ปกิณกะ ไทย I posted about interesting items information I found, write my views on books I read, education, science and technology, Buddhism and meditation, economic and business, music, and movies, country and rural development. Articles are in English or Thai.
Thursday, December 31, 2009
อีกปีหนึ่งผ่านไป
ในส่วนตัวผมเอง แม้ปากจะบอกว่ามันเป็นเรื่องสมมุติ แต่วันปีใหม่ มันเป็นหลักหมุดบอกตำแหน่งว่า ปีที่ผ่านมา ทำอะไรไปบ้าง พบว่าตนเองไม่ได้ทำอะไรอีกแยะ ที่สมควรทำ ก็ตั้งความหวังไว้ว่า จะได้ทำอะไรๆให้มันดีกว่าในปีหน้าที่จะมาถึงในอีกสามสี่ชั่วโมงข้างหน้านี้
โพสต์นี้อาจจะเป็นโพสต์สุดท้ายของปี ก็เลยจะเอารูปมาลงไว้
Wednesday, December 30, 2009
เกือบไม่ได้ดูหนัง
มาวันนี้ผมพบว่า โรงหนังจำนวนมากเริ่มเลิกฉายเรื่องนี้แล้ว วันนี้เลยต้องไปเช็คในเว็บว่ายังมีที่ไหนบ้าง พบว่ายังมีอยู่ ที่เป็น 3D digital ด้วยก็ที่ เซ็นทรัล ลาดพร้าว ก็เลยตัดสินใจไปดูก่อนหนังจะออก อดดูกันพอดี ไปกันสองคนแบบ ลุงกับป้า ก็คิดว่าดีที่ได้ไปดู เพราะเมื่อไหร่ ดีวีดีออกมา มันก็จะไม่เป็นสามมิติให้ดูที่บ้าน
สำหรับผม ประเด็นอยู่ที่ีว่า เรื่องนี้ เราไปดูกันทั้งครอบครัว แต่แยกกันดูระหว่างลูก กับพ่อแม่
Sunday, December 27, 2009
หยุดช่วงคริสต์มาส (2)
หยุดช่วงคริสต์มาส (1)
ไปเจอลิงก์น่าสนใจข้างบน สัมภาษณ์นักเขียนหนุ่มคนหนึ่ง นิ้วกลม อายุคงน้อยกว่าผมราวๆสองทศวรรษเป็นอย่างน้อย แต่มีปฏิภาณมากคนหนึ่ง ผมเคยซื้อหนังสือของเขามาอ่านสองสามเล่ม ผมว่าเขาเขียนสนุก และสำนวนกวนๆดี นานมาแล้วเคยเขียนอีเมลไปคุยกับเขาครั้งหนึ่ง เขาก็กรุณาตอบมา เห็นในข่าวบอกว่าเขาเขียนมาแล้ว ๑๕ เล่ม ภายใน ๕ ปี ตกปีละ ๓ เล่ม นับว่าเก่งทีเดียว
Saturday, December 26, 2009
เครื่องบินไทย จะมาปีหน้า
ลิงก์อยู่ข้างบน
ผมดูวีดีโอ แล้วชอบมาก จึงนำจาก Youtube มาแปะไว้นี่แล้ว แต่หน้าบล๊อกนี้แคบไปหน่อย วีดีโอกว้าง เลยภาพแหว่งด้านขวา (เมื่อผมมองดูด้วยเครื่องแม็ค)
Sunday, December 20, 2009
Our trip to Lumbini, Nepal (4)
Next morning we had to leave Lumbini early in order to try to cross the border back to India as early as possible. I missed the nice morning weather there.
After we crossed back to India via the same check point, we stopped by at a new Thai monastery called "Wat Thai 960", to "visit" the facility (among the cleanest toilets in India, we believed). There are a lot of plants so those are nice toilets in a garden. They also have restrooms specifically for monk. (In the picture, airy roots of ornamental plants hanged in front of it to provide green atmosphere.)
The temple also provide some complimentary coffee, hot snack (newly fried Roti with condensed milk!) for us. Thanks. I also donated 1000 Baht to help in the land buying for a new Wat in Savatthi (Saravastri), in addition to another sum to help building additional clean restrooms for traveling Buddhists who mostly would cross the border at Sonauli.
Afterward, we went to an archeological temple of Kapilavastu (on the India side). This is another important place since the stupa there is the place where the British found remains of Lord Buddha with ancient inscription saying so over a century ago. A part of the remains was given as gift to King Rama V of Siam, and now they are at the Golden Mount's top in Bangkok. I was the one who recognize this fact so, after I told my monk master, he led our group to do the 3 round circum-walking and chanting around the stupa again.
We stop by at a resort to have a lunch. Hidden behind the vast poverty of Indians, this big mansion is a former palace of a Maharaja built in the colonial style. Nice place. They also have rooms for anyone who might want to spend the night there too. But I think we Thais felt a bit creepy although I heard westerners love to stay here a lot.
Our trip to Lumbini, Nepal (3)
Late afternoon, we went to Wat Thai Lumbini. It is also an official Royal Thai Buddhist Monastery, since its construction was funded by the government of Thailand and donation from the people of Thailand. That was a very good deed by "a" government and I 'd like to say Anumodhana with them (although I currently do not have positive attitude to that former Prime Minister, you guess who).
We first headed to a wellcoming Sala to have some complimentary drinks and snacks. (Well, we donated some money later.) It has a very beautiful ordination hall (Uposoth), designed by a prominent Thai architect, using a mix of Thai and Nepali styles. The long structure of the hall is supposed to represent the Himalaya mountain range and the white color is to represent the snow.
We went inside the Uposoth to make merit, where the presiding Buddha image is made of white jade (from Burma), and styled after the Emerald Buddha in the Royal Grand Palace in Bangkok. We were told that another replica of the white jade Buddha image, slightly larger, and decorated with gold, was given to HM the King of Thailand. I believe a major sponsor of the construction of the buddha images was Thai Airways International, since I noticed a logo in a sign nearby.
Some of us (me included) bough some Thai designed and produced "Baby Buddha" images from the temple. The money would go toward the activity of the temple. Since this temple is in the park where Lord Buddha was born, and there was a story that he immediately could walked 7 steps before proclaiming his "Asmiwaja", or the great utterance. So this Thai temple has a numeral sign code as 979, in Thai "Kao Jed Kao" means "walking 7 steps forward". Other temples under the same abbot has other codes, such as 960, and 980 (for the 60th coronation anniversary, and the 80th birthday anniversary of HM the King). (Really smart, your venerable.)
Our trip to Lumbini, Nepal (2)
At the Lumbini park, we visited the shell structure of the archeological site where a footprint was found, presumably to mark the exact birth place of Lord Buddha. Afterward to went to chant and meditate for a while before going to walk around the Ashoka pillar 3 times and wrap a gold laced yellow rope around it. (I had a nagged feeling about the expected quick disappearance of such a nice piece of cloth soon after it was put up there (and at other places as well) by us. Ok, it had been donated, so whoever took them down later we hope they 'd use it for a good cause.) There is a brass plate showing the translation of the inscription on the pillar. I think anyone can read its English text from this small picture.
Our trip to Lumbini, Nepal
We departed Kusinara on Oct 26 2009 when our chartered bus took us across the border to Nepal via Sonaoli border check point. There were hundreds of trucks waiting to cross border. I understand that tourist buses have privilege to cut the several kilometer long line of trucks to the front and took us passing through both Indian and Nepalese immigrations and cross the border in a relatively short time (<1 hr). We then went straight to Lumbini. Inside Nepal, I did not enjoy the scenery outside the bus windows much since there were a lot of garbages dump alongside the road, almost everywhere, so it did not look pleasant. I hope one day the Nepaleses would set up garbage dumps and collection service to beautify their country a bit. After we checked in to a hotel, we immediately rode rickshaws (oh, jeese, I have not used this word for decades) into Lumbini Park (the forest where Lord Buddha was born) in the afternoon.
