วันใดที่เราตื่นเช้า เราได้ทำงานก่อนใคร (ที่อยู่ใน time zone เดียวกัน หรือในประเทศเดียวกัน) ขณะที่คนอื่นยังนอนอุตุอยู่ นับว่าได้เปรียบคนอื่น ทีเวลาทำอะไรๆได้แยะ และวางแผนงานในแต่ละวันได้อีก
ถ้าเราตื่นสาย เราก็จะต้องตะลีตะลานไปทำงาน ไม่มีเวลาทำอะไรๆที่ต้องทำในตอนเช้า อาจจะต้องอดข้าวเช้าเพราะไม่มีเวลากิน อาจจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกแยะมากกว่าปกติ เช่นจ่ายค่าทางด่วน ทั้งๆที่ถ้าตื่นเช้าก็จะไม่ต้องขึ้นใช้
หรือถ้าปกติใช้รถเมล์ในวันที่ตื่นเช้า ก็อาจจะจำต้องไปนั่งแท๊กซี่ในวันที่ตื่นสาย
ถ้าตื่นสายมากๆอาจจะได้เริ่มทำงานช้ากว่าคนอื่นเขา บางคนอาจจะโดนตัดเงินเดือนฐานมาสายเสียอีก ถ้าใคนยังเรียนอยู่ก็อาจจะขาดเรียนไปในชั่วโมงแรกๆ
นับว่าเสียการเสียงาน ดังนั้นเวลาถือได้ว่าเป็นต้นทุนชนิดหนึ่ง
แล้วทำไงจะตื่นเช้าได้ ก็ต้องนอนแต่หัวค่ำ
ทำไงจะนอนแต่หัวค่ำได้ ก็ต้องกินอาหารเย็นแต่น้อยๆ อย่าให้อิ่ม ออกกำลังกายเบาๆสัก ๔๐ นาที อายน้ำและเข้าสมาธิสักครึ่งชั่วโมง พอใจสงบก็จะหลับง่าย
เรื่องทีวีน่ะไม่ต้องพูดถึง ไม่มีเวลาดูหรอก
เขียนวันนี้เพราะวันนี้ตื่นสายไปนิด จะได้เตือนตันเองต่อไปด้วย
ปกิณกะ ไทย I posted about interesting items information I found, write my views on books I read, education, science and technology, Buddhism and meditation, economic and business, music, and movies, country and rural development. Articles are in English or Thai.
Friday, July 29, 2005
Monday, July 25, 2005
วารสารวิชาการของไทย ทางวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี
ไปเจอเว็บลิงก์มาอันหนึ่ง เลยแวะไปดู Thai Impact Factor
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/IF_47.html
ผมเข้าใจทันทีว่า น่าจะเกี่ยวเนื่องกับงานวิจัยที่นักวิชาการทางบรรณารักษ์ศาสตร์ที่นั่นท่านทำอยู่คือวิเคราะห์ impact factors สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ของไทย เทียบกับต่างประเทศ เพียงแต่เว็บนี้นำเสนอเฉพาะข้อมูลจากวารสารวิชาการของไทย ไม่ได้เน้นผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ
ยังไม่มีเวลาคลิกไปดูรายละเอียดมากนัก
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/IF_47.html
ผมเข้าใจทันทีว่า น่าจะเกี่ยวเนื่องกับงานวิจัยที่นักวิชาการทางบรรณารักษ์ศาสตร์ที่นั่นท่านทำอยู่คือวิเคราะห์ impact factors สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ของไทย เทียบกับต่างประเทศ เพียงแต่เว็บนี้นำเสนอเฉพาะข้อมูลจากวารสารวิชาการของไทย ไม่ได้เน้นผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ
ยังไม่มีเวลาคลิกไปดูรายละเอียดมากนัก
โปรแกรมสำหรับสร้างและสลับเปลี่ยน เดสก์ท็อปบนแม็คฯ
แม้จะมี เอ๊กซโพเซ่ แต่ก็ยังรู้สึกไม่พออยู่ดี ผมยังอยากได้พื้นที่ทำงานหลายๆพื้นที่บนแม็คฯ ให้เหมือนลินุกส์ เพื่อนผมเลยแนะนำให้ผมไปดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับทำเดสก์ท็อปหลายๆอัน และเปลี่ยนไปมาได้บนแม็คฯ เป็นของ CodeTec ผมลองใช้ดูมาหลายวันแล้ว รู้สึกว่าใช้ได้ดี ทำให้เหมือนกับลินุกส์ ที่มีหลายเดสก์ท็อป สงสัยว่า พอหมดอายุที่ให้ทดลองใช้ ผมจะต้องเสียเงินซื้อเสียแล้ว แต่ไม่ค่อยแพง ดูเหมือนจะแค่ ๔๐ เหรียญสหรัฐฯ
โพสต์จากแม็คฯ ไทเกอร์
โพสต์จากแม็คฯ ไทเกอร์
ช่วยงานเขียน วิกิพีเดีย
