob นักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกได้รางวัลโนเบล แต่ไปสนใจปฏิบัตธรรม ตอนนี่้บวชเป็นพระธิเบตมาได้ราว ๓๐ ปีแล้ว อ่่านอย่างคนสนใจธรรมะจะได้ความเข้าใจดีมาก
นอกจากนี้วันต่อมาผมก็ยังไปได้จากซีเอ็ดเป็น หนังสือของ พุทธทาสภิกขุ สองเล่ม ที่สำนักพิมพ์สุขภาพใจเอามาพิมพ์ใหม่ ปกแข็ง ถ่ายย่อจากฉบับเดิม คือ อิทัปปัจจัยยตา กับ ปฏิจจสมุปปบาท กำลังสลับอ่านกับอีกสองสามเล่มที่ยังไม่ได้เอ่ยชื่อ
เสาร์ที่ผ่านมา (ตอนที่ ๒)
ก่อนกลับ เดินตัดสนามหลวงแวะไปพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป์ด้วย แม้ว่าภาพเขียนที่มีให้ชมที่นี่จะไม่ค่อยแยะเท่าของฝรั่ง แต่ก็ดีที่อย่างน้อยเมืองไทยก็มี หอศิลป์ ไปยืนจ้องผลงานห่างจากตาไม่กี่นิ้ว ทำให้รู้สึกได้ใกล้ชิดศิลปินแห่งชาติหลายๆคน งานที่แสดงของบางคนก็เป็นของญาติผู้ใหญ่ที่เสียไปแล้ว เช่น คุณลุงพิมาณ มูลประมุข และยังดูเหมือนอาจารย์จำรัส เกียรติก้อง ก็เป็นญาติห่างๆด้วย จำได้ว่าคุณพ่อไปงานศพท่านตอนผมเด็กๆ ยังมีหนังสืองานศพอยู่เลย
ขากลับเดินแวะไปเที่ยวที่ป้อมพระอาทิตย์ ตอนเด็กๆนั่งรถผ่านบ่อยๆ ไม่เคยแวะสักที จนลูกผมยังเคยมานั่งเขียนรูปที่นี่กับครูหลายปีก่อน เขามาที่นี่ก่อนผมอีก
จากริมแม่น่ำเจ้าพระยาตรงสวนที่ป้อมฯ สามารถมองเห็นสะพานพระราม ๘ ได้ดี
เสาร์ที่ผ่านมา (ตอนที่ ๑)
เสาร์ที่ผ่านมาเอาครุยปริญญาเอกไปเปลี่ยนกำมะหยี่ที่ร้านที่เคยตัดเมื่อราว ๑๗ ปีก่อน เพราะสีกำมะหยี่เปลี่ยนไปหมดแล้ว ร้านนี้ชื่อร้านอลังการ ใกล้วัดมหาธาตุ เกือบถึงท่าพระจันทร์ เปลี่ยนกำมะหยี่ได้ในราคา 2500 บาท ก่อนหน้านี้ รุ่นน้องผมเขาไปตัดครุยใหม่ทั้งชุดราคาชุดละ 12,000 บาท เขายืมฮูู้ดผมไปเป็นแบบเพราะจบยูเดียวกัน ผมเลยได้โอกาสสั่งเปลี่ยนกำมะหยี่เสียเลย ไม่งั้นไม่มีโอกาสไปแถวนั้น เผื่อปุบปับจะได้ใช้ ไม่รู้เมื่อไร แต่ต้องรอคิวยาวหน่อย อีกสองเดือนได้
บ่น
รถติดหนับบนทางยกระดับได้เป็นชั่วโมงๆ เพราะความประมาทของคนเพียงคนสองคน คนอีกหลายพันเดือดร้อน ค่าน้ำมันเสียเพิ่มรวมเป็นล้านบาท ไม่นับค่าเสียเวลา
จากข่าว นสพ. เมื่อวันก่อน ผมเห็นว่าคนที่ไต่ขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ จนเป็นผู้บริหาร ถ้าพื้นฐานเขานั้นจิตใจไร้คุณธรรมและจริยธรรมแล้วก็ย่อมเกิดความเสียหาย ทั้งส่วนรวมและตัวผู้นั้นเอง ต้องปลงสังเวช
จากข่าว นสพ. เมื่อวันก่อน ผมเห็นว่าคนที่ไต่ขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ จนเป็นผู้บริหาร ถ้าพื้นฐานเขานั้นจิตใจไร้คุณธรรมและจริยธรรมแล้วก็ย่อมเกิดความเสียหาย ทั้งส่วนรวมและตัวผู้นั้นเอง ต้องปลงสังเวช
Sunday, December 25, 2005
Wednesday, December 21, 2005
China-Thailand FTA
From the news, as Thai Deputy Commerce Minister said the Sino-Thai Free Trade Agreement would not put Thai trade balance into deficit.
I do not believe it. It did, and affected both the country's trade balance at the macro level and small farmers and businessmen at the micro-economy level.
For example, Thai orchards' owners are going broke with influx of surplus Chinese fruits. How can you survive if you were forced to sell Rambutan for 5 Baht (about US 12 Cents) a kilogram, for example.
There are known barriers inside China, e.g. the various localities, whatever they are called.
Thailand should do the same, setting up local regulations to support local farmers, for example. Look at a living eukaryotic cell, there are several membrane bound organelles which serve as various intracellular compartments. Those were aimed to increase local concentration of metabolites and some biochemicals in needed in some areas. Five hundred million years of evolution can not be wrong. Cells would die if there is no intracellular compartmentation. A country should be likewise in term of local products.
I do not believe it. It did, and affected both the country's trade balance at the macro level and small farmers and businessmen at the micro-economy level.
For example, Thai orchards' owners are going broke with influx of surplus Chinese fruits. How can you survive if you were forced to sell Rambutan for 5 Baht (about US 12 Cents) a kilogram, for example.
There are known barriers inside China, e.g. the various localities, whatever they are called.
Thailand should do the same, setting up local regulations to support local farmers, for example. Look at a living eukaryotic cell, there are several membrane bound organelles which serve as various intracellular compartments. Those were aimed to increase local concentration of metabolites and some biochemicals in needed in some areas. Five hundred million years of evolution can not be wrong. Cells would die if there is no intracellular compartmentation. A country should be likewise in term of local products.
ฐานข้อมูลบทความวิทยาศาสตร์
เริ่มต้น มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้ นักวิจัยจาก NSTDA จะสามารถเข้าใช้
Science Direct ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของบริษัท Elsevier ผ่านเว็บ และเข้าดูเปเปอร์ฉบับเต็มได้กว่า 2100 journals
Science Direct ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของบริษัท Elsevier ผ่านเว็บ และเข้าดูเปเปอร์ฉบับเต็มได้กว่า 2100 journals
Sunday, December 18, 2005
Narai Palace in Lop Buri
I have wanted to post some pictures I took at the Narai Palace in Lop Buri 2 weeks ago. Here they are. The first one was an inner gate leading toward the innermost part of the palace. The other is the audience windown inside the "Dusitsawan Thanya Mahaprasat" Throne Hall where King Narai the Great came out to accept French envoy. We went there after 5 p.m. so the museum there was closed and another former royal residence building (of King Rama IV) was closed.
Lop Buri was the city I had wanted to visit. It 's a city my dad and my mom used to live before they got married. I spent only one day by driving there and did not have sufficient time to look around. Next time i will do some planning and will target other places as well.
Wednesday, December 14, 2005
Tuesday, December 13, 2005
ขนมเปียกปูนแบบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหายไปไหนหมด
ไปซื้อขนมเปียกปูนมารับประทาน จากเมืองโบราณ รสชาดพอทานได้ แต่ก็เหมือนกับที่อื่นๆที่พอมีขายอยู่บ้างอยู่อย่างหนึ่งก็คือ เขาตัดเป็นรูปทรงลูกเต๋าแทนที่จะเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแบบที่เราเคยรู้จัก ผมว่าอีกหน่อยเด็กรุ่นใหม่จะไม่เข้าใจว่าสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนน่ะมันเป็นไฉน คงรู้จักแต่ diamond หรือข้าวหลามตัด (หรืออย่างหลังก็ไม่รู้อีกเหมือนกัน)
Post from home ADSL
I just signed up to ADSL service from True Corporation few days ago, using my existing phone line. I got a modem for 1 Baht in exchange for 1 year sign up, and to pay 590 Baht per month (for 256K/128K bps rate). After 4 days, my connection was up. It works fine for Macintosh just like my friend said so. Here the a post from home via my Powerbook at 5 a.m. Speed is fast.
Gosh. A lot of works needs to be done.
Gosh. A lot of works needs to be done.
Friday, December 09, 2005
อนุสนธิจาก ลีกวนยู ให้สัมภาษณ์ วารสารไทม์
ประทับใจตอนหนี่งที่เขาบอกว่า ในสิงคโปร์ ประชากรมีเพียง ๔ ล้านคน คิดว่ามีผู้มีึความรู้และความสามารถสูงเพียง ๒ พันคน ที่มีศักยภาพจะเป็นผู้บริหารของประเทศได้ ประวัติการทำงานของคนกลุ่มนี่สามารถรวมใส่ไว้ใน thumbdrive เพียงอันเดียวได้ ผมติดใจที่เขาพูด ผมคิดเอาว่าแม้เมืองไทยจะประชากรมากกว่าราว ๑๘ เท่า แต่จำนวนคนที่มีความรู้และความสามารถสูงก็อาจจะมีไม่มากกว่าเขาก็ได้ และถ้าไปดูเรื่องระดับของคุณธรรมด้วยแล้ว ก็อาจจะยิ่งน้อยกว่าเขาก็ได้ ทั้งๆที่เป็นเมืองพุทธ นี่เป็นความรู้ส้กนะ
Tuesday, December 06, 2005
Good and Bad points on the new high-resolution screen 15" Apple Mac PowerBook
I have been using my new Apple Macintosh 15" PowerBook for about 2 weeks. Before I praise all of it, perhaps I should mention 2 of its shortcomings right here. First, the battery that came with it has been dead since the beginning , and now I am waiting a replacement from Singapore. This is a features that Apple touted about, it should be able to hold electrical charge for 5:30 hr of usage. Too bad, mine was probably among the first lot of this laptop model arriving in Thailand. Second, my keyboard did not contain Thai letters stenciled onto it. I could not blame other people, since I told Apple 's agent in Bangkok that I badly need to use it now that I had deadline of jobs coming so that 's why they sent one machine to me as soon as they got them out from the customs at the Bangkok International Airport. And that's why there is no Thai letters labeled on the keyboard. Now I do not want to send back to the Apple agent to have the keyboard stenciled, mainly bacause I don't want to be without the machine even for a day.
Apart from these two flaws, all others are great. To be continued on part 2 in a few days until I have cleared out my backlogged jobs first.
Merit making at Wat Phrabatnamphu
Few days ago, I and my family went to Lop Buri to make merit. Wat Phrabatnamphu is a famous temple when the former abbot received Magsaysay award a few years ago.
The temple is about 7 km east of the town and situated on the foot of a small limestone mountain, amid the vast field of blossomed sunflowers. It has been my intention for a few months to go to this famous temple which shelters a large number of terminally ill AIDS patients deserted by their relatives. Apart from donating Sangkha Dhana, we also donated some cash to buy foods and medicine, and coffins for the patients. We also visited the museum there which houses a number of bodies as a reminder of the norm of life: everyone must die some day.
Got a Birthday card from Siam Commercial Bank: Thanks
Last week, I got a birthday card from SCB in the mail. Inside the card, there is a pop-up purple flower and a message with a printed signature of the famous lady Bank MD. I have been a costomer of this bank for perhaps 25 yr and this is perhaps the first time I receive this card. Thanks a lot. I think SCB is the best in term of customer service in Thailand. This card is a good evidence.
Thursday, November 24, 2005
ได้แล็ปท๊อปตัวใหม่แล้ว 15" new Mac PowerBook
เพิ่งได้มาสักสองสามชั่วโมงนี้เอง แล็ปท๊อปตัวใหม่ 15" 1.67 GHz Apple Macintosh PowerBook อาจจะเป็นเครื่องแรกๆของรุ่นนี้ในเมืองไทย ตัวนี้เพิ่งเปิดตัวในสหรัฐเมื่อต้นเดือนนี้เอง
อะไรๆก็ดีหมดทุกอย่าง เว้นแต่ว่าตัวนี้เป็นเครื่องตัวโชว์ของร้าน เพิ่งส่งเข้ามา เลยยังไม่ได้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยไว้บนคีย์บอร์ด ผมเลยต้องอาศัยคีย์ที่จำได้เอา ถ้าจะพิมพ์ภาษาไทย นานๆไปคงจะชินไปเอง ปัญหาอยู่ที่ตัวที่ไม่ค่อยได้ใช้ และก็ความรูู้สึกที่แตกต่างไปบ้างระหว่างคีย์บอร์ดเต็มรูปสีขาวของแอปเปิ้ลกับคีย์บอดบนแล็ปท๊อป
เปล่า นี่ไม่ได้โพสต์จากเครื่องใหม่หรอก แต่โพสต์จากเครื่อง G5 ตัวเดิมนั่นเอง
อะไรๆก็ดีหมดทุกอย่าง เว้นแต่ว่าตัวนี้เป็นเครื่องตัวโชว์ของร้าน เพิ่งส่งเข้ามา เลยยังไม่ได้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยไว้บนคีย์บอร์ด ผมเลยต้องอาศัยคีย์ที่จำได้เอา ถ้าจะพิมพ์ภาษาไทย นานๆไปคงจะชินไปเอง ปัญหาอยู่ที่ตัวที่ไม่ค่อยได้ใช้ และก็ความรูู้สึกที่แตกต่างไปบ้างระหว่างคีย์บอร์ดเต็มรูปสีขาวของแอปเปิ้ลกับคีย์บอดบนแล็ปท๊อป
เปล่า นี่ไม่ได้โพสต์จากเครื่องใหม่หรอก แต่โพสต์จากเครื่อง G5 ตัวเดิมนั่นเอง
Thursday, November 17, 2005
ข้อคิดจากอินเดีย (ตอน ๒)
เมื่อตอนอยู่อินเดีย ผมมักตื่นแต่เช้า เพราะเวลาที่นั่นช้ากว่าไทยชั่วโมงครึ่ง ตื่นตีสี่ครึ่งที่นั่นก็คือเวลาที่เมืองไทย ๖ โมงเช้านั่นเอง
เช้าวันหนึ่งหนึ่งผมเปิดดูโทรทัศน์เคเบิลสารพัดช่องของอินเดีย สังเกตดูจำนวนช่องดูมากกว่ายูบีซีเมืองไทยเสียอีก มีหลายภาษา
ที่น่าสนใจก็คือ ประมาณ ๑ ใน ๓ ของช่องต่างๆเหล่านั้น ตอนเช้านั่นเป็นรายการทางศาสนาต่างๆลัทธิของอินเดียเต็มไปหมด ส่วนหนึ่งก็เป็นการบรรยายธรรมนั่นแหละ แต่ไม่เห็นมีรายการทางพุทธศาสนา
ที่น่าสนใจคือบางช่องก็เป็นการถ่ายทอดยันต์พิธีจากที่ต่างๆ มีช่องหนึ่งผมนั่งดูอยู่ครึ่งชั่วโมง ไม่เห็นมีอะไร ไม่มีพูดจาอะไร มีแต่คนเหยียบร้อยคนทำหน้าระรื่นชื่นชมอยู่
แต่ก็น่าสนใจ คือเป็นพิธีล้างเท้าโยคีที่เป็นศาสดาของเขา อันที่จริงน่าจะเรียกละเลงเท้ามากกว่า
เพราะว่าเป็นการที่คนหมู่มากมาระดมเอาครีมซึ่งน่าจะเป็นเนยมาละเลงที่เท้าของโยคีที่นั่งอยู่นั่น สักพักก็เอาของเหลวที่ดูเป็นน้ำผึ้งมาราดและล้างต่อ จากนั้นก็เป็นการเอาอะไรมาโปรย อาจจะเป็นดอกไม้ก็ได้
เห็นแล้วก็นึกเอาว่า คงเข้าทำนองโปะครีมบำรุงผิวสมัยใหม่นี่เอง
ผมได้ดูแค่นั้นก็เลิกดูต่อ
แต่รู้สึกเอาว่า บ้านเมืองเขาคงจะสนับสนุนให้คนประพฤติตามลัทธิของตนๆ เพื่อความเป็นสุขของสังคมที่ยากจนอยู่ทั่วไป
แหม เมืองไทยไม่เห็นมีมั่งแฮะพวกบรรยายธรรมตอนเช้าๆ เว้นแต่บางช่องมีก่อนปิดสถานีแพลบเดียว
เช้าวันหนึ่งหนึ่งผมเปิดดูโทรทัศน์เคเบิลสารพัดช่องของอินเดีย สังเกตดูจำนวนช่องดูมากกว่ายูบีซีเมืองไทยเสียอีก มีหลายภาษา
ที่น่าสนใจก็คือ ประมาณ ๑ ใน ๓ ของช่องต่างๆเหล่านั้น ตอนเช้านั่นเป็นรายการทางศาสนาต่างๆลัทธิของอินเดียเต็มไปหมด ส่วนหนึ่งก็เป็นการบรรยายธรรมนั่นแหละ แต่ไม่เห็นมีรายการทางพุทธศาสนา
ที่น่าสนใจคือบางช่องก็เป็นการถ่ายทอดยันต์พิธีจากที่ต่างๆ มีช่องหนึ่งผมนั่งดูอยู่ครึ่งชั่วโมง ไม่เห็นมีอะไร ไม่มีพูดจาอะไร มีแต่คนเหยียบร้อยคนทำหน้าระรื่นชื่นชมอยู่
แต่ก็น่าสนใจ คือเป็นพิธีล้างเท้าโยคีที่เป็นศาสดาของเขา อันที่จริงน่าจะเรียกละเลงเท้ามากกว่า
เพราะว่าเป็นการที่คนหมู่มากมาระดมเอาครีมซึ่งน่าจะเป็นเนยมาละเลงที่เท้าของโยคีที่นั่งอยู่นั่น สักพักก็เอาของเหลวที่ดูเป็นน้ำผึ้งมาราดและล้างต่อ จากนั้นก็เป็นการเอาอะไรมาโปรย อาจจะเป็นดอกไม้ก็ได้
เห็นแล้วก็นึกเอาว่า คงเข้าทำนองโปะครีมบำรุงผิวสมัยใหม่นี่เอง
ผมได้ดูแค่นั้นก็เลิกดูต่อ
แต่รู้สึกเอาว่า บ้านเมืองเขาคงจะสนับสนุนให้คนประพฤติตามลัทธิของตนๆ เพื่อความเป็นสุขของสังคมที่ยากจนอยู่ทั่วไป
แหม เมืองไทยไม่เห็นมีมั่งแฮะพวกบรรยายธรรมตอนเช้าๆ เว้นแต่บางช่องมีก่อนปิดสถานีแพลบเดียว
ข้อคิดจากอินเดีย
ผมไปอินเดียสัปดาห์ที่แล้ว พบว่าแม้ว่าคนส่วนมากจะยากจน บ้านเมืองจะสกปรก แต่ก็มีคนฉลาดมากๆ มีความรู้ลุ่มลึกระดับโลกอยู่แยะ
เหตุเพราะมีพลเมืองมาก และการแข่งขันสูง ทำให้คนต้องพยายามฟันฝ่าอย่างมากเพื่อให้ได้งานทำ (คงไม้ต้องบอกว่างานดีๆ) นักวิชาการก็เลยเก่งมากๆ
ขนาดไฟฟ้าดับแทบจะทุกชั่วโมงก็ยังทำงานดีๆออกมาได้มาก คิดเป็นสัดส่วนกับประชากรแล้วยังมากกว่าเมืองไทย
บ้านเราคงเป็นเพราะคนไทยมีความเป็นอยู่ดีกว่าเมืองแขกมาก คนจนมากๆมีจำนวนน้อยกว่า บ้านเมืองเราก็สะอาดกว่า แต่ผมดูๆแล้วคนที่ฉลาดมากๆน่าจะมีอยู่น้อย
เพราะบ้านเราเป็นเมืองสบาย อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ฝกตกมาก อาหารไม่ขาดแคลน
ผมได้มีโอกาสฟังผู้บริหารของบริษัททางไบโอเทคแห่งหนึ่งของอินเดียเล่าว่า เมื่อเขาเปิดบริษัทสามปีก่อน ต้องการพนักงานราว ๒๕ คนเท่านั้น
แต่มีผู้สมัครเข้าไปถึงราว ๒๔๐๐๐ คน ผลสุดท้ายเลยคัดมาได้ราว ๓๐ คน จะเห็นว่า บริษัทเขาได้คนแบบหัวกะทิจริงๆเข้าไปทำงาน
ปัญหาหนึ่งที่เขาพบก็คือ เขาพบว่าบัณฑิตที่นั่นก่อนจะทำงานได้ต้องฝึกงานเสียก่อน เพราะบัณฑิตจบใหม่ยังไม่มีทักษะสูงพอที่จะทำงาน ผมได้ฟังก็เฉยๆในเรื่องนี้
บ้านเราปัญหาอาจจะแย่กว่ามาก เพราะมีมหาวิทยลัยใหม่ๆที่ปรับสถานะขึ้นมาสอนระดับปริญญาตรีแยะมาก แต่ดูแล้ว คุณภาพหลักสูตร และคุณภาพของคณาจารย์ส่วนมาก
ดูจะไม่ได้ปรับตาม มหาวิทยาลัยชั้นนำในบ้านเราบางแห่งบางหลักสูตรก็อาจจะมีปัญหาเรื่อง หลักสูตรไม่เคยเปลี่ยนเลยมาสี่สิบปีแล้วก็มี แม้ว่าโลกจะก้าวหน้าไปมากแค่ไหน
เผลอๆถ้าผมหรือใครกะจะเปิดบริษัทมั่ง คงต้องฝึกงานไม่น้อยกว่า ๖ เดือนละมัง
เหตุเพราะมีพลเมืองมาก และการแข่งขันสูง ทำให้คนต้องพยายามฟันฝ่าอย่างมากเพื่อให้ได้งานทำ (คงไม้ต้องบอกว่างานดีๆ) นักวิชาการก็เลยเก่งมากๆ
ขนาดไฟฟ้าดับแทบจะทุกชั่วโมงก็ยังทำงานดีๆออกมาได้มาก คิดเป็นสัดส่วนกับประชากรแล้วยังมากกว่าเมืองไทย
บ้านเราคงเป็นเพราะคนไทยมีความเป็นอยู่ดีกว่าเมืองแขกมาก คนจนมากๆมีจำนวนน้อยกว่า บ้านเมืองเราก็สะอาดกว่า แต่ผมดูๆแล้วคนที่ฉลาดมากๆน่าจะมีอยู่น้อย
เพราะบ้านเราเป็นเมืองสบาย อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ฝกตกมาก อาหารไม่ขาดแคลน
ผมได้มีโอกาสฟังผู้บริหารของบริษัททางไบโอเทคแห่งหนึ่งของอินเดียเล่าว่า เมื่อเขาเปิดบริษัทสามปีก่อน ต้องการพนักงานราว ๒๕ คนเท่านั้น
แต่มีผู้สมัครเข้าไปถึงราว ๒๔๐๐๐ คน ผลสุดท้ายเลยคัดมาได้ราว ๓๐ คน จะเห็นว่า บริษัทเขาได้คนแบบหัวกะทิจริงๆเข้าไปทำงาน
ปัญหาหนึ่งที่เขาพบก็คือ เขาพบว่าบัณฑิตที่นั่นก่อนจะทำงานได้ต้องฝึกงานเสียก่อน เพราะบัณฑิตจบใหม่ยังไม่มีทักษะสูงพอที่จะทำงาน ผมได้ฟังก็เฉยๆในเรื่องนี้
บ้านเราปัญหาอาจจะแย่กว่ามาก เพราะมีมหาวิทยลัยใหม่ๆที่ปรับสถานะขึ้นมาสอนระดับปริญญาตรีแยะมาก แต่ดูแล้ว คุณภาพหลักสูตร และคุณภาพของคณาจารย์ส่วนมาก
ดูจะไม่ได้ปรับตาม มหาวิทยาลัยชั้นนำในบ้านเราบางแห่งบางหลักสูตรก็อาจจะมีปัญหาเรื่อง หลักสูตรไม่เคยเปลี่ยนเลยมาสี่สิบปีแล้วก็มี แม้ว่าโลกจะก้าวหน้าไปมากแค่ไหน
เผลอๆถ้าผมหรือใครกะจะเปิดบริษัทมั่ง คงต้องฝึกงานไม่น้อยกว่า ๖ เดือนละมัง
ไบโอไทแลนด์ กับธุรกิจไบโอเทคในเมืองไทย
งานไบโอไทแลนด์ที่ศูนย์สิริกิตติ์เพิ่งจบไปเมื่อสองสัปดาห์ก่อน งานนี้จัดปีเว้นปี โดย BIOTEC เป็นเจ้าภาพ ใช้เงินหลายล้านในการจัด นับเป็นการประชุมวิชาการระดับภูมิภาคในประเทศไทย ที่จุดประสงค์ของงานดีมาก
งานนี้มีเนื้อหาหลายส่วนที่ บางส่วนก็เข้าฟังได้ทั้งนักวิชาการ บางส่วนเหมาะกับนักธุรกิจที่สนใจทำทางเทคโนโลยีชีวภาพ และบางส่วนเหมาะสำหรับนิสิตนักศึกษา นักเรียน ซึ่งส่วนหลังนี้ฟรี
ผมมีโอกาสไปเข้าฟังการประชุมในช่วงหนึ่งที่ว่าด้วยธุรกิจไบโอเทค ช่วงนั้นได้รับฟังซีอีโอต่างชาติหลายคนมาบรรยาย สนุกมาก เสียดายคนไทยไปเข้าฟังไม่มากนัก
นักศึกษาดูจะไม่มีเลย อาจจะกลัวฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องก็ได้ หรือว่าคงไม่อยากเสียเงิน ถ้าพวกเขาได้มีโอกาสเข้ามาฟัง จะได้อะไรๆเยอะมาก อาจจะได้ไอเดียไปทำธุรกิจก็ได้
และยังมีการบรรยายช่วงหนึ่งว่าด้วยสิทธิประโยชน์ทางภาษี และเงินลงทุนด้วย นักว่ามีประโยชน์มาก
มีซีอีโอจากบริษัทหนึ่งของเกาหลี ผมได้ฟังแล้วผมประทับใจมาก เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วย ทำงานสองงที่ ที่สถาบันวิจัย และที่บริษัท งานวิจัยของเขาที่ทำมาเป็นสิบๆปี เขาเอามาทำขาย
บริษัทเขาผลิตเอ็นไซม์แค่ตัวเดียวออกขายทั่วโลก สารพัดจะใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งในทางเทคนิคแล้วไม่ยากเลยจริงๆ ย้อนกลับมาดูตัวเองบ้าง