We took group pictures with very lovely Nepalese kids who also visit the archeological site. Since they have no e-mail that we can mail pictures to them, so I think posting a picture here would be good enough. I hope sometime in the future some of them might stumble upon this picture in the cyberspace.
หนังสือ เรียนรู้เรื่องนก
สำนักพิมพ์ กรีนแม็คพาย ผู้พิมพ์วารสาร Advanced Thailand Geographic ส่งหนังสือที่ออกใหม่มาให้ ชื่อ เรียนรู้เรื่องนก เขียนโดย โดม ประทุมทอง เป็นหนังสือปกแข็ง เย็บกี่ หนา ๖๒๔ หน้า พิมพ์ด้วยกระดาษอย่างดี ดูเหมือนจะเป็นกระดาษอาร์ทหนา พิมพ์สีมีรูปสีสวยๆทุกหน้า แจกให้กับสมาชิกวารสาร ไม่มีวางจำหน่ายทั่วไป ราคาหน้าปก จำหน่ายที่ ๕๐๐ บาท
ผมอ่านเนื้อหาคร่าวๆ ก็เป็นเรื่องของการสอนให้คนไทยรู้จักเป็นนักดูนกด้วยตนเอง ในเล่มมีรูปถ่ายนกให้ดูหลายร้อยชนิด ทำให้เข้าใจได้ง่ายมาก
ทำเอาผมอยากจะออกป่าไปหัดดูนกบ้าง แต่เสียอย่างเดียว ตอนนี้ไม่มีเวลาเลย ผลัดตัวเองไว้ก่อนๆ
ก็ต้องขอบคุณสำนักพิมพ์กรีนแม็คพาย ไว้ ณ ที่นี้ ครับ
Thursday, December 17, 2009
หนังสือ อัพยากตปัญหา
พอเริ่มอ่านอีกรอบไปสักพักก็รู้สึกว่า การตีความของผู้เขียนไม่ค่อยตรงกับที่ผมเข้าใจ คือผู้เขียนมุ่งแต่จับประเด็นว่า อัพยากตปัญหา คือ ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ แต่ผมอ่านดูๆก็เห็นว่า ในพระไตรปิฎกนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงอธิบายหลายๆเรื่องที่ยกมาแจ่มแจ้งดี เพียงแต่ว่าไม่ทรงตอบคำถามผู้ถามตามมุมมองที่ตั้งคำถามมาเท่านั้น แต่ทรงแสดงไว้ในมุมมองที่ทรงเห็นว่าถูกต้อง ดังนั้นเราไม่น่าจะจำกัดความหมายของอัพยากตไว้แค่ว่าไม่ยอมทรงอธิบายเท่านั้น เพราะจริงๆแล้วทรงอธิบายไว้แจ่มแจ้งทีเดียว ความหมายที่ควร ของคำว่า อัพยากตปัญหา น่าจะเป็นว่า คือปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงตอบไว้เป็นอย่างอื่น มากกว่า
การแปลว่า อัพยากตปัญหา คือ ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ ในความหมายเดียว เป็นการเอาความหมายของคำที่คนยุคปัจจุบันเข้าใจไปตีความหมายของคำเมื่อสองพันหกร้อยปีก่อน ซึ่งอาจจะไม่ตรง หรือมีบริบทที่ใช้่แตกต่างกันได้ (เรื่องนี้มีให้เห็นมาแยะ ธัมมะมีหลายบริบท ศัพท์เดียวกัน ความหมายลึกซึ่งไม่เท่ากัน)
ผมนึกถึง ติกมาติกาบทแรก ใน คัมภีร์ธัมมสังคณีย์ ที่ว่า กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมา
(คนไทยที่เป็นชาวพุทธทั่วไปน่าจะคุ้นบทนี้ดี เวลาไปฟังสวดพระอภิธรรมในงานศพต้องเคยได้ยิน)
จะเห็นว่า ในติกนี้ พูดถึงธรรมสามอย่าง คือ กุสลธรรม อกุสลธรรม อัพยากตธรรม คำว่า อัพยากตธรรมก็คือ ธรรมที่ไม่ใช่ทั้งกุสล ไม่ใช่ทั้งอกุสล อัพยากตธรรมไม่ใช่ธรรมที่อธิบายไม่ได้หรือไม่ได้ทรงแสดง เพราะในอภิธรรมจะสอนแจกองค์ธรรมครบทั้ง สามตัวเลย และ ติกนี้เป็น นิปปเทสติก คือ ปรมัตถธรรมครบ ไม่มีขาด
พอนึกถึงประเด็นนี้ก็เลยรู้สึกว่า ผมไม่เห็นด้วยกับชื่อหนังสือเสียแล้ว เลยอ่านแล้วรู้สึกจืดไปหน่อย ยิ่งตอนกลางของหนังสือไปพูดพื้นฐานเรื่องภพภูมิปูพื้นให้คนอ่านทั่วไป ก็เลยจืดไปอีก แต่พูดก็พูดเถอะ หากไปตั้งชื่อหนังสือเป็นอย่างอื่นมันก็ไม่ดึงดูดให้คนหยิบมาดู หรือซื้อมาอ่าน
สรุปว่า อย่างไรก็ตาม ก็คิดว่าเป็นหนังสือที่ดี คอธรรมะก็น่าจะไปซื้อหาอ่านดู จะได้ความรู้อะไรพอสมควร
Monday, December 14, 2009
เครื่องสแกนภาพหนังสือ
Saturday, December 12, 2009
โซเชียลมีเดีย มีดีหรือ
อย่างไรก็ดี แม้ว่าผมจะเขียนบล๊อกมาหลายปี ก่อนมาตั้งหลักเขียนที่นี่เสียอีก ผมก็ยังเซย์โนกับโซเชียลมีเดีย อย่างน้อยก็ในตอนนี้ และในอนาคตอันใกล้
สาเหตุน่ะหรือ
ผมว่า tools พวกนี้ มันมักจะก้าวล่วงข้อมูลส่วนตัวและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้มากไป ผมเองเผอิญเป็นพวกตามข่าวไอทีมากมาสักยี่สิบห้าปีท่่าจะได้แล้ว เลยรู้มากหน่อย ขอยกตัวอย่าง ถ้าใครตามอ่านข่าวเรื่อง Facebook จะเจอปัญหาเรื่องสูญเสียข้อมูลส่วนตัวนี้ หรือสมัยสักปีสองปีก่อน ที่จะมี junkmails จาก Hi5 เข้ามาที่เมลบ๊อกซ์ผมและคนไทยจำนวนมาก แยะมาก แยะจนน่าโมโห แต่ตอนนี้เงียบไปแล้ว
ที่สำคัญอีกอย่าง เพื่อนๆรุ่นอายุเท่าผมก็ไม่มีใครมาเล่นสังคมออนไลน์กับผมเสียด้วย ผมก็เลยไม่รู้จะไปโซเชียลไลซ์กับใครมาตั้งแต่ไหนๆแล้ว
อีกเรื่องหนึ่งก็คือเวลาที่มีจำกัด เป็นที่รู้กันว่า social media จะมาดึงเวลาจากเราไปมากเกินไป โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใช้คนหนึ่งๆจะโดนดึงเวลาไปแยะมาก (เว้นแต่จะใช้จากมือถือเป็นหลัก ก็อาจจะพอไหว) ผมเองเป็นคนไม่ค่อยมีเวลาเหลือ ก็เลยยังไม่ยอมกระโดดเข้าไป
แค่บล๊อกก็กินเวลามากเกินพอแล้ว
Saturday, December 05, 2009
Kusinara
From Varanasi, we headed to Kusinara as Thais called its old name of 2600 years ago. The current name is Kusinagar. The road was narrow, and there were traffic jams along some intersections and railroad crossing. The bus could not drive fast. On a bridge crossing a river, there was only one lane and thus vehicles had to take turns.