ที่ผ่านมาสามสี่สัปดาห์ ผมเริ่มงานช่วยเขียนให้กัย วิกิพีเดีย พากย์ภาษาไทย (Thai Wikipaedia) ความจริงผมรู้จัก วิกิพีเดีย มาหลายปีแหล้ว ก่อนจะมีหน้าภาษาไทยเสียอีก จนเริ่มมีคนทำขึ้น ก็ยังลังเลอยู่สักสองปีได้ละมัง ตอนนี้เลยคิดว่าจะทะยอยช่วย อย่างน้อยก็ใน หัวข้อทางวิชาการที่เรารู้ดี คงเป็นเพราะละอัตตาไปได้แยะละมัง หลังจากเข้าวิปัสสนาบ่อยขึ้น
สัปดาห์แรกๆมีเรื่องโอละพ่อเล๋กน้อย เพราะไปละเมิดลิขสิทธิ์เอกสารของตัวเองเข้า โดยไม่ทันรู้ตัว วิกิ มีเอ็นจิ้นที่มีประสิทธิภาพมาก ไปตรวจเช็คเจอเข้า หลังจากผมปรึกษากับแอ็ดมินของ วิกิไทย แล้ว สุดท้ายเราเลยตัดสินใจ เขียนใหม่หมดดีกว่า คนที่แอบเอาเว็บเก่าของเราไปทำมิเรอร์ไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต เราไม่อยากจะอีเมล์ไปว่าเขาว่าเสียมารยาท ปล่อยไปเหอะ
สัปดาห์แรกๆมีเรื่องโอละพ่อเล๋กน้อย เพราะไปละเมิดลิขสิทธิ์เอกสารของตัวเองเข้า โดยไม่ทันรู้ตัว วิกิ มีเอ็นจิ้นที่มีประสิทธิภาพมาก ไปตรวจเช็คเจอเข้า หลังจากผมปรึกษากับแอ็ดมินของ วิกิไทย แล้ว สุดท้ายเราเลยตัดสินใจ เขียนใหม่หมดดีกว่า คนที่แอบเอาเว็บเก่าของเราไปทำมิเรอร์ไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต เราไม่อยากจะอีเมล์ไปว่าเขาว่าเสียมารยาท ปล่อยไปเหอะ
Thursday, July 21, 2005
ทดสอบโพสต์ครั้งแรกจากแม็คฯ
วันนี้วันอาสาฬหบูชา มาทำงานด้วย อ่านเปเปอร์ไปสักสามฉบับบนจอ ไม่ได้ปรินท์ออกมา ตอนนี้ชักเบื่อ เลยมาลองโพสต์ดู เป็นการทดสอบโพสต์ครั้งแรกจากแม็คฯ ไทเกอร์ โดยใช้ซาฟารี หวังว่าภาษาไทยจะโอเค วันนี้ตั้งใจจะเขียนหนังสือหน่อย เพราะออฟฟิสเงียบดี ในตึกไม่ค่อยมีคนด้วย
Holiday posting test from Safari in Mac OS-X Tiger 10.4.2 on a G5.
Holiday posting test from Safari in Mac OS-X Tiger 10.4.2 on a G5.
โทณปากสูตร (พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย โกสลสังยุตต์)
- มนุชัสสะ สทา สติมะโต
- มนุษย์มีสติทุกเมื่อ
- มัตตัง ชานะโต ลัทธะโภชเน
- รู้ประมาณในการกิน
- ตนุกัสสะ ภวันติ เวทนา
- เวทนาย่อมเบาบางลง
- สณิกัง ชีวติ อายุ ปาลยัง
- อายุย่อมแก่ช้า
Tuesday, July 19, 2005
ประสบการณ์การใช้แม็คฯ โอเอสเท็น ไทเกอร์ วันแรก
การใช้ Mac G5 DPS สองซีพียู 2.0 GHz ที่มีระบบปฏิบัติการเป็น OS-X Tiger 64 bit วันแรกของผม ได้บั้ดดี้ผม ซึ่งเป็นเซียนของแม็คฯ และคอมฯ มาช่วยแนะ ทำให้ทุกอย่างสะดวกขึ้น แม้ว่าผมจะเคยใช้ System 6 มาเมื่อ ๑๐ ปีก่อนก็ตาม
เริ่มต้นวันจากการอัพเดทซอฟต์แวร์ออนไลน์ ซึ่งสะดวกและเร็วมาก และตามด้วยการดาวน์โหลดโปรแกรมที่ต้องการจะใช้ ได้แก่ Emacs และ เลเท็ค (LateX) จากนั้นก็เปิดแอ็คเคาน์ยูสเซอร์เพิ่ม คล้ายกับระบบยูนิกส์ที่คุ้นเคย
ระหว่างที่รอดาวน์โหลดกลายๆตัวพร้อมๆกันนั้น ผมก็เปิด ซาฟารี เว็บเบราเซอร์ ไปอ่านข่าวต่างๆดู สลับกับการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่สะอาด ไม่รุงรังเหมือนวินโดวส์
การเป็นระบบ 64 bit และความที่ภายใต้นั้นเป็นระบบ BSD Unix ทำให้ทุกอย่างเป็น multitasking ทำงานไปพร้อมๆกันได้โดยไม่ต้องกลัวเครื่องแฮงก์แต่อย่างใด
รู้สึกว่าเครื่องเร็ว ตอบสนองได้รื่นไหลดี ไม่ช้า แม้ว่าอัตราความถี่ของเครื่องจะต่ำกว่าเครื่อง 32 bit ที่ใช้ซีพียูจากอินเทลก็ตาม
คุณลักษณะที่เด่นของแม็คฯ โอเอสเท็นรุ่นหลังๆ ที่ผู้ใช้เห็นได้ชัดก็คือ เอ็กซ์โปเซ่ และในไทเกอร์ก็มีเพิ่มมาคือ Spotlight และ Widgets