สมัยผมเรียนวิทยาศาสตร์ ผมก็เคยผ่านเรื่องพวกนี้มาแล้ว แต่ไม่เคยเลยที่จะดิดออกไปหาสตางค์ใช้จากการเอางานวิจัยไปทำเป็นธุรกิจ สงสัยว่าตอนผมเรียน ครูอาจารย์จะยังไม่ได้เน้นเรื่องนี้
ตอนเรียนปริญญาตรีอาจารย์ก็เฝ้าแต่สอนงานที่จะไปทำเป็นลูกจ้างบริษัท(ในห้องแล็บ)ให้ได้ พอเรียนโทก็เหมือนกัน พอเรียนเอกก็เฝ้าสอนจะให้เป็นนักวิจัย หรืออาจารย์ แถมติดทุนอีกต่างหาก
ต้องทำงานเป็นทาษไปกว่าสิบปี ทำให้ไม่มีความคิดเรื่องการทำธุรกิจเลยในตอนนั้น ดูเห็นเป็นเรื่องยากเกินเอื้อม วกกลับมาเรื่องงานไบโอไทยแลนด์ดีกว่า ผมว่าหลังงานนี้ผ่านไปแล้ว คิดดูแล้วก็น่าเสียดาย
ที่คนไทยส่วนมากที่มีศักยภาพจะทำธุรกิจไบโอเทคดูจะไม่รู้เรื่องงานนี้กันหรือกระตือรือร้นมาฟังมากกันเลย คนจึงไม่ได้ไปเข้าฟังมากนัก ทำให้คนเหล่านั้นพลาดโอกาสรับรู้เรื่องราวของการสร้างธุรกิจไบโอเทคในประเทศไทย
ไปอย่างน่าเสียดาย
งานนี้มีเนื้อหาหลายส่วนที่ บางส่วนก็เข้าฟังได้ทั้งนักวิชาการ บางส่วนเหมาะกับนักธุรกิจที่สนใจทำทางเทคโนโลยีชีวภาพ และบางส่วนเหมาะสำหรับนิสิตนักศึกษา นักเรียน ซึ่งส่วนหลังนี้ฟรี
ผมมีโอกาสไปเข้าฟังการประชุมในช่วงหนึ่งที่ว่าด้วยธุรกิจไบโอเทค ช่วงนั้นได้รับฟังซีอีโอต่างชาติหลายคนมาบรรยาย สนุกมาก เสียดายคนไทยไปเข้าฟังไม่มากนัก
นักศึกษาดูจะไม่มีเลย อาจจะกลัวฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องก็ได้ หรือว่าคงไม่อยากเสียเงิน ถ้าพวกเขาได้มีโอกาสเข้ามาฟัง จะได้อะไรๆเยอะมาก อาจจะได้ไอเดียไปทำธุรกิจก็ได้
และยังมีการบรรยายช่วงหนึ่งว่าด้วยสิทธิประโยชน์ทางภาษี และเงินลงทุนด้วย นักว่ามีประโยชน์มาก
มีซีอีโอจากบริษัทหนึ่งของเกาหลี ผมได้ฟังแล้วผมประทับใจมาก เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วย ทำงานสองงที่ ที่สถาบันวิจัย และที่บริษัท งานวิจัยของเขาที่ทำมาเป็นสิบๆปี เขาเอามาทำขาย
บริษัทเขาผลิตเอ็นไซม์แค่ตัวเดียวออกขายทั่วโลก สารพัดจะใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งในทางเทคนิคแล้วไม่ยากเลยจริงๆ ย้อนกลับมาดูตัวเองบ้าง
สมัยผมเรียนวิทยาศาสตร์ ผมก็เคยผ่านเรื่องพวกนี้มาแล้ว แต่ไม่เคยเลยที่จะดิดออกไปหาสตางค์ใช้จากการเอางานวิจัยไปทำเป็นธุรกิจ สงสัยว่าตอนผมเรียน ครูอาจารย์จะยังไม่ได้เน้นเรื่องนี้
ตอนเรียนปริญญาตรีอาจารย์ก็เฝ้าแต่สอนงานที่จะไปทำเป็นลูกจ้างบริษัท(ในห้องแล็บ)ให้ได้ พอเรียนโทก็เหมือนกัน พอเรียนเอกก็เฝ้าสอนจะให้เป็นนักวิจัย หรืออาจารย์ แถมติดทุนอีกต่างหาก
ต้องทำงานเป็นทาษไปกว่าสิบปี ทำให้ไม่มีความคิดเรื่องการทำธุรกิจเลยในตอนนั้น ดูเห็นเป็นเรื่องยากเกินเอื้อม วกกลับมาเรื่องงานไบโอไทยแลนด์ดีกว่า ผมว่าหลังงานนี้ผ่านไปแล้ว คิดดูแล้วก็น่าเสียดาย
ที่คนไทยส่วนมากที่มีศักยภาพจะทำธุรกิจไบโอเทคดูจะไม่รู้เรื่องงานนี้กันหรือกระตือรือร้นมาฟังมากกันเลย คนจึงไม่ได้ไปเข้าฟังมากนัก ทำให้คนเหล่านั้นพลาดโอกาสรับรู้เรื่องราวของการสร้างธุรกิจไบโอเทคในประเทศไทย
ไปอย่างน่าเสียดาย
Monday, October 31, 2005
สัมภาษณ์ สตีฟ จ๊อบส์ อีกแล้ว
เพิ่งรู้จากบทความนี้ว่า ซีอีโอ ของ แอ้ปเปิ้ล เป็นชาวพุทธ น่าสนใจที่ว่า คนในแคลิฟอร์เนียจำนวนมากถือพุทธกัน
Thursday, October 27, 2005
สั่งไปแล้ว PowerBook รุ่นใหม่ จอความละเอียดสูง
เมื่อวานไปนั่งวางแผนงานรายเดือนไปอีก ๒๔ เดือนข้างหน้า คิดสะระตะแล้ว สรุปว่าต้องซื้อแล็ปท๊อปใหม่ ไม่มีทางเลี่ยง เพื่อบีบเวลาให้สุดๆ เวลาอยู่บ้านก็ต้องทำงานได้สะดวก ตอนนี้สลับไปๆมา ระหว่าง พาวเวอร์แม็ค จีไฟฟ์ ที่ทำงาน กับ วินโดวส์ และ ลินุกส์ ที่บ้าน ระหว่างสามเครื่อง ทำเอาผมมึนเป็นบางครั้ง เลยตกลงใจปลดเกษียณเจ้าแล็ปท้อปตัวเก่า (เจ้า Toaster) อายุสามปีกว่าเสียเลย จอมันไม่สว่าง ฮาร์ดดิสก็เต็ม แฮงก์บ่อยอีกต่างหาก เช้านี้สั่งแม็คตัวใหม่ไปแล้ว เป็น PowerBook 15" จอ 1440x960 pixels, RAM 512 MB, HD 80 GB, etc. ราคาทำเอาผมจนไปอีกเก้าหมื่นบาท เครื่องจะเข้ามาเมืองไทยกลางเดือนหน้า เย้ เย้
Wednesday, October 26, 2005
แม็คออกมาใหม่ หลายตัว เยี่ยมจริงๆ
แอปเปิ้ล ออกแม็ครุ่นใหม่ออกมามาก ที่คนทั่วโลกซู้ดปากอยากได้ก็คือ PowerMac Quad ที่มี dual core CPU สองตัว เท่ากับสี่ซีพียู
สำหรับผมเฉยๆ แค่แม็ค สองซีพียูธรรมดาก็เยี่ยมอยู่แล้ว
แต่ที่อยากได้คือ PowerBook รุ่นใหม่ที่จอภาพละเอียดสูงมาก ขนาด 15" เนี่ย จอคมกว่าจอ Sony LCD 17" ที่ผมกำลังใช้อยู่ตอนนี้เสียอีก
สงสังเราจะต้องไปแคะกระปุกมาสัก ๙ หมื่นบาทในไม่ช้าแล้วละมัง
สำหรับผมเฉยๆ แค่แม็ค สองซีพียูธรรมดาก็เยี่ยมอยู่แล้ว
แต่ที่อยากได้คือ PowerBook รุ่นใหม่ที่จอภาพละเอียดสูงมาก ขนาด 15" เนี่ย จอคมกว่าจอ Sony LCD 17" ที่ผมกำลังใช้อยู่ตอนนี้เสียอีก
สงสังเราจะต้องไปแคะกระปุกมาสัก ๙ หมื่นบาทในไม่ช้าแล้วละมัง
กำลังทำงานแปลอยู่
ตอนนี้ผมรับช่วยงานแปลหนังสือภาษาอังกฤษเป็นไทยอยู่หนึ่งชิ้น ทำมาสองเดือนแล้ว คาดว่าอีกสักสี่เดือนน่าจะเสร็จ ที่ใช้คำว่าช่วยเพราะไม่ได้แปลคนเดียว มีนักวิชาการไทยช่วยกันแปลจำนวนมาก หลายสิบคน
งานนี้เนื้อหาไม่มีปัญหา สบายอยู่แล้ว แต่เสียเวลาตรงที่ต้องไปถอดคำวิสามาณยนามฝรั่งสารพัดชาติเป็นไทย แถมจะให้ตรงเกณฑ์ของราชบัณฑิตอีก งานนี้เลยอ่วม เพราะไม่มีซอฟต์แวร์ง่ายๆเข้าช่วย ต้องพลิกหนังสือคู่มือหลายเล่มกะคำพวกนั้นแต่ละคำ และในการทำงานถอดความนั้นเล่าก็ต้องใช้สมาธิในการทำงานมากทีเดียว สำนวนฝรั่งง่ายๆที่อ่านแล้วเราก็เข้าใจอยู่หรอก แต่จะถอดออกมาเป็นภาษาไทยให้สละสลวย อ่านแล้วเนียน ทั้งๆที่รู้ทั้งรู้ว่าเป็นสำนวนแบบมีกลิ่นนมเนยเนี่ย ต้องเสียเวลาแก้อยู่หลายตลบ
และที่สำคัญ งานมีแถมบังคับว่างานนี้ต้องไปใช้โปรแกรมบนวินโดวส์เอ็กซ์พีอีกต่างหาก ไม่ได้ใช้เครื่องแม็ค และขาดความสะดวกไปแยะ โชคดีที่ตั้งใจไว้แต่แรกว่าเป็นงาน"เพื่อชาติ" ค่าแรงน้อยก็ไม่ว่า เลยเป็นงานที่ซีเรียสแต่ไม่เครียดจนเกินไป แม้จะเสร็จงานในบางคืนหัวมึนแทบหมุน กว่าผมจะไปเข้าอาณาปาณสติกัมมัฏฐานมาแก้ก็สักพักนึงถึงจะหาย วันนี้เลยบ่นเสียหน่อยไว้เป็นหลักฐาน
ปีหน้าเป็นอย่างช้า คนทั่วไปก็จะรู้เองแหละว่าหนังสืออะไร
งานนี้เนื้อหาไม่มีปัญหา สบายอยู่แล้ว แต่เสียเวลาตรงที่ต้องไปถอดคำวิสามาณยนามฝรั่งสารพัดชาติเป็นไทย แถมจะให้ตรงเกณฑ์ของราชบัณฑิตอีก งานนี้เลยอ่วม เพราะไม่มีซอฟต์แวร์ง่ายๆเข้าช่วย ต้องพลิกหนังสือคู่มือหลายเล่มกะคำพวกนั้นแต่ละคำ และในการทำงานถอดความนั้นเล่าก็ต้องใช้สมาธิในการทำงานมากทีเดียว สำนวนฝรั่งง่ายๆที่อ่านแล้วเราก็เข้าใจอยู่หรอก แต่จะถอดออกมาเป็นภาษาไทยให้สละสลวย อ่านแล้วเนียน ทั้งๆที่รู้ทั้งรู้ว่าเป็นสำนวนแบบมีกลิ่นนมเนยเนี่ย ต้องเสียเวลาแก้อยู่หลายตลบ
และที่สำคัญ งานมีแถมบังคับว่างานนี้ต้องไปใช้โปรแกรมบนวินโดวส์เอ็กซ์พีอีกต่างหาก ไม่ได้ใช้เครื่องแม็ค และขาดความสะดวกไปแยะ โชคดีที่ตั้งใจไว้แต่แรกว่าเป็นงาน"เพื่อชาติ" ค่าแรงน้อยก็ไม่ว่า เลยเป็นงานที่ซีเรียสแต่ไม่เครียดจนเกินไป แม้จะเสร็จงานในบางคืนหัวมึนแทบหมุน กว่าผมจะไปเข้าอาณาปาณสติกัมมัฏฐานมาแก้ก็สักพักนึงถึงจะหาย วันนี้เลยบ่นเสียหน่อยไว้เป็นหลักฐาน
ปีหน้าเป็นอย่างช้า คนทั่วไปก็จะรู้เองแหละว่าหนังสืออะไร
Monday, October 24, 2005
A new Ranad album : "Khun In 2, Ranad Bangkok"
I went to B2S at Central Ladprao a couple days ago and found that Aj. Narongrit Tosa-nga just released his new Ranad & Piano album called "ขุนอิน 2 ระนาดบางกอก".
It has beeen a while since he released Khun In 1. This new album is called Khun In 2, and the northern style traditional Thai songs are very nice to listen to.
The price is not expensinve either: 189 Baht, so I felt compelled to help supportting this xylophone master and add his CD into my small collection.
His website is here : http://www.khun-in.com/
A book on Thai ancient maps: แผนที่เดินทาง
I got some books from SE-ED again. A good one I want to mention today is written by my one of my favorite writers, Mr. Michael Wright, an English gentleman who writes excellent Thai articles.
It is published in color, in good quality paper, and featured lots of Thai ancient maps.
The listed price was already like a bargained price: only 189 Baht, not even mention my SE-ED membership discount.
It is suitable for Thai bookworms who loves Thai history, archeology, or handicraft stuff.
Tuesday, October 18, 2005
สตีฟ จ๊อบส์ เป็นหน้าปกวารสารไทม์
ไม่รู้ว่าฉบับเอเชียจะลงหรือเปล่า เรื่อง How Apple does it ? จาก TIME canada.com เลยไปอ่านออนไลน์มาแล้ว เนื้อหาดีมาก
Saturday, October 15, 2005
Siang Tian : a great album of Thai symphony
This is my first attempt to post about music in my blog, Thai classical music that is.
I digged up a CD album by the great music master and composer, Prasidh Silapabanleng (1912-) to listen again last night.
I started to be bored with the like of Bach's, Vivaldi's, and other Baroques I normally listened. I have a mini stereo set and a TV on my writing desk in my home office just behind my laplop here.
Althought I stumbled on this album by chance and bought it last year, the content actually came from a life-performance which took place in 1995 in Bangkok, by the Bangkok Symphony Orchestra (BSO), and it was later produced in the CD form in 1996.
It was an excellent and great music. I can not verbally express my feeling enought of it.
Historically, Siang Tian is also interesting since could be considered his family's work of 3 generations.
The original Thai music version was an ancient second-speed one, perhaps known by Thai musicians since the Ayuthaya period, and the late great music grandmaster, Sorn Silapabanleng (better known in the royally bestowed Thai official title of "Luang Praditpairoh) composed it into a full set of Thai music.
Mr. Prasidh, or as we Thai called him Ajarn Prasidh, recomposed his dad's Thai version into a western one in the form of string quartet and later for the symphony.
(Newer generation of Thai must have known both of them through the characters depicted by the movie, The Overture (or Hom Rong, in Thai).
Executive producer of the CD as stated in the CD's cover is Mr. Prasidh's son and thus Luang Praditpairoh's grandson.
There are other excellent songs in this album, including the well known northern Thai tune called Damnern Sai (Walking along the sandy beach). The Siamese Suite is also very nice.
I do not think one can easily find this CD on sale any more. If one finds it, I think it 's worth buying to listen to and keep in one's collection.
Friday, October 14, 2005
พักผ่อนที่เขาใหญ่ และ ปากช่อง
เมื่อสุดสัปดาห์ก่อน ผมและเพื่อนๆนัดพาลูกไปเที่ยวที่ปากช่อง และ เขาใหญ่ รู้สึกสบายกับอากาศบริสุทธิ์ของทุ่งหญ้าและป่าเขา
ช่วงหนึ่งในเขาใหญ่ เราไปเดินป่าราวสองชั่วโมงครึ่ง จากผากล้วยไม้ ไปเหวสุวัต ก็สนุกดี ระยะทางราว ๓ กม. เดินพอเหนื่อย เด็กๆวัยสิบขวบเนี่ยสนุกกันมาก เพื่อนผมคนนึงอุ้มลูกอายุสักสองขวบไปด้วยตลอดทาง เขาเก่งจริงๆ เดินป่านะ ไม่ได้เดินห้างในกรุงเทพฯ เพราะต้องเดินขึ้นๆลงๆ ลุยโคลน ไต่เนินดิน ลงเนิน ลอดใต้ท่อนไม้ ข้ามท่อนซุง ลอดพงหนาม มุดใต้ดงหวาย ไต่ซุงข้ามลำธาร ฯลฯ ต้องยกนิ้วให้เขา
กลับถึงโรงแรม เหนื่อยมากจริงๆ
อาหารที่อร่อยคือ วัวหัน (ขอโทษ ผมไม่ได้ทานเจ) เป็นลูกวัวย่างทั้งตัว ก่อนกินแวะไปดูที่เตา เห็นแล้วก็สงสาร ต้องปลงอนิจจังแต่พอกินเข้า ผมกับลูกต่างทานกันคนละสามจาน
ที่สนุกอีกที่คือที่ปากช่อง คือที่ ทองสมบูรณ์คลับ เป็นฟาร์มคนละสไตล์กับฟาร์มโชคชัย ที่นี่คล้ายสวนสนุกแบบลูกทุ่ง เช่นมีขี่ม้า มีรถเอทีวี (All terrain vehicle) สำหรับผู้ใหญ่และเด็กโต มี Go cart ให้ขี่ นอกจากนี้ก็มี รอกโหนตัวลงเนิน(อย่างรวดเร็ว ผมว่าน้องๆบันจี้จั๊มป์) รถเลื่อนขับลงเนิน รถกระเช้า อะไรๆอีกแยะ ถ้าไม่มีเพื่อนท้องถิ่นจัดรายการให้ คนนอกไม่มีใครรู้มากนักแน่ๆ
ลินิกส์ (หรือลินุกส์) กับอนาคตของประเทศไทย
อ่านเจอจากเว็บ http://poonlap.blogspot.com/2005/10/blog-post_09.html
ผ่าน http://linux.thai.net/planet บอกว่า หนังสือลินุกส์ภาษาไทยขายไม่ได้ คนไทยไม่ค่อยซื้อ
ผมว่าถ้างั้น ต่อๆไปมันจะค่อยๆหายไป ในความคิดของผมเรื่องนี้ดูจะเป็นความล้มเหลวทางนโยบายของรัฐ ที่ไม่ผลักดันลินุกส์เป็นโอเอสแห่งชาติ (จะมีใครบางคนโดนเอาเงินจุกปากหรือเปล่าก็ไม่ทราบ) และที่สำคัญ คนไทยทั่วไปไม่เคยมีความรู้สึกที่ดีกับลินุกส์ คนที่ไม่เคยอ่านเว็บไอทีต่างประเทศ หรือข่าว หรือบล๊อกในวงการคอมฯจะไม่เข้าใจว่าลินุกส์นั้นมีพลังขนาดไหน ดีขนาดไหน ใช้แล้วรู้สึกเท่ห์แค่ไหน อย่างที่เด็กฝรั่งส่วนหนึ่งรู้สึก
จริงๆแล้วถ้าใครอยากใช้โอเอสที่คุ้มเงิน เพราะฟรีและดีก็ต้องใช้ลินุกส์ แต่ถ้าอยากใช้ของเยี่ยมก็ต้องใช้แม็ค (แต่จ่ายแพงหน่อย) แต่ถ้าคนที่ไม่รู้จะใช้อะไร แค่ตามๆอื่นเขา และกะเผื่อใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายด้วย (ซึ่งอาจจะเป็นคนส่วนมาก)ก็คงจะไม่คิดอะไร ไปหาโอเอสเก่า ๓ ถึง ๕ ปีมาแล้วแอบก๊อบมาใช้อย่างวินโดวส์
ระยะหลังผมใช้แม็คโอเอสเท็นของแอปเปิ้ลที่ที่ทำงาน โดยพื้นฐานก็คือ BSD Unix ส่วนแล็ปท๊อปตัวเก่าที่ผมเรียกว่าเจ้า toaster นั้นลง WinME กับลง Slackware Linux version 10.2 รุ่นใหม่ไว้ ใช้สลับกัน ส่วน PC Pentium4 3.0E GHz ที่บ้านอีกตัวนั้นลง Linux TLE 7.0 เอาไว้ (ยังมีคอมเก่าอีกสองตัวที่บ้านที่คนในครอบครัวผมใช้ นี่นับเฉพาะที่ทำงานได้นะ ตัวที่ไม่ทำงานแล้วไม่นับ) บนเจ้าแม็คนั้นผมใช้ terminal windows เป็นประจำ และบ่อยครั้งก็ต่อไปทำงานยัง Unix servers ตัวอื่น
แต่เทียบกันแล้ว ในหนึ่งสัปดาห์ผมใช้แม็คโอเอสเท็นมากที่สุดตอนนี้ ตามมาด้วยลินุกส์กับวินโดวส์มี แบบสูสี (ไว้โอกาสหน้าจะมาบรรยายประสบการณ์การใช้ไทเกอร์ต่อไป)
ผมเห็นว่าในอนาคตอีกสักสิบปี ถ้าคนไทยส่วนหนึ่งไม่หันมาใช้ลินิกส์ให้มากพอ ประเทศไทยจะเสียเงินค่าซอฟต์แวร์แบบมหาศาล นับหมื่นล้านบาทต่อปี และนี่คือสิ่งที่น่าตกใจ พูดกันมานานหลายปี แต่ดูจะแก้ปัญหาไม่ได้เสียที
วันนี้เอาแค่นี้ก่อน ผมยังไม่อยากพูดถึงผลกระทบระดับโลก โดยเฉพาะเรื่อง โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์
ผ่าน http://linux.thai.net/planet บอกว่า หนังสือลินุกส์ภาษาไทยขายไม่ได้ คนไทยไม่ค่อยซื้อ
ผมว่าถ้างั้น ต่อๆไปมันจะค่อยๆหายไป ในความคิดของผมเรื่องนี้ดูจะเป็นความล้มเหลวทางนโยบายของรัฐ ที่ไม่ผลักดันลินุกส์เป็นโอเอสแห่งชาติ (จะมีใครบางคนโดนเอาเงินจุกปากหรือเปล่าก็ไม่ทราบ) และที่สำคัญ คนไทยทั่วไปไม่เคยมีความรู้สึกที่ดีกับลินุกส์ คนที่ไม่เคยอ่านเว็บไอทีต่างประเทศ หรือข่าว หรือบล๊อกในวงการคอมฯจะไม่เข้าใจว่าลินุกส์นั้นมีพลังขนาดไหน ดีขนาดไหน ใช้แล้วรู้สึกเท่ห์แค่ไหน อย่างที่เด็กฝรั่งส่วนหนึ่งรู้สึก
จริงๆแล้วถ้าใครอยากใช้โอเอสที่คุ้มเงิน เพราะฟรีและดีก็ต้องใช้ลินุกส์ แต่ถ้าอยากใช้ของเยี่ยมก็ต้องใช้แม็ค (แต่จ่ายแพงหน่อย) แต่ถ้าคนที่ไม่รู้จะใช้อะไร แค่ตามๆอื่นเขา และกะเผื่อใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายด้วย (ซึ่งอาจจะเป็นคนส่วนมาก)ก็คงจะไม่คิดอะไร ไปหาโอเอสเก่า ๓ ถึง ๕ ปีมาแล้วแอบก๊อบมาใช้อย่างวินโดวส์
ระยะหลังผมใช้แม็คโอเอสเท็นของแอปเปิ้ลที่ที่ทำงาน โดยพื้นฐานก็คือ BSD Unix ส่วนแล็ปท๊อปตัวเก่าที่ผมเรียกว่าเจ้า toaster นั้นลง WinME กับลง Slackware Linux version 10.2 รุ่นใหม่ไว้ ใช้สลับกัน ส่วน PC Pentium4 3.0E GHz ที่บ้านอีกตัวนั้นลง Linux TLE 7.0 เอาไว้ (ยังมีคอมเก่าอีกสองตัวที่บ้านที่คนในครอบครัวผมใช้ นี่นับเฉพาะที่ทำงานได้นะ ตัวที่ไม่ทำงานแล้วไม่นับ) บนเจ้าแม็คนั้นผมใช้ terminal windows เป็นประจำ และบ่อยครั้งก็ต่อไปทำงานยัง Unix servers ตัวอื่น
แต่เทียบกันแล้ว ในหนึ่งสัปดาห์ผมใช้แม็คโอเอสเท็นมากที่สุดตอนนี้ ตามมาด้วยลินุกส์กับวินโดวส์มี แบบสูสี (ไว้โอกาสหน้าจะมาบรรยายประสบการณ์การใช้ไทเกอร์ต่อไป)
ผมเห็นว่าในอนาคตอีกสักสิบปี ถ้าคนไทยส่วนหนึ่งไม่หันมาใช้ลินิกส์ให้มากพอ ประเทศไทยจะเสียเงินค่าซอฟต์แวร์แบบมหาศาล นับหมื่นล้านบาทต่อปี และนี่คือสิ่งที่น่าตกใจ พูดกันมานานหลายปี แต่ดูจะแก้ปัญหาไม่ได้เสียที
วันนี้เอาแค่นี้ก่อน ผมยังไม่อยากพูดถึงผลกระทบระดับโลก โดยเฉพาะเรื่อง โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์
Thursday, October 13, 2005
แผ่นดินไหวที่แคชเมียร์ในปากีสถานและอินเดีย
เมื่อสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมามีจังค์เมล์จากเพื่อนส่งต่อให้เพื่อนกันว่อนไปทั่วเมืองไทย กรณีมีคำทำนายที่เว็บหนึ่งบอกว่าจะมีเหตุเภทภัยต่างๆที่กรุงเทพฯ คล้ายนิวออร์ลีนส์ กับจะมีสึนามิเกิดซ้ำอีก จำไม่ได้ว่าทายไปรวมถึงแผ่นดินไหวหรือเปล่า กลายเป็นข่างลือกันแซดไปทั่วเมือง จนรายการทีวีอย่างของคุณสรยุทธ์ก็ยังเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างๆไปออกทีวี
ต่อมาก็พอดีมีเหตุแผ่นดินไหว ที่มีคนตายมากที่แคชเมียร์ในปากีสถานและอินเดีย ก็ทำให้เกิดประเด็นมาถกกันว่าจะเกิดอันตรายที่กรุงเทพฯได้หรือไม่ ก็ไปออกรายการกันอีก
ผมฟังความเห็นผู้เชี่ยวชาญดูและใช้ความรู้สึกตนเองก็เห็นว่า แผ่นดินไหวรุนแรงในไทยน่าจะเกิดขึ้นได้ แต่โอกาสน้อย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ว่า เมื่อไร จะเจอแจ้คพ็อตแค่นั้นเอง ตึกในกรุงเทพฯส่วนมากสร้างไม่ได้มาตราฐาน ในส่วนตัวผมเองนั้นตั้งใจไว้เลยมาเป็นสิบปีแล้วว่าไม่ซื้อคอนโดเด็ดขาด อยู่แต่บ้านเดี่ยว ยังไงๆถ้าเกิดแผ่นดินไหวบ้านพังก็ยังมีที่ดินอยู่ ถ้าจะอยู่คอนโดก็ต้องผมออกแบบเองและคุมการสร้างเองตามสเป็คของผมเท่านั้น คนอื่นสร้างนั้นคิดว่าไว้ใจไม่ได้ ส่วนเรื่องเขื่อนที่เมืองกาญจน์หรือทางเหนือก็เช่นกัน เปลือกโลกเคลื่อนตลอดเวลา ไม่ได้อยู่นิ่งๆ พอถึงวันหนึ่งความเครียดมีมากพอมันก็อาจจะมาสักที แต่ไม่รู้เมื่อไร
ต่อมาก็พอดีมีเหตุแผ่นดินไหว ที่มีคนตายมากที่แคชเมียร์ในปากีสถานและอินเดีย ก็ทำให้เกิดประเด็นมาถกกันว่าจะเกิดอันตรายที่กรุงเทพฯได้หรือไม่ ก็ไปออกรายการกันอีก
ผมฟังความเห็นผู้เชี่ยวชาญดูและใช้ความรู้สึกตนเองก็เห็นว่า แผ่นดินไหวรุนแรงในไทยน่าจะเกิดขึ้นได้ แต่โอกาสน้อย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ว่า เมื่อไร จะเจอแจ้คพ็อตแค่นั้นเอง ตึกในกรุงเทพฯส่วนมากสร้างไม่ได้มาตราฐาน ในส่วนตัวผมเองนั้นตั้งใจไว้เลยมาเป็นสิบปีแล้วว่าไม่ซื้อคอนโดเด็ดขาด อยู่แต่บ้านเดี่ยว ยังไงๆถ้าเกิดแผ่นดินไหวบ้านพังก็ยังมีที่ดินอยู่ ถ้าจะอยู่คอนโดก็ต้องผมออกแบบเองและคุมการสร้างเองตามสเป็คของผมเท่านั้น คนอื่นสร้างนั้นคิดว่าไว้ใจไม่ได้ ส่วนเรื่องเขื่อนที่เมืองกาญจน์หรือทางเหนือก็เช่นกัน เปลือกโลกเคลื่อนตลอดเวลา ไม่ได้อยู่นิ่งๆ พอถึงวันหนึ่งความเครียดมีมากพอมันก็อาจจะมาสักที แต่ไม่รู้เมื่อไร
Wednesday, October 05, 2005
A lot of fallen trees along Kampangpetch 2 Road
I just passed Kampangpetch 2 Road this morning and feel saddened when I saw that dozens of medium size trees along the green road were either uprooted or badly tilted by the strong wind during a very strong thunder storm just two nights before. That might be one of the strongest thunder storms and rains for Bangkok this year. I had wished that this road would be a scenic road and nice to drive. Too bad that the fallen trees were due to the way they were planted: using medium size ones to plant with the main roots cut. I hope BMA replanted new trees to replace those fallen ones.