We arrived at Kusinara in the afternoon. We went to the main stupa at Kusinara, at the spot where Lord Buddha (died) went to Nirvana 2552 years ago. We took a group picture in front of the stupa and went inside the main Vihara for chanting mantra and meditation. We then also conducted a 3 round clockwise walking around the main buddha image there. He is in the final resting posture. We felt as if we were just visiting the Buddha who just passed away only moment ago. While chanting I had some mixed deep feeling of pleasure and sorrow. My master (the monk) also brought a yellow and golden robe as a blanket for the image as a homage gesture. Later, we went out to visit the cremation site, about a kilometer away, where a stupa was also erected. We had an evening chant there until being chased away by darkness and mosquitoes.
After arriving at the Kusinagar hotel, we also walked out to a nearby Bodhi tree, marking the site where the remains of the Buddha after the cremation ceremony was divided by "Tona Brahmin" into 8 parts, one part for his own King and others to give out to emissaries send out by 7 other Buddhist Kings to get their share of the relics too. This is a "sacred site" rarely visited by Buddhists. We chanted there in the dark, and took pictures. There were unusual large number of "stars" seen in the pictures. Obviously, the "stars" are caused by particles which reflected the photographic flash light. However, interpretation on the nature of the particles is up to individuals. I can say that the weather at that time was quite nice and I did not feel the presence of dust or any particles. Afterward, we walked to the nearby Thai temple at Kusinara. This is an "official" royal temple erected by the King of Thailand and the Thai government. It has the same status as hundreds of official royal temples in Thailand. We conducted a chant inside the main Jedi (from the Pali word "Jetiya" = pagoda) there. We also donated some money and stuff there to monks and officials of the temple. It is a very beautiful temple, even at night.
Toward Varanasi
Of course, on a long road journey like this we need that refreshment as an encouragement, esp. when there is no clean restroom for us to use. We thus had the first chance to use "the largest toilet in the World" on this route, that is the open air, to relieve some internal pressure once in a while. For ladies, the tour company have some foldable personal tents to be used as mobile toilets for them. Yes, those tents are mobile, since it has to be moved after each lady is finished with the business and the next lady surely would not want to use the same spot as the toilet. Before this trip, I had read some Thai books about trips to India before and I know that Thai people had developed a convention of using the open air as toilets along the way, i.e. women go to the left of the bus, men go across the road to the right side of the bus, monks go the front of the bus, nuns go to the back side of the bus. :-) On our road journeys, we try to keep that convention, i.e. men tried to use the right side of the road and women tried to use the left side when possible, although that 's not always possible. It 's o.k. now since women now have tents to keep their privacy during such awkward situation. For me, I tried to manage myself quite well and I tried to have "heavy task" at the hotels, i.e. in the early morning before each day's departure and late evening after arriving at the new hotel. I only used roadside for "lighter task".
About an hour before we arrived Varanasi, we started to smell some pungent unique smell, probably due to smog. Varanasi, as Thais called Banarasi, is perhaps a 4000 years old city, or perhaps older than that. I have been to India before this trip, but never before to Varanasi. That day, I though that I felt I just reached and felt more of India.
That evening, we went to the Ganges to watch a ceremony in the evening of daily worshipping Suriya Dev, the Sun angel. I had seen that evening ceremony in a Thai documentary DVD before. There were thousands of locals on the river bank while hundreds of tourists (seen in the foreground in the picture) were floating in perhaps a hundred rented boats in the river snapping pictures along the way and during the ceremony. We stayed there to watch the sacred ritual for about half an hour before heading back to the hotel in preparation for tomorrow early departure to Kusinara (Kusinaga). I had some feeling about their ceremony. One remark though, quality of the the river in some area, esp. the pier that they cremate bodies was "not clean". It's amazing nevertheless : I have heard before a saying that bonfires on the Ganges bank at Varanasi never stop for thousands of years. We 'll be back to this area again in the next few days but in the morning.
e-book ภาษาไทยเกี่ยวกับพืชพันธุ์ต่างๆ
จากนั้นแล้ว ก็เลยอยากจะลิงก์มาให้จากบล๊อกนี้ เพราะเขาทำดี
ลองใช้ EPUBReader บน Firefox
ผมเคยคิดเล่นๆว่า ผมจะทำ e-book ฟรี เป็นภาษาไทย แต่แทนที่จะทำเป็นฟอร์แม็ต pdf อย่างเดียว ก็อาจจะทำเป็นฟอร์แม็ตนี้ด้วย แต่ผมยังไม่แน่ใจว่า การสร้างเอกสารออกมาในฟอร์แม็ตนี้ ตอนนี้จะใช้ software tool ตัวไหนได้บ้าง แต่ไม่น่าจะยาก เพราะ Epub มันก็คือ XHTML + XML นั่งเอง
ข่าวการแจกคอมพิวเตอร์ 380,000 เครื่องให้เด็กนักเรียนในอุรุกวัย
หวังว่าในอนาคตเมืองไทยจะทำอะไรอย่างนี้บ้าง ก่อนหน้านี้ที่ยกเลิกโครงการเก่าไปแล้วก็โอเค แต่ในอนาคตน่าจะทำอะไรได้ดีกว่าคราวที่แล้ว
ในใจผมลึกๆ อยากให้เด็กไทยได้โชคดีเหมือนเด็กในสหรัฐที่ได้ใช้แม็ค ถ้าไม่อย่างนั้น ก็ใช้อูบันตูลินิกส์ก็ได้ แต่คงต้องพัฒนาดิสทริบิวชั่นโดยเฉพาะขึ้นมา
ครูๆทั้งหลายก็คงต้องหันมาทำเรื่องเนื้อหากัน รวมทั้งเรื่อง e-textbook อีกด้วย
Friday, November 27, 2009
ดูไบ ดูไปๆก็ไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร
เมื่อปีก่อนผมเคยดูทีวี ช่องดิสคอฟเวอรี่ เคยรู้สึกทึ่งในเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างอะไรๆขึ้นที่ดูไบ เช่นการถมทะเล การสร้างเมืองอะไรขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่มีอะไรเมื่อสามทศวรรษก่อน แต่ผมก็ไม่เห็นมันจะมีอะไรน่าสนใจในเมืองทะเลทรายแห่งนั้น หรือแม้แต่ความฝันเรื่องการสร้างเกาะต่างๆ จากการถมทะเล ผมเคยคิดว่า จะมีใครที่ฉลาดน้อยจำนวนมากไปซื้อบ้าง ผมเห็นความโลภที่ไม่เคยพอของคน เห็นการใช้แรงงานชาวเอเซีย ในสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดีนัก เห็นเรื่องสมมุติต่างๆ ที่คนปั้นแต่งขึ้นมา เป็นเรื่องไร้สาระ เห็นระบบกฎหมายและสังคมที่ที่ล้าหลังของเขา
ตอนนี้การเงินทั่วโลกกำลังจะกระเทือนเพราะความไร้สาระนั้นแล้วละมัง
Wednesday, November 25, 2009
อังกฤษเตรียมปลูกป่า
เมืองไทยเราปลูกป่า (reforestation) กันมาพอสมควร แต่ไม่รู้ว่าในระดับประเทศเพิ่มพื้นที่กันได้มากน้อยแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ คนงานรับจ้างนายทุนเลวๆตัดป่าก็ยังมีให้จับได้
คนที่โชคไม่ค่อยมี
แต่สลากออมสิน (GSB's lottery) เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จริงๆแล้วมันก็คือ ใบรับฝากเงินนั่นแหละ ฝรั่งเขาเรียกว่า CD (Certificate of Deposit) แต่มีการออกรางวัลให้ด้วย ซื้อมาหลายปีไม่เคยถูก เพิ่งมาได้รับแจ้งทางไปรษณีย์เมื่อวาน ถูกรางวัล ก็รู้สึกไม่ค่อยดีใจเท่าไร ตอนนี้มีค่าใช้จ่ายแยะ ได้มาก็รู้สึกว่าค่อนข้างเฉยๆ
โลกร้อน
กทม. ก็ยังไม่เห็นทำเรื่องการรีไซเคิลขยะอย่างเป็นระบบ ยังคงปล่อยผลประโยชน์มหาศาลไปอยู่ในมือใครก็ไม่รู้
ดูเหมือนว่า เมื่อเดือนที่แล้ว อ. อาจองท่านออกมาพูดไม่เห็นด้วยเรื่องการสร้างรัฐสภาใหม่ในกรุงเทพฯ ว่าควรไปสร้างที่อื่น เช่น ที่อีสาณใต้ ผมเห็นด้วยกับท่าน การจะสร้างไปริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้เงินเป็นหมื่นล้าน แต่อยู่ได้อีกสักแค่สิบหรือยี่สิบปีกรุงเทพก็ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเสียแล้ว ก็น่าเสียดาย
Friday, November 13, 2009
สิทธิบัตรซอฟต์แวร์