การมี Expose' ทำให้ผมทำงานได้อย่างสะดวก เปิดหน้าต่างได้แยะๆเป็นสิบได้โดยทำงานอย่างไม่ชะงัก เพราะหน้าต่างหดซูมเข้าออกได้ นี่คือสิ่งที่ผมชอบ
นอกเหนือจากการเปิด terminal เป็น Unix 's bash shell เข้าไปทำงาน หรือติดต่อกับ server ต่างๆที่ต้องการได้สะดวก คล้าย Linux
เครื่องแม็คฯคือสุดยอดของ เดสท็อป คอมพิวเตอร์ ความรู้สึกดีมาก และในบรรดาเครื่องแม็คด้วยกัน เพื่อนชาวแล็ปท้อป G4 ก็ต้องอิจฉาในความเร็วของเครื่อง G5 dual processor ตัวนี้
ผมปรับจอ Sony 17" LCD ของผมให้ resolution สูงสุด ทำให้ได้ภาพคมชัดมาก ความสว่างกำลังดี เจ้าตัวนี้ ตามสเป็คของมันสว่างมากกว่าจอทั่วไปราวสองเท่าที่เดียว
ต่อมาผมเสียบ external USB hard disk เข้ากับเครื่องเพื่อโอนข้อมูลบางส่วนที่สำเนาไว้จากเครื่องวินโดวส์แล็ปท้อปผมไปยังเครื่องแม็ค ข้อมูลก็ไม่น้อย ราว 2 GB มีแฟ้มอยู่เป็นหมื่นแฟ้ม สารพัดชนิด หลังการส่งผ่านข้อมูล
ปรากฎว่า ผมสามารถค้นหาแฟ้มที่เพิ่งก้อปปี้เข้ามาผ่าน สปอตไลท์ได้เจอทันที รวมทั้งคำใน PDF files ด้วย นี่คือสุดยอด ไม่เพียงแต่เท่านั้น เจ้า USB hard disk ที่ยังคงเมานท์อยู่กับระบบก็โดน search เจอไปด้วย (ในนั้นมีข้อมูลตั้ง 50 GB เชียวนะ)
ทำเอาผมทึ่งมากในความสามารถอันยอดเยี่ยม ต้องซูฮก สตีฟ จ้อบส์ กับวิศวกรของเขาจริงๆ ... นับถือๆ
การติดตั้งซอฟต์แวร์หลังดาวน์โหลดก็ง่ายมาก ติดเสร็จก็ลาก icon ไปไว้ใน dock ก็ได้ short cut ที่ซูมเข้าออกได้อีก
เจ้า widgets ที่ผมชอบก็คือ dictionary & thesaurus และ translation แต่ยังไม่มีภาษาไทย คิดเล่นๆอยู่ว่า ถ้ามีเวลาอยากจะลองทำ widget มั่ง
เริ่มต้นวันจากการอัพเดทซอฟต์แวร์ออนไลน์ ซึ่งสะดวกและเร็วมาก และตามด้วยการดาวน์โหลดโปรแกรมที่ต้องการจะใช้ ได้แก่ Emacs และ เลเท็ค (LateX) จากนั้นก็เปิดแอ็คเคาน์ยูสเซอร์เพิ่ม คล้ายกับระบบยูนิกส์ที่คุ้นเคย
ระหว่างที่รอดาวน์โหลดกลายๆตัวพร้อมๆกันนั้น ผมก็เปิด ซาฟารี เว็บเบราเซอร์ ไปอ่านข่าวต่างๆดู สลับกับการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่สะอาด ไม่รุงรังเหมือนวินโดวส์
การเป็นระบบ 64 bit และความที่ภายใต้นั้นเป็นระบบ BSD Unix ทำให้ทุกอย่างเป็น multitasking ทำงานไปพร้อมๆกันได้โดยไม่ต้องกลัวเครื่องแฮงก์แต่อย่างใด
รู้สึกว่าเครื่องเร็ว ตอบสนองได้รื่นไหลดี ไม่ช้า แม้ว่าอัตราความถี่ของเครื่องจะต่ำกว่าเครื่อง 32 bit ที่ใช้ซีพียูจากอินเทลก็ตาม
คุณลักษณะที่เด่นของแม็คฯ โอเอสเท็นรุ่นหลังๆ ที่ผู้ใช้เห็นได้ชัดก็คือ เอ็กซ์โปเซ่ และในไทเกอร์ก็มีเพิ่มมาคือ Spotlight และ Widgets
การมี Expose' ทำให้ผมทำงานได้อย่างสะดวก เปิดหน้าต่างได้แยะๆเป็นสิบได้โดยทำงานอย่างไม่ชะงัก เพราะหน้าต่างหดซูมเข้าออกได้ นี่คือสิ่งที่ผมชอบ
นอกเหนือจากการเปิด terminal เป็น Unix 's bash shell เข้าไปทำงาน หรือติดต่อกับ server ต่างๆที่ต้องการได้สะดวก คล้าย Linux
เครื่องแม็คฯคือสุดยอดของ เดสท็อป คอมพิวเตอร์ ความรู้สึกดีมาก และในบรรดาเครื่องแม็คด้วยกัน เพื่อนชาวแล็ปท้อป G4 ก็ต้องอิจฉาในความเร็วของเครื่อง G5 dual processor ตัวนี้
ผมปรับจอ Sony 17" LCD ของผมให้ resolution สูงสุด ทำให้ได้ภาพคมชัดมาก ความสว่างกำลังดี เจ้าตัวนี้ ตามสเป็คของมันสว่างมากกว่าจอทั่วไปราวสองเท่าที่เดียว
ต่อมาผมเสียบ external USB hard disk เข้ากับเครื่องเพื่อโอนข้อมูลบางส่วนที่สำเนาไว้จากเครื่องวินโดวส์แล็ปท้อปผมไปยังเครื่องแม็ค ข้อมูลก็ไม่น้อย ราว 2 GB มีแฟ้มอยู่เป็นหมื่นแฟ้ม สารพัดชนิด หลังการส่งผ่านข้อมูล