Slipped-through advertisement via Thai local cables, UBC
I just noticed only recently and wondered why there were international advertisements which slipped thru between programs in western TV channels. Now I understand why. I think it is O.K. to let they go through. Previously, there were Thai boring information pages inserted. Foreign ads are not as boring as those.
Tuesday, October 04, 2005
Thailand Shopping Street : Good or Bad ?
Two nights ago I read a Thai magazine, Brandage, featuring several articles on the emerging Thailand shopping street, a straight line under the SkyTrain from the Emporium in Sukhumvit Road through Kasorn Plaza, Amarin Plaza, Central World Trade Center, onward to Siam Paragon (about to be openned in few months ahead), Siam Center, Siam Discovery Center, MBK Center, Siam Square on Rama I Road. The combined shopping areas, totalling about 2 million square meters, would soon create a world's shopping paradise for international shoppers and potentially earn billions of dollars in income for the country.
However, I think if those would drain a lot of money from Thai shoppers, or to convert more of the Thai younger generation into an even more materialistic, expensive brand-name only shoppers, that would be devastating for future Thailand in the long run.
Personally, I do not use brand name items and think those have very low performance/price ratio. They are not noteworthy for me.
However, I think if those would drain a lot of money from Thai shoppers, or to convert more of the Thai younger generation into an even more materialistic, expensive brand-name only shoppers, that would be devastating for future Thailand in the long run.
Personally, I do not use brand name items and think those have very low performance/price ratio. They are not noteworthy for me.
Tuesday, September 27, 2005
สัมภาษณ์ คนที่ริเริ่มทำ วิกิพีเดีย จิมมี่ เวลส์ (Jimmy Wales)
ผมอ่านบทสัมภาษณ์แล้วชอบมาก ได้ความคิดหลายอย่างที่ทบทวนแวะเวียนเข้ามา
อย่างแรก เยาวชน บรรดาคนที่เป็นคนรักความรู้ จะสามารถเพิ่มพูนความรู้ให้กับคนอื่นในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ตได้มากกว่าคนในวัยอื่นๆ(เช่นคนทำงาน คนวัยกลางคน อาจจะไม่นับนักวิชาการบางคน)
อย่างผมตอนนี้ก็ไม่มีเวลาไปเขียนให้วิกิพีเดีย เพราะลำพังงานตัวเองก็จะไปไม่รอดอยู่แล้ว ในเมืองนอก โดยเฉพาะคนรุ่นหนุ่มสาวฝรั่ง เขาอุทิศตัวสร้างความรู้และทรัพยากรให้กับอินเทอร์เน็ตมากทีเดียว ของไทยดูจะมีน้อยมากๆ
อย่างที่สอง เรื่องประชาคม ที่มีความสนใจในสิ่งเดียวกัน อาจจะมีวัตถุประสงค์สร้างอะไรบางอย่างเพื่อสังคมร่วมกัน อย่างนั้นเป็นต้น การมีอินเทอร์เน็ตทำให้สิ่งนี้เป็นไปได้ ปัญหาอยู่ที่ว่าจะมีใครเริ่มประชาคมต่างๆขึ้นมาหรือไม่ อย่างเช่น กลุ่มคนที่อาจจะสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือรีไซเคิลในเมืองไทย ถ้ามีการสร้างฟอรัมออนไลน์ขึ้นมา ก็จะเป็นการระดมสมอง และผลักดันประเด็นต่างๆไปสู่สังคมได้
อย่างที่สาม คนที่เป็นนักอ่านนั้น มีโอกาสและความรู้พอที่จะทำอะไรเพื่อสังคมได้มาก เมื่อเขาหยุดพักเพื่อคิดแล้ว แล้วตัดสินใจลงมือทำทันที (คงจะมีโอกาสมากกว่านักแซตหรือนักเล่นเกมส์อย่างเดียวแน่ๆ) ถ้าหนอนหนังสือไทย หันมาสร้างความรู้ไว้บนอินเทอร์เน็ตมากขึ้นก็จะดี
ไม่รู้จะมีคนอ่านความเห็นนี้แล้วเอาไปทำมากแค่ไหน แต่แม้จะคนเดียว(ผมอาจจะทำเอง หลังโดนตัวเองกระตุ้นใหม่นี่) ก็น่าจะทำให้อะไรดีขึ้นบ้าง
อย่างแรก เยาวชน บรรดาคนที่เป็นคนรักความรู้ จะสามารถเพิ่มพูนความรู้ให้กับคนอื่นในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ตได้มากกว่าคนในวัยอื่นๆ(เช่นคนทำงาน คนวัยกลางคน อาจจะไม่นับนักวิชาการบางคน)
อย่างผมตอนนี้ก็ไม่มีเวลาไปเขียนให้วิกิพีเดีย เพราะลำพังงานตัวเองก็จะไปไม่รอดอยู่แล้ว ในเมืองนอก โดยเฉพาะคนรุ่นหนุ่มสาวฝรั่ง เขาอุทิศตัวสร้างความรู้และทรัพยากรให้กับอินเทอร์เน็ตมากทีเดียว ของไทยดูจะมีน้อยมากๆ
อย่างที่สอง เรื่องประชาคม ที่มีความสนใจในสิ่งเดียวกัน อาจจะมีวัตถุประสงค์สร้างอะไรบางอย่างเพื่อสังคมร่วมกัน อย่างนั้นเป็นต้น การมีอินเทอร์เน็ตทำให้สิ่งนี้เป็นไปได้ ปัญหาอยู่ที่ว่าจะมีใครเริ่มประชาคมต่างๆขึ้นมาหรือไม่ อย่างเช่น กลุ่มคนที่อาจจะสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือรีไซเคิลในเมืองไทย ถ้ามีการสร้างฟอรัมออนไลน์ขึ้นมา ก็จะเป็นการระดมสมอง และผลักดันประเด็นต่างๆไปสู่สังคมได้
อย่างที่สาม คนที่เป็นนักอ่านนั้น มีโอกาสและความรู้พอที่จะทำอะไรเพื่อสังคมได้มาก เมื่อเขาหยุดพักเพื่อคิดแล้ว แล้วตัดสินใจลงมือทำทันที (คงจะมีโอกาสมากกว่านักแซตหรือนักเล่นเกมส์อย่างเดียวแน่ๆ) ถ้าหนอนหนังสือไทย หันมาสร้างความรู้ไว้บนอินเทอร์เน็ตมากขึ้นก็จะดี
ไม่รู้จะมีคนอ่านความเห็นนี้แล้วเอาไปทำมากแค่ไหน แต่แม้จะคนเดียว(ผมอาจจะทำเอง หลังโดนตัวเองกระตุ้นใหม่นี่) ก็น่าจะทำให้อะไรดีขึ้นบ้าง
Monday, September 26, 2005
My one year anniversary of Vipassana lesson
ผมเรียนวิปัสสนาขั้นต้นมาได้ครบปีหนึ่งแล้วละมัง หลังจากไปกราบนมัสการหลวงพ่อปราโมทย์ที่กาญจนบุรีปีที่แล้วมาสองครั้ง คือในปี พ.ศ. ๒๕๔๗
หลายปีก่อนหน้านี้ผมไม่เคยรู้ว่าวิปัสสนาสำคัญอย่างไรในทางพุทธศาสนา เพราะฝึกมาแต่สมถะ ซึ่งก็คงจะทำมาอย่างน้อย ๘ ปีแล้วละมัง ผมชอบเข้าสมาธิและให้จิตใจสงบ เป็นการหลบความวุ่นวายของโลก และความเครียดในเรื่องต่างๆในอดีต
ผมเคยไปเรียนที่วัดอัมพวันของหลวงพ่อจรัญที่สิงห์บุรีมา ๓ ครั้ง ครั้งแรก ๗ วัน ในปีต่อๆมา ครั้งต่อๆมาแค่ ๓ วัน แล้วก็ไม่ได้ไปมาหลายปีแล้ว เพราะวัดนั้นคนเข้าแยะมาก เลยปล่อยพื้นที่ไว้สำหรับคนเริ่มใหม่ก็แล้วกัน
แต่ก็ปฏิบัติสมถะภาวนามาเป็นครั้งคราว หลังๆนี่ผมเข้าไม่ได้ฌาณเท่าไร แต่อย่างไรก็คิดว่าตนเองชอบรู้กาย ใฝ่ในทางกายานุปัสสนา ยุบหนอพองหนอก็สงบดี แต่ต่อมากลับไปรู้ลมหายใจแทน ตามแบบมหาสติปัฏฐานสูตรและหลวงพ่อฤาษีลิงดำสอน(ในหนังสือที่ถอดเทปของท่าน)
ตอนแรกที่เพื่อนรุ่นน้องผมเอาหนังสือของหลวงพ่อปราโมทย์มาให้เมื่อต้นปีที่แล้วนั้น กว่าผมจะเริ่มอ่านก็ดองไว้หลายเดือน แต่ครั้งอ่านแล้วก็วางไม่ลงต้องอ่านจนจบภายใน ๒ วัน
จากนั้นก็อ่านอีกหลายรอบ และตามมาด้วยความศรัทธาหลวงพ่อ
อยากจะไปกราบนมัสการท่าน และตั้งใจจะแค่ไปทำบุญโดยอามิสบูชาเป็นหลัก รู้อยู่ก่อนเหมือนกันว่าท่านจะสอนธรรมะ แต่ไม่คิดมาก่อนว่าท่านจะสอนวิปัสสนาให้คนเมืองได้ทำกันได้
กลายมาเป็นผมทำปฏิบัติบูชาตามคำสองของท่านในรอบปีที่ผ่านมา
วิธีทำก็ไม่ยาก ตามรู้จิตใจเราไปเรื่อยๆ รู้ว่าตอนนี้อารมณ์หรือเวทนาเราเป็นอย่างไร สูขหรือทุกข์ มีกิเลสอะไรบ้าง ไปรับรู้อะไรบ้าง
แบบนี้ท่านสอนว่าคือมีสัมมาสติ บางครั้งผมสวดมนต์ผมยังนึกเห็นตัวผมเองนั่งสวดอยู่ ขณะที่คล้ายกับมีตัวอีกตัวหนึ่งยืนหรือนั่งดูข้างๆ ได้เริ่มเข้าใจว่า กายไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่เรา ผู้รู้ไม่ใช่เรา
หนึ่งปีแล้วยังไม่ได้กลับไปกราบหลวงพ่ออีก กลัวหลวงพ่อสแกนจิตผมอีก รู้สึกละอายใจที่คราวแรกสุดเคยไปคิดอะไรนอกคอกไว้ เพราะรู้ว่าคุมจิตใจตนเองไม่ได้ ฟุ้งซ่านมากในปีที่แล้ว หลวงพ่อท่านก็รู้และมีเมตตาสอนเป็นอย่างดี
หนึ่งปีที่ผ่านมา ก็ฟังซีดีที่ท่านสอนมาตลอด แผ่นหนึ่งก็หลายเที่ยวแล้ว
ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีความก้าวหน้าพอจะไปหรือยัง คิดว่าถ้าจะไปกราบหลวงพ่อ ก็คงจะเหมือนเดิมคือตั้งใจจะไปทำบุญกับท่าน อยากจะไปช่วยลงเงินในการเผยแผ่ธรรมะของหลวงพ่อ แต่เรื่องปัญหานั้น ผมยังไม่มีคำถามอะไรที่จะไปถามท่านอีกในตอนนี้
คงจะพยายามตามรู้จิต ตามรู้กายไปเรื่อยๆ
หลายปีก่อนหน้านี้ผมไม่เคยรู้ว่าวิปัสสนาสำคัญอย่างไรในทางพุทธศาสนา เพราะฝึกมาแต่สมถะ ซึ่งก็คงจะทำมาอย่างน้อย ๘ ปีแล้วละมัง ผมชอบเข้าสมาธิและให้จิตใจสงบ เป็นการหลบความวุ่นวายของโลก และความเครียดในเรื่องต่างๆในอดีต
ผมเคยไปเรียนที่วัดอัมพวันของหลวงพ่อจรัญที่สิงห์บุรีมา ๓ ครั้ง ครั้งแรก ๗ วัน ในปีต่อๆมา ครั้งต่อๆมาแค่ ๓ วัน แล้วก็ไม่ได้ไปมาหลายปีแล้ว เพราะวัดนั้นคนเข้าแยะมาก เลยปล่อยพื้นที่ไว้สำหรับคนเริ่มใหม่ก็แล้วกัน
แต่ก็ปฏิบัติสมถะภาวนามาเป็นครั้งคราว หลังๆนี่ผมเข้าไม่ได้ฌาณเท่าไร แต่อย่างไรก็คิดว่าตนเองชอบรู้กาย ใฝ่ในทางกายานุปัสสนา ยุบหนอพองหนอก็สงบดี แต่ต่อมากลับไปรู้ลมหายใจแทน ตามแบบมหาสติปัฏฐานสูตรและหลวงพ่อฤาษีลิงดำสอน(ในหนังสือที่ถอดเทปของท่าน)
ตอนแรกที่เพื่อนรุ่นน้องผมเอาหนังสือของหลวงพ่อปราโมทย์มาให้เมื่อต้นปีที่แล้วนั้น กว่าผมจะเริ่มอ่านก็ดองไว้หลายเดือน แต่ครั้งอ่านแล้วก็วางไม่ลงต้องอ่านจนจบภายใน ๒ วัน
จากนั้นก็อ่านอีกหลายรอบ และตามมาด้วยความศรัทธาหลวงพ่อ
อยากจะไปกราบนมัสการท่าน และตั้งใจจะแค่ไปทำบุญโดยอามิสบูชาเป็นหลัก รู้อยู่ก่อนเหมือนกันว่าท่านจะสอนธรรมะ แต่ไม่คิดมาก่อนว่าท่านจะสอนวิปัสสนาให้คนเมืองได้ทำกันได้
กลายมาเป็นผมทำปฏิบัติบูชาตามคำสองของท่านในรอบปีที่ผ่านมา
วิธีทำก็ไม่ยาก ตามรู้จิตใจเราไปเรื่อยๆ รู้ว่าตอนนี้อารมณ์หรือเวทนาเราเป็นอย่างไร สูขหรือทุกข์ มีกิเลสอะไรบ้าง ไปรับรู้อะไรบ้าง
แบบนี้ท่านสอนว่าคือมีสัมมาสติ บางครั้งผมสวดมนต์ผมยังนึกเห็นตัวผมเองนั่งสวดอยู่ ขณะที่คล้ายกับมีตัวอีกตัวหนึ่งยืนหรือนั่งดูข้างๆ ได้เริ่มเข้าใจว่า กายไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่เรา ผู้รู้ไม่ใช่เรา
หนึ่งปีแล้วยังไม่ได้กลับไปกราบหลวงพ่ออีก กลัวหลวงพ่อสแกนจิตผมอีก รู้สึกละอายใจที่คราวแรกสุดเคยไปคิดอะไรนอกคอกไว้ เพราะรู้ว่าคุมจิตใจตนเองไม่ได้ ฟุ้งซ่านมากในปีที่แล้ว หลวงพ่อท่านก็รู้และมีเมตตาสอนเป็นอย่างดี
หนึ่งปีที่ผ่านมา ก็ฟังซีดีที่ท่านสอนมาตลอด แผ่นหนึ่งก็หลายเที่ยวแล้ว
ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีความก้าวหน้าพอจะไปหรือยัง คิดว่าถ้าจะไปกราบหลวงพ่อ ก็คงจะเหมือนเดิมคือตั้งใจจะไปทำบุญกับท่าน อยากจะไปช่วยลงเงินในการเผยแผ่ธรรมะของหลวงพ่อ แต่เรื่องปัญหานั้น ผมยังไม่มีคำถามอะไรที่จะไปถามท่านอีกในตอนนี้
คงจะพยายามตามรู้จิต ตามรู้กายไปเรื่อยๆ
Tuesday, September 20, 2005
Car and fuel price in Thailand
Earlier this year, it looked like to be another great year for cars' companies in Thailand. Motor sales had been up, until a recent surge in oil price slowed them down. Until 6 months ago, one of hot sale cars is a "SUV" (not really a SUV, but legally a modified pick-up truck) from Toyota called Fortuner, at 3000 vehicles per month. It 's said to be assembled in the Philippines. Its gasoline engine version uses a 6 cylinder 2.7 liter engine which sure to suck up fuel real fast. A diesel version use a 3.0 liter engine and cost more : but people were in a waiting list for 3 month before getting it. I suppose by this time, due to high oil price, their sale must have been cooled down.
I read from Business Week magazine yesterday: an article said that with current technology, car companies can squeeze the fuel effiency to save up to 30% more. Perhaps I should wait at least a year or two before buying a new generation of more fuel-efficient car. I believe car companies, in response to more customers who will want to save money on fuel, will start churning them out from assembly lines in about 2 years.
I read from Business Week magazine yesterday: an article said that with current technology, car companies can squeeze the fuel effiency to save up to 30% more. Perhaps I should wait at least a year or two before buying a new generation of more fuel-efficient car. I believe car companies, in response to more customers who will want to save money on fuel, will start churning them out from assembly lines in about 2 years.
Sunday, September 18, 2005
ลาก่อน คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ผมซื้อ
เมื่อเสาร์วานนี้ ผมรวบรวมของเก่าบางส่วนที่บ้าน เพื่อไปบริจาคให้วัดสวนแก้ว ที่หลวงพ่อพยอม กัลยาโณ เป็นเจ้าอาวาส ในบรรดาของที่บริจาคให้ไปนั้น ที่ค่อนข้างจะอาลัยเล็กน้อย ก็คือ คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ผมซื้อ
ผมซื้อเจ้าเครื่องนี้เมื่อ ๒๐ ปีก่อน เป็นเครื่อง 80286 ชนิด 8/16 bit ยี่ห้อ Wyse มีความจำ 256K ฮาร์ดดิสก์ 20 MB (เทียบกับเครื่อง Mac ผมตอนนี้ 2 GB RAM สองซีพียู G5 64 bit ฮาร์ดดิสก์ 160 GB ผิดกันแยะ) ตอนเรียนเอกอยู่ อุตส่าห์เก็บเงินซื้อ รวมก็คงจะตกสามพันเหรียญได้ละมัง
เรียนพิมพ์สัมผัสก็จากเครื่องนี้ ใช้พิมพ์ thesis ด้วยเครื่องนี้ ตอนเรียนจบก็ยังแพ็คลงเรือกลับมาจากอเมริกา เอามาให้ลูกศิษย์ใช้ในห้องแล็บที่กรุงเทพฯอยู่หลายปี ก่อนจะไวรัสเล่นงาน และไม่ได้ใช้มาสิบกว่าปีแล้ว กระนั้นก็ยังเก็บไว้เป็นที่ระลึก มาคราวนี้ตัดใจบริจาคไปเสีย ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้อยากจะเป็นไว้เป็นของโบราณ แต่คราวนี้เปลี่ยนใจ หลังมาทำวิปัสนามาบ่อยขึ้น
หวังใจว่าคนคงจะเอาไปรีไซเคิล น่าจะเป็นประโยชน์กว่าเก็บไว้ เพราะเครื่องรุ่นเก่าโลหะหนามาก (มอร์นิเตอร์เก่าน่ะทิ้งไปนานแล้ว)
ที่ตัดใจได้ เพราะเห็นตามพุทธโอวาสว่า สังขารทั้งหลายย่อมมีการเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา และยิ่งมาประจวบกับช่วงนี้เป็นครบรอบที่สำคัญในทางส่วนตัว ผมก็ยิ่งเห็นสมควรเลิกยึดติดในวัตถุภายนอก ไม่อยากเสียดายอะไรอีก บริจาคไปเสีย ยังได้บุญ ดีกว่าขายเองไปกับซาเล้ง
วันนั้นขับรถเก๋งขนของไปวัดเอง ไปกลับ ก็ ช.ม. ครึ่ง กะว่าราวๆ ๗๐ กม. คงเป็นค่าน้ำมันเสีย ๒๐๐ บาท ถือว่าทำบุญ ได้หนังสือของหลวงพ่อมาอ่านสองเล่ม กะโปสเตอร์เตือนสติเล็กๆมาให้ลูก
ผมซื้อเจ้าเครื่องนี้เมื่อ ๒๐ ปีก่อน เป็นเครื่อง 80286 ชนิด 8/16 bit ยี่ห้อ Wyse มีความจำ 256K ฮาร์ดดิสก์ 20 MB (เทียบกับเครื่อง Mac ผมตอนนี้ 2 GB RAM สองซีพียู G5 64 bit ฮาร์ดดิสก์ 160 GB ผิดกันแยะ) ตอนเรียนเอกอยู่ อุตส่าห์เก็บเงินซื้อ รวมก็คงจะตกสามพันเหรียญได้ละมัง
เรียนพิมพ์สัมผัสก็จากเครื่องนี้ ใช้พิมพ์ thesis ด้วยเครื่องนี้ ตอนเรียนจบก็ยังแพ็คลงเรือกลับมาจากอเมริกา เอามาให้ลูกศิษย์ใช้ในห้องแล็บที่กรุงเทพฯอยู่หลายปี ก่อนจะไวรัสเล่นงาน และไม่ได้ใช้มาสิบกว่าปีแล้ว กระนั้นก็ยังเก็บไว้เป็นที่ระลึก มาคราวนี้ตัดใจบริจาคไปเสีย ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้อยากจะเป็นไว้เป็นของโบราณ แต่คราวนี้เปลี่ยนใจ หลังมาทำวิปัสนามาบ่อยขึ้น
หวังใจว่าคนคงจะเอาไปรีไซเคิล น่าจะเป็นประโยชน์กว่าเก็บไว้ เพราะเครื่องรุ่นเก่าโลหะหนามาก (มอร์นิเตอร์เก่าน่ะทิ้งไปนานแล้ว)
ที่ตัดใจได้ เพราะเห็นตามพุทธโอวาสว่า สังขารทั้งหลายย่อมมีการเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา และยิ่งมาประจวบกับช่วงนี้เป็นครบรอบที่สำคัญในทางส่วนตัว ผมก็ยิ่งเห็นสมควรเลิกยึดติดในวัตถุภายนอก ไม่อยากเสียดายอะไรอีก บริจาคไปเสีย ยังได้บุญ ดีกว่าขายเองไปกับซาเล้ง
วันนั้นขับรถเก๋งขนของไปวัดเอง ไปกลับ ก็ ช.ม. ครึ่ง กะว่าราวๆ ๗๐ กม. คงเป็นค่าน้ำมันเสีย ๒๐๐ บาท ถือว่าทำบุญ ได้หนังสือของหลวงพ่อมาอ่านสองเล่ม กะโปสเตอร์เตือนสติเล็กๆมาให้ลูก
Tuesday, September 13, 2005
I 've got Thailand's new chip-embedded e-passport
Recently I just went to MFA 's Consular Department at Chang Wattana road to applied for a new passort. Now all the newly issued Thailand passports would be e-passports, which means they are embedded with an electronic security chip. I heard Thailand was the first country in Asia to use this technology. These new passports will be valid for only 5 years, and are not renewable, in other words, only new passports will be issued. I guess that the chips probably use one-way encryption algorithm. Facial figure and finger prints would be kept in the chip inside the passport book as well for automatic immigration processing at Thailand's port of entry / exit.
When I went to the Consular Department in one mid morning, I had to take a wait in a line and later getting a queue slip with printed number on it (mine was almost 600) : the print out also indicated that there was a long queue of 300 people waiting before me. I then had to proceed to wait in a waiting lounge for about 2 hr to wait for my turn. By the way, now only a citizen ID is needed, no other document required. Once it 's my turn to contact an officer inside, there are 2 dozens of kiosks for simutaneous processing of many applications, it took only a few minutes to finish my electronic application, online criminal background check, and authorization. First the lady swiped my citizen ID card in, and download all my information from the Ministry of Interior 's database, including my old picture. The only time consuming step was a few repetitive fingers' scans. I also was taken a picture by a digital camera and the image would then be printed in the new passport. After the some 10 minutes or so session, I then paid 1000 Baht for the fee and came out. The passport would be ready for pick up in only 2 days.
When I went to the Consular Department in one mid morning, I had to take a wait in a line and later getting a queue slip with printed number on it (mine was almost 600) : the print out also indicated that there was a long queue of 300 people waiting before me. I then had to proceed to wait in a waiting lounge for about 2 hr to wait for my turn. By the way, now only a citizen ID is needed, no other document required. Once it 's my turn to contact an officer inside, there are 2 dozens of kiosks for simutaneous processing of many applications, it took only a few minutes to finish my electronic application, online criminal background check, and authorization. First the lady swiped my citizen ID card in, and download all my information from the Ministry of Interior 's database, including my old picture. The only time consuming step was a few repetitive fingers' scans. I also was taken a picture by a digital camera and the image would then be printed in the new passport. After the some 10 minutes or so session, I then paid 1000 Baht for the fee and came out. The passport would be ready for pick up in only 2 days.
Thursday, September 08, 2005
ผังความคิด หรือ มายด์แม็ป mind map
อาทิตย์ที่แล้วที่ทำงานผมมีการสัมมนา เพื่อพัฒนาองค์กร ได้ไปเชิญ อจ.ธัญญา ผลอนันต์ มาอบรมเรื่อง มายด์แม็ป (Mind map) ความจริงผมเคยอ่านหนังสือของท่านมาแล้วหลายปีก่อน
ลองๆดูแต่ก็ไม่ได้ใช้เท่าไร ทั้งๆที่รู้ว่ามีประโยชน์ ได้อบรมกับตัวจริงก็เป็นการทบทวนอีกครั้ง ได้ประโยชน์ดี คงจะได้ใช้ละทีนี้
อีกสองสามวันต่อมา มติชนลงเป็นสกูป อาจารย์บอกว่าปีนี้ดูท่าจะเปิดได้ถึง ๒๐๐ หลักสูตร เห็นได้ชัดว่า รู้จักกันมากขึ้น แม้ใน โรงเรียนประถมก็มีเรียนตอนนี้
ลองๆดูแต่ก็ไม่ได้ใช้เท่าไร ทั้งๆที่รู้ว่ามีประโยชน์ ได้อบรมกับตัวจริงก็เป็นการทบทวนอีกครั้ง ได้ประโยชน์ดี คงจะได้ใช้ละทีนี้
อีกสองสามวันต่อมา มติชนลงเป็นสกูป อาจารย์บอกว่าปีนี้ดูท่าจะเปิดได้ถึง ๒๐๐ หลักสูตร เห็นได้ชัดว่า รู้จักกันมากขึ้น แม้ใน โรงเรียนประถมก็มีเรียนตอนนี้
Friday, September 02, 2005
เริ่มเขียนหนังสือเล่มแรก ? จะรอดสันดอนไหมเรา ?
เพื่อนเก่าผมที่เชียงใหม่เคยพยายามกระตุ้นต่อมความอยากของผมให้เขียนหนังสือมาหลายครั้ง เท่าที่ผ่านมายังไม่สำเร็จ มาวันนี้ผมเกิดเปลี่ยนใจกระทันหัน เผอิญมีสิ่งกระตุ้นมาให้ทำ คือเห็นว่า น่าจะมีกลุ่มคนไทยบางคนอาจจะอยากอ่านเรื่องซีเรียส(วิชาการ) ที่ผมอยากจะเขียน ผมมีเวลาคงแค่อาทิตย์เดียว จะลองดูสักตั้งว่าได้สักกี่หน้า เอาเป็นเล่มบางๆแล้วกันนะ กะว่า คนอ่านจบภายใน ๑ ชม. ชื่อหนังสือ ตั้งไว้เล่นๆแล้ว
(ขออภัย เปลี่ยนใจ ยังไม่บอก)
นี่พิมพ์เข้า text editor ไปแล้วเกือบ ๕๐ บรรทัดนะเช้าวันนี้
จะดูตัวเองว่า โครงการนี้ (ผมตั้งชื่อเองว่า โครงการ ๒๐ ชม. มักน้อย งานเขียนใหญ่ๆอาจจะทำให้ตัวเองกลัวไป และอาจจะเสร็จยาก เอาเล็กๆไว้ก่อนดีกว่า) อาทิตย์หน้า งานนี้จะไปได้สักกี่น้ำ จะเสร็จไหม
หลังจากนั้นไป หลังอาทิตย์หน้าผมคงจะไม่ว่างอีก เพราะมีเปเปอร์วิชาการที่ต้องเขียนคาอยู่แยะแล้ว ยังมีงานแปล ที่ไปตกปากรับคำไว้อีก จะยุ่งไปอีก อย่างน้อย ๖ เดือนแน่ะ
(ขออภัย เปลี่ยนใจ ยังไม่บอก)
นี่พิมพ์เข้า text editor ไปแล้วเกือบ ๕๐ บรรทัดนะเช้าวันนี้
จะดูตัวเองว่า โครงการนี้ (ผมตั้งชื่อเองว่า โครงการ ๒๐ ชม. มักน้อย งานเขียนใหญ่ๆอาจจะทำให้ตัวเองกลัวไป และอาจจะเสร็จยาก เอาเล็กๆไว้ก่อนดีกว่า) อาทิตย์หน้า งานนี้จะไปได้สักกี่น้ำ จะเสร็จไหม
หลังจากนั้นไป หลังอาทิตย์หน้าผมคงจะไม่ว่างอีก เพราะมีเปเปอร์วิชาการที่ต้องเขียนคาอยู่แยะแล้ว ยังมีงานแปล ที่ไปตกปากรับคำไว้อีก จะยุ่งไปอีก อย่างน้อย ๖ เดือนแน่ะ
New scientific computational clustered servers for Thailand
I heard a news that a major life-science research institute in Thailand, BIOTEC, would get a budget to buy a new cluster of servers, with some 80 CPUs for research. The reason is that many Thai researchers have wanted a machine to conduct protein and drug modeling study.