เชื่อว่าคงมีผู้ไปท้าทายสิทธิบัตรนี้ต่อไปในศาลสหรัฐ
สำหรับเรา ชาวต่างชาติ ก็เห็นตัวอย่างได้อีกอย่างหนึ่งว่า สำนักงานสิทธิบัตร ไม่จำเป็นต้องทำงานถูกต้องเสมอไป
ที่พึงระวังอีกอย่างก็คือ การบังคับใช้สิทธิบัตรในประเทศอื่นๆ หากว่าไปจดสนธิสัญญารับรู้สิทธิบัตรต่างชาติแบบไม่ลืมหูลืมตา ก็จะมีผลกระทบเชิงลบไปด้วย
มีคนจำนวนไม่น้อย กำลังต่อต้านการจดทะเบียนสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ และ สิทธิบัตรกระบวนการทางการค้า ซึ่งผมก็ค่อนข้างเห็นด้วยในการคัดค้าน
ฝรั่งมีความโลภมากเป็นที่ตั้ง โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติ มีอะไรมันก็จะคว้าไปหมด
Wednesday, November 11, 2009
Back to Bodhgaya
Next morning we went to visit the place where Suchada (Suchata) 's house was. The mound is now covered with bricks and it now looks like an archeological stupa, perhaps in an attempt to lure tourists here. A mountain, Thais call Donkasiri, where Buddha spent his 6 years of physical torments during his quest to understand dhamma before enlightenment could be seen in the back behind our bus. We did not go there.
We visited a site near Niranjala river (Thais call Nerunchala) where Lord Buddha floated the gold tray after he consumed all the Payas (dessert made of rice, milk and butter) presented by Sujata on the day before the full moon night of May. He had not eaten for several days before. And he would not eat any food after the enlightenment for at least the next 49 days.
This locatlion is also where Buddha was given 8 bundles of long Gussa grass by a brahmin and he carried them across the river to where the Bodhi tree is (and now Bodhgaya) and used that to make a cushion for his sitting meditation on the enlightenment night (now celebrated as Vesakhabucha).
Nerunchala river is now mostly dried sand, with small stream running only afar in the middle, due to deforestation in the origin water source of this river.
Perhaps, the shrubs of grass we see in this picture are those of the Gussa grass.
Around the old Rajgir (5): Nalantha (old Nalanda)
We then proceeded to visit the oldest great Unversity in the World, Nalanda (Thais called it Nalantha) University. The guide said that its great coverage covers 7 x 3 sq.miles (approx 10 x 4.5 sq. km.). (But the dug archeological site covered only about 14 hectares, according to wikipedia). It was built in the old village where Sariputta (the right hand student monk of Lord Buddha, who was considered the most genius, and master of Abhidhamma) was born. Historians believed the University was built around 1600 years ago. It lasted around 800 years then destroyed by small muslim army. (I do not want to stir hatred here, but it 's a fact we should know.) Since no single person decided to fight, thousands of monks were slaughtered, many while in meditation. It was written that the temple complex was burning for months, esp. its 3 main libraries.
We could see several lecture halls in the area, with surrounding living rooms. This restored lecture hall is quite well preserved, with the platform in front of the class. That thousand years old hall gave me a kick to pose as a teacher there. :-)
Around the old Rajgir (4): Nalantha (old Nalanda)
Thai people like to stopped by to worship a big Buddha image made from black stone, called Luang Phor Dum (in Thai means the black father, and now the locals also called that in Thai name too). He is currently kept by local villagers outside the old Nalantha University. We went there and chanted mantra, meditated, and decorated him with gold-laced yellow robe. In the picture I also followed other Thais of sticking gold foil on him too. We also donated some money to help the locals in maintaining the small shack for the statue.
We had to walk a long way from the shack to the main road, where thousands or perhaps ten thousands came out to celebrate a festival to worship sun god (Suriya Dev) during that time causing a traffic jam on that small road.
Around the old Rajgir (3)
We stopped by at an often neglected Ajadsatru's Stupa. A lot of cow dungs are abundant in the lawn. This was the location where King Ajadsatru built a stupa to keep Rajgir's share of Lord Buddha 's relics that he obtained after the cremation at Kusinara (currently called Kusinagar). Perhaps Lord Buddha 's relics are no longer there but we stopped to chant mantra there anyway.
Around the old Rajgir (2): Weruwan
We stopped by at a government's park, where the old Weruwan (Veruwan = bamboo jungle) monastery was donated by King Bimbisara to Lord Buddha. This was the first Buddhist monastery so it 's a very important location. Too bad, local officials recently cleared a lot of bamboo trees away and thus we felt a bit disengaged of the original Buddhist name from the current physical appearance.
Another group of Thai monks and laypersons are already there, (seen in the picture as) walking around a Buddha image (Thaksinawat, i.e. walk clockwise, but I think Indians call it Parikam now). We stopped there to chant mantra, meditate for 20 min, and decorated the Buddha only image there with a gold-laced yellow cloth.
Around the old Rajgir (1)
After coming down from the vulture head peak, we briefly stopped by at the location where King Bimbisara of Rajgir was jailed and starved from foods (2600 years ago) by his son, King Ajadsatru (I spelled the way Thai people pronounced). From this area, the jailed King Bimbisara could look up to Buddha's shelter on the peak (arrowed) and possibly felt mentally comfortable while conducting his walking meditation to spend time in his cell. Without food he could live for a rather long time, until the new King sent a barber to make cuts on his feet so he could no longer walk, and eventually died. The story in Tipitaka also said that on that day, King Ajadsatru had his newborn baby and loved it very much. Soon he realized that his dad must have loved him so much too. But when the King ordered for the release of his dad, it was already too late to resurrect the former King's life. It 's a sad history.
Sunday, November 08, 2009
Buddha's shelter at vulture peak, Rajgir
At the top of the Kitchakut hill, the original shelter of Buddha (Thais called it Mulakanthakudi) is located. There are stairs for people to climb up there. The shelter was small, only the size of around 3m x 3 m in size. New bricks were laid to show the location of the shelter and the ground was smooth covered with cement. I am not sure if that was how it looked like almost 2600 years ago. I supposed Lord Buddha lived in a much simpler way, even perhaps under a tree or a cave (like the Sugarakata cave). Again, it 's also possible that King Bimbisara built the Kuti for him up there.
Buddha would come down to the city for morning food alms, possibly by using the steep channel shown before the ladder was built.
Saturday, November 07, 2009
Toward the vulture head peak
Walking uphill to the vulture head peak (or Kitchakut hill) via the Bimbisara road was a pleasant walk in October weather like this. I wore a jacket but did not feel hot. The ultimate goal is the original Buddha's Kuti (shelter) on the hill top. However, along the path there are several important points, including the location where Devatata pushed big stones downhill aiming to kill Buddha, a cave where Phra Mokalana meditated, and a cave (Sugarakhata cave, or Pig head cave) where Phra Saribut (Sariputta) became an Arahant. Pictures are shown below. I think the gold leaves pasted on these caves could probably be attributed by Thai people mainly. They came here to worship, to chant mantra, and to meditate.