ปรากฎว่า ผมสามารถค้นหาแฟ้มที่เพิ่งก้อปปี้เข้ามาผ่าน สปอตไลท์ได้เจอทันที รวมทั้งคำใน PDF files ด้วย นี่คือสุดยอด ไม่เพียงแต่เท่านั้น เจ้า USB hard disk ที่ยังคงเมานท์อยู่กับระบบก็โดน search เจอไปด้วย (ในนั้นมีข้อมูลตั้ง 50 GB เชียวนะ)
ทำเอาผมทึ่งมากในความสามารถอันยอดเยี่ยม ต้องซูฮก สตีฟ จ้อบส์ กับวิศวกรของเขาจริงๆ ... นับถือๆ
การติดตั้งซอฟต์แวร์หลังดาวน์โหลดก็ง่ายมาก ติดเสร็จก็ลาก icon ไปไว้ใน dock ก็ได้ short cut ที่ซูมเข้าออกได้อีก
เจ้า widgets ที่ผมชอบก็คือ dictionary & thesaurus และ translation แต่ยังไม่มีภาษาไทย คิดเล่นๆอยู่ว่า ถ้ามีเวลาอยากจะลองทำ widget มั่ง
Monday, July 18, 2005
คำไทย ที่คนใช้สลับหรือผิดความหมายไปจากเดิม
อนุสนธิจากวันก่อนที่ได้หนังสือมา ๒ เล่ม ส่งมาให้จากมติชนเป็นของกำนัลแด่สมาชิกวารสารศิลปวัฒนธรรม เขาส่งมาให้เป็นประจำทุกๆปี มีเล่มหนึ่งหนาหน่อย พลิกๆดูเป็นเรื่องเกี่ยวกับส้วม อ่านดูคร่าวๆจึงได้ความรู้ใหม่ว่า
คำว่าส้วมนั้น ทางอีสาณเดิมใช้หมายความว่า ห้องนอนลูกสาว คือเป็นห้องพิเศษเฉพาะ อาจจะเล็กๆ แต่ปัจจุบันนี้ความหมายที่คนรับรู้กันกลายเป็น เว็จ ซะนี่ คนภาคกลางคงเป็นห้องเล็กๆเหมือนกันละมัง
จากคำนี้ ทำให้ผมนึกไปไกลถึงคำอื่นๆอีกหลายคำที่เคยได้ยินมา
ภาษาไทยเนี่ย คนที่ฟังหูไม่กระดิกใช้ผิดกันแยะ อย่างคำว่า รุ้ง หมายถึงนกเหยี่ยวชนิดหนึ่ง อย่างเช่นในกลอนเรื่องพระอภัยมณีที่ว่า "เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา" คนก็ไปนึกว่าเป็นรุ้งกินน้ำเสียฉิบ
คอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำ แย่จริงๆ
มีคำไทยอยู่หลายๆคำ ที่คนปัจจุบัน ใช้สลับความหมายกับที่คนโบราณเคยใช้ไปแยะ อย่างคำว่า แพ้ เนี่ย สมัยก่อนแปลว่าชนะ ซึ่งตรงข้ามกับคำว่าพ่าย
คำนี้ตอนหลังคนเข้าใจมากขึ้น ต้องขอบคุณหนังเรื่อง สุริโยทัย และก็นักพากย์กีฬาทั้งหลาย ที่พยายามใช้คำว่าพ่ายกันมากขึ้น
อีกอย่างที่นึกได้ก็ คำว่าวันหน้า กับวันหลัง วันหน้าคือวันที่ยังมาไม่ถึง วันหลังนั้นผ่านไปแล้ว คนที่ใช้สลับกันก็ยังมีแยะ เช่นถ้าเราชวนเพื่อนไปกินข้าว เพื่อนยังไม่ว่างก็ผลัดไว้ก่อน อาจจะบอกว่า "เฮ้ย เอาไว้วันหลัง" แบบนี้ก็ผิด แต่เป็นอันรู้กันว่าเขาหมายความถึงผลัดไว้วันหน้า
อีกคำ ผมมักได้ยินจากชาวไทยเชื้อสายจีน หลายคนชอบใช้คำว่า เช้าๆ แทนความหมายว่า เร็วๆ อย่างเช่นพูดว่า "วันนี้นอนเช้าๆหน่อยสิ" แทนที่จะพูดว่า วันนี้นอนเร็วหน่อยสิ หรือไม่ก็ วันนี้นอนแต่หัวค่ำสิ
หรือภรรยาบอกสามีก่อนออกไปทำงานตอนเช้าว่า วันนี้กลับบ้านเช้าหน่อยนะ ก็เป็นอันได้ผล เจ้าประคุณสามีคงจะกลับมาบ้านเช้าวันรุ่งขึ้นแน่นอน ผิดความประสงค์ของอาซ้อผู้เป็นภรรยา
ตอนนี้ความหายเลยเลือนไปแล้ว ใครฟังแล้วไม่รู้อาจจะนึกว่า คำว่าเช้าแปลว่าค่ำไปแล้ว
คำว่าส้วมนั้น ทางอีสาณเดิมใช้หมายความว่า ห้องนอนลูกสาว คือเป็นห้องพิเศษเฉพาะ อาจจะเล็กๆ แต่ปัจจุบันนี้ความหมายที่คนรับรู้กันกลายเป็น เว็จ ซะนี่ คนภาคกลางคงเป็นห้องเล็กๆเหมือนกันละมัง
จากคำนี้ ทำให้ผมนึกไปไกลถึงคำอื่นๆอีกหลายคำที่เคยได้ยินมา
ภาษาไทยเนี่ย คนที่ฟังหูไม่กระดิกใช้ผิดกันแยะ อย่างคำว่า รุ้ง หมายถึงนกเหยี่ยวชนิดหนึ่ง อย่างเช่นในกลอนเรื่องพระอภัยมณีที่ว่า "เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา" คนก็ไปนึกว่าเป็นรุ้งกินน้ำเสียฉิบ
คอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำ แย่จริงๆ
มีคำไทยอยู่หลายๆคำ ที่คนปัจจุบัน ใช้สลับความหมายกับที่คนโบราณเคยใช้ไปแยะ อย่างคำว่า แพ้ เนี่ย สมัยก่อนแปลว่าชนะ ซึ่งตรงข้ามกับคำว่าพ่าย
คำนี้ตอนหลังคนเข้าใจมากขึ้น ต้องขอบคุณหนังเรื่อง สุริโยทัย และก็นักพากย์กีฬาทั้งหลาย ที่พยายามใช้คำว่าพ่ายกันมากขึ้น
อีกอย่างที่นึกได้ก็ คำว่าวันหน้า กับวันหลัง วันหน้าคือวันที่ยังมาไม่ถึง วันหลังนั้นผ่านไปแล้ว คนที่ใช้สลับกันก็ยังมีแยะ เช่นถ้าเราชวนเพื่อนไปกินข้าว เพื่อนยังไม่ว่างก็ผลัดไว้ก่อน อาจจะบอกว่า "เฮ้ย เอาไว้วันหลัง" แบบนี้ก็ผิด แต่เป็นอันรู้กันว่าเขาหมายความถึงผลัดไว้วันหน้า
อีกคำ ผมมักได้ยินจากชาวไทยเชื้อสายจีน หลายคนชอบใช้คำว่า เช้าๆ แทนความหมายว่า เร็วๆ อย่างเช่นพูดว่า "วันนี้นอนเช้าๆหน่อยสิ" แทนที่จะพูดว่า วันนี้นอนเร็วหน่อยสิ หรือไม่ก็ วันนี้นอนแต่หัวค่ำสิ
หรือภรรยาบอกสามีก่อนออกไปทำงานตอนเช้าว่า วันนี้กลับบ้านเช้าหน่อยนะ ก็เป็นอันได้ผล เจ้าประคุณสามีคงจะกลับมาบ้านเช้าวันรุ่งขึ้นแน่นอน ผิดความประสงค์ของอาซ้อผู้เป็นภรรยา
ตอนนี้ความหายเลยเลือนไปแล้ว ใครฟังแล้วไม่รู้อาจจะนึกว่า คำว่าเช้าแปลว่าค่ำไปแล้ว
แมคฯ ตัวใหม่สำหรับลุยงาน
เมื่อวันศุกร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่สำหรับออฟฟิสผมมาแล้ว หลังจากล่าช้าไปนาน
เครื่อง แมคคินทอช ที่ผมเพิ่งได้มา เป็นเครื่อง Mac G5 2.0 GHz Dual processor ตัวเบ้อเริ่ม แต่เงียบกริบ ไม่มีเสียงเลย ตั้งอยู่ที่พื้นห้องข้างๆโต๊ะอย่างสวยงาม และ สง่า
ทำให้เจ้า Hewlett-Packard Pentium 4 tower ที่ผมลง Linux TLE 7.0 เอาไว้และตั้งอยู่ใต้โต๊ะทำงานดูเล็กไปแยะ
บนโต๊ะทำงานผม เลยมีจอแอลซีดีสองตัว ตัวเดิมเป็นของ HP อีกตัวเป็นจอใหม่ Sony 17" ที่ซื้อมาใช้กับเครื่องแม็คฯ (ผมไม่มีปัญญาซื้อจอจากแม็ค เพราะแพงมาก ขนาด 20" ราคากว่า ๔ หมื่นบาท
ของโซนี่ 17" ราคาหมื่นกว่าบาทเอง) จอสองตัวบนโต๊ะทำเอาไม่มีที่วางเครื่องแล็ปทอปเดิมของผม สงสัยต้องงดใช้เตรียมปลดเกษียณให้ลูก เพราะเจ้า toaster laptop นี่ใช้มา ๓ ปีแล้ว
เมื่อเปิดเครื่องจีไฟฟ์ดู ความรู้สึกเมื่อสิบปีก่อนก็หวลคืนมา Finder ยังคงอยู่ เมนูด้านบนจอยังคงความรู้สึกเดิม
บรรดาเพื่อนๆชาวแม็คฯแห่กันเข้ามาชื่นชม หลายคนที่นี่ใช้ PowerBook 12" กันเป็นหลัก ต่างก็ชมว่า เครื่อง G5 สองซีพียูนี้เร็วมาก คนนึงลงนั่งจัดแจงเปิดหน้าต่างเทอร์มินัลแอบเปิดดูไอพีนัมเบอร์ของเครื่องนี้เรียบร้อย
บอกว่า ถ้าเผลอเมื่อไรจะแอบโยนจ๊อบเข้ามารัน โอเค โนพรอบเบล็ม
กล่องยูพีเอสของ Leonics 1000 KVa ยังคงไม่ได้แกะ วางเกะกะอยู่ รวมกับกล่องกระดาษแข็งที่ใส่เครื่องมา ผมมัวอยากลองเครื่องคอมฯใหม่ ยังไม่มีเวลาไปชาร์จแบตเตอรีค้างคืน
เครื่อง แมคคินทอช ที่ผมเพิ่งได้มา เป็นเครื่อง Mac G5 2.0 GHz Dual processor ตัวเบ้อเริ่ม แต่เงียบกริบ ไม่มีเสียงเลย ตั้งอยู่ที่พื้นห้องข้างๆโต๊ะอย่างสวยงาม และ สง่า
ทำให้เจ้า Hewlett-Packard Pentium 4 tower ที่ผมลง Linux TLE 7.0 เอาไว้และตั้งอยู่ใต้โต๊ะทำงานดูเล็กไปแยะ
บนโต๊ะทำงานผม เลยมีจอแอลซีดีสองตัว ตัวเดิมเป็นของ HP อีกตัวเป็นจอใหม่ Sony 17" ที่ซื้อมาใช้กับเครื่องแม็คฯ (ผมไม่มีปัญญาซื้อจอจากแม็ค เพราะแพงมาก ขนาด 20" ราคากว่า ๔ หมื่นบาท
