ได้ทราบข่าวดีเช่นทุกปีว่า นักเรียน ม. ๖ ไทย ที่ไปแข่งขัน โอลิมปิกส์วิชาการได้รางวัลกันมาอีก เช่นเคย เท่าที่เป็นมาหลายปีแล้ว เป็นเรื่องน่ายินดี แต่ทว่าสังคมก็ไม่ควรลิงโลดกันจนขาดความสำนึก
การที่ได้รางวัลมานั้น นอกจากเด็กๆจะต้องศึกษา มุ่งมั่นเพื่อจะเอาเหรียญให้ได้ ครูพี่เลี้ยงก็ต้องดูแลอย่างมาก ต้องไปเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยมาติว พ่อแม่ต้องเข้าใจและสนับสนุน โรงเรียนก็ต้องสนับสนุน งบประมาณถ้าไม่มีอาจจะต้องขอจากสมาคมผู้ปกครองและครูฯ ถ้าไม่มีก็ต้องไปหาจากสปอนเซอร์ (อย่างบางโรงเรียนเช่น สวนกุหลาบ ศิษย์เก่ารุ่นต่างๆก็ลงเงินไปช่วยแยะมาก) โดยส่วนรวม
สมาคมวิทยาศาตร์ก็เข้าไปช่วยดู แต่จุดที่สะกิดใจผมก็คือ เคยได้ยินมาว่าข้อสอบวิชาต่างๆนั้น มันเกินหลักสูตรมัธยมฯบ้านเรา ไปมาก ทำให้ต้องมีการคัดเด็กเข้าค่าย ให้อาจารย์มหาวิทยลัยต่างๆช่วยติววิชาการระดับปีหนึ่งปีสองให้ นี่เป็นข้อมูลเมื่อสองสามปีมาแล้วที่ได้ยินมา
สิ่งที่ผมคิดสงสัยอยู่ และไม่รู้ก็คือว่า ในหลักสูตรใหม่ที่ปรับปรุงแล้วนี้ ได้มีความพยายามยกระดับหลักสูตรวิทยาศาสตร์มัธยมบ้านเรา ให้ทันสมัยกันเท่าอารยประเทศกันบ้างแล้วหรือเปล่า เพราะอยากให้การเรียนแบบเนื้อหาใหม่ๆไม่ตกเฉพาะกลุ่มเด็กที่จะสอบโอลิมปิกส์ เท่านั้น แต่อยากให้ครอบคลุมทั่วไปทั้งประเทศ สมัยก่อนเคยพูดกันว่า ต้องใช้เงินเป็นหมื่นๆล้านเพื่อปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนทั่วประเทศ ก็เลยไม่ทำกัน แต่ตอนนี้ทำแล้ว ไม่ทราบว่ามีปัญหาอย่างไรก็ไม่รู้ ลูกผมก็ยังเรียนไม่ถึงมัธยมฯ ไม่งั้นก็จะรู้แน่
Posted from my Linux TLE 7 box via Firefox (Thai modified)
No comments:
Post a Comment