Notice small stars inside the Mokalana 's cave.
Sugarakhata cave was an important place mentioned in Tipitaka, where Buddha was teaching to Thikanaka while Sariputta was fanning the Buddha nearby. After the teaching, Thikanakha became a Sodapun while Sariputta, already a Sodapun by that time, became an Arahant. Besides, Sariputta was a wise teacher, second only to Lord Buddha. Buddha taught Abhidhamma only briefly to Sariputta, but he then explained in-depth to his students. Since I am an Abhidhamma student, I consider myself a student of his as well.
Visit Rajgir
Rajgir was a big city 3-4 millennia ago. Thais also know its alias, Panjakhirinakara, which means the city surrounded by 5 mountains. Troughs in the ancient stone road created by carts thousands of years ago could be seen. The city was the capital of Magat kingdom.
After the capital was moved to Patliputra (Patna), after 2000 years, the city became a jungle, as viewed from the uphill road en route to "Kitchagut" hill (the Vulture head peak), where Lord Buddha 's Kuti was located. This clearly demonstrated the key principle of Buddhism, the 3 characters (Trilaks). Trilaks means everything (except Nirvana) has its start, its temporary existence, its end. A glorious city 3000 years ago is now visibly a forest. ( Well, I know that there is a (newer) small rural town in the name Rajgir located outside this mountain surround, but it is not the original Rajgir as Buddhists' regard.)
Main Viraha at Bodhgaya
The is the place almost 26 centuries ago where, under a Bodhi tree, Lord Buddha sat cross-legged with strong determination that he would not get up again unless he discovered the dhamma. He eventually had enlightment on the full moon night on the 6th month (May). The fourth generation Bodhi tree planted on the same spot can be seen on the left next to the tall Viraha. The Vihara housed a sacred Buddha image, called Luangphor Buddha Metta by Thais, on the first floor. A lot of people came here to meditate, to chant mantra, to walk clockwise around it three times (as a gesture to pay respect), or to pay homage by "Asdangkhapranot" (Tibetan style), which means having 8 points of the body touching the ground. Thais only do the 5 points touching the ground gesture now. Historically we did the Asdangkhapranot too, but not any more. I did not try that. My monk teacher said that he tried it once and after 3 times his body was sweating. More importantly, the (borrowed) bed would be quite smelly, if it's not your own. I was impressed by the presence of Buddhists from all over the World, including westerners. I feel glad for their discovered path of life.
International temples at Bodhgaya
Tuesday, November 03, 2009
From Bangkok to Bodhgaya (Gaya)
I took a direct flight from Bangkok's Suwannaphum (officially spelled as Suvarnabhumi) airport to Gaya airport in northern India. The direct flight on a Boeing 737-400 was less than 3 hr. I 'd say over 95% of the passengers in the half full plane were Thais. A number of vegetarians who informed the check-in counter also got their vegetarian meal on board. Nice service. (Nope. I 'm not a veggie.) I believe this direct flight is operated only during winter (cold) season. At this time the passenger load was low, possibly because it's just the start of the cold season (and thus suitable to visit India) as well as the time of economic down turn. October is also the month for Kathin ceremony (an annual ceremony of cloth donation for selected Buddhist monks to sew their robes) so a lot of devoted Buddhists like my friends are busy at temples elsewhere inside the country instead of going abroad to India.
We arrived at the Gaya airport just before 2 p.m. Indian time, 1:30 hr behind Bangkok time. We had been warned that there might be a small hassle to pass through many of the red tape at small Indian airport like this. This is the first airport I have encountered that boarding pass of everyone was rechecked after disembarking from the plane and just before getting into the terminal building. Amazing. Inside, I was then asked by someone in mixed English-Thai sentence asking for a pen so I gave him a 10 Baht gel pen in order to get into the country smoothly. Then there was a step when declared no. of luggage in the custom slips must match the number of things each of the passengers was hauling pass the terminal or one would be stopped at the exit door. India incredibly have officers at various steps to do all the unnecessary "tasks". Interestingly, I think our flight was the only one for the day.
We went straight to from the airport to the hotel in Bodhgaya (Thai called it verbally "Buddhagaya"), perhaps the main gateway to trace back Buddhist history in India.
We started by visiting some international temples first. It looked like those beggars and hawkers were mainly targeting (generous hearth) Thai tourists. It was amazed that many of them would try their best to annoy us so that they could get money. And some kids would not leave even after they successfully got some. Soon we learned our lesson on how to deal with them.
A picture of our plane taken at the Bangkok International Airport is shown below.
Loy Kratong
I think if one ask young Thais,
Why do millions of people went out in the evening to put down small candle-lit and incensed sticks-lit flower floats along rivers or canals ?, I guess new generation people might answer that the festival 's just for fun. I think if they did answer like that they would probably be right. For hundreds of years, that how young men had chance to meet young women at a rare night festival like this. Some might say otherwise that it is chance in a year to pay tribute to the river angel (Phra Mae Kongka) for providing life line to peple's living. But I would say that explaination was based on Hinduism belief, not Buddhism's. I 'll put down Buddhists' view point down here, which hopefully would be more useful to Thai Buddhists.
Firstly for Buddhists, putting the float along the river 's mainly for worshipping the foot print of Lord Buddha who stamped his footprint at a place called Numtanatee (perhaps a river bank or an oceanside somewhere) almost 2.6 millennia ago.
Secondly, it 's to worship buddha's relics that had been floated at Ganges river in Varanasi by an Indian King after he discovered the relics in an old stupa near Varanasi.
Thirdly, the 15th waxing moon night almost 2.6 millennia ago was the day a prominent Arahant and Buddha's right hand premier monk, Sariputta (Thais called Phra Saribut), went to Nirvana (died). So this is also a remembrance for him.
Those are the reason why I and people in our group put down floats at the Ganges river at Varanasi 4 days earlier, while we were still in India.