ของโซนี่ 17" ราคาหมื่นกว่าบาทเอง) จอสองตัวบนโต๊ะทำเอาไม่มีที่วางเครื่องแล็ปทอปเดิมของผม สงสัยต้องงดใช้เตรียมปลดเกษียณให้ลูก เพราะเจ้า toaster laptop นี่ใช้มา ๓ ปีแล้ว
เมื่อเปิดเครื่องจีไฟฟ์ดู ความรู้สึกเมื่อสิบปีก่อนก็หวลคืนมา Finder ยังคงอยู่ เมนูด้านบนจอยังคงความรู้สึกเดิม
บรรดาเพื่อนๆชาวแม็คฯแห่กันเข้ามาชื่นชม หลายคนที่นี่ใช้ PowerBook 12" กันเป็นหลัก ต่างก็ชมว่า เครื่อง G5 สองซีพียูนี้เร็วมาก คนนึงลงนั่งจัดแจงเปิดหน้าต่างเทอร์มินัลแอบเปิดดูไอพีนัมเบอร์ของเครื่องนี้เรียบร้อย
บอกว่า ถ้าเผลอเมื่อไรจะแอบโยนจ๊อบเข้ามารัน โอเค โนพรอบเบล็ม
กล่องยูพีเอสของ Leonics 1000 KVa ยังคงไม่ได้แกะ วางเกะกะอยู่ รวมกับกล่องกระดาษแข็งที่ใส่เครื่องมา ผมมัวอยากลองเครื่องคอมฯใหม่ ยังไม่มีเวลาไปชาร์จแบตเตอรีค้างคืน
Friday, July 15, 2005
ทำไมผมถึงหันมาใช้แม็ค โอเอสเท็น รุ่น ไทเกอร์
ผมมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องสมรรถนะสูง และเปิดหน้าต่างทำอะไรต่ออะไรเต็มไปหมด ยูนิกส์เป็นระบบที่ทำให้ผมทำงานได้สะดวกกว่าวินโดวส์ นอกจากนั้น เครื่องก็ไม่แฮงก์ด้วย
คำอธิบายเพิ่มเติมก็คือโอเอสเท็นนั้นมีพื้นฐานเป็นระบบยูนิกส์ ซึ่งกำเนิดมาเกือบ ๔๐ ปีแล้ว มีความเสถียรมาก และปลอดภัยสูง และมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
และแอ็ปเปิลเองก็มีอัพเกรดย่อยของโอเอสให้เฉลี่ยราวทุก ๒ เดือน
ความจริงผมก็ชอบลินุกส์ และใช้อยู่เหมือนกัน แต่ ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสชองแม็คทำได้เยี่ยมยอดกว่ามาก การใช้เครื่องสำคัญที่ซอฟต์แวร์ และความรู้สึกในการใช้แมคนั้นเยี่ยมที่สุด
และ ถ้าไม่พูดเรื่องดีไซน์ของยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่เยี่ยมยอดแล้ว
คุณภาพของตัวเครื่องก็เฉียบ มีการเลือกอุปกรณ์ที่มีการควบคุมคุณภาพเป็นอย่างดีมาประกอบ โอกาสเสียน้อยมาก
ถ้าคนทำงานมีอาชีพที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ก็ต้องใช้เครื่องที่เยี่ยมที่สุดนั้นแหละ ว่ากันว่า ขนาด ไลนัส ทอร์วาล เจ้าพ่อลินุกส์ยังใช้เครื่องแม็คฯเลย
ย้อนกลับมาเรื่องไทเกอร์อีกที ฟีเจอร์ที่พูดกันมากก็คือ สปอตไลท์ กับ วิดเจ็ต นั้น บรรดาผู้ใช้ก็ต่างเห็นกันว่าเยี่ยมมาก
อย่างสปอตไลท์นั้นเหมาะสำหรับคนขี้ลืม (รวมผมด้วย)เป็นอย่างดี และแก้เรื่อง search แฟ้มเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่เจ้าวินโดวส์ก็ไม่เคยจำซักทีว่ามันอยู่ตรงไหน ต้องหาใหม่ทุกครั้ง ได้ชงัด
ปัญหาอย่างเดียวของสปอตไลต์สำหรับคนที่เป็นโปรแกรมเมอร์คือ อาจจะต้องปิดมันเสียในขณะเขียนรันโปรแกรมบางอย่างที่สร้างไฟล์เอาท์พุทที่มีดาต้าจำนวนมาก อย่างจีโนมเดต้านั่น ไม่งั้นจะให้ให้เครื่องช้าลงมาก
บางคนให้ความเห็นบอกว่าคุณภาพของไทเกอร์ตอนนี้ดูจะยังไม่ค่อยนิ่งเท่าไร อาจจะนิ่งดีในราวปลายปีนี้ เมื่อเวอร์ชั่นขึ้นไปถึง 10.4.3 เป็นอย่างน้อย
สำหรับผมนั้นฝันไกลไปถึง โอเอสรุ่นต่อไปของแมคที่ชื่อว่า ลีโอพาร์ดไปแล้ว อาจจะออกมาในปลายปีหน้าเพื่อชนกับ ลองฮอร์น ก็ได้ ผมเชื่อว่า อินเตอร์เฟสน่าจะดียิ่งขึ้น อาจจะไปถึงขนาด ๓ มิติก็ได้ เพื่อเตรียมรับมือกับลูกเล่น ลองฮอร์นของไมโครซอฟต์
อย่างไรก็ดี ผมยังนึกไม่ออกว่า การมีอินเตอร์เฟสเป็นทรีดี จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้สูงขึ้น หรือสูงขึ้นมากอย่างไร
