ผมอ่านบทสัมภาษณ์แล้วชอบมาก ได้ความคิดหลายอย่างที่ทบทวนแวะเวียนเข้ามา
อย่างแรก เยาวชน บรรดาคนที่เป็นคนรักความรู้ จะสามารถเพิ่มพูนความรู้ให้กับคนอื่นในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ตได้มากกว่าคนในวัยอื่นๆ(เช่นคนทำงาน คนวัยกลางคน อาจจะไม่นับนักวิชาการบางคน)
อย่างผมตอนนี้ก็ไม่มีเวลาไปเขียนให้วิกิพีเดีย เพราะลำพังงานตัวเองก็จะไปไม่รอดอยู่แล้ว ในเมืองนอก โดยเฉพาะคนรุ่นหนุ่มสาวฝรั่ง เขาอุทิศตัวสร้างความรู้และทรัพยากรให้กับอินเทอร์เน็ตมากทีเดียว ของไทยดูจะมีน้อยมากๆ
อย่างที่สอง เรื่องประชาคม ที่มีความสนใจในสิ่งเดียวกัน อาจจะมีวัตถุประสงค์สร้างอะไรบางอย่างเพื่อสังคมร่วมกัน อย่างนั้นเป็นต้น การมีอินเทอร์เน็ตทำให้สิ่งนี้เป็นไปได้ ปัญหาอยู่ที่ว่าจะมีใครเริ่มประชาคมต่างๆขึ้นมาหรือไม่ อย่างเช่น กลุ่มคนที่อาจจะสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือรีไซเคิลในเมืองไทย ถ้ามีการสร้างฟอรัมออนไลน์ขึ้นมา ก็จะเป็นการระดมสมอง และผลักดันประเด็นต่างๆไปสู่สังคมได้
อย่างที่สาม คนที่เป็นนักอ่านนั้น มีโอกาสและความรู้พอที่จะทำอะไรเพื่อสังคมได้มาก เมื่อเขาหยุดพักเพื่อคิดแล้ว แล้วตัดสินใจลงมือทำทันที (คงจะมีโอกาสมากกว่านักแซตหรือนักเล่นเกมส์อย่างเดียวแน่ๆ) ถ้าหนอนหนังสือไทย หันมาสร้างความรู้ไว้บนอินเทอร์เน็ตมากขึ้นก็จะดี
ไม่รู้จะมีคนอ่านความเห็นนี้แล้วเอาไปทำมากแค่ไหน แต่แม้จะคนเดียว(ผมอาจจะทำเอง หลังโดนตัวเองกระตุ้นใหม่นี่) ก็น่าจะทำให้อะไรดีขึ้นบ้าง
No comments:
Post a Comment