Sunday, October 18, 2009
ทำบุญสัปดาห์นี้
การทำบุญมี ๑๐ อย่าง ปกติที่ทำอยู่รายวันคือปฏิบัติภาวนาก็เป็นบุญใหญ่อยู่แล้ว และก็มี การฟังธรรมะ และอื่นๆ
แต่อาทิตย์นี้มีพิเศษอย่างอื่นด้วย นอกจากทำบุญหยอดใส่ตู้ถวายหลวงพ่อไป ๑ พันบาท ก็ยังฝากเพื่อนไปร่วมทอดกฐินด้วย ๒ พันบาท และ ไปไถ่ชีวิตวัว ๑ พันบาท ที่นาจะหลวย ตนเองไปร่วมงานกฐินด้วยไม่ได้ เพราะอีกสามสี่วันจะไปไหว้พระและนั่งสมาธิที่อินเดียและเนปาล
Thursday, October 15, 2009
สภาวะธรรมที่เจอ
ก่อนอื่นต้องท้าวความว่า ประมาณหนึ่งปีที่ผ่านมา มีสติ เดินจงกรม และนั่งสมาธิ วันละสองรอบ เป็นส่วนมาก อารมณ์ดี ใจเย็นในรอบสองปีที่ผ่านมา ไม่ค่อยเครียด และ ศีลห้าค่อนข้างบริบูรณ์เป็นส่วนมาก และก่อนหน้านี้เป็นหลายเดือนก็ไม่ขาดเลย
บ่ายวันนั้น รู้สึกเหนื่อยๆ เลยไม่ได้ไปธุระนอกบ้านกับครอบครัว อยู่บ้านคนเดียว ก็เลยนั่งสมาธิบนโซฟา ตั้งใจแต่แรกว่าจะพักผ่อน ทำสมถะ ไม่ได้เป่าพัดลม อากาศร้อน เหงื่อออกเป็นเม็ดๆที่หน้าก็รู้สึก เลยกลายเป็นนั่งวิปัสสนาไป แต่ก็ตามรู้กาย รู้ใจไปแบบเห็นเป็นคนอื่น มีผู้รู้ เห็นความเกิดดับไปเรื่อยๆ ดูแบบใจเป็นกลาง ประมาณ ๑ ชม. ก็เกิดแสงสว่างเกิดขึ้นสองครั้ง (ไม่รุนแรงเหมือนคราวก่อน) รู้สึกเฉยๆ ตอนนั้นมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอด มองดูไป รู้สึกความมีตัวตนมันหายไปแบบชัดเจนกว่าเดิม รู้สึกมีความสุขดี
สองสามวันต่อมา สติกล้าแข็ง มองดูอากาศเห็นเป็นคล้ายละอองน้ำฝน แต่ไม่มีเม็ดฝนตกลงมาบนพื้น สติตั้งมั่นอยู่หลายวัน แต่ตามที่ครูบาอาจารย์สอนมา ท่านให้สังเกตไปอีกสามเดือน ก่อนสรุป
หลายวันต่อมาเกิดสงสัยขึ้นมา รู้สึกว่าจะต้องหาเวลาไปกราบครูบาอาจารย์ต่อไป เพื่อให้ท่านเมตตาเช็คให้ จะอย่างไรก็ตาม เราก็ต้องมีสติตามรู้กายรู้ใจต่อไปอยู่ดี
ย้อนกลับไปเมื่อเกือบสามปีก่อน มีสภาวะธรรมอย่างหนี่งเกิดขึ้นคล้ายกันนี้ บันทึกไว้คราวก่อน
update -----
ไปกราบหลวงพ่อปราโมทย์ที่เมืองชลฯ มาแล้ว ท่านชมว่าทำได้ดี ท่านบอกว่า ตอนนี้เราเห็นว่ากายไม่ใช่ตัวเราแล้ว แต่ว่าสักกายทิฏฐิยังไม่ได้โดนตัดไป
และท่านเสริมท้ายว่า อย่าไปอยากได้นะ
กลับมาบ้านแล้ว มาวิเคราะห์ดู โอภาสที่เห็นคงเป็นอาการของสมถะนั่นเอง
โดนวิปัสสนูปกิเลสหลอกไปหลายวัน ได้เห็นอะไรๆโผล่มาอีกแยะ
เริ่มไปเห็นสักกายทิฎฐิที่ซ่อนอยู่
ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยเห็น เพราะเวลามีสัมมาสมาธิ จะไม่มีสักกายทิฏฐิปรากฎ
Saturday, October 10, 2009
หนังสือใหม่ออกมา
หนังสือ พระกรรมฐานกลางกรุง จากบันทึกของ คุณ ดำเกิง สงวนสัตย์
แจกฟรี ไม่มีขาย
ตอนนี้ผู้ที่ร่วมบริจาคสมทบทุนในการจัดพิมพ์กำลังจะทะยอยไปรับหนังสือกัน
ผมเองก็ยังไม่ได้ไปรับ
คนทั่วไปคงไปขอรับได้จากสวนสันติธรรม ชลบุรี เมื่อไปกราบหลวงพ่อปราโมทย์
update ----
ไปรับวันต่อมา ที่โรงเรียนซุปเค สาขาพญาไท ของอาจารย์ซุป คนหนุ่มผู้สูงซึ่งคุณธรรม
ผมรับแล้วก็หยิบมาอ่านตรงโรงเรียนนั่นเลยจนจบ แล้วค่อยออกมาธุระต่อ
ถึงตอนนี้ก็แจกพรรคพวกไปสามสิบกว่าเล่ม เหลือไม่มาก คงแจกจนหมด
คิดว่าเป็นหนังสือดี อ่านแล้วทำให้เกิดศรัทธาว่าพระดีๆท่านมีอยู่ และได้เกร็ดเล็กๆน้อยบางอย่าง เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม
ต้องกราบขอบพระคุณหลวงพ่อที่เมตตาให้จัดพิมพ์ และผู้ดำเนินการจัดพิมพ์ ผู้ดำเนินการรวบรวมคนบริจาค ให้เรามีโอกาสทำบุญกัน
Friday, September 11, 2009
ทรานส์เฟอร์ข้อมูลกึ่งโลเทค
พวกเราหัวเราะกัน เพราะว่าเป็นการทรานส์เฟอร์ไฟล์แบบโลว์เทค ผมต้องขับรถไปเอาข้อมูล แต่จริงๆเป็นแค่กึ่งโลว์เทค เพราะจากบ้าน ก็ต้องใช้ secure copy นั่นแหละ ไม่ได้ขับรถไปเอาที่ปทุมธานี
ได้ดาต้ามาแล้วก็ใส่ทัมบ์ไดรฟไปให้ผู้ช่วย parse ต่อ
Saturday, September 05, 2009
เลือกต้ัง(กรรมการสมาคม)น่าเบื่อ แต่ก็ต้องทำ
เหตุผลก็คือว่า อ่านดูแล้ว สมุดประมวลประวัติผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการก็ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรที่มากเพียงพอ หลายๆท่านไม่ได้ให้วิสัยทัศน์อะไรเลย คงคิดเอาว่ารู้จักชื่อแซ่คุ้นกันดีอยู่แล้ว และก็มีบางท่านเขียนวิสัยทัศน์มาอย่างกับว่าไม่เคยรู้เลยว่าสมาคมทำอะไรกันมั่งในแต่ละปี เขียนมางั้นๆสักแต่ว่าเขียน ผมรู้สึกไม่ค่อยชอบ ดังนั้น เมื่อท่านใดไม่ได้ให้วิสัยทัศน์อะไรเลย ผมก็ไม่ลงคะแนนให้ แม้ว่าบางท่านผมจะคุ้นเคย หรือ เคยได้ยินชื่อเสียงมาก็ตาม
อีกอย่างที่ผมเห็นว่าขาดไปก็คือ ข้อมูลอะไรบางอย่างที่จะให้คนเลือกตั้งได้ทราบ ในเรื่องความสนใจส่วนตัว ทักษะส่วนตัว งานอดิเรกส่วนตัว เว็บไซต์ส่วนตัว และในเรื่องคุณธรรม เรื่องหลังสุดนี้ ความจริงเป็นเรื่องยากสุดๆที่จะให้มีข้อมูลออกมา แต่การเลือกต้ังทุกระดับในประเทศไทยไม่ได้เลือกคน
โดยดูที่คุณธรรม ตั้งแต่สมาคม ยันระดับชาติ จนเลือกสมาชิกสภาผู้(ทุศีลและไม่)มีเกียรติ ประชาชนไม่ได้เลือกคนที่คุณธรรม เพราะไม่มีข้อมูลด้านนี้ บ้านเมืองไทยมันถึงยุ่งๆกันทุกวันนี้ เพราะเลือกตั้งเอาแต่วุฒิการศึกษา แต่ไม่ได้รู้ว่า คุณธรรมระดับสูงแค่ไหน มันทำให้ทุกอย่างเสียหมด ส่วนเรื่องการศึกษาเอง ก็ไม่ได้บอกอะไรมาก ผมมีเพื่อนจบด็อกเตอร์ที่รู้จักกันเป็นร้อยๆ เพื่อนบางคนเหล่านั้นก็ไม่ได้แสดงท่าทางว่าจะฉลาดมากกว่าคนธรรมดาก็มี ดังนั้น วุฒิการศึกษาก็บอกอะไรไม่ค่อยได้