ไทเกอร์ออกมานี่ แฟนแอปเปิ้ลหลายๆคนเชื่อกันว่า มาร์เก็ตแชร์ของไมโครซอฟต์อาจจะค่อยๆลดลงก็เป็นได้ สำหรับผมนั้นอยากจะรอดูปลายปีหน้า คิดว่า สตีฟ จ้อบส์ จะมีเซอร์ไพรส์อะไรประกาศออกมา แล้วคนทั่วโลกก็จะรู้กันเองแน่ว่าความเห็นนั้นจะจริงหรือเปล่า
คำอธิบายเพิ่มเติมก็คือโอเอสเท็นนั้นมีพื้นฐานเป็นระบบยูนิกส์ ซึ่งกำเนิดมาเกือบ ๔๐ ปีแล้ว มีความเสถียรมาก และปลอดภัยสูง และมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
และแอ็ปเปิลเองก็มีอัพเกรดย่อยของโอเอสให้เฉลี่ยราวทุก ๒ เดือน
ความจริงผมก็ชอบลินุกส์ และใช้อยู่เหมือนกัน แต่ ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสชองแม็คทำได้เยี่ยมยอดกว่ามาก การใช้เครื่องสำคัญที่ซอฟต์แวร์ และความรู้สึกในการใช้แมคนั้นเยี่ยมที่สุด
และ ถ้าไม่พูดเรื่องดีไซน์ของยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่เยี่ยมยอดแล้ว
คุณภาพของตัวเครื่องก็เฉียบ มีการเลือกอุปกรณ์ที่มีการควบคุมคุณภาพเป็นอย่างดีมาประกอบ โอกาสเสียน้อยมาก
ถ้าคนทำงานมีอาชีพที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ก็ต้องใช้เครื่องที่เยี่ยมที่สุดนั้นแหละ ว่ากันว่า ขนาด ไลนัส ทอร์วาล เจ้าพ่อลินุกส์ยังใช้เครื่องแม็คฯเลย
ย้อนกลับมาเรื่องไทเกอร์อีกที ฟีเจอร์ที่พูดกันมากก็คือ สปอตไลท์ กับ วิดเจ็ต นั้น บรรดาผู้ใช้ก็ต่างเห็นกันว่าเยี่ยมมาก
อย่างสปอตไลท์นั้นเหมาะสำหรับคนขี้ลืม (รวมผมด้วย)เป็นอย่างดี และแก้เรื่อง search แฟ้มเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่เจ้าวินโดวส์ก็ไม่เคยจำซักทีว่ามันอยู่ตรงไหน ต้องหาใหม่ทุกครั้ง ได้ชงัด
ปัญหาอย่างเดียวของสปอตไลต์สำหรับคนที่เป็นโปรแกรมเมอร์คือ อาจจะต้องปิดมันเสียในขณะเขียนรันโปรแกรมบางอย่างที่สร้างไฟล์เอาท์พุทที่มีดาต้าจำนวนมาก อย่างจีโนมเดต้านั่น ไม่งั้นจะให้ให้เครื่องช้าลงมาก
บางคนให้ความเห็นบอกว่าคุณภาพของไทเกอร์ตอนนี้ดูจะยังไม่ค่อยนิ่งเท่าไร อาจจะนิ่งดีในราวปลายปีนี้ เมื่อเวอร์ชั่นขึ้นไปถึง 10.4.3 เป็นอย่างน้อย
สำหรับผมนั้นฝันไกลไปถึง โอเอสรุ่นต่อไปของแมคที่ชื่อว่า ลีโอพาร์ดไปแล้ว อาจจะออกมาในปลายปีหน้าเพื่อชนกับ ลองฮอร์น ก็ได้ ผมเชื่อว่า อินเตอร์เฟสน่าจะดียิ่งขึ้น อาจจะไปถึงขนาด ๓ มิติก็ได้ เพื่อเตรียมรับมือกับลูกเล่น ลองฮอร์นของไมโครซอฟต์
อย่างไรก็ดี ผมยังนึกไม่ออกว่า การมีอินเตอร์เฟสเป็นทรีดี จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้สูงขึ้น หรือสูงขึ้นมากอย่างไร
ไทเกอร์ออกมานี่ แฟนแอปเปิ้ลหลายๆคนเชื่อกันว่า มาร์เก็ตแชร์ของไมโครซอฟต์อาจจะค่อยๆลดลงก็เป็นได้ สำหรับผมนั้นอยากจะรอดูปลายปีหน้า คิดว่า สตีฟ จ้อบส์ จะมีเซอร์ไพรส์อะไรประกาศออกมา แล้วคนทั่วโลกก็จะรู้กันเองแน่ว่าความเห็นนั้นจะจริงหรือเปล่า
Wednesday, July 13, 2005
ควันหลงจาก โอลิมปิกส์วิชาการ
ได้ทราบข่าวดีเช่นทุกปีว่า นักเรียน ม. ๖ ไทย ที่ไปแข่งขัน โอลิมปิกส์วิชาการได้รางวัลกันมาอีก เช่นเคย เท่าที่เป็นมาหลายปีแล้ว เป็นเรื่องน่ายินดี แต่ทว่าสังคมก็ไม่ควรลิงโลดกันจนขาดความสำนึก
การที่ได้รางวัลมานั้น นอกจากเด็กๆจะต้องศึกษา มุ่งมั่นเพื่อจะเอาเหรียญให้ได้ ครูพี่เลี้ยงก็ต้องดูแลอย่างมาก ต้องไปเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยมาติว พ่อแม่ต้องเข้าใจและสนับสนุน โรงเรียนก็ต้องสนับสนุน งบประมาณถ้าไม่มีอาจจะต้องขอจากสมาคมผู้ปกครองและครูฯ ถ้าไม่มีก็ต้องไปหาจากสปอนเซอร์ (อย่างบางโรงเรียนเช่น สวนกุหลาบ ศิษย์เก่ารุ่นต่างๆก็ลงเงินไปช่วยแยะมาก) โดยส่วนรวม