That would be great news to a number of Thai life-scientists, since we do not have sufficient computational resource inside the country a moment. In the near future, any Thai researchers who might need to do mathematically intensive computer modeling or simulations might be able to use it in 6 months from now.
Only keep 2 fingers crossed though: now it is close to the end of the Thai government's fiscal year. The procurement process must be finish before the end of September or this blog entry would be no longer true.
Somehow the notification by the Central Comptroller General's Office came almost too late, quite difficult to set up a procurement process under all the redtapes.
It is either because people in the MOF were reluctant to give us money to spend and thus did not give us a green light before hand or they were working really really slow. We wiill see how thing turns out by the end of the month and will post again.
That would be great news to a number of Thai life-scientists, since we do not have sufficient computational resource inside the country a moment. In the near future, any Thai researchers who might need to do mathematically intensive computer modeling or simulations might be able to use it in 6 months from now.
Only keep 2 fingers crossed though: now it is close to the end of the Thai government's fiscal year. The procurement process must be finish before the end of September or this blog entry would be no longer true.
Somehow the notification by the Central Comptroller General's Office came almost too late, quite difficult to set up a procurement process under all the redtapes.
It is either because people in the MOF were reluctant to give us money to spend and thus did not give us a green light before hand or they were working really really slow. We wiill see how thing turns out by the end of the month and will post again.
Thai translation of a 2000 years old Sanskrit epic, Asvaghosa's Buddhacarita (Acts of the Buddha)
Yesterday, I attended a bioinformatics workshop at Chulalongkorn University Faculty of Science, my alma mater, and during a lunch break I visited my old favorite CU Bookstore, main branch, at Sala Prakiew inside the campus.
(It 's next to the swimming pool which you could see from a Google map 's satellite image of Chula in Bangkok as a tiny bright blue rectangle.)
I stumbled upon several Thai books which I quickly bought. The one worth mentioning today is the Thai translation of a 2000 year old Sanskrit epic, Asvaghosa's Buddhacarita (Acts of the Buddha) or พุทธจริต in Thai.
by Dr. Samniang Lermsai, of Silpakorn University. He translated the entire 28 sections of this great Sanskrit epic poetry, from both Sanskrit and English.
(Sections 15-28 which were long lost over a millenium had to be back translated from Chinese into English and Hindi: the book was earlier translated from Sanskrit into Chinese and Tibetan around 7th Buddhist century.)
Surely, I have no sufficient knowledge to critically read his translation.
I just read a few dozen pages and so far I love it. The Thai language content is elegant. The price is not expensive, only 250 Baht for a decent size book (18.7 x 26 cm, and 2 cm thick).
It 's amazing that most Thai Buddhist people probably never heard of this title. We mostly know more of Greek epics, perhaps from Hollywood's movies like Troy and Alexander.
This kind of book is hard to sell, except to a few bookworms like me. And if it is sold out in a few years it it probably out, period. So I can't help but spend some of my hard earned cash buying such books like it.
(On this point, I have recently told myself, I have got to start saving more seriously for my retirement rather than keep buying books, otherwise when I 'm retired from work and decide go to monastery my kid would not become a mulimillionaire. :-) )
I realize I am an eccentric person, perhaps not characteristically nerdy, althought my nerd scale was 95 (or 98, I am not sure) out of 100 ! And you know, eccentric people don't read books that laypeople do. ;-)
(It 's next to the swimming pool which you could see from a Google map 's satellite image of Chula in Bangkok as a tiny bright blue rectangle.)
I stumbled upon several Thai books which I quickly bought. The one worth mentioning today is the Thai translation of a 2000 year old Sanskrit epic, Asvaghosa's Buddhacarita (Acts of the Buddha) or พุทธจริต in Thai.
by Dr. Samniang Lermsai, of Silpakorn University. He translated the entire 28 sections of this great Sanskrit epic poetry, from both Sanskrit and English.
(Sections 15-28 which were long lost over a millenium had to be back translated from Chinese into English and Hindi: the book was earlier translated from Sanskrit into Chinese and Tibetan around 7th Buddhist century.)
Surely, I have no sufficient knowledge to critically read his translation.
I just read a few dozen pages and so far I love it. The Thai language content is elegant. The price is not expensive, only 250 Baht for a decent size book (18.7 x 26 cm, and 2 cm thick).
It 's amazing that most Thai Buddhist people probably never heard of this title. We mostly know more of Greek epics, perhaps from Hollywood's movies like Troy and Alexander.
This kind of book is hard to sell, except to a few bookworms like me. And if it is sold out in a few years it it probably out, period. So I can't help but spend some of my hard earned cash buying such books like it.
(On this point, I have recently told myself, I have got to start saving more seriously for my retirement rather than keep buying books, otherwise when I 'm retired from work and decide go to monastery my kid would not become a mulimillionaire. :-) )
I realize I am an eccentric person, perhaps not characteristically nerdy, althought my nerd scale was 95 (or 98, I am not sure) out of 100 ! And you know, eccentric people don't read books that laypeople do. ;-)
300 GB Hard disk for Mac in Thailand
For my office's destop (a 64-bit dual G5 CPU Power Mac), I am thinking of buying an addional 300 GB hard disk. The 160 GB hard disk that came with the 1 month old machine is now about half full with my scientifically computed data.
The cost for a 300 GB Seagate internal hard drive in Thailand is around 9200 Baht now (monetary exchange rate of around 41 Baht to 1 USD), external one is more expensive. Considering that Seagate hard disks are assembled in Thailand, perhaps I should buy this one soon.
I suppose I can add up to 2 internal hard disks so I can add at least 600 GB of storage inside the tower. Sure, I have seen reviews of 400 GB hard disks in the Net, but they are pricey
and I have not seen them advertised from any commercial website in Thailand. I have not been to Pantip Plaza in person lately. The last time I went there, some hawkers of unrated CD called me Pa, as in "Pa, would you like some Po (revealed one)?", and I did't like that. I also do not like to see hundreds of foreign tourists who flock to the place daily to hunt for illegal softwares, it 's a shame for the country.
The cost for a 300 GB Seagate internal hard drive in Thailand is around 9200 Baht now (monetary exchange rate of around 41 Baht to 1 USD), external one is more expensive. Considering that Seagate hard disks are assembled in Thailand, perhaps I should buy this one soon.
I suppose I can add up to 2 internal hard disks so I can add at least 600 GB of storage inside the tower. Sure, I have seen reviews of 400 GB hard disks in the Net, but they are pricey
and I have not seen them advertised from any commercial website in Thailand. I have not been to Pantip Plaza in person lately. The last time I went there, some hawkers of unrated CD called me Pa, as in "Pa, would you like some Po (revealed one)?", and I did't like that. I also do not like to see hundreds of foreign tourists who flock to the place daily to hunt for illegal softwares, it 's a shame for the country.
Laptops' price trend for 2005
I just read BW magazine (Asian edition) few days ago: one article covering laptop computers mentioned that the average price for a laptop in 2005 (in the USA, I suppose) would be about USD 700, on in Thai Baht (THB) about 29,000 Baht, compare to about USD 1,000 or about THB 41,000 Baht last year (2004). Frankly I have seen laptops in that quoted price range in Bangkok Thailand as well, but all of them are of poor quality so I am not sure how the word average was defined in that article. Naturally, the prices vary with specifications and quality, not to mention the OS. Thus I think, for the price-conscious buyers, it still falls into "you get what you pay" situation. The dropping prices mentioned are undoubtedly the machines running the aging Windows XP operating system (3 yr old already). This is especially true considering that the price of an Apple Macintosh laptop with the latest OS-X Tiger does not drop that much. But considering the price of a Mac laptop, the price is higher. But one must also remember that the Mac's price includes the price of the OS (OS-X Tiger) plus some add-on softwares, not to mentioned a great GUI design and user experience.
I am not a Mac's fanatic, nor am I a newbie to computer, having used several ones for the past 20+ years. (The first PC
I encountred and unpacked it alone from the box for my lab (and even RTFM) was a Wyse 8088 PC (with 10 MB hard disk, I think), using MS-DOS 2.0 and came with BASIC interpreter.) I have used most of the OSes, such as AT&T Unix, Solaris (Unix from Sun), Digital Unix, many Linux distributions, several versions of DOS and Windows, Mac system 6, and lastly Mac OS-X 10.4 Tiger, so I know which is good.
Considering the total price, if you include the price of legitimate copy of OS such as WinXP into the laptop, the price difference between a Windows laptop and Mac laptop is not too much. But buying a Mac laptop one gets a much better user interface and simplification. Definitely, now I am thinking of buying a new Mac laptop to replace my 3 yr old (Thai assembled) "toaster" in the next few months. That toaster is a laptop running a 32 bit WinME OS. (Legal copy, of course.) It now hangs often, and this is slow and hot, and when considering an additional fact that I usually have many files opened at the same time, and I also have a number of gigantic files, say some in the size 10 MB - 500 MB (that correct, half a gigabyte a file) Windows programs could not be opened in it. Thus the 32 bit OS is currently useless for me, only a 64 bit Unix-based like Tiger will do. It is amazing that most people are sort of like a frog sitting covered inside a coconut shell, as a Thai adage says, that they never saw a horizon beyond Windows. I am not an anti-MicroSoft person. I respect its contributions to the World's progress and I used to use its SW before. However, I choose to use mostly free or open-source softwares and using a Unix machine opens that possibility well. Most people never realize that situation.
I am not a Mac's fanatic, nor am I a newbie to computer, having used several ones for the past 20+ years. (The first PC
I encountred and unpacked it alone from the box for my lab (and even RTFM) was a Wyse 8088 PC (with 10 MB hard disk, I think), using MS-DOS 2.0 and came with BASIC interpreter.) I have used most of the OSes, such as AT&T Unix, Solaris (Unix from Sun), Digital Unix, many Linux distributions, several versions of DOS and Windows, Mac system 6, and lastly Mac OS-X 10.4 Tiger, so I know which is good.
Considering the total price, if you include the price of legitimate copy of OS such as WinXP into the laptop, the price difference between a Windows laptop and Mac laptop is not too much. But buying a Mac laptop one gets a much better user interface and simplification. Definitely, now I am thinking of buying a new Mac laptop to replace my 3 yr old (Thai assembled) "toaster" in the next few months. That toaster is a laptop running a 32 bit WinME OS. (Legal copy, of course.) It now hangs often, and this is slow and hot, and when considering an additional fact that I usually have many files opened at the same time, and I also have a number of gigantic files, say some in the size 10 MB - 500 MB (that correct, half a gigabyte a file) Windows programs could not be opened in it. Thus the 32 bit OS is currently useless for me, only a 64 bit Unix-based like Tiger will do. It is amazing that most people are sort of like a frog sitting covered inside a coconut shell, as a Thai adage says, that they never saw a horizon beyond Windows. I am not an anti-MicroSoft person. I respect its contributions to the World's progress and I used to use its SW before. However, I choose to use mostly free or open-source softwares and using a Unix machine opens that possibility well. Most people never realize that situation.
Friday, August 26, 2005
A meditation (concentration) website in English
I got a surprised call from a good old friend from Chiang Mai who came to Bangkok this morning. We had a long nice chat. On the way, he mentioned the name of his meditation master, the venerable Phra Noah, who is a young Canadian and ordained as a Buddhist monk in Chiang Mai few years ago. I wish to go to see him, perhaps in the next few months, if time permitted. Currently I also learn to practice Vipassana meditation, following teaching of the venerable Lung Phor Pramote, in Kanchanaburi.
For now I just visited his neat website.
http://yuttadhammo.sirimangalo.org/
http://www.fivethousandyears.org/
I think the second link's name derived from the fact that Lord Buddha predicted, as mentioned in the Tripitaka, that Buddhism would last for 5000 years. The name is great. I like it.
For now I just visited his neat website.
http://yuttadhammo.sirimangalo.org/
http://www.fivethousandyears.org/
I think the second link's name derived from the fact that Lord Buddha predicted, as mentioned in the Tripitaka, that Buddhism would last for 5000 years. The name is great. I like it.
เรื่องเบาสมองของลูกสาวผม
"เด็กหญิงเอ้" (นามสมมุติ) เป็นเด็ก ป. ๕ อายุ ๑๐ ขวบ แกเป็นเด็กเรียนดี สอบได้ที่ ๑ เป็นประจำทุกเทอม มาตั้งแต่ อนุบาล มาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเร็วๆนี้มีกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนของเธอ คุณครูให้จัดทำนิทรรศการ เธอกับเพื่อนๆก็ทำ เทียนเจล ออกแสดง และขายหารายได้เล็กๆน้อยๆ คุณแม่ของเธอใจดี นอกจากจะเหนื่อยขึึ้นรถเมล์ช่วยไปซื้อของเตรียมการให้ตั้งหลายรอบ ยังช่วยลองผิดลองถูกที่บ้าน และ ช่วยสอนบรรดาเด็กๆที่นัดมาทำกิจกรรมที่บ้านเธอด้วย และที่สำคัญ คุณแม่หมดเงินไปกับการนี้ไปกว่า ๗๐๐ บาท คุณแม่เด็กคนอื่นไม่ได้จ่าย
เด็กหญิงเอ้ตื่นเต้นกับงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์มาก ตั้งแต่เช้าก่อนไปโรงเรียน และยิ่งตื่นเต้นมากขึ้นไปอีก เมื่อเธอพบว่าเธอขายของในงานที่โรงเรียนได้เป็นกอบเป็นกำ ได้เงินมาตั้ง สี่ร้อยกว่าบาท คุณครูของเธอที่โรงเรียนก็ดีใจด้วย แต่ก็ปรามเธอว่า ได้เงินแล้วต้องแบ่งให้เพื่อนด้วย เด็กหญิงเอ้ก็เลยต้องจำใจแบ่งเงินรายได้ให้เพื่อนรักของเธอไปครึ่งหนึ่ง เป็นเงินราวสองร้อยกว่าบาท เธอได้เงินกลับมาบ้านสองร้อยกว่าบาทด้วยความยินดี เมื่อกลับมาบ้านบอกแม่ โดยยิ้มอวดว่่าเธอได้เงินเยอะแยะ
คุณแม่ได้ยินก็ทำหน้าปูเลี่ยนๆ ทำใจเย็นอธิบายบอกว่า อ้าว เพื่อนหนูไม่ได้ออกสตางค์สักกะบาทแบ่งไปให้ทำไม ยังไม่ได้หักต้นทุนเลย แม่ลงทุนไปให้ก่อน ๗๐๐ บาท ยังตอนเช้านั้น หนูแคะกระปุกเอาเหรียญไปเป็นสตางค์ทอนเพื่อนอีก ๑๐๐ บาท ตกลงเป็นต้นทุนราว ๘๐๐ บาท ขายของได้เงินมายังไม่ทันหักต้นทุน ยังแบ่งไปให้เพื่อนอีกครึ่งหนึ่ง ทำไมลูกไม่เข้าใจเรื่องต้นทุน และกำไร เลยเหรอ
เด็กหญิงเอ้ ได้ฟังก็ทำหน้าแงร้องไห้ ก็หนูไม่รู้ ตอนจบเรื่องนี้เป็นอย่างไร ผมไม่ได้ไปตามหรอกครับ คิดว่าเด็กได้เข้าใจเรื่องกำไรขาดทุนมากขึ้น คุณแม่ลงทุนหนักไปหน่อย ก็คงโอเค
ความเห็นของผมต่อเรื่องจริงเบาสมองเรื่องนี้ก็คือว่า ผมคิดว่า หลักสูตรคณิตศาสตร์ประถม ขนาดปรับปรุงใหม่แล้ว ก็สงสัยจะยังมีปัญหาอยู่นะ ขนาดเด็กเรียนดีก็ยังไม่เข้าใจเรื่องบวกลบธรรมดาดีพอจะเอามาใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย ฝากคุณครูที่มาอ่านเจอไว้ด้วยแล้วกันนะครับ
อ้อ เด็กหญิงเอ้นี่คือ สมญานาม ของลูกสาวผมเองครับ เพราะชอบ "โอเอ้ศาลาราย" อยู่เรื่อยๆ (ตัั้งแต่โตมา ผมไม่เคยได้ยินแม่ผมพูดว่า โอ้เอ้วิหารราย เหมือนที่ว่าในพจนานุกรม)
ตอนแรกคิดว่าจะ ครอสโพสต์ไปที่อื่นด้วย ไปๆมา ตอนนี้ผมมี ๓ บล๊อกแล้ว แต่เปลี่ยนใจ
เมื่อเร็วๆนี้มีกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนของเธอ คุณครูให้จัดทำนิทรรศการ เธอกับเพื่อนๆก็ทำ เทียนเจล ออกแสดง และขายหารายได้เล็กๆน้อยๆ คุณแม่ของเธอใจดี นอกจากจะเหนื่อยขึึ้นรถเมล์ช่วยไปซื้อของเตรียมการให้ตั้งหลายรอบ ยังช่วยลองผิดลองถูกที่บ้าน และ ช่วยสอนบรรดาเด็กๆที่นัดมาทำกิจกรรมที่บ้านเธอด้วย และที่สำคัญ คุณแม่หมดเงินไปกับการนี้ไปกว่า ๗๐๐ บาท คุณแม่เด็กคนอื่นไม่ได้จ่าย
เด็กหญิงเอ้ตื่นเต้นกับงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์มาก ตั้งแต่เช้าก่อนไปโรงเรียน และยิ่งตื่นเต้นมากขึ้นไปอีก เมื่อเธอพบว่าเธอขายของในงานที่โรงเรียนได้เป็นกอบเป็นกำ ได้เงินมาตั้ง สี่ร้อยกว่าบาท คุณครูของเธอที่โรงเรียนก็ดีใจด้วย แต่ก็ปรามเธอว่า ได้เงินแล้วต้องแบ่งให้เพื่อนด้วย เด็กหญิงเอ้ก็เลยต้องจำใจแบ่งเงินรายได้ให้เพื่อนรักของเธอไปครึ่งหนึ่ง เป็นเงินราวสองร้อยกว่าบาท เธอได้เงินกลับมาบ้านสองร้อยกว่าบาทด้วยความยินดี เมื่อกลับมาบ้านบอกแม่ โดยยิ้มอวดว่่าเธอได้เงินเยอะแยะ
คุณแม่ได้ยินก็ทำหน้าปูเลี่ยนๆ ทำใจเย็นอธิบายบอกว่า อ้าว เพื่อนหนูไม่ได้ออกสตางค์สักกะบาทแบ่งไปให้ทำไม ยังไม่ได้หักต้นทุนเลย แม่ลงทุนไปให้ก่อน ๗๐๐ บาท ยังตอนเช้านั้น หนูแคะกระปุกเอาเหรียญไปเป็นสตางค์ทอนเพื่อนอีก ๑๐๐ บาท ตกลงเป็นต้นทุนราว ๘๐๐ บาท ขายของได้เงินมายังไม่ทันหักต้นทุน ยังแบ่งไปให้เพื่อนอีกครึ่งหนึ่ง ทำไมลูกไม่เข้าใจเรื่องต้นทุน และกำไร เลยเหรอ
เด็กหญิงเอ้ ได้ฟังก็ทำหน้าแงร้องไห้ ก็หนูไม่รู้ ตอนจบเรื่องนี้เป็นอย่างไร ผมไม่ได้ไปตามหรอกครับ คิดว่าเด็กได้เข้าใจเรื่องกำไรขาดทุนมากขึ้น คุณแม่ลงทุนหนักไปหน่อย ก็คงโอเค
ความเห็นของผมต่อเรื่องจริงเบาสมองเรื่องนี้ก็คือว่า ผมคิดว่า หลักสูตรคณิตศาสตร์ประถม ขนาดปรับปรุงใหม่แล้ว ก็สงสัยจะยังมีปัญหาอยู่นะ ขนาดเด็กเรียนดีก็ยังไม่เข้าใจเรื่องบวกลบธรรมดาดีพอจะเอามาใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย ฝากคุณครูที่มาอ่านเจอไว้ด้วยแล้วกันนะครับ
อ้อ เด็กหญิงเอ้นี่คือ สมญานาม ของลูกสาวผมเองครับ เพราะชอบ "โอเอ้ศาลาราย" อยู่เรื่อยๆ (ตัั้งแต่โตมา ผมไม่เคยได้ยินแม่ผมพูดว่า โอ้เอ้วิหารราย เหมือนที่ว่าในพจนานุกรม)
ตอนแรกคิดว่าจะ ครอสโพสต์ไปที่อื่นด้วย ไปๆมา ตอนนี้ผมมี ๓ บล๊อกแล้ว แต่เปลี่ยนใจ
Tuesday, August 23, 2005
ข่าวไปนานาชาติว่าไทยขาดจิตแพทย์
ซินหัวเอาข่าวจากบางกอกโพสต์ไปย่อความไปลงในเว็บ ฝรั่งสำเนาเอาไปลงต่อ ผมเจอจากข่าวกูเกิล
ถามว่าเรื่องนี้สำคัญไหม ในสังคมวัตถุนิยม ในสังคมทุนนิยม ที่มีการโหมโฆษณาสินค้าและบริการ แหล่งบันเทิงเริงรมย์ เน้นความฟุ้งเฟ้อ ไม่สันโดษ ไม่ทำให้ชีวิตสุขสงบ ไม่ทำให้เศรษฐกิจในบ้านตนสมดุลย์ ไม่ทำให้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ก็คงสำคัญมาก
ถ้าถามความคิดผม ผมว่า สำหรับคนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวพุทธจริงๆ ถ้าเขาเข้าถึงหลักพุทธธรรมจริงๆ ไม่ใช่สักแต่ว่าถือศาสนาตามกฎหมาย เขาแทบจะไม่ต้องพบจิตแพทย์
กระทรวงสาธารณสุขคงจะลืมไปว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ มีพระที่ดีๆแยะ ถ้าเผยแผ่หลักธรรมที่ลึกๆ ที่ทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็จะลดความเครียดไปได้แยะ
ถามว่าเรื่องนี้สำคัญไหม ในสังคมวัตถุนิยม ในสังคมทุนนิยม ที่มีการโหมโฆษณาสินค้าและบริการ แหล่งบันเทิงเริงรมย์ เน้นความฟุ้งเฟ้อ ไม่สันโดษ ไม่ทำให้ชีวิตสุขสงบ ไม่ทำให้เศรษฐกิจในบ้านตนสมดุลย์ ไม่ทำให้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ก็คงสำคัญมาก
ถ้าถามความคิดผม ผมว่า สำหรับคนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวพุทธจริงๆ ถ้าเขาเข้าถึงหลักพุทธธรรมจริงๆ ไม่ใช่สักแต่ว่าถือศาสนาตามกฎหมาย เขาแทบจะไม่ต้องพบจิตแพทย์
กระทรวงสาธารณสุขคงจะลืมไปว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ มีพระที่ดีๆแยะ ถ้าเผยแผ่หลักธรรมที่ลึกๆ ที่ทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็จะลดความเครียดไปได้แยะ
Monday, August 15, 2005
หนังสืออ่านสนุก Buddhist books
เมื่อวานตอนเที่ยงไปซื้อหนังสือมาสองเล่ม เล่มนึงอ่านจบไปแล้วเมื่อคืน คือหนังสือชื่อ "๙๔ ชีวิต ท่องแดนพุทธภูมิ" เขียนโดย อาจารย์ ประเวศ วะสี (เป็นส่วนใหญ่) ได้ความรู้ดีมาก และทำให้เห็นภาพรวมของพุทธประวัติเทียบกับภูมิศาสตร์ของอินเดียตอนเหนือได้เป็นอย่างดี ทำเอาเราอยากจะไปนมัสการ สังเวชนียสถานทั้งหลายขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง หวังว่าคงมีวันหนึ่งในอนาคต
อีกเล่มที่ซื้อมายังอ่านไปได้ไม่กี่สิบหน้า เป็นเรื่องท่องเที่ยวประเทศไทย
ตอนเย็น ขับรถไปทางพุทธมณฑล แวะร้านธรรมสภา ภรรยาผมซื้อให้อีกหนึ่งเล่ม จากร้าน ธรรมสภา นั่นเอง ซึ่งผมไม่ได้มาไม่กี่เดือน ขยายใหญ่ขึ้นอีกหลายคูหามาก น่าอนุโมทนาในกรรมดีของเจ้าของ ทำให้กิจการก้าวหน้า หนังสือเล่มนี้ผมเลือกเอง คือหนังสือเรื่อง "สมาธิ ฐานสู่สุขภาพจิตและปัญญาหยั่งรู้" ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) หรือ ท่านเจ้าตุณพระธรรมปิฎกนั่นเอง เล่มนี้ตัดตอนมาจากบทหนึ่งในหนังสือ พุทธธรรม ของท่าน ทำ้ให้เล่มเล็ก เป็นปกอ่อน น่าอ่าน ไม่เหมือนพุทธธรรมฉบับขยายความนั่น หนาเป็น tome ที่ผมยังคร้านไม่กล้าซื้อมาอ่านไปซื้อมาอ่านแต่เล่มฉบับบดั้งเดิม เล่มนี้ทีจะสนุกว่าด้วยเรื่องสมาธิ ฌาณ ฯลฯ
อีกเล่มที่ซื้อมายังอ่านไปได้ไม่กี่สิบหน้า เป็นเรื่องท่องเที่ยวประเทศไทย
ตอนเย็น ขับรถไปทางพุทธมณฑล แวะร้านธรรมสภา ภรรยาผมซื้อให้อีกหนึ่งเล่ม จากร้าน ธรรมสภา นั่นเอง ซึ่งผมไม่ได้มาไม่กี่เดือน ขยายใหญ่ขึ้นอีกหลายคูหามาก น่าอนุโมทนาในกรรมดีของเจ้าของ ทำให้กิจการก้าวหน้า หนังสือเล่มนี้ผมเลือกเอง คือหนังสือเรื่อง "สมาธิ ฐานสู่สุขภาพจิตและปัญญาหยั่งรู้" ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) หรือ ท่านเจ้าตุณพระธรรมปิฎกนั่นเอง เล่มนี้ตัดตอนมาจากบทหนึ่งในหนังสือ พุทธธรรม ของท่าน ทำ้ให้เล่มเล็ก เป็นปกอ่อน น่าอ่าน ไม่เหมือนพุทธธรรมฉบับขยายความนั่น หนาเป็น tome ที่ผมยังคร้านไม่กล้าซื้อมาอ่านไปซื้อมาอ่านแต่เล่มฉบับบดั้งเดิม เล่มนี้ทีจะสนุกว่าด้วยเรื่องสมาธิ ฌาณ ฯลฯ
Friday, August 12, 2005
โลกร้อน ไซบีเรียละลาย แล้วเมืองไทยล่ะ
วันนี้หยุด วันเฉลิมฯ เลยท่องเว็บเล่น เจอข่าวน่าสนใจคือ น้ำแข็งละลายที่ไซบีเรีย บอกว่า อุณหภูมิร้อนขึ้นราว ๓ องศา ซี พื้นที่ที่ละลายประมาณสองเท่าของประเทศไทย บอกว่าจะทำให้เร่งการร้อนของโลกให้เร็วขึ้นอีก ผมเลยคิดต่อ แล้วเมืองไทยล่ะ ถ้าอุณหภูมิสูงในหน้าร้อนที่ภาคกลางเป็น ๔๕ องศา ซี สูงสุดที่เมืองกาญจ์ หรืออีสาณเป็น ๕๐ องศา ในอีกสามสิบปีข้างหน้า แล้วระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก ๑ ฟุต จะเป็นยังไง ตอนนั้นชีิวิตผมอาจจะไม่อยู่แล้วก็ได้
ปัญหาที่เกิดกับโลกไม่ใช่อากาศร้อนอย่างเดียว นอกจากพื้นที่ริมฝั่งจะหายไปอีกแยะแล้ว ต้นไม้ พืชผัก ข้าว ผลไม้ต่างๆก็จะตายไปแยะ สูญเสียผลผลิต ปศุสัตว์ต่างๆก็จะตายหรือไม่แข็งแรง หรือไม่เจริญพันธุ์
อ้อ ลิงก์ตามข่าวคือข้างล่าง
http://www.newscientist.com/article.ns?id=mg18725124.500
ปัญหาที่เกิดกับโลกไม่ใช่อากาศร้อนอย่างเดียว นอกจากพื้นที่ริมฝั่งจะหายไปอีกแยะแล้ว ต้นไม้ พืชผัก ข้าว ผลไม้ต่างๆก็จะตายไปแยะ สูญเสียผลผลิต ปศุสัตว์ต่างๆก็จะตายหรือไม่แข็งแรง หรือไม่เจริญพันธุ์
อ้อ ลิงก์ตามข่าวคือข้างล่าง
http://www.newscientist.com/article.ns?id=mg18725124.500
Thursday, August 11, 2005
Thai government might provide 500,000 cheap laptops for Thai students
Few days ago, Thai newspapers mentioned of an idea by the Primer Minister to provide 500,000 laptops to Thai students, at a cost of 4,000 Baht each. I do not know who will pay for it but certainly our CEO of Thailand can dream of novel ways to raise money. A minor interesting point is that it will cost only 4000 Baht (or USD 100) each. I recall my earlier memory that the high cost of the laptop was mainly the LCD, or 50% of its price. I am not aware of the current price of LCD ; althought it is much lower than before but I do not think a good quality LCD for the laptop would be that low. Perhaps that would sacrifice the quality of those cheap laptops and we might end up with half a million Thai students with short-sightedness. Grim future for the new generation, isn't it. Another point of concern, bigger one, is which OS this planned laptop will be used. If it 's going to use the Thai Language Extension of Linux (TLE Linux), which I favorably think so, much more desktop features must be refined in the future. This is to prevent the previous incidents of sort of lack of support in the previous TLE version 5.0 installed people's laptops. The Thai postal service could not do the support role. As a consequence, a high fraction of users was believed to reinstall them with illegitimate copies of old and obsolete OS such as Windows.