นี่้เป็นเหตุผลที่ผมกาเลือกกรรรมการไม่ครบจำนวน
บ่นไปงั้นๆแหละ
Thursday, August 20, 2009
การศึกษาวิทยาศาตร์ในโรงเรียนของไทย
ที่ท่านเขียนไว้ในนั้น ก็แตะแค่ประเด็นความสามารถของครูเนื่องจากวิธีผลิตคนนั้นไม่ถูก ผมว่ายังมีประเด็นอื่นๆอื่นที่ท่านอาจจะเขียนไว้ที่อื่น แต่ไม่ได้ตามไปค้น
โปรตีนต้านความดันโลติตสูง และ ต้านความแก่
ก่อนหน้านี้ ทราบกันว่า โปรตีนนี้ หรือ ยีนนี้ ทำหน้าที่ต้านความแก่
เลยจดไว้เผื่อไปค้นเพิ่มเติมในวันหน้า
Friday, August 07, 2009
หนังสือที่ควรจะอ่าน
ช่วงนี้กำลังอ่านหนังสือแปล ของ ทอฟเลอร์ เรื่อง ความมั่งคั่งปฏิวัติ พิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน หนาประมาณ ๖๔๐ หน้า
(Revolutionary Wealth, by Alvin and Heidi Toffler, Thai translation edition, Matichon Press, 2008)
ความที่ไม่มีเวลาอ่านยาว ผมเลยต้องทะยอยอ่าน วันละ ๖๐ หน้ามั่ง อะไรราวๆนี้ คาดว่าไม่เกินสิบวันน่าจะจบ ความรู้สึกตอนนี้คือว่า เนื้อหาน่าอ่านดี คิดว่าเมื่อจบแล้วก็อาจจะอ่านรอบสอง (แต่ยังสงสัยอยู่ว่าจะทำได้หรือ เพราะมีหนังสือเล่มอื่นต่อคิวอีกยาวมาก แต่ทั้งนี้ก็ต้องลดการใช้คอมฯลงไปอีกด้วย)
โดยเนื้อความ ผมว่าเนื้อเรื่องนั้นฝรั่งคนเขียนเขียนดี น่าอ่าน และใครที่อยากเข้าใจความเป็นไปของโลกนี้ก็น่าจะอ่าน ดูเหมือนที่ห้องสมุดคณะก็น่าจะมีนะ
คิดเล่นๆว่าพวกนักการเมืองไทยก็น่าจะอ่าน แต่คิดอีกที พวกนั้นส่วนมากไม่อ่านหรอก จะด้วยเหตุผลอะไรก็คิดเอาเอง
จะไปยุให้ลูกหลานวัยรุ่นอ่าน เขาก็คงไม่อ่านเหมือนกัน ทายได้เลยว่า เขาต้องบอกว่า เอาเวลาไปฟังเพลง หรือ เล่นเน็ต ดีกว่า อะไรแบบนั้น
ความที่เป็นหนังสือแปลก็เลยไม่ค่อยแพง ราคาประมาณ ๔๐๐ บาท (หนังสือฝรั่งมีหรือ ราคา สิบสามเหรียญสหรัฐ) แต่ผมซื้อมาตอนลดราคา เลยจ่ายน้อยกว่านั้น นี่เป็นข้อดี
แต่เนื่องจากเป็นหนังสือฉบับแปลมาเป็นภาษาไทย ก็เลยขาดอรรถรสทางภาษาไปหน่อย และก็ดูเหมือนผู้แปลไม่ได้จบมาทางสายวิทยาศาสตร์ ก็เลยมีข้อบกพร่องในการแปลคำทางเทคนิคอยู่บ้าง และสำนวนอเมริกันบางทีก็อ่านเป็นภาษาไทยเข้าใจยาก ผมต้องเดาเอาว่าภาษาอังกฤษน่าจะเขียนว่ายังไง แล้วค่อยถึงบางอ้อ ว่าแปลว่าอะไร ลำพังอ่านภาษาไทยอย่างเดียวก็งงเต้กไปเหมือนกัน นี้เป็นเหตุผลที่ทำให้ปกติผมไม่ค่อยชอบหนังสือที่แปลมาเป็นภาษาไทยนัก
Monday, August 03, 2009
ซอฟต์แวร์จัดการบรรณานุกรม
ใช้ extension / plugins ของ Firefox ไม่ต้องกลัวตกรุ่น เพราะถึงเวลา ไฟร์ฟ็อกส์จะคอยเช็คการมีอัพเดทปลั๊กอินให้อัตโนมัติ
ปกติผมเป็นคนใช้ Safari เป็นส่วนมาก สงสัยคราวนี้จะเปลี่ยนมาใช้ Firefox เป็นส่วนมากละมัง
แต่ลิงก์ที่ใส่ไว้ข้างบน เป็นบล๊อกของคนไทยท่านหนึ่งที่เขียนติวการใช้ไว้เมื่อหลายเดือนก่อน
Sunday, August 02, 2009
A new Thai book: Following Phra Ubali 's tracks to re-establish Buddhism in Sri Lanka
A small Thai paper back book has just been published. The title can be roughly translated as "Following the tracks of Phra Ubali to re-establish Buddhism in Sri Lanka".
This is a beautiful Thai book, published with a beautiful Thai fonts usually seen in the 18-19th century books, but NOT used in 99.99% of current Thai books. This book also contains lots of color pictures. The coverage is history of Buddhism in Sri Lanka, which lead to the history related to the emissary led by Phra Upali (a royal title given to a senior monk in the Thai kingdom, not his real name), who was sent by King Boromakot of Ayutthaya to re-establish Buddhism in Ceylon some 3 centuries ago. The book cited many Thai and Sri Lanka references. It is suitable for Thai history buffs. (I am not one, just kind of interested in it.)
The author is a Thai Buddhist monk who is currently a Ph.D. student in Sri Lanka. I believe the retail price of the book was 170 Baht, but I paid 200 Baht as a donation to help support a new Stupa (a Buddhist pagoda) construction in Buriram, the home town of the author.
Nuclear ambitious neighbor for Thailand ?
Saturday, August 01, 2009
เมื่อไรจะพ้นความเป็นทาสซอฟต์แวร์การค้าเสียที
มีครั้งหนึ่ง ผมต้องก๊อปแฟ้มผมใส่ทัมป์ไดรฟ์จากเครื่องแม็คไปที่เครื่องพีซีรุ่นโบราณที่ห้องเลขา จากนั้น ก็ต้องไปนั่งใช่โปรแกรม ไมโครซอฟต์เวอร์ดรุ่นพระเจ้าเหา ที่ user interface แสนจะเทอะทะ ใช้งานไม่สะดวก ผมแก้ฟอร์แม็ตไป ผมก็สบถไป (ใช่ ตอนนั้นหลงไปแล้ว ตามไม่ทันจิตที่มีโทสะเข้ามาแทรก) ทำไมผมจะต้องมาทนใช้ซอฟต์แวร์เก่าๆไม่ได้เรื่องอย่างนั้นด้วย แก้ไปแก้มา เสียเวลาเป็นชั่วโมงของคนระดับมันสมอง แย่จริงๆ
ผมฝันว่าเมื่อไรหนอ การส่งบทความ หรือ บทคัดย่อ จะเป็นในฟอร์แม็ตโอเพ่นออฟฟิสเสียที แต่คนที่เรียนมาทาง วิทยาการคอมพิวเตอร์คงจะค้าน คงจะบอกว่า ต้องส่งเป็น เท็ค (TeX) สิ ถึงจะดี ยังไงก็ได้ อะไรที่ไม่ใช่ฟอร์แม็ตที่บริษัทใหญ่ใช้ครอบงำตลาดทั้งโลกเอาไว้อย่างเวลานี้ก็ได้ทั้งนั้น
เดี๋ยวผมจะลองเช็ดกับพรรคพวกดูว่าเราจะทำอะไรได้มั่งในปีหน้า เผื่อว่าจะมีวันแห่งอิสรภาพ จะได้พ้นความเป็นทาสซอฟต์แวร์การค้าเสียที
การค้นพบเมืองโบราณโรมันโดยภาพถ่ายทางอากาศ
Saturday, July 11, 2009
ความไร้ระเบียบในสังคมไทย
คนใกล้ตัวผมก็ไม่สบายแต่ก็ขับรถกลับทางนั้นเหมือนกันก็แทบแย่ กลับถึงบ้านก็อาเจียรหลายรอบ และนอนซมต่อไปทั้งคืน
ผมเขียนมานี้ไม่ได้โกรธอะไรแล้ว แต่ก็อยากจะจดเหตุการณ์นี้ไว้ว่า มันเกิดในสังคมไทยเป็นประจำ และเกิดบ่อยปีละหลายๆครั้ง แต่บังเอิญที่ผมก็รอดสันดอนมาได้ทุกครั้งจนกระทั่งเมื่อวานถึงมาเจอกับตัวเอง
ทำไมคนต้องใช้อารมณ์ ออกมาประท้วง พูดกันดีๆด้วยเหตุผลไม่ได้หรือ ถ้าหน่ายงานรัฐไม่ทำ ก็ยื่นฟ้องศาลปกครองไป หรือหน่วยงานอื่นๆก็มีให้ยื่นตั้งแยะ
ทำไมตำรวจไม่กล้าจัดการ เพราะเขาก็ต้องป้องกันตัวเอง ทำอะไรลงไปก็โดนเล่นงาน เลยไม่ทำดีกว่า
นักการเมืองก็ไม่กล้า เพราะเก้าอี้รัฐบาลก็ไม่ได้แน่นหนาอะไร มีการพยายามหาทางล้มโดยบุคคลบางกลุ่มเพื่อผลประโยชน์ตัวเองเรื่อยๆ
วิธีแก้คือต้องแก้ความคิดความเคยชินในสังคมไทยเสียใหม่ อะไรที่ไม่ถูกไม่ควรต้องเลิกเสีย เช่น ไม่ชอบอะไรก็ออกมาปิดถนนประท้วง หรือ เรื่องรับเงินซื้อเสียงจากนักการเมือง เป็นต้น แต่คงต้องไปทำกับเด็กรุ่นใหม่ คนรุ่นปัจจุบันทำอะไรไม่ได้แล้ว
ผมคิดว่า ต้องไปแก้ที่รากเหง้า คือการศึกษาของเด็กไทย
ตำราเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลและประถมของไทยจะต้องสอนเด็กรุ่นใหม่ ว่าอะไรถูก อะไรไม่ถูก อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ อะไรที่ผู้ใหญ่ทำไม่ดี อย่าไปเอาอย่าง อะไรคือหิริ อะไรคือ โอตัปปะ เพื่อปรับค่านิยมของเขาให้ถูกต้อง ให้มีคุณธรรม มีจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มากกว่าผู้ใหญ่ในรุ่นนี้
ถ้าคุณธรรมของเด็กรุ่นใหม่ไม่ได้รับการแก้ไขให้้ดีขึ้น บ้านเมืองในอนาคตคงจะแย่ลงๆ
ในส่วนตัวผมตอนนั้นก็มองว่า ผมก็รับวิบากกรรมไป พอนึกได้อย่างนี้ก็สบายใจ ใช้กรรมไปเสีย จะได้หมดๆไป กลับถึงบ้าน แม้จะขมับเต้นตุบๆปวดศรีษะ แต่ก็รู้สึกมีความสุขเมื่อถึงบ้าน ยิ้มแย้มแจ่มใจ เพราะเรามีสัมมาสติ และมีสัมปชัญญะ
Tuesday, July 07, 2009
๔๐ ปี อพอลโล ๑๑
วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. ๑๙๖๙) เป็นวันที่นักบินอวกาศสองคนจากยาน อพอลโล ๑๑ ไปลงบนดวงจันทร์ ถึงวันนี้ก็กำลังจะครบ ๔๐ ปีในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ตอนนี้ก็เริ่มมีข่าวต่างประเทศพูดถึงเรื่องนี้ เลยจะรำลึกความหลังเสียหน่อย
เวลาผ่านไปเร็ว เชื่อว่าคนส่วนมากไม่ได้ร่วมประสบการณ์ในเรื่องนี้ ผมก็เลยอยากบันทึกไว้
ในตอนนั้นผมยังเรียนประถมอยู่ ดูเหมือนจะ ประถมปีที่ ๖ (คนอ่านไม่ต้องมาคำนวณอายุคนเขียนได้ไหม) ข่าวคนจะไปลงดวงจันทร์เป็นครั้งแรกนั้น เป็นข่าวใหญ่กันทั่วโลก และนักเรียนก็ตื่นเต้นกันมาก วันนั้นงดการเรียนการสอนไป เพราะจะมีการถ่ายทอดสดจากดวงจันทร์มายังโลก และถ่ายทอดต่อจากอเมริกามายังประเทศได้ด้วย เป็นเรื่องใหญ่มากในตอนนั้น ทางโรงเรียนผม (พันธศึกษา ซอยมิตตคาม สามเสน) ก็จัดการเอาโทรทัศน์ตัวใหญ่(ขาวดำ สมัยนั้นยังไม่มีทีวีสี) มาต้ังบนยกพื้นสูงท่วมหัว ใต้อาคารเรียนหลัก (พื้นเป็นซิเมนต์) พวกเราดูเหมือนจะนั่งเก้าอีไม้ที่ขนมาจากห้องเรียนต่างๆ มาจัดเรียงไว้ใต้ถุนตึก เด็กเป็นร้อยๆคนก็เฝ้าดูการถ่ายทอดสดด้วยความใจจดใจจ่อ ผมยังจำภาพขาวดำวันนั้นได้ดี ก็เป็นภาพการลงดวงจันทร์ที่เห็นได้จากทีวีหรือแหล่งอื่นๆที่เก็บภาพวีดีโอนั้นไว้นั่นเอง แม้จนทุกวันนี้
ผมยังจำได้ว่า หลังการลงดวงจันทร์ ก็มีข่าวต่อไปอีกว่า นักข่าวฝรั่งไปสัมภาษณ์คนโน้นคนนี้หลังคนไปลงบนดวงจันทร์ ส่วนหนึ่งก็ไปถามคนจีนแก่ๆที่ฮ่องกง ว่า ไหนคนจีนเชื่อว่ามีเทพธิดาบนดวงจันทร์ไง มนุษย์อวกาศไปลงแล้วก็ไม่เห็นเจอ อาม่าแกก็บอกว่า ก็มนุษย์อวกาศแต่งตัวน่ากลัว เทพธิดาบนดวงจันทร์คงจะกลัว เลยไปแอบเสีย ไม่ออกมาทักทาย อนึ่ง นักข่าวฝรั่งก็ยังวิพากย์ต่อไปว่า ปกติคนจีนต้องมีประเพณีไหว้พระจันทร์ทุกปี ต่อไปนี้ เมื่อรู้ว่าไม่มีเทพธิดาบนดวงจันทร์ พวกเขาก็อาจจะค่อยๆเลิกประเพณีไหว้พระจันทร์นี้ไปก็ได้
หลังจากเหตุการสำคัญครั้งนั้นแล้ว หลายเดือนต่อมา ผมก็ซื้อหนังสือไว้ด้วยหนึ่งเล่ม เป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงดวงจันทร์คราวนี้ เล่มละ 6 บาท แต่ก็พอๆกับค่าขนมผมวันหนึ่งเลยละ อาจจะเป็นหนังสือเล่มแรกๆของผมที่ผมซื้อด้วยค่าขนมตัวเองก็ได้ (จวบจนแก่ปูนนี้ ตอนนี้ก็เลยมีเป็นหลายๆพันเล่มแล้ว) โพสต์รูปหน้าปกไว้แล้ว สภาพไม่ดีนักแต่ก็ยังอยู่เป็นเล่มอยู่
อีกอย่างก็คือ พวกเราที่ชอบสะสมแสตมป์กันก็ต้่องไปขวนขวายหาแสตมป์อเมริกัน ดวงที่เป็นที่ระลึกการลงดวงจันทร์ครั้งนั้นไว้มาด้วย ผมก็ยังเก็บไว้
(This blog recall the day 40 years ago when I was a primary school student in Bangkok watching global television broadcast on the first man on the moon event)