My major concern would be the lack of information, Thai-oriented by the way, which constitutes the "I" in the "IT" word. I do not think sufficiently many people or agencies in Thailand have concerted or massive plan to create such a big "I". Recently, I visited the web of the Thai National Library, for example, and it still looks unprofessionally too cute and not much serious information could be obtained from it. I hope that somewhere they have a kind of e-document repository idea, sort of like e-Print servers, in a plan. I also hope they have heard of this idea.
My major concern would be the lack of information, Thai-oriented by the way, which constitutes the "I" in the "IT" word. I do not think sufficiently many people or agencies in Thailand have concerted or massive plan to create such a big "I". Recently, I visited the web of the Thai National Library, for example, and it still looks unprofessionally too cute and not much serious information could be obtained from it. I hope that somewhere they have a kind of e-document repository idea, sort of like e-Print servers, in a plan. I also hope they have heard of this idea.
Tuesday, August 09, 2005
เศรษฐกิจไทยปีนี้ ดีหรือไม่ดี
โดยทั่วไปก็คงจะบอกว่าไม่ดีนัก เริ่มจากปลายปีที่แล้ว มีโรค ซาร์ โรคหวัดนก แล้วก็สึนามิ ยังไม่นับเหตุการณ์ใน ๓ จังหวัดภาคใต้อีก ปีนี้หวัดนกก็ยังคงมีรายงานในภูมิภาคนี้ และคนกลัวว่ามันจะระบาดไปทั่วโลก ส่วนตลาดหุ้นก็คนกลัวกันจังตามคำทำนายของโหรว่าปีนี้ดวงเมืองไม่ดี ครม.เอง ก็โดนฝ่ายค้านและ นสพ. หลายฉบับกล่าวหาว่า รมต. หลายคนคอรับชั่น ทำให้บรรยากาศดูไม่ดี น้ำมันดิบก็ขึ้นราคาต่อเนื่อง ราคาผลผลิตแม้จะดี แต่ก็ฝนแล้ง แถมแล้งไปจนถึงภาคตะวันออก จนโรงงานอุตสาหกรรมขาดน้ำไม่พอใช้
แบบนี้เข้าทำนองพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก
แบบนี้เข้าทำนองพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก
Remembering Peter Jennings
Time flies. It 's been almost 20 yr since I came back from the US. Peter Jennings did not change much from his 2 decade old image in my memory. I just learned from the news today that he just passed away and feel sadden. Although I don't have ABC on cable TV in Bangkok, I still remember his face. His is a familiar face; almost an acquaintant. Be in peace now Peter.
เมืองไทย ถิ่นกาขาว ฝรั่งและชาวเอเซียต่างชาติเต็มเมือง
ผมไปพักผ่อนสุดสัปดาห์ที่พัทยากับครอบครัวมา นักท่องเที่ยวต่างชาติแยะมาก สารพัดชาติ สงสัยหนีสึนามิมาจากฝั่งอันดามัน ไปเที่ยวแถวนั้นแทนกันเป็นส่วนใหญ่ คุณตัวไทยก็แยะ ผมพาลูกไปว่ายน้ำที่สวนน้ำของโรงแรมพัทยาปาร์คก็มีสามสาวพาฝรั่งมาคนหนึ่งกับคุณมืดอีกคนหนึ่งมานั่งร่วมเพิงเดียวกัน ไม่ได้ตำหนิอะไรเขาในใจหรอก แต่รู้สึกสลดใจนิดๆที่คนไทยบางส่วนต้องไปทำอาชีพเช่นนั้น
ผมหมดเงินไปแยะทีเดียว อาหารการกินแถวนั้นใช่ว่าจะถูก อาหารทะเลมื้อหนึ่งก็เป็นพันบาทขึ้นไปสำหรับสามคน เห็นได้ชัดเลยว่า การท่องเที่ยวเป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ
ผมหมดเงินไปแยะทีเดียว อาหารการกินแถวนั้นใช่ว่าจะถูก อาหารทะเลมื้อหนึ่งก็เป็นพันบาทขึ้นไปสำหรับสามคน เห็นได้ชัดเลยว่า การท่องเที่ยวเป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ
Suriyan Linux, A New Thai Linux Distribution for Small and Medium Enterprises
Thailand 's SIPA (Software Industry Promotion Agency) is developing a new Linux distribution for SME called Suriyan (name of the Sun God). A beta-version CD will be distributed to developers this week during its introductory seminars at Thailand Software Park. The information was obtained from an e-mail circular from Software Park.
Friday, August 05, 2005
กรีนพีซ
เมื่อสองสามวันก่อนมีข่าวลง นสพ. ว่าพวกกรีนพีซออกมาประท้วงเรื่อง จีเอ็มโอ ผมไม่ได้ใส่ใจมากนัก แต่ฉุกคิดบางประเด็นขึ้นมา
ประการแรกคือ สงสัยว่า สมาชิกกลุ่มกรีนพีซ เนี่ยจบมีใครมาทางสายวิทยาศาสตร์ชีวภาพกัน และรู้ถ่องแท้ในวิชาทาง ชีวเคมี และ อณูชีววิทยา บ้างหรือเปล่า ผมอาจจะมีอคติก็ได้ แต่คาดเดาเอาว่า ถ้ามีใครในกลุ่มนั้นเคยเรียนสองวิชานั่นมาบ้างก็คงจะน้อยตัวเล็มที และคนจำนวนน้อยเหล่านั้น ก็คงจะไม่ได้เกรดสูงกว่า ซี เพราะผมเห็นกลัวกันจัง เรื่อง จีเอ็มโอ และพยายามสร้างภาพให้สังคมกลัวจนเป็นประสาทตามพวกเขาไปด้วย ถ้าใครจะถามผมว่าเคยกินพืชจีเอ็มโอมาหรือยัง ก็บอกว่าเคยแล้ว และก็ยังสบายดีมาหลายปี แต่ถ้าผมจะถามพวกกรีนพีซดูบ้างว่า สมมุติว่าให้เลือก ระหว่าง น้ำผลไม้คั้นจากพืชจีเอ็มโอ กับน้ำเปล่าเจือยาฆ่าแมลงลงไปแค่หนึ่งหยด จะให้ดื่มคุณจะเลือกอันไหน ถ้าชาวกรีนพีซจะเลือกอย่างหลัง ผมว่าก็จะเห็นได้ว่าใครมีอคติจนเกินพอดี
ผมไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ทำจีเอ็มโอ แต่เคยเรียนและเข้าใจวิชาชีวเคมี กับ อณูชีววิทยา เป็นอย่างดี และเห็นว่า สภาวะของโลกไม่ได้อยู่นิ่ง ในอีกหลายสิบปีข้างหน้า เมื่อโลกหมดแล้วซึ่ง germplasm จริงๆ (ตอนนี้ก็แทบจะหมดแล้ว) โลกจะต้องการเท็คนิค transgenic อย่างเลี่ยงไม่พ้น เช่น เมื่อโลกร้อนขึ้น พืชสายพันธุ์ปัจจุบันเลิกออกดอกออกผล ตอนนั้นเราจะเลี่ยงไม่ใช้ไม่ได้
ประการแรกคือ สงสัยว่า สมาชิกกลุ่มกรีนพีซ เนี่ยจบมีใครมาทางสายวิทยาศาสตร์ชีวภาพกัน และรู้ถ่องแท้ในวิชาทาง ชีวเคมี และ อณูชีววิทยา บ้างหรือเปล่า ผมอาจจะมีอคติก็ได้ แต่คาดเดาเอาว่า ถ้ามีใครในกลุ่มนั้นเคยเรียนสองวิชานั่นมาบ้างก็คงจะน้อยตัวเล็มที และคนจำนวนน้อยเหล่านั้น ก็คงจะไม่ได้เกรดสูงกว่า ซี เพราะผมเห็นกลัวกันจัง เรื่อง จีเอ็มโอ และพยายามสร้างภาพให้สังคมกลัวจนเป็นประสาทตามพวกเขาไปด้วย ถ้าใครจะถามผมว่าเคยกินพืชจีเอ็มโอมาหรือยัง ก็บอกว่าเคยแล้ว และก็ยังสบายดีมาหลายปี แต่ถ้าผมจะถามพวกกรีนพีซดูบ้างว่า สมมุติว่าให้เลือก ระหว่าง น้ำผลไม้คั้นจากพืชจีเอ็มโอ กับน้ำเปล่าเจือยาฆ่าแมลงลงไปแค่หนึ่งหยด จะให้ดื่มคุณจะเลือกอันไหน ถ้าชาวกรีนพีซจะเลือกอย่างหลัง ผมว่าก็จะเห็นได้ว่าใครมีอคติจนเกินพอดี
ผมไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ทำจีเอ็มโอ แต่เคยเรียนและเข้าใจวิชาชีวเคมี กับ อณูชีววิทยา เป็นอย่างดี และเห็นว่า สภาวะของโลกไม่ได้อยู่นิ่ง ในอีกหลายสิบปีข้างหน้า เมื่อโลกหมดแล้วซึ่ง germplasm จริงๆ (ตอนนี้ก็แทบจะหมดแล้ว) โลกจะต้องการเท็คนิค transgenic อย่างเลี่ยงไม่พ้น เช่น เมื่อโลกร้อนขึ้น พืชสายพันธุ์ปัจจุบันเลิกออกดอกออกผล ตอนนั้นเราจะเลี่ยงไม่ใช้ไม่ได้
ซิสเต็ม ไดนามิกส์
ไปฟังสัมมนาที่ ไบโอเท็ค (อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย คลองหลวง ปทุมธานี) มาเมื่อวาน เป็นเรื่อง ซิลเต็ม ไดนามิกส์ (system dynamics) ซึ่งวิทยากร คือ อาจารย์หมอ บุญส่ง (ที่ คณะแพทย์ฯ รามาธิบดี) ท่านเพิ่งไปเข้าคอร์สมาจาก เอ็มไอที มาไม่นาน ฟังดูก็เป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ศึกษา complex system ได้ทั้งทาง การบริหารจัดการองค์กรหรือบริษัท และ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ก็ยังได้ แนวคิดก็คือ ต้องแยกองค์ประกอบของระบบที่เราจะศึกษาเป็นส่วนๆ เขียนเป็นแผนภูมิ อย่างเช่น causal diagram หรือ stock and flows diagram จากนั้นก็ไปทำ computer simulation ผมคิดเอาในใจว่า ถ้าจะเอาแนวคิดนี้ไปใช้จัดทำยุทธศาสตร์ดับไฟใต้ด้วยก็ยังได้
มีแนะนำโปรแกรมมาใช้ทำสถานการณ์จำลองด้วย เช่น VenSim หรือ PowerSim ไม่รู้มีโอเพ่นซอสต์โปรแกรมบ้างหรือเปล่า
มีแนะนำโปรแกรมมาใช้ทำสถานการณ์จำลองด้วย เช่น VenSim หรือ PowerSim ไม่รู้มีโอเพ่นซอสต์โปรแกรมบ้างหรือเปล่า
ประสบการณ์ใช้ ไทเกอร์ มาเกือบสามสัปดาห์
ใช้ไทเกอร์มาเกือบสามสัปดาห์ หย่อนไปหน่อยเพราะวันหยุดราชการ รู้สึกชอบมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้า สป็อตไลท์ ที่ช่วยควานหาเอกสารได้ทันที จากบรรดาที่มีเป็นพันๆ และข้อดีคือเราเปิด เทอร์มินัล รันยูนิกส์เชลล์คอมมานด์ได้ด้วย และตอนนี้ผมรันสคริปต์ภาษา Perl เป็นประจำ ทำได้สะดวก ผมเขียนสคริปต์บนโปรแกรมบรรณาธิกรณ์ที่ชื่อ emacs ซึ่งพวกนักคอมพิวเตอร์ทั่วไปใช้กันบนระบบยูนิกส์ จากนั้นก็สั่งรัน เอาผลได้เลย เครื่องดูอัลซีพียู จีไฟฟ์นี่เร็วมาก ยิ่งเครื่องผมใส่แร็มเข้าไปหลาย GB ทำให้ไม่ต้องส่งจ๊อบเล็กๆไปรันบนเครื่องซันเซอร์ฟเวอร์เป็นส่วนมาก
การเซ็ทพรินท์เตอร์ก็ทำได้เร็วดีมาก เมื่อเร็วๆนี้ออฟฟิสเพิ่งเปลี่ยนพรินท์เตอร์เช่ามาใหม่ เจ้าไทเกอร์ก็หาได้เจอเองไม่ยุ่งยาก แค่คลิ้กสองสามทีก็เสร็จ
การเซ็ทพรินท์เตอร์ก็ทำได้เร็วดีมาก เมื่อเร็วๆนี้ออฟฟิสเพิ่งเปลี่ยนพรินท์เตอร์เช่ามาใหม่ เจ้าไทเกอร์ก็หาได้เจอเองไม่ยุ่งยาก แค่คลิ้กสองสามทีก็เสร็จ
Tuesday, August 02, 2005
วารสารในไทยล้นตลาด
เพิ่งไปอ่านเจอมาเมื่อสองสามวันก่อนว่า ทางสำนักพิมพ์อัมรินทร์พริ้นติ้งบ่นบอกว่าตอนนี้วารสารในไทยล้นตลาด ทำให้รายได้จากโฆษณาลดลง
เราก็สังเกตเห็นด้วยเรื่องแมกกาซีนล้นแผง มีหลายร้อยเล่ม ความจริงสังเกตเห็นมาสักสองปีแล้ว ระยะหลังมีพวกวารสารหัวนอกเข้ามาอีก ก็รู้สึกอัศจรรย์ใจว่าบ้านเมืองเราพัฒนาไปมากหรือย่างไร
คนรุ่นใหม่ถึงอ่านแม๊กกาซีนมากขึ้น (เราเองก็คนรุ่นใหม่ อ่านเดือนหนึ่งเป็นสิบเล่ม ฮิฮิ) แต่เอาเข้าจริง วารสารส่วนมากที่วางขายบนแผงเป็นพวกไร้สาระ บันเทิงเสียละมาก
วารสารหลายๆเล่ม อ่านดูไม่เห็นมีอะไร มีแต่เรื่อง คนนั้นคนนี้ แฟชั่น ของไร้ประโยชน์ต่างๆ แพงก็แพง เป็นการกระตุ้นกิเลส ความโลภ ราคะ
ทำเอาคนส่วนมากที่จิตไม่อยู่กับตัว ไม่ปฏิบัติวิปัสสนาจะคล้อยไปเป็นพวกวัตถุนิยมสุดโต่งได้ง่ายๆ
เราก็สังเกตเห็นด้วยเรื่องแมกกาซีนล้นแผง มีหลายร้อยเล่ม ความจริงสังเกตเห็นมาสักสองปีแล้ว ระยะหลังมีพวกวารสารหัวนอกเข้ามาอีก ก็รู้สึกอัศจรรย์ใจว่าบ้านเมืองเราพัฒนาไปมากหรือย่างไร
คนรุ่นใหม่ถึงอ่านแม๊กกาซีนมากขึ้น (เราเองก็คนรุ่นใหม่ อ่านเดือนหนึ่งเป็นสิบเล่ม ฮิฮิ) แต่เอาเข้าจริง วารสารส่วนมากที่วางขายบนแผงเป็นพวกไร้สาระ บันเทิงเสียละมาก
วารสารหลายๆเล่ม อ่านดูไม่เห็นมีอะไร มีแต่เรื่อง คนนั้นคนนี้ แฟชั่น ของไร้ประโยชน์ต่างๆ แพงก็แพง เป็นการกระตุ้นกิเลส ความโลภ ราคะ
ทำเอาคนส่วนมากที่จิตไม่อยู่กับตัว ไม่ปฏิบัติวิปัสสนาจะคล้อยไปเป็นพวกวัตถุนิยมสุดโต่งได้ง่ายๆ
ตัวดูดเม็มโมรี่
เมื่อวานเพิ่งพบว่า เม็มโมรี่บนเครื่องแม็คฯโดนโปรแกรม widget ตัวหนึ่งดูดไปใช้ตั้ง >1 GBytes แต่แรกเราก็ไม่รู้หรอก
จนกระทั่งเช็ค RAM ที่รันอยู่ เลยงดใช้วิดเจ็ตนั้นเสีย
จนกระทั่งเช็ค RAM ที่รันอยู่ เลยงดใช้วิดเจ็ตนั้นเสีย
Monday, August 01, 2005
เว็บเบราเซอร์ใหม่สำหรับแม็คฯ
เพื่อนเพิ่งแนะนำให้รู้จักวันนี้ เบราเซอร์ตัวใหม่จากญี่ปุ่น Shirra ใช้ได้ทั้ง Panther and Tiger คุณสมบัติที่น่าสนใจคือ tab expose' ยังไม่ได้ลองใช้มากนัก แต่ผมพบว่าเปลืองซีพียูมากกว่า Safari
กรมทางฯคงไม่รู้จักคำว่า ฟลักซ์
ขอบ่นสักที อุตส่าห์มาทำงานตอนเช้า ให้มีอันอารมณ์ขุ่นใจ
วิศวกรกรมทางหลวงสงสัยจะไม่รู้จักคำนวนฟลักซ์ มันถึงมีคอฃวดเต็มไปหมด ฝนตก รถช้า ยิ่งทำให้แย่ลงไปอีก
พวกนี้คงได้แต่นั่งเทียนออกแบบถนน เอาดูดีเข้าว่า ตรงทางออกจากสายด่วนด้านใน ทำไมไม่ทำให้มันกว้างๆ ชาวบ้านต้องมาแย่งกันออก แล้วก็น่าจะให้มีเลนเพิ่ม และก็ตรงหัวเลีี้ยวที่เป็นทางต่างระดับ (เราว่าน่าจะเรียกทางเปลี่ยนระดับมากกว่า) ทำไมมักทำแค่เลนเดียว ไม่เผื่อการจราจรไว้บ้าง คงกะว่า ในอนาคต รถมากขึ้นค่อยทุบทิ้งสร้างใหม่ละมัง คงจะได้ฟันค่าคอมฯในอนาคตได้อีก
รู้สึกตัวว่าเช้านี้เข้าทำนอง น๊อตหลุด
(โพสต์จากแม็คฯ)
วิศวกรกรมทางหลวงสงสัยจะไม่รู้จักคำนวนฟลักซ์ มันถึงมีคอฃวดเต็มไปหมด ฝนตก รถช้า ยิ่งทำให้แย่ลงไปอีก
พวกนี้คงได้แต่นั่งเทียนออกแบบถนน เอาดูดีเข้าว่า ตรงทางออกจากสายด่วนด้านใน ทำไมไม่ทำให้มันกว้างๆ ชาวบ้านต้องมาแย่งกันออก แล้วก็น่าจะให้มีเลนเพิ่ม และก็ตรงหัวเลีี้ยวที่เป็นทางต่างระดับ (เราว่าน่าจะเรียกทางเปลี่ยนระดับมากกว่า) ทำไมมักทำแค่เลนเดียว ไม่เผื่อการจราจรไว้บ้าง คงกะว่า ในอนาคต รถมากขึ้นค่อยทุบทิ้งสร้างใหม่ละมัง คงจะได้ฟันค่าคอมฯในอนาคตได้อีก
รู้สึกตัวว่าเช้านี้เข้าทำนอง น๊อตหลุด
(โพสต์จากแม็คฯ)
Friday, July 29, 2005
ข้อคิด : ต้นทุนที่ได้มาฟรีๆ
วันใดที่เราตื่นเช้า เราได้ทำงานก่อนใคร (ที่อยู่ใน time zone เดียวกัน หรือในประเทศเดียวกัน) ขณะที่คนอื่นยังนอนอุตุอยู่ นับว่าได้เปรียบคนอื่น ทีเวลาทำอะไรๆได้แยะ และวางแผนงานในแต่ละวันได้อีก
ถ้าเราตื่นสาย เราก็จะต้องตะลีตะลานไปทำงาน ไม่มีเวลาทำอะไรๆที่ต้องทำในตอนเช้า อาจจะต้องอดข้าวเช้าเพราะไม่มีเวลากิน อาจจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกแยะมากกว่าปกติ เช่นจ่ายค่าทางด่วน ทั้งๆที่ถ้าตื่นเช้าก็จะไม่ต้องขึ้นใช้
หรือถ้าปกติใช้รถเมล์ในวันที่ตื่นเช้า ก็อาจจะจำต้องไปนั่งแท๊กซี่ในวันที่ตื่นสาย
ถ้าตื่นสายมากๆอาจจะได้เริ่มทำงานช้ากว่าคนอื่นเขา บางคนอาจจะโดนตัดเงินเดือนฐานมาสายเสียอีก ถ้าใคนยังเรียนอยู่ก็อาจจะขาดเรียนไปในชั่วโมงแรกๆ
นับว่าเสียการเสียงาน ดังนั้นเวลาถือได้ว่าเป็นต้นทุนชนิดหนึ่ง
แล้วทำไงจะตื่นเช้าได้ ก็ต้องนอนแต่หัวค่ำ
ทำไงจะนอนแต่หัวค่ำได้ ก็ต้องกินอาหารเย็นแต่น้อยๆ อย่าให้อิ่ม ออกกำลังกายเบาๆสัก ๔๐ นาที อายน้ำและเข้าสมาธิสักครึ่งชั่วโมง พอใจสงบก็จะหลับง่าย
เรื่องทีวีน่ะไม่ต้องพูดถึง ไม่มีเวลาดูหรอก
เขียนวันนี้เพราะวันนี้ตื่นสายไปนิด จะได้เตือนตันเองต่อไปด้วย
ถ้าเราตื่นสาย เราก็จะต้องตะลีตะลานไปทำงาน ไม่มีเวลาทำอะไรๆที่ต้องทำในตอนเช้า อาจจะต้องอดข้าวเช้าเพราะไม่มีเวลากิน อาจจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกแยะมากกว่าปกติ เช่นจ่ายค่าทางด่วน ทั้งๆที่ถ้าตื่นเช้าก็จะไม่ต้องขึ้นใช้
หรือถ้าปกติใช้รถเมล์ในวันที่ตื่นเช้า ก็อาจจะจำต้องไปนั่งแท๊กซี่ในวันที่ตื่นสาย
ถ้าตื่นสายมากๆอาจจะได้เริ่มทำงานช้ากว่าคนอื่นเขา บางคนอาจจะโดนตัดเงินเดือนฐานมาสายเสียอีก ถ้าใคนยังเรียนอยู่ก็อาจจะขาดเรียนไปในชั่วโมงแรกๆ
นับว่าเสียการเสียงาน ดังนั้นเวลาถือได้ว่าเป็นต้นทุนชนิดหนึ่ง
แล้วทำไงจะตื่นเช้าได้ ก็ต้องนอนแต่หัวค่ำ
ทำไงจะนอนแต่หัวค่ำได้ ก็ต้องกินอาหารเย็นแต่น้อยๆ อย่าให้อิ่ม ออกกำลังกายเบาๆสัก ๔๐ นาที อายน้ำและเข้าสมาธิสักครึ่งชั่วโมง พอใจสงบก็จะหลับง่าย
เรื่องทีวีน่ะไม่ต้องพูดถึง ไม่มีเวลาดูหรอก
เขียนวันนี้เพราะวันนี้ตื่นสายไปนิด จะได้เตือนตันเองต่อไปด้วย
Monday, July 25, 2005
วารสารวิชาการของไทย ทางวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี
ไปเจอเว็บลิงก์มาอันหนึ่ง เลยแวะไปดู Thai Impact Factor
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/IF_47.html
ผมเข้าใจทันทีว่า น่าจะเกี่ยวเนื่องกับงานวิจัยที่นักวิชาการทางบรรณารักษ์ศาสตร์ที่นั่นท่านทำอยู่คือวิเคราะห์ impact factors สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ของไทย เทียบกับต่างประเทศ เพียงแต่เว็บนี้นำเสนอเฉพาะข้อมูลจากวารสารวิชาการของไทย ไม่ได้เน้นผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ
ยังไม่มีเวลาคลิกไปดูรายละเอียดมากนัก
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/IF_47.html
ผมเข้าใจทันทีว่า น่าจะเกี่ยวเนื่องกับงานวิจัยที่นักวิชาการทางบรรณารักษ์ศาสตร์ที่นั่นท่านทำอยู่คือวิเคราะห์ impact factors สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ของไทย เทียบกับต่างประเทศ เพียงแต่เว็บนี้นำเสนอเฉพาะข้อมูลจากวารสารวิชาการของไทย ไม่ได้เน้นผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ
ยังไม่มีเวลาคลิกไปดูรายละเอียดมากนัก
โปรแกรมสำหรับสร้างและสลับเปลี่ยน เดสก์ท็อปบนแม็คฯ
แม้จะมี เอ๊กซโพเซ่ แต่ก็ยังรู้สึกไม่พออยู่ดี ผมยังอยากได้พื้นที่ทำงานหลายๆพื้นที่บนแม็คฯ ให้เหมือนลินุกส์ เพื่อนผมเลยแนะนำให้ผมไปดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับทำเดสก์ท็อปหลายๆอัน และเปลี่ยนไปมาได้บนแม็คฯ เป็นของ CodeTec ผมลองใช้ดูมาหลายวันแล้ว รู้สึกว่าใช้ได้ดี ทำให้เหมือนกับลินุกส์ ที่มีหลายเดสก์ท็อป สงสัยว่า พอหมดอายุที่ให้ทดลองใช้ ผมจะต้องเสียเงินซื้อเสียแล้ว แต่ไม่ค่อยแพง ดูเหมือนจะแค่ ๔๐ เหรียญสหรัฐฯ
โพสต์จากแม็คฯ ไทเกอร์
โพสต์จากแม็คฯ ไทเกอร์
ช่วยงานเขียน วิกิพีเดีย
ที่ผ่านมาสามสี่สัปดาห์ ผมเริ่มงานช่วยเขียนให้กัย วิกิพีเดีย พากย์ภาษาไทย (Thai Wikipaedia) ความจริงผมรู้จัก วิกิพีเดีย มาหลายปีแหล้ว ก่อนจะมีหน้าภาษาไทยเสียอีก จนเริ่มมีคนทำขึ้น ก็ยังลังเลอยู่สักสองปีได้ละมัง ตอนนี้เลยคิดว่าจะทะยอยช่วย อย่างน้อยก็ใน หัวข้อทางวิชาการที่เรารู้ดี คงเป็นเพราะละอัตตาไปได้แยะละมัง หลังจากเข้าวิปัสสนาบ่อยขึ้น
สัปดาห์แรกๆมีเรื่องโอละพ่อเล๋กน้อย เพราะไปละเมิดลิขสิทธิ์เอกสารของตัวเองเข้า โดยไม่ทันรู้ตัว วิกิ มีเอ็นจิ้นที่มีประสิทธิภาพมาก ไปตรวจเช็คเจอเข้า หลังจากผมปรึกษากับแอ็ดมินของ วิกิไทย แล้ว สุดท้ายเราเลยตัดสินใจ เขียนใหม่หมดดีกว่า คนที่แอบเอาเว็บเก่าของเราไปทำมิเรอร์ไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต เราไม่อยากจะอีเมล์ไปว่าเขาว่าเสียมารยาท ปล่อยไปเหอะ
สัปดาห์แรกๆมีเรื่องโอละพ่อเล๋กน้อย เพราะไปละเมิดลิขสิทธิ์เอกสารของตัวเองเข้า โดยไม่ทันรู้ตัว วิกิ มีเอ็นจิ้นที่มีประสิทธิภาพมาก ไปตรวจเช็คเจอเข้า หลังจากผมปรึกษากับแอ็ดมินของ วิกิไทย แล้ว สุดท้ายเราเลยตัดสินใจ เขียนใหม่หมดดีกว่า คนที่แอบเอาเว็บเก่าของเราไปทำมิเรอร์ไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต เราไม่อยากจะอีเมล์ไปว่าเขาว่าเสียมารยาท ปล่อยไปเหอะ
Thursday, July 21, 2005
ทดสอบโพสต์ครั้งแรกจากแม็คฯ
วันนี้วันอาสาฬหบูชา มาทำงานด้วย อ่านเปเปอร์ไปสักสามฉบับบนจอ ไม่ได้ปรินท์ออกมา ตอนนี้ชักเบื่อ เลยมาลองโพสต์ดู เป็นการทดสอบโพสต์ครั้งแรกจากแม็คฯ ไทเกอร์ โดยใช้ซาฟารี หวังว่าภาษาไทยจะโอเค วันนี้ตั้งใจจะเขียนหนังสือหน่อย เพราะออฟฟิสเงียบดี ในตึกไม่ค่อยมีคนด้วย
Holiday posting test from Safari in Mac OS-X Tiger 10.4.2 on a G5.
Holiday posting test from Safari in Mac OS-X Tiger 10.4.2 on a G5.
โทณปากสูตร (พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย โกสลสังยุตต์)
- มนุชัสสะ สทา สติมะโต
- มนุษย์มีสติทุกเมื่อ
- มัตตัง ชานะโต ลัทธะโภชเน
- รู้ประมาณในการกิน
- ตนุกัสสะ ภวันติ เวทนา
- เวทนาย่อมเบาบางลง
- สณิกัง ชีวติ อายุ ปาลยัง
- อายุย่อมแก่ช้า
Tuesday, July 19, 2005
ประสบการณ์การใช้แม็คฯ โอเอสเท็น ไทเกอร์ วันแรก
การใช้ Mac G5 DPS สองซีพียู 2.0 GHz ที่มีระบบปฏิบัติการเป็น OS-X Tiger 64 bit วันแรกของผม ได้บั้ดดี้ผม ซึ่งเป็นเซียนของแม็คฯ และคอมฯ มาช่วยแนะ ทำให้ทุกอย่างสะดวกขึ้น แม้ว่าผมจะเคยใช้ System 6 มาเมื่อ ๑๐ ปีก่อนก็ตาม
เริ่มต้นวันจากการอัพเดทซอฟต์แวร์ออนไลน์ ซึ่งสะดวกและเร็วมาก และตามด้วยการดาวน์โหลดโปรแกรมที่ต้องการจะใช้ ได้แก่ Emacs และ เลเท็ค (LateX) จากนั้นก็เปิดแอ็คเคาน์ยูสเซอร์เพิ่ม คล้ายกับระบบยูนิกส์ที่คุ้นเคย
ระหว่างที่รอดาวน์โหลดกลายๆตัวพร้อมๆกันนั้น ผมก็เปิด ซาฟารี เว็บเบราเซอร์ ไปอ่านข่าวต่างๆดู สลับกับการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่สะอาด ไม่รุงรังเหมือนวินโดวส์
การเป็นระบบ 64 bit และความที่ภายใต้นั้นเป็นระบบ BSD Unix ทำให้ทุกอย่างเป็น multitasking ทำงานไปพร้อมๆกันได้โดยไม่ต้องกลัวเครื่องแฮงก์แต่อย่างใด
รู้สึกว่าเครื่องเร็ว ตอบสนองได้รื่นไหลดี ไม่ช้า แม้ว่าอัตราความถี่ของเครื่องจะต่ำกว่าเครื่อง 32 bit ที่ใช้ซีพียูจากอินเทลก็ตาม
คุณลักษณะที่เด่นของแม็คฯ โอเอสเท็นรุ่นหลังๆ ที่ผู้ใช้เห็นได้ชัดก็คือ เอ็กซ์โปเซ่ และในไทเกอร์ก็มีเพิ่มมาคือ Spotlight และ Widgets
การมี Expose' ทำให้ผมทำงานได้อย่างสะดวก เปิดหน้าต่างได้แยะๆเป็นสิบได้โดยทำงานอย่างไม่ชะงัก เพราะหน้าต่างหดซูมเข้าออกได้ นี่คือสิ่งที่ผมชอบ
นอกเหนือจากการเปิด terminal เป็น Unix 's bash shell เข้าไปทำงาน หรือติดต่อกับ server ต่างๆที่ต้องการได้สะดวก คล้าย Linux
เครื่องแม็คฯคือสุดยอดของ เดสท็อป คอมพิวเตอร์ ความรู้สึกดีมาก และในบรรดาเครื่องแม็คด้วยกัน เพื่อนชาวแล็ปท้อป G4 ก็ต้องอิจฉาในความเร็วของเครื่อง G5 dual processor ตัวนี้
ผมปรับจอ Sony 17" LCD ของผมให้ resolution สูงสุด ทำให้ได้ภาพคมชัดมาก ความสว่างกำลังดี เจ้าตัวนี้ ตามสเป็คของมันสว่างมากกว่าจอทั่วไปราวสองเท่าที่เดียว
ต่อมาผมเสียบ external USB hard disk เข้ากับเครื่องเพื่อโอนข้อมูลบางส่วนที่สำเนาไว้จากเครื่องวินโดวส์แล็ปท้อปผมไปยังเครื่องแม็ค ข้อมูลก็ไม่น้อย ราว 2 GB มีแฟ้มอยู่เป็นหมื่นแฟ้ม สารพัดชนิด หลังการส่งผ่านข้อมูล
ปรากฎว่า ผมสามารถค้นหาแฟ้มที่เพิ่งก้อปปี้เข้ามาผ่าน สปอตไลท์ได้เจอทันที รวมทั้งคำใน PDF files ด้วย นี่คือสุดยอด ไม่เพียงแต่เท่านั้น เจ้า USB hard disk ที่ยังคงเมานท์อยู่กับระบบก็โดน search เจอไปด้วย (ในนั้นมีข้อมูลตั้ง 50 GB เชียวนะ)
ทำเอาผมทึ่งมากในความสามารถอันยอดเยี่ยม ต้องซูฮก สตีฟ จ้อบส์ กับวิศวกรของเขาจริงๆ ... นับถือๆ
การติดตั้งซอฟต์แวร์หลังดาวน์โหลดก็ง่ายมาก ติดเสร็จก็ลาก icon ไปไว้ใน dock ก็ได้ short cut ที่ซูมเข้าออกได้อีก
เจ้า widgets ที่ผมชอบก็คือ dictionary & thesaurus และ translation แต่ยังไม่มีภาษาไทย คิดเล่นๆอยู่ว่า ถ้ามีเวลาอยากจะลองทำ widget มั่ง
เริ่มต้นวันจากการอัพเดทซอฟต์แวร์ออนไลน์ ซึ่งสะดวกและเร็วมาก และตามด้วยการดาวน์โหลดโปรแกรมที่ต้องการจะใช้ ได้แก่ Emacs และ เลเท็ค (LateX) จากนั้นก็เปิดแอ็คเคาน์ยูสเซอร์เพิ่ม คล้ายกับระบบยูนิกส์ที่คุ้นเคย
ระหว่างที่รอดาวน์โหลดกลายๆตัวพร้อมๆกันนั้น ผมก็เปิด ซาฟารี เว็บเบราเซอร์ ไปอ่านข่าวต่างๆดู สลับกับการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่สะอาด ไม่รุงรังเหมือนวินโดวส์
การเป็นระบบ 64 bit และความที่ภายใต้นั้นเป็นระบบ BSD Unix ทำให้ทุกอย่างเป็น multitasking ทำงานไปพร้อมๆกันได้โดยไม่ต้องกลัวเครื่องแฮงก์แต่อย่างใด
รู้สึกว่าเครื่องเร็ว ตอบสนองได้รื่นไหลดี ไม่ช้า แม้ว่าอัตราความถี่ของเครื่องจะต่ำกว่าเครื่อง 32 bit ที่ใช้ซีพียูจากอินเทลก็ตาม
คุณลักษณะที่เด่นของแม็คฯ โอเอสเท็นรุ่นหลังๆ ที่ผู้ใช้เห็นได้ชัดก็คือ เอ็กซ์โปเซ่ และในไทเกอร์ก็มีเพิ่มมาคือ Spotlight และ Widgets
การมี Expose' ทำให้ผมทำงานได้อย่างสะดวก เปิดหน้าต่างได้แยะๆเป็นสิบได้โดยทำงานอย่างไม่ชะงัก เพราะหน้าต่างหดซูมเข้าออกได้ นี่คือสิ่งที่ผมชอบ
นอกเหนือจากการเปิด terminal เป็น Unix 's bash shell เข้าไปทำงาน หรือติดต่อกับ server ต่างๆที่ต้องการได้สะดวก คล้าย Linux
เครื่องแม็คฯคือสุดยอดของ เดสท็อป คอมพิวเตอร์ ความรู้สึกดีมาก และในบรรดาเครื่องแม็คด้วยกัน เพื่อนชาวแล็ปท้อป G4 ก็ต้องอิจฉาในความเร็วของเครื่อง G5 dual processor ตัวนี้
ผมปรับจอ Sony 17" LCD ของผมให้ resolution สูงสุด ทำให้ได้ภาพคมชัดมาก ความสว่างกำลังดี เจ้าตัวนี้ ตามสเป็คของมันสว่างมากกว่าจอทั่วไปราวสองเท่าที่เดียว
ต่อมาผมเสียบ external USB hard disk เข้ากับเครื่องเพื่อโอนข้อมูลบางส่วนที่สำเนาไว้จากเครื่องวินโดวส์แล็ปท้อปผมไปยังเครื่องแม็ค ข้อมูลก็ไม่น้อย ราว 2 GB มีแฟ้มอยู่เป็นหมื่นแฟ้ม สารพัดชนิด หลังการส่งผ่านข้อมูล
ปรากฎว่า ผมสามารถค้นหาแฟ้มที่เพิ่งก้อปปี้เข้ามาผ่าน สปอตไลท์ได้เจอทันที รวมทั้งคำใน PDF files ด้วย นี่คือสุดยอด ไม่เพียงแต่เท่านั้น เจ้า USB hard disk ที่ยังคงเมานท์อยู่กับระบบก็โดน search เจอไปด้วย (ในนั้นมีข้อมูลตั้ง 50 GB เชียวนะ)
ทำเอาผมทึ่งมากในความสามารถอันยอดเยี่ยม ต้องซูฮก สตีฟ จ้อบส์ กับวิศวกรของเขาจริงๆ ... นับถือๆ
การติดตั้งซอฟต์แวร์หลังดาวน์โหลดก็ง่ายมาก ติดเสร็จก็ลาก icon ไปไว้ใน dock ก็ได้ short cut ที่ซูมเข้าออกได้อีก
เจ้า widgets ที่ผมชอบก็คือ dictionary & thesaurus และ translation แต่ยังไม่มีภาษาไทย คิดเล่นๆอยู่ว่า ถ้ามีเวลาอยากจะลองทำ widget มั่ง
Monday, July 18, 2005
คำไทย ที่คนใช้สลับหรือผิดความหมายไปจากเดิม
อนุสนธิจากวันก่อนที่ได้หนังสือมา ๒ เล่ม ส่งมาให้จากมติชนเป็นของกำนัลแด่สมาชิกวารสารศิลปวัฒนธรรม เขาส่งมาให้เป็นประจำทุกๆปี มีเล่มหนึ่งหนาหน่อย พลิกๆดูเป็นเรื่องเกี่ยวกับส้วม อ่านดูคร่าวๆจึงได้ความรู้ใหม่ว่า
คำว่าส้วมนั้น ทางอีสาณเดิมใช้หมายความว่า ห้องนอนลูกสาว คือเป็นห้องพิเศษเฉพาะ อาจจะเล็กๆ แต่ปัจจุบันนี้ความหมายที่คนรับรู้กันกลายเป็น เว็จ ซะนี่ คนภาคกลางคงเป็นห้องเล็กๆเหมือนกันละมัง
จากคำนี้ ทำให้ผมนึกไปไกลถึงคำอื่นๆอีกหลายคำที่เคยได้ยินมา
ภาษาไทยเนี่ย คนที่ฟังหูไม่กระดิกใช้ผิดกันแยะ อย่างคำว่า รุ้ง หมายถึงนกเหยี่ยวชนิดหนึ่ง อย่างเช่นในกลอนเรื่องพระอภัยมณีที่ว่า "เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา" คนก็ไปนึกว่าเป็นรุ้งกินน้ำเสียฉิบ
คอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำ แย่จริงๆ
มีคำไทยอยู่หลายๆคำ ที่คนปัจจุบัน ใช้สลับความหมายกับที่คนโบราณเคยใช้ไปแยะ อย่างคำว่า แพ้ เนี่ย สมัยก่อนแปลว่าชนะ ซึ่งตรงข้ามกับคำว่าพ่าย
คำนี้ตอนหลังคนเข้าใจมากขึ้น ต้องขอบคุณหนังเรื่อง สุริโยทัย และก็นักพากย์กีฬาทั้งหลาย ที่พยายามใช้คำว่าพ่ายกันมากขึ้น
อีกอย่างที่นึกได้ก็ คำว่าวันหน้า กับวันหลัง วันหน้าคือวันที่ยังมาไม่ถึง วันหลังนั้นผ่านไปแล้ว คนที่ใช้สลับกันก็ยังมีแยะ เช่นถ้าเราชวนเพื่อนไปกินข้าว เพื่อนยังไม่ว่างก็ผลัดไว้ก่อน อาจจะบอกว่า "เฮ้ย เอาไว้วันหลัง" แบบนี้ก็ผิด แต่เป็นอันรู้กันว่าเขาหมายความถึงผลัดไว้วันหน้า
อีกคำ ผมมักได้ยินจากชาวไทยเชื้อสายจีน หลายคนชอบใช้คำว่า เช้าๆ แทนความหมายว่า เร็วๆ อย่างเช่นพูดว่า "วันนี้นอนเช้าๆหน่อยสิ" แทนที่จะพูดว่า วันนี้นอนเร็วหน่อยสิ หรือไม่ก็ วันนี้นอนแต่หัวค่ำสิ
หรือภรรยาบอกสามีก่อนออกไปทำงานตอนเช้าว่า วันนี้กลับบ้านเช้าหน่อยนะ ก็เป็นอันได้ผล เจ้าประคุณสามีคงจะกลับมาบ้านเช้าวันรุ่งขึ้นแน่นอน ผิดความประสงค์ของอาซ้อผู้เป็นภรรยา
ตอนนี้ความหายเลยเลือนไปแล้ว ใครฟังแล้วไม่รู้อาจจะนึกว่า คำว่าเช้าแปลว่าค่ำไปแล้ว
คำว่าส้วมนั้น ทางอีสาณเดิมใช้หมายความว่า ห้องนอนลูกสาว คือเป็นห้องพิเศษเฉพาะ อาจจะเล็กๆ แต่ปัจจุบันนี้ความหมายที่คนรับรู้กันกลายเป็น เว็จ ซะนี่ คนภาคกลางคงเป็นห้องเล็กๆเหมือนกันละมัง
จากคำนี้ ทำให้ผมนึกไปไกลถึงคำอื่นๆอีกหลายคำที่เคยได้ยินมา
ภาษาไทยเนี่ย คนที่ฟังหูไม่กระดิกใช้ผิดกันแยะ อย่างคำว่า รุ้ง หมายถึงนกเหยี่ยวชนิดหนึ่ง อย่างเช่นในกลอนเรื่องพระอภัยมณีที่ว่า "เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา" คนก็ไปนึกว่าเป็นรุ้งกินน้ำเสียฉิบ
คอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำ แย่จริงๆ
มีคำไทยอยู่หลายๆคำ ที่คนปัจจุบัน ใช้สลับความหมายกับที่คนโบราณเคยใช้ไปแยะ อย่างคำว่า แพ้ เนี่ย สมัยก่อนแปลว่าชนะ ซึ่งตรงข้ามกับคำว่าพ่าย
คำนี้ตอนหลังคนเข้าใจมากขึ้น ต้องขอบคุณหนังเรื่อง สุริโยทัย และก็นักพากย์กีฬาทั้งหลาย ที่พยายามใช้คำว่าพ่ายกันมากขึ้น
อีกอย่างที่นึกได้ก็ คำว่าวันหน้า กับวันหลัง วันหน้าคือวันที่ยังมาไม่ถึง วันหลังนั้นผ่านไปแล้ว คนที่ใช้สลับกันก็ยังมีแยะ เช่นถ้าเราชวนเพื่อนไปกินข้าว เพื่อนยังไม่ว่างก็ผลัดไว้ก่อน อาจจะบอกว่า "เฮ้ย เอาไว้วันหลัง" แบบนี้ก็ผิด แต่เป็นอันรู้กันว่าเขาหมายความถึงผลัดไว้วันหน้า
อีกคำ ผมมักได้ยินจากชาวไทยเชื้อสายจีน หลายคนชอบใช้คำว่า เช้าๆ แทนความหมายว่า เร็วๆ อย่างเช่นพูดว่า "วันนี้นอนเช้าๆหน่อยสิ" แทนที่จะพูดว่า วันนี้นอนเร็วหน่อยสิ หรือไม่ก็ วันนี้นอนแต่หัวค่ำสิ
หรือภรรยาบอกสามีก่อนออกไปทำงานตอนเช้าว่า วันนี้กลับบ้านเช้าหน่อยนะ ก็เป็นอันได้ผล เจ้าประคุณสามีคงจะกลับมาบ้านเช้าวันรุ่งขึ้นแน่นอน ผิดความประสงค์ของอาซ้อผู้เป็นภรรยา
ตอนนี้ความหายเลยเลือนไปแล้ว ใครฟังแล้วไม่รู้อาจจะนึกว่า คำว่าเช้าแปลว่าค่ำไปแล้ว
แมคฯ ตัวใหม่สำหรับลุยงาน
เมื่อวันศุกร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่สำหรับออฟฟิสผมมาแล้ว หลังจากล่าช้าไปนาน
เครื่อง แมคคินทอช ที่ผมเพิ่งได้มา เป็นเครื่อง Mac G5 2.0 GHz Dual processor ตัวเบ้อเริ่ม แต่เงียบกริบ ไม่มีเสียงเลย ตั้งอยู่ที่พื้นห้องข้างๆโต๊ะอย่างสวยงาม และ สง่า
ทำให้เจ้า Hewlett-Packard Pentium 4 tower ที่ผมลง Linux TLE 7.0 เอาไว้และตั้งอยู่ใต้โต๊ะทำงานดูเล็กไปแยะ
บนโต๊ะทำงานผม เลยมีจอแอลซีดีสองตัว ตัวเดิมเป็นของ HP อีกตัวเป็นจอใหม่ Sony 17" ที่ซื้อมาใช้กับเครื่องแม็คฯ (ผมไม่มีปัญญาซื้อจอจากแม็ค เพราะแพงมาก ขนาด 20" ราคากว่า ๔ หมื่นบาท
ของโซนี่ 17" ราคาหมื่นกว่าบาทเอง) จอสองตัวบนโต๊ะทำเอาไม่มีที่วางเครื่องแล็ปทอปเดิมของผม สงสัยต้องงดใช้เตรียมปลดเกษียณให้ลูก เพราะเจ้า toaster laptop นี่ใช้มา ๓ ปีแล้ว
เมื่อเปิดเครื่องจีไฟฟ์ดู ความรู้สึกเมื่อสิบปีก่อนก็หวลคืนมา Finder ยังคงอยู่ เมนูด้านบนจอยังคงความรู้สึกเดิม
บรรดาเพื่อนๆชาวแม็คฯแห่กันเข้ามาชื่นชม หลายคนที่นี่ใช้ PowerBook 12" กันเป็นหลัก ต่างก็ชมว่า เครื่อง G5 สองซีพียูนี้เร็วมาก คนนึงลงนั่งจัดแจงเปิดหน้าต่างเทอร์มินัลแอบเปิดดูไอพีนัมเบอร์ของเครื่องนี้เรียบร้อย
บอกว่า ถ้าเผลอเมื่อไรจะแอบโยนจ๊อบเข้ามารัน โอเค โนพรอบเบล็ม
กล่องยูพีเอสของ Leonics 1000 KVa ยังคงไม่ได้แกะ วางเกะกะอยู่ รวมกับกล่องกระดาษแข็งที่ใส่เครื่องมา ผมมัวอยากลองเครื่องคอมฯใหม่ ยังไม่มีเวลาไปชาร์จแบตเตอรีค้างคืน
เครื่อง แมคคินทอช ที่ผมเพิ่งได้มา เป็นเครื่อง Mac G5 2.0 GHz Dual processor ตัวเบ้อเริ่ม แต่เงียบกริบ ไม่มีเสียงเลย ตั้งอยู่ที่พื้นห้องข้างๆโต๊ะอย่างสวยงาม และ สง่า
ทำให้เจ้า Hewlett-Packard Pentium 4 tower ที่ผมลง Linux TLE 7.0 เอาไว้และตั้งอยู่ใต้โต๊ะทำงานดูเล็กไปแยะ
บนโต๊ะทำงานผม เลยมีจอแอลซีดีสองตัว ตัวเดิมเป็นของ HP อีกตัวเป็นจอใหม่ Sony 17" ที่ซื้อมาใช้กับเครื่องแม็คฯ (ผมไม่มีปัญญาซื้อจอจากแม็ค เพราะแพงมาก ขนาด 20" ราคากว่า ๔ หมื่นบาท
ของโซนี่ 17" ราคาหมื่นกว่าบาทเอง) จอสองตัวบนโต๊ะทำเอาไม่มีที่วางเครื่องแล็ปทอปเดิมของผม สงสัยต้องงดใช้เตรียมปลดเกษียณให้ลูก เพราะเจ้า toaster laptop นี่ใช้มา ๓ ปีแล้ว
เมื่อเปิดเครื่องจีไฟฟ์ดู ความรู้สึกเมื่อสิบปีก่อนก็หวลคืนมา Finder ยังคงอยู่ เมนูด้านบนจอยังคงความรู้สึกเดิม
บรรดาเพื่อนๆชาวแม็คฯแห่กันเข้ามาชื่นชม หลายคนที่นี่ใช้ PowerBook 12" กันเป็นหลัก ต่างก็ชมว่า เครื่อง G5 สองซีพียูนี้เร็วมาก คนนึงลงนั่งจัดแจงเปิดหน้าต่างเทอร์มินัลแอบเปิดดูไอพีนัมเบอร์ของเครื่องนี้เรียบร้อย
บอกว่า ถ้าเผลอเมื่อไรจะแอบโยนจ๊อบเข้ามารัน โอเค โนพรอบเบล็ม
กล่องยูพีเอสของ Leonics 1000 KVa ยังคงไม่ได้แกะ วางเกะกะอยู่ รวมกับกล่องกระดาษแข็งที่ใส่เครื่องมา ผมมัวอยากลองเครื่องคอมฯใหม่ ยังไม่มีเวลาไปชาร์จแบตเตอรีค้างคืน
Friday, July 15, 2005
ทำไมผมถึงหันมาใช้แม็ค โอเอสเท็น รุ่น ไทเกอร์
ผมมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องสมรรถนะสูง และเปิดหน้าต่างทำอะไรต่ออะไรเต็มไปหมด ยูนิกส์เป็นระบบที่ทำให้ผมทำงานได้สะดวกกว่าวินโดวส์ นอกจากนั้น เครื่องก็ไม่แฮงก์ด้วย
คำอธิบายเพิ่มเติมก็คือโอเอสเท็นนั้นมีพื้นฐานเป็นระบบยูนิกส์ ซึ่งกำเนิดมาเกือบ ๔๐ ปีแล้ว มีความเสถียรมาก และปลอดภัยสูง และมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
และแอ็ปเปิลเองก็มีอัพเกรดย่อยของโอเอสให้เฉลี่ยราวทุก ๒ เดือน
ความจริงผมก็ชอบลินุกส์ และใช้อยู่เหมือนกัน แต่ ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสชองแม็คทำได้เยี่ยมยอดกว่ามาก การใช้เครื่องสำคัญที่ซอฟต์แวร์ และความรู้สึกในการใช้แมคนั้นเยี่ยมที่สุด
และ ถ้าไม่พูดเรื่องดีไซน์ของยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่เยี่ยมยอดแล้ว
คุณภาพของตัวเครื่องก็เฉียบ มีการเลือกอุปกรณ์ที่มีการควบคุมคุณภาพเป็นอย่างดีมาประกอบ โอกาสเสียน้อยมาก
ถ้าคนทำงานมีอาชีพที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ก็ต้องใช้เครื่องที่เยี่ยมที่สุดนั้นแหละ ว่ากันว่า ขนาด ไลนัส ทอร์วาล เจ้าพ่อลินุกส์ยังใช้เครื่องแม็คฯเลย
ย้อนกลับมาเรื่องไทเกอร์อีกที ฟีเจอร์ที่พูดกันมากก็คือ สปอตไลท์ กับ วิดเจ็ต นั้น บรรดาผู้ใช้ก็ต่างเห็นกันว่าเยี่ยมมาก
อย่างสปอตไลท์นั้นเหมาะสำหรับคนขี้ลืม (รวมผมด้วย)เป็นอย่างดี และแก้เรื่อง search แฟ้มเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่เจ้าวินโดวส์ก็ไม่เคยจำซักทีว่ามันอยู่ตรงไหน ต้องหาใหม่ทุกครั้ง ได้ชงัด
ปัญหาอย่างเดียวของสปอตไลต์สำหรับคนที่เป็นโปรแกรมเมอร์คือ อาจจะต้องปิดมันเสียในขณะเขียนรันโปรแกรมบางอย่างที่สร้างไฟล์เอาท์พุทที่มีดาต้าจำนวนมาก อย่างจีโนมเดต้านั่น ไม่งั้นจะให้ให้เครื่องช้าลงมาก
บางคนให้ความเห็นบอกว่าคุณภาพของไทเกอร์ตอนนี้ดูจะยังไม่ค่อยนิ่งเท่าไร อาจจะนิ่งดีในราวปลายปีนี้ เมื่อเวอร์ชั่นขึ้นไปถึง 10.4.3 เป็นอย่างน้อย
สำหรับผมนั้นฝันไกลไปถึง โอเอสรุ่นต่อไปของแมคที่ชื่อว่า ลีโอพาร์ดไปแล้ว อาจจะออกมาในปลายปีหน้าเพื่อชนกับ ลองฮอร์น ก็ได้ ผมเชื่อว่า อินเตอร์เฟสน่าจะดียิ่งขึ้น อาจจะไปถึงขนาด ๓ มิติก็ได้ เพื่อเตรียมรับมือกับลูกเล่น ลองฮอร์นของไมโครซอฟต์
อย่างไรก็ดี ผมยังนึกไม่ออกว่า การมีอินเตอร์เฟสเป็นทรีดี จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้สูงขึ้น หรือสูงขึ้นมากอย่างไร
ไทเกอร์ออกมานี่ แฟนแอปเปิ้ลหลายๆคนเชื่อกันว่า มาร์เก็ตแชร์ของไมโครซอฟต์อาจจะค่อยๆลดลงก็เป็นได้ สำหรับผมนั้นอยากจะรอดูปลายปีหน้า คิดว่า สตีฟ จ้อบส์ จะมีเซอร์ไพรส์อะไรประกาศออกมา แล้วคนทั่วโลกก็จะรู้กันเองแน่ว่าความเห็นนั้นจะจริงหรือเปล่า
คำอธิบายเพิ่มเติมก็คือโอเอสเท็นนั้นมีพื้นฐานเป็นระบบยูนิกส์ ซึ่งกำเนิดมาเกือบ ๔๐ ปีแล้ว มีความเสถียรมาก และปลอดภัยสูง และมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
และแอ็ปเปิลเองก็มีอัพเกรดย่อยของโอเอสให้เฉลี่ยราวทุก ๒ เดือน
ความจริงผมก็ชอบลินุกส์ และใช้อยู่เหมือนกัน แต่ ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสชองแม็คทำได้เยี่ยมยอดกว่ามาก การใช้เครื่องสำคัญที่ซอฟต์แวร์ และความรู้สึกในการใช้แมคนั้นเยี่ยมที่สุด
และ ถ้าไม่พูดเรื่องดีไซน์ของยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่เยี่ยมยอดแล้ว
คุณภาพของตัวเครื่องก็เฉียบ มีการเลือกอุปกรณ์ที่มีการควบคุมคุณภาพเป็นอย่างดีมาประกอบ โอกาสเสียน้อยมาก
ถ้าคนทำงานมีอาชีพที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ก็ต้องใช้เครื่องที่เยี่ยมที่สุดนั้นแหละ ว่ากันว่า ขนาด ไลนัส ทอร์วาล เจ้าพ่อลินุกส์ยังใช้เครื่องแม็คฯเลย
ย้อนกลับมาเรื่องไทเกอร์อีกที ฟีเจอร์ที่พูดกันมากก็คือ สปอตไลท์ กับ วิดเจ็ต นั้น บรรดาผู้ใช้ก็ต่างเห็นกันว่าเยี่ยมมาก
อย่างสปอตไลท์นั้นเหมาะสำหรับคนขี้ลืม (รวมผมด้วย)เป็นอย่างดี และแก้เรื่อง search แฟ้มเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่เจ้าวินโดวส์ก็ไม่เคยจำซักทีว่ามันอยู่ตรงไหน ต้องหาใหม่ทุกครั้ง ได้ชงัด
ปัญหาอย่างเดียวของสปอตไลต์สำหรับคนที่เป็นโปรแกรมเมอร์คือ อาจจะต้องปิดมันเสียในขณะเขียนรันโปรแกรมบางอย่างที่สร้างไฟล์เอาท์พุทที่มีดาต้าจำนวนมาก อย่างจีโนมเดต้านั่น ไม่งั้นจะให้ให้เครื่องช้าลงมาก
บางคนให้ความเห็นบอกว่าคุณภาพของไทเกอร์ตอนนี้ดูจะยังไม่ค่อยนิ่งเท่าไร อาจจะนิ่งดีในราวปลายปีนี้ เมื่อเวอร์ชั่นขึ้นไปถึง 10.4.3 เป็นอย่างน้อย
สำหรับผมนั้นฝันไกลไปถึง โอเอสรุ่นต่อไปของแมคที่ชื่อว่า ลีโอพาร์ดไปแล้ว อาจจะออกมาในปลายปีหน้าเพื่อชนกับ ลองฮอร์น ก็ได้ ผมเชื่อว่า อินเตอร์เฟสน่าจะดียิ่งขึ้น อาจจะไปถึงขนาด ๓ มิติก็ได้ เพื่อเตรียมรับมือกับลูกเล่น ลองฮอร์นของไมโครซอฟต์
อย่างไรก็ดี ผมยังนึกไม่ออกว่า การมีอินเตอร์เฟสเป็นทรีดี จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้สูงขึ้น หรือสูงขึ้นมากอย่างไร
ไทเกอร์ออกมานี่ แฟนแอปเปิ้ลหลายๆคนเชื่อกันว่า มาร์เก็ตแชร์ของไมโครซอฟต์อาจจะค่อยๆลดลงก็เป็นได้ สำหรับผมนั้นอยากจะรอดูปลายปีหน้า คิดว่า สตีฟ จ้อบส์ จะมีเซอร์ไพรส์อะไรประกาศออกมา แล้วคนทั่วโลกก็จะรู้กันเองแน่ว่าความเห็นนั้นจะจริงหรือเปล่า
Wednesday, July 13, 2005
ควันหลงจาก โอลิมปิกส์วิชาการ
ได้ทราบข่าวดีเช่นทุกปีว่า นักเรียน ม. ๖ ไทย ที่ไปแข่งขัน โอลิมปิกส์วิชาการได้รางวัลกันมาอีก เช่นเคย เท่าที่เป็นมาหลายปีแล้ว เป็นเรื่องน่ายินดี แต่ทว่าสังคมก็ไม่ควรลิงโลดกันจนขาดความสำนึก
การที่ได้รางวัลมานั้น นอกจากเด็กๆจะต้องศึกษา มุ่งมั่นเพื่อจะเอาเหรียญให้ได้ ครูพี่เลี้ยงก็ต้องดูแลอย่างมาก ต้องไปเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยมาติว พ่อแม่ต้องเข้าใจและสนับสนุน โรงเรียนก็ต้องสนับสนุน งบประมาณถ้าไม่มีอาจจะต้องขอจากสมาคมผู้ปกครองและครูฯ ถ้าไม่มีก็ต้องไปหาจากสปอนเซอร์ (อย่างบางโรงเรียนเช่น สวนกุหลาบ ศิษย์เก่ารุ่นต่างๆก็ลงเงินไปช่วยแยะมาก) โดยส่วนรวม
สมาคมวิทยาศาตร์ก็เข้าไปช่วยดู แต่จุดที่สะกิดใจผมก็คือ เคยได้ยินมาว่าข้อสอบวิชาต่างๆนั้น มันเกินหลักสูตรมัธยมฯบ้านเรา ไปมาก ทำให้ต้องมีการคัดเด็กเข้าค่าย ให้อาจารย์มหาวิทยลัยต่างๆช่วยติววิชาการระดับปีหนึ่งปีสองให้ นี่เป็นข้อมูลเมื่อสองสามปีมาแล้วที่ได้ยินมา
สิ่งที่ผมคิดสงสัยอยู่ และไม่รู้ก็คือว่า ในหลักสูตรใหม่ที่ปรับปรุงแล้วนี้ ได้มีความพยายามยกระดับหลักสูตรวิทยาศาสตร์มัธยมบ้านเรา ให้ทันสมัยกันเท่าอารยประเทศกันบ้างแล้วหรือเปล่า เพราะอยากให้การเรียนแบบเนื้อหาใหม่ๆไม่ตกเฉพาะกลุ่มเด็กที่จะสอบโอลิมปิกส์ เท่านั้น แต่อยากให้ครอบคลุมทั่วไปทั้งประเทศ สมัยก่อนเคยพูดกันว่า ต้องใช้เงินเป็นหมื่นๆล้านเพื่อปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนทั่วประเทศ ก็เลยไม่ทำกัน แต่ตอนนี้ทำแล้ว ไม่ทราบว่ามีปัญหาอย่างไรก็ไม่รู้ ลูกผมก็ยังเรียนไม่ถึงมัธยมฯ ไม่งั้นก็จะรู้แน่
Posted from my Linux TLE 7 box via Firefox (Thai modified)
การที่ได้รางวัลมานั้น นอกจากเด็กๆจะต้องศึกษา มุ่งมั่นเพื่อจะเอาเหรียญให้ได้ ครูพี่เลี้ยงก็ต้องดูแลอย่างมาก ต้องไปเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยมาติว พ่อแม่ต้องเข้าใจและสนับสนุน โรงเรียนก็ต้องสนับสนุน งบประมาณถ้าไม่มีอาจจะต้องขอจากสมาคมผู้ปกครองและครูฯ ถ้าไม่มีก็ต้องไปหาจากสปอนเซอร์ (อย่างบางโรงเรียนเช่น สวนกุหลาบ ศิษย์เก่ารุ่นต่างๆก็ลงเงินไปช่วยแยะมาก) โดยส่วนรวม
สมาคมวิทยาศาตร์ก็เข้าไปช่วยดู แต่จุดที่สะกิดใจผมก็คือ เคยได้ยินมาว่าข้อสอบวิชาต่างๆนั้น มันเกินหลักสูตรมัธยมฯบ้านเรา ไปมาก ทำให้ต้องมีการคัดเด็กเข้าค่าย ให้อาจารย์มหาวิทยลัยต่างๆช่วยติววิชาการระดับปีหนึ่งปีสองให้ นี่เป็นข้อมูลเมื่อสองสามปีมาแล้วที่ได้ยินมา
สิ่งที่ผมคิดสงสัยอยู่ และไม่รู้ก็คือว่า ในหลักสูตรใหม่ที่ปรับปรุงแล้วนี้ ได้มีความพยายามยกระดับหลักสูตรวิทยาศาสตร์มัธยมบ้านเรา ให้ทันสมัยกันเท่าอารยประเทศกันบ้างแล้วหรือเปล่า เพราะอยากให้การเรียนแบบเนื้อหาใหม่ๆไม่ตกเฉพาะกลุ่มเด็กที่จะสอบโอลิมปิกส์ เท่านั้น แต่อยากให้ครอบคลุมทั่วไปทั้งประเทศ สมัยก่อนเคยพูดกันว่า ต้องใช้เงินเป็นหมื่นๆล้านเพื่อปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนทั่วประเทศ ก็เลยไม่ทำกัน แต่ตอนนี้ทำแล้ว ไม่ทราบว่ามีปัญหาอย่างไรก็ไม่รู้ ลูกผมก็ยังเรียนไม่ถึงมัธยมฯ ไม่งั้นก็จะรู้แน่
Posted from my Linux TLE 7 box via Firefox (Thai modified)
Monday, July 11, 2005
สุดสัปดาห์กับการอ่านหนังสือของผม
ผมซื้อหนังสือ Programming Perl หรือที่ชาวเพอลเรียกว่า The Camel Book มาตั้งสองปีแล้วละมัง ยังอ่านไม่จบซักที แม้ว่าตอนต้นเล่มจะอ่านมาแล้วสี่จบแต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังอ่านข้ามไปอยู่ ตั้งใจว่าจะพยายามอ่านให้จบในเดือนนี้ อย่างน้อยให้ผ่านตาบางส่วนหนึ่งเที่ยว ขนาดพาลูกไปเรียนเปียโน กับไปชอบปิ้งที่ซุปเปอร์ฯ ผมก็ยังอุตส่าห์กระเตงคัมภีร์เล่มหนาเกือบพันหน้านี่ไปด้วยทุกๆที่ แต่ก็ได้ผล มีความก้าวหน้าไปได้หลายสิบหน้า ส่วนหูกับรับฟังซีดีเพลงคลาสสิคจากหูฟัง CD Walkman ที่กระเตงใส่กระเป๋าห้อยเอว บวกกับใส่กางเกงยีนส์ตัวใหม่ดูแล้วเห็นทีจะกระชากวัยลงไปได้แยะ อายุอาจจะหายไปสักหนึ่งทศวรรษละมัง
ต่อมากลับบ้าน รู้สึกเบื่อเรื่องโปรแกรมมิ่ง จึงไปงัดหนังสือนวนิยายเรื่อง สุริยวรรณมัน ของ ทมยันตี ออกมากอ่านสลับบรรยากาศ ไม่อ่านจนจบหรอก พอหายเบื่อก็จะกลับไปอ่านเจ้าหนังสืออูฐนั่นต่อ
ต่อมากลับบ้าน รู้สึกเบื่อเรื่องโปรแกรมมิ่ง จึงไปงัดหนังสือนวนิยายเรื่อง สุริยวรรณมัน ของ ทมยันตี ออกมากอ่านสลับบรรยากาศ ไม่อ่านจนจบหรอก พอหายเบื่อก็จะกลับไปอ่านเจ้าหนังสืออูฐนั่นต่อ
Wednesday, June 29, 2005
คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ ใช้ Mac ละ
เมื่อวานได้ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์มาเปรียบจากสองบริษัท เลยตกลงซื้อ ผมอนุมัติตังค์เรียบร้อยจากงบโปรเจ็คผม ให้พัสดุไปช่วยจัดการให้
เป็นเครื่อง Power Mac G5 dual processor 2.0 GHz สำหรับใช้ที่ออฟฟิส บนโต๊ะทำงานผม กะว่าอาจจะทำเป็น application server เล็กๆใช้ในกลุ่มด้วย
เพื่อนผมสนใจบอกว่าไว้จะขอมารันเทียบกับเครื่อง G4 ของเขา โอเค ยินดีมาก
ผมมาคิดๆดู ผมไม่ได้ใช้แม็คมาร่วมสิบปีแล้ว ตั้งแต่ system 6 มี multifinder อยู่นั่น พอ Win95 ออกมา คนใช้กันทั่วก็เลยเปลี่ยน
ตอนนี้ แม็คกำลังมาแรง นักวิจัยแถวหน้าของประเทศไทยใช้ Mac กันมาก กลุ่มงานผมใช้แม็คกันหมด ผมก็เลยตกลงใจว่าจะกลับมาใช้แม็คตั้งแต่ปีที่แล้ว
เพิ่งมาซื้อตอนนี้ สาเหตุคือคุณลักษณะของโอเอส เป็นหลัก ไม่ใช้เครื่องสวยอย่างเดียว
นี่สำหรับเครื่องโน้ตบุ้คส่วนตัวก็กำลังรอจังหวะจะเปลี่ยนมาเป็นแม็คเหมือนกัน ยิ่ง tiger ออกมายิ่งน่าใช้ เหมาะสำหรับคนขี้ลืมอย่างผมมาก
และโน้ตบุ้คเครื่องเดิมใช้ Athlon มา ๓ ปีแล้ว ตอนนี้จะทนไม่ไหว นิ้วแทบพองทุกวัน จอก็ไม่ค่อยสว่าง
เพราะร้อนมากทั้งเครื่อง ยิ่งถ้าใช้บู้ทเป็น Linux ยิ่งร้อนใหญ่จนต้องดับเครื่อง ผมตั้งสมญานามมันว่า toaster แล้ว คือเครื่องปิ้ง
ปัญหาที่รอคืออย่างว่า รุ่นในเมืองไทยหลายๆรุ่นยังไม่ bundle ไทเกอร์มาให้ ต้องรออีกสักพัก
อีกอย่างคือผมเดาเอาว่า ในโอเอสรุ่นต่อไป 10.5 Leopard นั้น อาจจะมี interface เป็นแบบ 3D คล้ายกับ หรือดีกว่า Longhorn ที่กำลังจะออกปลายปีหน้า
ดังนั้น graphic capacity ของเครื่องต้องดีมากๆ และฮาร์ดดิสก์ก็ควรจะมีขนาดไม่น้อยกว่า 80 GB แบบนี้ตัดเครื่อง iBook รุ่นปัจจุบันไปได้เลย ต้องรอไปอีกสักพัก
เป็นเครื่อง Power Mac G5 dual processor 2.0 GHz สำหรับใช้ที่ออฟฟิส บนโต๊ะทำงานผม กะว่าอาจจะทำเป็น application server เล็กๆใช้ในกลุ่มด้วย
เพื่อนผมสนใจบอกว่าไว้จะขอมารันเทียบกับเครื่อง G4 ของเขา โอเค ยินดีมาก
ผมมาคิดๆดู ผมไม่ได้ใช้แม็คมาร่วมสิบปีแล้ว ตั้งแต่ system 6 มี multifinder อยู่นั่น พอ Win95 ออกมา คนใช้กันทั่วก็เลยเปลี่ยน
ตอนนี้ แม็คกำลังมาแรง นักวิจัยแถวหน้าของประเทศไทยใช้ Mac กันมาก กลุ่มงานผมใช้แม็คกันหมด ผมก็เลยตกลงใจว่าจะกลับมาใช้แม็คตั้งแต่ปีที่แล้ว
เพิ่งมาซื้อตอนนี้ สาเหตุคือคุณลักษณะของโอเอส เป็นหลัก ไม่ใช้เครื่องสวยอย่างเดียว
นี่สำหรับเครื่องโน้ตบุ้คส่วนตัวก็กำลังรอจังหวะจะเปลี่ยนมาเป็นแม็คเหมือนกัน ยิ่ง tiger ออกมายิ่งน่าใช้ เหมาะสำหรับคนขี้ลืมอย่างผมมาก
และโน้ตบุ้คเครื่องเดิมใช้ Athlon มา ๓ ปีแล้ว ตอนนี้จะทนไม่ไหว นิ้วแทบพองทุกวัน จอก็ไม่ค่อยสว่าง
เพราะร้อนมากทั้งเครื่อง ยิ่งถ้าใช้บู้ทเป็น Linux ยิ่งร้อนใหญ่จนต้องดับเครื่อง ผมตั้งสมญานามมันว่า toaster แล้ว คือเครื่องปิ้ง
ปัญหาที่รอคืออย่างว่า รุ่นในเมืองไทยหลายๆรุ่นยังไม่ bundle ไทเกอร์มาให้ ต้องรออีกสักพัก
อีกอย่างคือผมเดาเอาว่า ในโอเอสรุ่นต่อไป 10.5 Leopard นั้น อาจจะมี interface เป็นแบบ 3D คล้ายกับ หรือดีกว่า Longhorn ที่กำลังจะออกปลายปีหน้า
ดังนั้น graphic capacity ของเครื่องต้องดีมากๆ และฮาร์ดดิสก์ก็ควรจะมีขนาดไม่น้อยกว่า 80 GB แบบนี้ตัดเครื่อง iBook รุ่นปัจจุบันไปได้เลย ต้องรอไปอีกสักพัก
Monday, June 27, 2005
เด็กไทยสมัยนี้ไม่ชอบกินขนมไทย ผลไม้ไทย
เร็วๆนี้วันหนึ่ง ผมเจอแม่ค้าหาบทองม้วนเต็มหาบมาขายที่โรงเรียนลูกใกล้บ้าน ไม่เคยเห็นมาขาย คงเพิ่งมาตั้งขายวันนั้น แกนั่งหน้าจ๋อยเพราะไม่มีใครซื้อ
เด็กสมัยนี้อาจจะไม่ชอบกินขนมไทยๆ หรือกินไม่เป็น กินแต่ขนมขบเคี้ยวแพ็คในห่อที่ผลิตจากโรงงาน ผมสงสารผมเลยซื้อไปสามห่อ ไปให้ลูกชิม กินกับเพื่อนๆ ปกติลูกผมแกก็ไม่กินหรอก
คิดเอาว่า ขนมไทย ก็จะไปเข้าอีหรอบเดียวกับ ผลไม้ไทย ที่คนไทยไม่ค่อยกิน จนขายราคาถูกแบบขาดทุนคงก็ยังไม่ค่อยซื้อ อย่างเงาะเป็นต้น ตลาดนอกเมืองขายกิโลกรัมละ ๑๐ บาท ชาวสวนจะล้มละลายตาย นี่กำลังเจอผลไม้จีนมาตีตลาดอีก ถ้าผมมีโอกาสเจอผมจะซื้อผลไม้ไทยมาหลายกิโลมากเลย อย่างเงาะนี่ของชอบ และผมพยายามไม่ไปกินผลไม้เมืองนอก ลูกละหลายบาทหรือหลายสิบบาททั้งหลาย แม้ฟาสต์ฟู้ด หรือ ร้านอาหารแดกด่วน ผมก็พยายามไม่เข้า อย่างมากอาจจะปีละหนเองมั้ง
ไทยไม่ช่วยไทยแล้วใครจะมาช่วยคนไทยด้วยกัน
เด็กสมัยนี้อาจจะไม่ชอบกินขนมไทยๆ หรือกินไม่เป็น กินแต่ขนมขบเคี้ยวแพ็คในห่อที่ผลิตจากโรงงาน ผมสงสารผมเลยซื้อไปสามห่อ ไปให้ลูกชิม กินกับเพื่อนๆ ปกติลูกผมแกก็ไม่กินหรอก
คิดเอาว่า ขนมไทย ก็จะไปเข้าอีหรอบเดียวกับ ผลไม้ไทย ที่คนไทยไม่ค่อยกิน จนขายราคาถูกแบบขาดทุนคงก็ยังไม่ค่อยซื้อ อย่างเงาะเป็นต้น ตลาดนอกเมืองขายกิโลกรัมละ ๑๐ บาท ชาวสวนจะล้มละลายตาย นี่กำลังเจอผลไม้จีนมาตีตลาดอีก ถ้าผมมีโอกาสเจอผมจะซื้อผลไม้ไทยมาหลายกิโลมากเลย อย่างเงาะนี่ของชอบ และผมพยายามไม่ไปกินผลไม้เมืองนอก ลูกละหลายบาทหรือหลายสิบบาททั้งหลาย แม้ฟาสต์ฟู้ด หรือ ร้านอาหารแดกด่วน ผมก็พยายามไม่เข้า อย่างมากอาจจะปีละหนเองมั้ง
ไทยไม่ช่วยไทยแล้วใครจะมาช่วยคนไทยด้วยกัน
ไหว้ครู Ceremony to pay homage to our teachers
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มิ.ย. ๔๘ ที่ผ่านมา ผมกับภรรยาไปร่วมงานไหว้ครูโรงเรียนของลูกเช่นทุกปี ในบรรดาผู้ปกครองไม่กี่สิบคนที่ลูกๆจากแต่ละห้องไปรับรางวัล ที่ไปทุกปีก็เพราะลูกผมได้ที่ ๑ ทุกเทอม ต้องไปรับเกียรติบัตร จนตอนนี้มีเป็นแฟ้ม
ผมไปร่วมงานเห็นเด็กเล็กทั้งอนุบาลและประถม ดูแล้วก็น่ารักดี เห็นว่าประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ดี ผมเองขณะร่วมพิธีท้ายหอประชุมก็นึกถึงบรรดาครูอาจารย์ของผมที่เสียชีวิตไปแล้ว และครูประจำชั้นของผมทั้งหลาย ก็นึกถึงพระคุณครูตามไปด้วย
น่าแปลก ในมหาวิทยาลัยไม่ยักกะมีไหว้ครู ถ้ามีก็สักแต่ทำแบบเสียไม่ได้ ทำเฉพาะปีหนึ่ง จากนั้นไปก็ไม่มีอีก ผมเองเห็นว่าธรรมเนียมดีๆน่าจะมี
ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่อยากเป็นครู อยากเป็นอาจารย์มากกว่า การเป็นครู อาจดูประหนึ่งว่าคุณวุฒิน้อยรายได้น้อยกระมัง และอาจารย์มหาวิทยาลัยน้อยรายที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ เรียกตนเองว่าครู สมัยผมเป็นนิสิตปี ๑ เมื่อเกือบสามสิบปีมาแล้วยังจำได้ว่าฟังขัดๆหูที่อาจารย์ชายทุกคนเรียกตัวเองว่าผม หรือ อาจารย์หญิงส่วนหนึ่งเรียกตัวว่า "ชั้น" หรือ พี่
อาจารย์ส่วนมากสมัยนี้หารู้ไม่ว่า แต่โบราณมาแล้ว ครูเปรียบดั่งพ่อแม่ที่สองรองจากพ่อแม่จริง ได้รับการเคารพอย่างสูงจากศิษย์ ไม่เรียกตนเองว่าครู ศิษย์สมัยนี้เลยไม่เห็นหัวอาจารย์ อย่างมาสอนปาวๆตั้งหลายชั่วโมงมันยังจำชื่อบ่ได้
ผมไปร่วมงานเห็นเด็กเล็กทั้งอนุบาลและประถม ดูแล้วก็น่ารักดี เห็นว่าประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ดี ผมเองขณะร่วมพิธีท้ายหอประชุมก็นึกถึงบรรดาครูอาจารย์ของผมที่เสียชีวิตไปแล้ว และครูประจำชั้นของผมทั้งหลาย ก็นึกถึงพระคุณครูตามไปด้วย
น่าแปลก ในมหาวิทยาลัยไม่ยักกะมีไหว้ครู ถ้ามีก็สักแต่ทำแบบเสียไม่ได้ ทำเฉพาะปีหนึ่ง จากนั้นไปก็ไม่มีอีก ผมเองเห็นว่าธรรมเนียมดีๆน่าจะมี
ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่อยากเป็นครู อยากเป็นอาจารย์มากกว่า การเป็นครู อาจดูประหนึ่งว่าคุณวุฒิน้อยรายได้น้อยกระมัง และอาจารย์มหาวิทยาลัยน้อยรายที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ เรียกตนเองว่าครู สมัยผมเป็นนิสิตปี ๑ เมื่อเกือบสามสิบปีมาแล้วยังจำได้ว่าฟังขัดๆหูที่อาจารย์ชายทุกคนเรียกตัวเองว่าผม หรือ อาจารย์หญิงส่วนหนึ่งเรียกตัวว่า "ชั้น" หรือ พี่
อาจารย์ส่วนมากสมัยนี้หารู้ไม่ว่า แต่โบราณมาแล้ว ครูเปรียบดั่งพ่อแม่ที่สองรองจากพ่อแม่จริง ได้รับการเคารพอย่างสูงจากศิษย์ ไม่เรียกตนเองว่าครู ศิษย์สมัยนี้เลยไม่เห็นหัวอาจารย์ อย่างมาสอนปาวๆตั้งหลายชั่วโมงมันยังจำชื่อบ่ได้
Thai Vipassana books I just bought
With the same trip to Seacon Square, I stumbled upon and bought 2 books on Vipassana meditation (concentration) from a Dokya bookstore. Both of them are in Thai language, but one of them is more interesting than the other.
The (first) book was translated into Thai This was the was published by Siam Press (7th printing).
The book's title in Thai is หัวใจกรรมฐาน from the English edition entitled "The Heart of Buddhist Meditation". The original shorter version was in German called "Satipatthana, Der Heilsweg Buddhistischer Geistesschulung", publised in 1950.
The surprise for me was that the late author was German and his original name was Siegmund Feninger, born in Hanau (?) on July 21,1901, self-educated in Buddhism and later was ordained a Buddhist Monk in Ceylon (Sri Lanka) before WWII (1936)and
received a monk name of Nyanaponika Thera, equivalent to พระญาณโปนิกเถระ in Thai scripts.
He as as widely regarded in Sri Lanka, and passed away on October 19, 1994. The first edition was published since B.E. 2528 or 1985 but I did not know, actually I was still studying in the US at the time so naturally I could not see it.
The translator was Gen. Charn Suwanwipatch, M.D., and the reader and editor was the venerable พระพรหมคุณาภรณ์ Phra Promkunapork (P. A. Payutto), better known in the former royal title of พระธรรมปิฎก Phra Dhammapitaka and regarded as the most knowledgeable sophist on Tripitaka and Dhamma in Thailand (or perhaps the World),
The second book is วิปัสสนาทีปนี and was written by the late venerable พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร ป.ธ. ๙), and printed by Dokya Press. It is one in a series by the same author and is more of an elegantly-worded literary assay on Vipassana.
I think once I start reading this second book I must have strong concentration, think hard, in order to try to decipher meannings behind its analogies and beautiful and sophisticated Thai words inside.
I think I will enjoy both of them.
The (first) book was translated into Thai This was the was published by Siam Press (7th printing).
The book's title in Thai is หัวใจกรรมฐาน from the English edition entitled "The Heart of Buddhist Meditation". The original shorter version was in German called "Satipatthana, Der Heilsweg Buddhistischer Geistesschulung", publised in 1950.
The surprise for me was that the late author was German and his original name was Siegmund Feninger, born in Hanau (?) on July 21,1901, self-educated in Buddhism and later was ordained a Buddhist Monk in Ceylon (Sri Lanka) before WWII (1936)and
received a monk name of Nyanaponika Thera, equivalent to พระญาณโปนิกเถระ in Thai scripts.
He as as widely regarded in Sri Lanka, and passed away on October 19, 1994. The first edition was published since B.E. 2528 or 1985 but I did not know, actually I was still studying in the US at the time so naturally I could not see it.
The translator was Gen. Charn Suwanwipatch, M.D., and the reader and editor was the venerable พระพรหมคุณาภรณ์ Phra Promkunapork (P. A. Payutto), better known in the former royal title of พระธรรมปิฎก Phra Dhammapitaka and regarded as the most knowledgeable sophist on Tripitaka and Dhamma in Thailand (or perhaps the World),
The second book is วิปัสสนาทีปนี and was written by the late venerable พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร ป.ธ. ๙), and printed by Dokya Press. It is one in a series by the same author and is more of an elegantly-worded literary assay on Vipassana.
I think once I start reading this second book I must have strong concentration, think hard, in order to try to decipher meannings behind its analogies and beautiful and sophisticated Thai words inside.
I think I will enjoy both of them.
Cuckoo clocks in Bangkok
Last Saturday, I revisited Seacon Square, claimed to be one of the largest shopping malls in the World, to pick up a repaired cuckoo clock of my aunt's. Cuckoo Haus is the only shop I know in Thailand which sells cuckoo clocks, mostly from Germany, and repair them locally when needed. Previously there was a kiosk branch in Central Pinklao as well, which I used to go there but was closed, so I had to drive diagonally on the express way across the Bangkok city to get there. I guess, selling high-price specialty clocks might not be a brisk business in Southeast Asia after all. The shop's current owner and the repairman, Mr. Apichat, was quite cordial on the phone: I have never met him in person. He told me years before that this shop has changed its owner three times: my Black Forest cuckoo clock was bought by my mom from perhaps the first owner over 15 yr ago. Mr. Apichat has fixed my clock once and another of my aunt's twice. Repair cost was deemed reasonable, although each repair and spare-part change costed about 1/10 of a new purchase of a similar model. My old frail aunty was very happy the hear her clock sings and chimes again. I agree that having a functioning cuckhoo clock in a house is essential for us owners now: it makes the house lively and it hourly cheers up our feeling. Admittedly, cuckoo clock was noisy and bothersome in the beginning for me but gradually I started to love it. Without its singing and musical chime, together with revolving dolls, the house would be abnormally quiet and felt dull. My aunt feel the same. Therefore, paying high cost for each repair was worthwhile for me. I also absorbed all the repair costs of my aunt's clock out of my own pocket like before. Thanks to my lovely wife for not complaining.
Wednesday, June 22, 2005
จะชะลอโรคสมองแก่ได้อย่างไร
จะชะลอโรคสมองแก่ได้อย่างไร จะได้ให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ผมไปอ่านเจอจากวารสารมา เก็บข้อแนะนำเท่าที่จำได้มาได้ดังนี้
นอนให้พอ อย่าอดนอน
กินไวตะมิน ซี และ อี ทุกวัน เพื่อไปควบคุม free radicals ไม่ให้ทำลายสมอง และก็กินพวก บี ๒ ด้วย (ผมกิน บี ๑ ด้วย)
ควรกินอาหารเช้า เน้นที่อาหารมีไฟเแบร์แยะๆ
อย่ากินอาหารมากไป จะหัวตื้อ
อาหารกลางวันควรมีไข่แดงด้วย เพื่อให้ได้สาร phosphatidyl choline เพื่อเอา choline ไปสร้าง neurotransmitter
ควรกินสลัด กินปลา (ผมคิดว่าน่าจะลดเนื้อด้วย)
ตอนบ่าย ควรกินโยเกิร์ต ด้วย เพราะมี tyrosine แยะ เอาไปสร้างสารพวก norepinephrine และอื่นๆ
ออกกำลังกายอย่างน้อยอาทิตย์ละ ๓ วัน
พักสมองบ่อยๆ (ผมคิดว่าเราเข้าสมาธิจะช่วยได้แยะ)
ใช้หัวคิดบ่อยๆ เหมือนกับเป็นการออกกำลังกายให้สมอง
ยามต้องจดจ่อกับงาน งดสภาพการที่จะมีการกวนการทำงาน เช่น มีโทรศัพท์กวน หรือคนกวน (หรือ เว็บ อีเมล์)
ผมไปอ่านเจอจากวารสารมา เก็บข้อแนะนำเท่าที่จำได้มาได้ดังนี้
นอนให้พอ อย่าอดนอน
กินไวตะมิน ซี และ อี ทุกวัน เพื่อไปควบคุม free radicals ไม่ให้ทำลายสมอง และก็กินพวก บี ๒ ด้วย (ผมกิน บี ๑ ด้วย)
ควรกินอาหารเช้า เน้นที่อาหารมีไฟเแบร์แยะๆ
อย่ากินอาหารมากไป จะหัวตื้อ
อาหารกลางวันควรมีไข่แดงด้วย เพื่อให้ได้สาร phosphatidyl choline เพื่อเอา choline ไปสร้าง neurotransmitter
ควรกินสลัด กินปลา (ผมคิดว่าน่าจะลดเนื้อด้วย)
ตอนบ่าย ควรกินโยเกิร์ต ด้วย เพราะมี tyrosine แยะ เอาไปสร้างสารพวก norepinephrine และอื่นๆ
ออกกำลังกายอย่างน้อยอาทิตย์ละ ๓ วัน
พักสมองบ่อยๆ (ผมคิดว่าเราเข้าสมาธิจะช่วยได้แยะ)
ใช้หัวคิดบ่อยๆ เหมือนกับเป็นการออกกำลังกายให้สมอง
ยามต้องจดจ่อกับงาน งดสภาพการที่จะมีการกวนการทำงาน เช่น มีโทรศัพท์กวน หรือคนกวน (หรือ เว็บ อีเมล์)
What is the aim of Buddhda's Dhamma, or the core of Buddhism ?
Accoding to "Luang Phor" (Father) Pramote, he said
"... understanding of the body and mind, in order to eliminate suffering."
Yes, that 's the same as mentioned in the Tripitaka.
After years of practicing both Samatha and Vipassana, both types of concentration (meditation) helped me to start a grimpse (perhaps 1 % appreciation on) the exact meaning of the word "Buddha" or "the knowleadgeable one, the awaken one, the joyful one".
But it will likely take at least a few years (decades ?) before "I" could develope "my" mind to the level of "Sodaban", if "I" would ever be able to do it in this life at all.
* There is no real "I" or "my" in Buddhism.
"... understanding of the body and mind, in order to eliminate suffering."
Yes, that 's the same as mentioned in the Tripitaka.
After years of practicing both Samatha and Vipassana, both types of concentration (meditation) helped me to start a grimpse (perhaps 1 % appreciation on) the exact meaning of the word "Buddha" or "the knowleadgeable one, the awaken one, the joyful one".
But it will likely take at least a few years (decades ?) before "I" could develope "my" mind to the level of "Sodaban", if "I" would ever be able to do it in this life at all.
* There is no real "I" or "my" in Buddhism.
Tuesday, June 21, 2005
พุทธศาสนา ศาสนาประจำชาติไทย
ช่วงนี้มีข่าวพระภิกษุจำนวนมาก และ พุทธบริษัท ออกมาแสดงความเห็นหน้าสภา เรื่อง การกำหนดในรัฐธรรมนูญให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
ผมเอง ในฐานะนักปฏิบัติระดับเริ่มต้นคนหนึ่ง ก็เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าวว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย และควรจะระบุไว้ เท่าที่ผ่านมา ผมเคยคิดในใจอยู่เสมอว่า มีกระบวนการลับๆที่พยายามสร้างกระแสบ่อนทำลายพระศาสนาอยู่ ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา
และจากการพูดคุยกับเพื่อนชาวพุทธบางคน ก็เห็นว่าคิดตรงกัน
นับตั้งแต่การที่ศาสนิกอื่น พยายามแทรกตัวเข้าไปในหน่วยราชการต่างๆ และพยายามแก้ไขอะไรต่างๆให้เอื้อต่อศาสนาอื่นมากจนเกินไป ที่เห็นได้ชัดก็อย่างแก้ไขหลักสูตรในโรงเรียน
ไม่ให้เรียนพุทธศาสนา แต่ไปตัดทอนเนื่อหาลงเหลือเพียงไม่มาก และยังนำเสนอเนื้อหาปนเปไปกับศาสนาอื่นๆ ทำนองว่า เพื่อความเท่าเทียมกัน
ผมได้แต่ปลงสังเวชใน อวิชชา และโมหะ กิเลส ตัณหา ของศาสนิกอื่นเหล่านั้น และรู้สึกสลดใจที่ มีการพยายามทำให้เยาวชนรุ่นใหม่หลงผิดไป
และเรียนรู้เพียงเปลือกของพุทธศานาเท่านั้น ผมคิดว่าต่อไปนี้ เท่าที่ทำได้ คนที่เป็นพ่อแม่ ที่เป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง เป็นนักปฏิบัติ คงต้องฝึกฝนลูกหลานให้ดีกว่านี้
ขืนปล่อยให้ระบบโรงเรียนอบรมสอนสั่ง จะพากันแปลงความเชื่อไปมากขึ้นๆ
ขบวนการนี้ส่วนหนึ่งก็ดูจะไปสอดคล้องกับการพยายามเข้ามาครอบครองระบบเศรษฐกิจประเทศไทย ของกลุ่มทุนข้ามชาติ และกลุ่มนายทุนผู้บูชาแต่วัตถุนิยมและเห็นแก่ลาภเข้าตน
ผมเอง ในฐานะนักปฏิบัติระดับเริ่มต้นคนหนึ่ง ก็เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าวว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย และควรจะระบุไว้ เท่าที่ผ่านมา ผมเคยคิดในใจอยู่เสมอว่า มีกระบวนการลับๆที่พยายามสร้างกระแสบ่อนทำลายพระศาสนาอยู่ ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา
และจากการพูดคุยกับเพื่อนชาวพุทธบางคน ก็เห็นว่าคิดตรงกัน
นับตั้งแต่การที่ศาสนิกอื่น พยายามแทรกตัวเข้าไปในหน่วยราชการต่างๆ และพยายามแก้ไขอะไรต่างๆให้เอื้อต่อศาสนาอื่นมากจนเกินไป ที่เห็นได้ชัดก็อย่างแก้ไขหลักสูตรในโรงเรียน
ไม่ให้เรียนพุทธศาสนา แต่ไปตัดทอนเนื่อหาลงเหลือเพียงไม่มาก และยังนำเสนอเนื้อหาปนเปไปกับศาสนาอื่นๆ ทำนองว่า เพื่อความเท่าเทียมกัน
ผมได้แต่ปลงสังเวชใน อวิชชา และโมหะ กิเลส ตัณหา ของศาสนิกอื่นเหล่านั้น และรู้สึกสลดใจที่ มีการพยายามทำให้เยาวชนรุ่นใหม่หลงผิดไป
และเรียนรู้เพียงเปลือกของพุทธศานาเท่านั้น ผมคิดว่าต่อไปนี้ เท่าที่ทำได้ คนที่เป็นพ่อแม่ ที่เป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง เป็นนักปฏิบัติ คงต้องฝึกฝนลูกหลานให้ดีกว่านี้
ขืนปล่อยให้ระบบโรงเรียนอบรมสอนสั่ง จะพากันแปลงความเชื่อไปมากขึ้นๆ
ขบวนการนี้ส่วนหนึ่งก็ดูจะไปสอดคล้องกับการพยายามเข้ามาครอบครองระบบเศรษฐกิจประเทศไทย ของกลุ่มทุนข้ามชาติ และกลุ่มนายทุนผู้บูชาแต่วัตถุนิยมและเห็นแก่ลาภเข้าตน
Monday, June 20, 2005
Thai font display problem in Apple's Mac OS-X 10.4.1 Tiger
วันก่อน อดีตดีเวลอปเปอร์ของฟอนต์ไทยท่านหนึ่งคุยให้ฟังว่า การแสดงภาพอักขระไทย ในไทเกอร์ตอนนี้มีปัญหาเล็กน้อย เรื่องสระลอยสูงไป จะเห็นได้ชัดเวลาใช้โปรแกรมเช่น TextEd
สืบเนื่องจากทางนักพัฒนาไทยพยายามจะรักษาความเข้ากันได้ของแอปปลิเคชั่นเก่าบางตัว ที่ยังคงใช้ฟอนต์ ๘ บิต อยู่ แต่ขณะที่โอเอสของแมครุ่นใหม่เลิกซัพพอร์ทฟอนต์ 8 bitไปแล้ว
ไปซัพพอร์ทแต่ 16 bit unicode หมด ตอนนี้เลยกำลังขอแก้ไปทางแอปเปิ้ลอยู่ ให้เคอร์เนลกลับมาซัพพอร์ทด้วย ไม่งั้นซอฟแวร์เก่าบางตัวจะมีปัญหา เดาเอาว่า คงจะเข้าที่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่ตัวโอเอส ไทเกอร์นั้นดีมาก
ผมได้ถามไปเรื่องการตัดคำไทย เขาก็บอกว่าดี และการเสอร์ชภาษาไทยก็ไม่มีปัญหา
ตอนนี้ผมก็กำลังลุ้นอยู่ว่า จะซื้อแมคเครื่องใหม่ของออฟฟิสได้ในอีกสองอาทิตย์ไหมเนี่ย จะได้โละเครื่องที่เป็น Windows XP ของที่ทำงานทิ้ง อิอิ แต่แล็บท๊อปส่วนตัวยังเก็บไว้ก่อน
กำลังลังเลว่าจะซื้อ iMac ดีไหม ขอคิดอีกสักสองเดือน
การกลับมาใช้โอเอสเท็นครั้งนี้ เป็นการหวลกลับมายังแม็คอีกทีหนึ่งตั้งแต่สมัยก่อนผมใช้ system 6 โน่น นานนมมาแล้ว
ปัญหาเรื่องฟอนต์เป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะคนในออฟฟิสที่ต้องมีการส่งเอกสารไปๆมาๆระหว่างเครื่อง XP กับ Mac และมีฟอนต์ไม่ตรงกัน และโปรแกรมอย่างเช่น Word เองก็ยังซัพพอร์ทฟอนต์เก่า 8 bit อยู่ด้วย
นี่อาจจะเป็นสาเหตุเดียวที่ผมต้องทนเก็บเครื่อง XP เอาไว้ แต่ห้องผมก็ไม่มีที่วางแล้ว แย่จัง
สืบเนื่องจากทางนักพัฒนาไทยพยายามจะรักษาความเข้ากันได้ของแอปปลิเคชั่นเก่าบางตัว ที่ยังคงใช้ฟอนต์ ๘ บิต อยู่ แต่ขณะที่โอเอสของแมครุ่นใหม่เลิกซัพพอร์ทฟอนต์ 8 bitไปแล้ว
ไปซัพพอร์ทแต่ 16 bit unicode หมด ตอนนี้เลยกำลังขอแก้ไปทางแอปเปิ้ลอยู่ ให้เคอร์เนลกลับมาซัพพอร์ทด้วย ไม่งั้นซอฟแวร์เก่าบางตัวจะมีปัญหา เดาเอาว่า คงจะเข้าที่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่ตัวโอเอส ไทเกอร์นั้นดีมาก
ผมได้ถามไปเรื่องการตัดคำไทย เขาก็บอกว่าดี และการเสอร์ชภาษาไทยก็ไม่มีปัญหา
ตอนนี้ผมก็กำลังลุ้นอยู่ว่า จะซื้อแมคเครื่องใหม่ของออฟฟิสได้ในอีกสองอาทิตย์ไหมเนี่ย จะได้โละเครื่องที่เป็น Windows XP ของที่ทำงานทิ้ง อิอิ แต่แล็บท๊อปส่วนตัวยังเก็บไว้ก่อน
กำลังลังเลว่าจะซื้อ iMac ดีไหม ขอคิดอีกสักสองเดือน
การกลับมาใช้โอเอสเท็นครั้งนี้ เป็นการหวลกลับมายังแม็คอีกทีหนึ่งตั้งแต่สมัยก่อนผมใช้ system 6 โน่น นานนมมาแล้ว
ปัญหาเรื่องฟอนต์เป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะคนในออฟฟิสที่ต้องมีการส่งเอกสารไปๆมาๆระหว่างเครื่อง XP กับ Mac และมีฟอนต์ไม่ตรงกัน และโปรแกรมอย่างเช่น Word เองก็ยังซัพพอร์ทฟอนต์เก่า 8 bit อยู่ด้วย
นี่อาจจะเป็นสาเหตุเดียวที่ผมต้องทนเก็บเครื่อง XP เอาไว้ แต่ห้องผมก็ไม่มีที่วางแล้ว แย่จัง
Thursday, June 16, 2005
Lack of IT understanding among Thai government executives ?
I think I have been making webpages for over ten years. I also used to be involved in making webpages for my former organization and my own job functions as well as one of my professional societies. Nowsday, with my current activities, I no longer have the luxury of free time to do those things. And those organization that I stopped helping them also no longer have web or online activities ever since. Even some of their domains expired.
I think current admin of those organizations, and perhaps a good fraction of upper government older executives are lacking modern vision on IT. Web and online activities should be integral part of their work and communal interacting processes. By failing to find someone to do the "dirty tecnical" jobs, and lack of gut to pay out and hire some people to do the web and lack of vision to use the online interfaces as a way to work and substitute most of the phone calls and face-to-face meeting show that a number of Thailand's older executives in the government sector still lack deep understanding and vision on the use of IT in their lives.
I think current admin of those organizations, and perhaps a good fraction of upper government older executives are lacking modern vision on IT. Web and online activities should be integral part of their work and communal interacting processes. By failing to find someone to do the "dirty tecnical" jobs, and lack of gut to pay out and hire some people to do the web and lack of vision to use the online interfaces as a way to work and substitute most of the phone calls and face-to-face meeting show that a number of Thailand's older executives in the government sector still lack deep understanding and vision on the use of IT in their lives.
Thailand 's Mega-projects 2005-2012 (B.E. 2548 - 2555)
The Manager Daily newspaper reported on the Thailand Cabinet's approval of 1.7 trillion Baht investments, with over 555 billion Baht in it going to new and expanded electric train lines for Bangkok.
Here is my English transcription of a summary from the newspaper.
Lines/Termini | Investment (Billion Baht) | Year to finish (B.E.)
---------------------------------------------------------
Purple line 111.836 BB
Bang Yai - Bang Sue 2552
Bang Sue - Ratchaburana 2555
Blue line 75.003 BB
Hua Lumphone - Bang Khae 2555
Bang Sue - Tha Phra 2553
Orange line 82.688 BB
Bang Bumrhu - Bang Kapi 2555
Dark Red line 94.309 BB
Rangsit - Bang Sue 2551
Bang Sue - Hua Lamphong 2552
Hua Lumphone - Mahachai 2552
Light Red line 106.392 BB
Airport Link 2550
Airport Link extension 2554
Bang Sue - Thaling Chan 2551
Bang Sue - Makkasan 2552
Light Green line 55.561 BB
Ratchada - Lad Phrao - Sri Nakarind 2553
Dark Green line 29.948 BB
Saphan Mai - Bang Wa 2553
The exchange rate is about 1 US$ = 40 Baht : converting yourself if you want to know how much it would be in USD.
Here is my English transcription of a summary from the newspaper.
Lines/Termini | Investment (Billion Baht) | Year to finish (B.E.)
---------------------------------------------------------
Purple line 111.836 BB
Bang Yai - Bang Sue 2552
Bang Sue - Ratchaburana 2555
Blue line 75.003 BB
Hua Lumphone - Bang Khae 2555
Bang Sue - Tha Phra 2553
Orange line 82.688 BB
Bang Bumrhu - Bang Kapi 2555
Dark Red line 94.309 BB
Rangsit - Bang Sue 2551
Bang Sue - Hua Lamphong 2552
Hua Lumphone - Mahachai 2552
Light Red line 106.392 BB
Airport Link 2550
Airport Link extension 2554
Bang Sue - Thaling Chan 2551
Bang Sue - Makkasan 2552
Light Green line 55.561 BB
Ratchada - Lad Phrao - Sri Nakarind 2553
Dark Green line 29.948 BB
Saphan Mai - Bang Wa 2553
The exchange rate is about 1 US$ = 40 Baht : converting yourself if you want to know how much it would be in USD.
Monday, June 13, 2005
Linux stuff
I just found a link to a latest interview with Linus publised on a highschool website in his neighborhood. Good reading and several points to ponder about.
http://hs.riverdale.k12.or.us/maverick/?q=node/257
http://hs.riverdale.k12.or.us/maverick/?q=node/257
Star Wars and Buddhism
On Friday, I checked websites for major movie theater chains in Bangkok and found that Star Wars III with a suitable timing for me is shown at the Emporium in Bangkok.
In the evening, I thus hopped into Skytrain and went to see it. Costed me 160 Baht. Great fun.
I have known before that Lucas is a Buddhist (Tibetan or Vacharayana sect). I thus noticed from the movie that he clearly sprinkled in a lot of ideas from Buddhism into the story. About the Order of Jedi, which is sort of Sangkha but with a Sao Lin (Chinese martial art temple) style. Buddhists try to monitor (and thus sort of control) their emotion, and that is like the Jedi trying to not fall into the various emotions that will take them to the dark side. Etc.
In the evening, I thus hopped into Skytrain and went to see it. Costed me 160 Baht. Great fun.
I have known before that Lucas is a Buddhist (Tibetan or Vacharayana sect). I thus noticed from the movie that he clearly sprinkled in a lot of ideas from Buddhism into the story. About the Order of Jedi, which is sort of Sangkha but with a Sao Lin (Chinese martial art temple) style. Buddhists try to monitor (and thus sort of control) their emotion, and that is like the Jedi trying to not fall into the various emotions that will take them to the dark side. Etc.
Friday, June 10, 2005
Academic Books and Thai University libraries
I and my buddy went to a book sale at PB Foreign Books (Pathumthani) yesterday. It 's claimed to be Thailand's largest retailer of Biological and Medical books. So far we spent some 13K Baht combined on those on sales. There were Profs. from other Universities there as well.
Many of the books I got were good ones that would otherwise not read by anyone else in Thailand, except me. They were too cheap to let them go to trash, say some were 90% off. But many of newer ones were some 25% to 70% off. The company yearly organize a sale once a year, to clear old stocks and get some cash.
After visiting the bookstore, I remember my old bad feeling about Thai university libraries. I wish that more budget is allocated to the libraries so they could buy more books into their archive. Never mind that most of Thai students have poor English and would pass those books. But most Profs. would read them for sure. Science and technology are continuously changing and lacking updated books and journals would put the country in a lack-of-information state forever. Updated academic books (and journals) must be sufficiently availble to University libraries. As far as I know, when the Budget Bureau routinely gave only about 70% of the annual budget requested by each University, the first casualty of the budget insufficiency is the libraries. That why we might have the worst University libraries, perhaps among the "Tiger" countries.
Many of the books I got were good ones that would otherwise not read by anyone else in Thailand, except me. They were too cheap to let them go to trash, say some were 90% off. But many of newer ones were some 25% to 70% off. The company yearly organize a sale once a year, to clear old stocks and get some cash.
After visiting the bookstore, I remember my old bad feeling about Thai university libraries. I wish that more budget is allocated to the libraries so they could buy more books into their archive. Never mind that most of Thai students have poor English and would pass those books. But most Profs. would read them for sure. Science and technology are continuously changing and lacking updated books and journals would put the country in a lack-of-information state forever. Updated academic books (and journals) must be sufficiently availble to University libraries. As far as I know, when the Budget Bureau routinely gave only about 70% of the annual budget requested by each University, the first casualty of the budget insufficiency is the libraries. That why we might have the worst University libraries, perhaps among the "Tiger" countries.
Wednesday, June 08, 2005
News about future Mac on Intel 's CPU
The news yesterday about the announcement by Steve Jobs that Mac will move to Intel's Chips next year is a big news in the Internet and on today's newspapers, even in Thailand.
I think, if Apple would license OSX to other PC vendors as well, more people would have an alternative OS to choose on an afforable PC or notebook, and likely the revenue of Apple would soar. I hope this is in the business model and strategy of Apple. I personally would love to see that Apple grab at least 40-50 % of World 's market for OS. As for Windows, althought the market share might reduce in that scenario but its users will still increase due to more people have computers and legitimate (affordable) OS installed.
I think, if Apple would license OSX to other PC vendors as well, more people would have an alternative OS to choose on an afforable PC or notebook, and likely the revenue of Apple would soar. I hope this is in the business model and strategy of Apple. I personally would love to see that Apple grab at least 40-50 % of World 's market for OS. As for Windows, althought the market share might reduce in that scenario but its users will still increase due to more people have computers and legitimate (affordable) OS installed.
Monday, June 06, 2005
A book on Itappajjayata อิทัปปัจจัยตา
I just digged up a book I have bough for almost 7 months but neatly sit in one of my several bookshelves.
The name in Thai is อิทัปปัจจัยตา or Itappajjayata, the natural law of causes and effects, which is the core principle of Buddhism.
The name is a shorten version of the full Pali word Ittappajjayata-Patijasamuppapatha. อิทัปปัจจัยตา ปฏิจสมุปปบาท
As it turned out, it 's written by one of my former lady professors, Dr. Pairoh Dhippayathat, who long time ago quitted her Biochemistry Faculty career and turned herself into a respectable Buddhist nun, practicing Dhamma and meditation. She was a student of the late venerable Buddhadhasa Bhikkhu. (For readers : Buddhadhasa is the better known (pen) name of Inthapanyo Bhikkhu : Inthapanyo is the assumed Pali name after his ordainment into a monk, and Bhikku means Buddhist monk.)
I am still reading this one.
The name in Thai is อิทัปปัจจัยตา or Itappajjayata, the natural law of causes and effects, which is the core principle of Buddhism.
The name is a shorten version of the full Pali word Ittappajjayata-Patijasamuppapatha. อิทัปปัจจัยตา ปฏิจสมุปปบาท
As it turned out, it 's written by one of my former lady professors, Dr. Pairoh Dhippayathat, who long time ago quitted her Biochemistry Faculty career and turned herself into a respectable Buddhist nun, practicing Dhamma and meditation. She was a student of the late venerable Buddhadhasa Bhikkhu. (For readers : Buddhadhasa is the better known (pen) name of Inthapanyo Bhikkhu : Inthapanyo is the assumed Pali name after his ordainment into a monk, and Bhikku means Buddhist monk.)
I am still reading this one.
SE-ED bookstores and its stocks
I read recently that Grammy is going to buy up to 13% of stocks of SE-ED in the next few months. I have a weird feeling on this news. With almost 370 branches in Thailand, SE-ED is the largest chain of bookstores and book/magazine publisher in Thailand.
The name SE-ED itself was derived from the words Science & Engineering Education, back when the press was mainly focused on books in S&E while I was an undergraduate student some 30 yr ago.
If Grammy gets its way, the bookstores will sell more music tapes and CD from Grammy. As a bookworm, I hope that does not dilute out the quality of the bookstores.
About the stock aspect of this company, I used to buy SE-ED stocks before because it is a good company. Not much. A good bookworm should support his bookstore and publisher by buying some stocks, right ?
As it turned out SE-ED is a good chain of bookstores I love, always give discounts to members, and always give free plastic cover to all customers. However, in term of stocks, management of this company never cares of its stockholders, nor did it try to support their stocks' price in anyway.
They never came out to tell what a good company it is. Thus this company is not a favorite among Thai investors, and with some rumours about employee's stock options came out last year, its stock prices were generally declining all of last year. Finally I gave up "my support" on this stocks and sadly learned a fact that some good company might have bad stocks.
Glad I came out of it before I lost money. I think this year's price of SE-ED is still too low and that 's why Grammy, with its abundant cash, will grab SE-ED 's stocks.
The name SE-ED itself was derived from the words Science & Engineering Education, back when the press was mainly focused on books in S&E while I was an undergraduate student some 30 yr ago.
If Grammy gets its way, the bookstores will sell more music tapes and CD from Grammy. As a bookworm, I hope that does not dilute out the quality of the bookstores.
About the stock aspect of this company, I used to buy SE-ED stocks before because it is a good company. Not much. A good bookworm should support his bookstore and publisher by buying some stocks, right ?
As it turned out SE-ED is a good chain of bookstores I love, always give discounts to members, and always give free plastic cover to all customers. However, in term of stocks, management of this company never cares of its stockholders, nor did it try to support their stocks' price in anyway.
They never came out to tell what a good company it is. Thus this company is not a favorite among Thai investors, and with some rumours about employee's stock options came out last year, its stock prices were generally declining all of last year. Finally I gave up "my support" on this stocks and sadly learned a fact that some good company might have bad stocks.
Glad I came out of it before I lost money. I think this year's price of SE-ED is still too low and that 's why Grammy, with its abundant cash, will grab SE-ED 's stocks.
Subscribe to:
Posts (Atom)