สมาคมวิทยาศาตร์ก็เข้าไปช่วยดู แต่จุดที่สะกิดใจผมก็คือ เคยได้ยินมาว่าข้อสอบวิชาต่างๆนั้น มันเกินหลักสูตรมัธยมฯบ้านเรา ไปมาก ทำให้ต้องมีการคัดเด็กเข้าค่าย ให้อาจารย์มหาวิทยลัยต่างๆช่วยติววิชาการระดับปีหนึ่งปีสองให้ นี่เป็นข้อมูลเมื่อสองสามปีมาแล้วที่ได้ยินมา
สิ่งที่ผมคิดสงสัยอยู่ และไม่รู้ก็คือว่า ในหลักสูตรใหม่ที่ปรับปรุงแล้วนี้ ได้มีความพยายามยกระดับหลักสูตรวิทยาศาสตร์มัธยมบ้านเรา ให้ทันสมัยกันเท่าอารยประเทศกันบ้างแล้วหรือเปล่า เพราะอยากให้การเรียนแบบเนื้อหาใหม่ๆไม่ตกเฉพาะกลุ่มเด็กที่จะสอบโอลิมปิกส์ เท่านั้น แต่อยากให้ครอบคลุมทั่วไปทั้งประเทศ สมัยก่อนเคยพูดกันว่า ต้องใช้เงินเป็นหมื่นๆล้านเพื่อปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนทั่วประเทศ ก็เลยไม่ทำกัน แต่ตอนนี้ทำแล้ว ไม่ทราบว่ามีปัญหาอย่างไรก็ไม่รู้ ลูกผมก็ยังเรียนไม่ถึงมัธยมฯ ไม่งั้นก็จะรู้แน่
Posted from my Linux TLE 7 box via Firefox (Thai modified)
การที่ได้รางวัลมานั้น นอกจากเด็กๆจะต้องศึกษา มุ่งมั่นเพื่อจะเอาเหรียญให้ได้ ครูพี่เลี้ยงก็ต้องดูแลอย่างมาก ต้องไปเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยมาติว พ่อแม่ต้องเข้าใจและสนับสนุน โรงเรียนก็ต้องสนับสนุน งบประมาณถ้าไม่มีอาจจะต้องขอจากสมาคมผู้ปกครองและครูฯ ถ้าไม่มีก็ต้องไปหาจากสปอนเซอร์ (อย่างบางโรงเรียนเช่น สวนกุหลาบ ศิษย์เก่ารุ่นต่างๆก็ลงเงินไปช่วยแยะมาก) โดยส่วนรวม
สมาคมวิทยาศาตร์ก็เข้าไปช่วยดู แต่จุดที่สะกิดใจผมก็คือ เคยได้ยินมาว่าข้อสอบวิชาต่างๆนั้น มันเกินหลักสูตรมัธยมฯบ้านเรา ไปมาก ทำให้ต้องมีการคัดเด็กเข้าค่าย ให้อาจารย์มหาวิทยลัยต่างๆช่วยติววิชาการระดับปีหนึ่งปีสองให้ นี่เป็นข้อมูลเมื่อสองสามปีมาแล้วที่ได้ยินมา
สิ่งที่ผมคิดสงสัยอยู่ และไม่รู้ก็คือว่า ในหลักสูตรใหม่ที่ปรับปรุงแล้วนี้ ได้มีความพยายามยกระดับหลักสูตรวิทยาศาสตร์มัธยมบ้านเรา ให้ทันสมัยกันเท่าอารยประเทศกันบ้างแล้วหรือเปล่า เพราะอยากให้การเรียนแบบเนื้อหาใหม่ๆไม่ตกเฉพาะกลุ่มเด็กที่จะสอบโอลิมปิกส์ เท่านั้น แต่อยากให้ครอบคลุมทั่วไปทั้งประเทศ สมัยก่อนเคยพูดกันว่า ต้องใช้เงินเป็นหมื่นๆล้านเพื่อปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนทั่วประเทศ ก็เลยไม่ทำกัน แต่ตอนนี้ทำแล้ว ไม่ทราบว่ามีปัญหาอย่างไรก็ไม่รู้ ลูกผมก็ยังเรียนไม่ถึงมัธยมฯ ไม่งั้นก็จะรู้แน่
Posted from my Linux TLE 7 box via Firefox (Thai modified)
Monday, July 11, 2005
สุดสัปดาห์กับการอ่านหนังสือของผม
ผมซื้อหนังสือ Programming Perl หรือที่ชาวเพอลเรียกว่า The Camel Book มาตั้งสองปีแล้วละมัง ยังอ่านไม่จบซักที แม้ว่าตอนต้นเล่มจะอ่านมาแล้วสี่จบแต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังอ่านข้ามไปอยู่ ตั้งใจว่าจะพยายามอ่านให้จบในเดือนนี้ อย่างน้อยให้ผ่านตาบางส่วนหนึ่งเที่ยว ขนาดพาลูกไปเรียนเปียโน กับไปชอบปิ้งที่ซุปเปอร์ฯ ผมก็ยังอุตส่าห์กระเตงคัมภีร์เล่มหนาเกือบพันหน้านี่ไปด้วยทุกๆที่ แต่ก็ได้ผล มีความก้าวหน้าไปได้หลายสิบหน้า ส่วนหูกับรับฟังซีดีเพลงคลาสสิคจากหูฟัง CD Walkman ที่กระเตงใส่กระเป๋าห้อยเอว บวกกับใส่กางเกงยีนส์ตัวใหม่ดูแล้วเห็นทีจะกระชากวัยลงไปได้แยะ อายุอาจจะหายไปสักหนึ่งทศวรรษละมัง
ต่อมากลับบ้าน รู้สึกเบื่อเรื่องโปรแกรมมิ่ง จึงไปงัดหนังสือนวนิยายเรื่อง สุริยวรรณมัน ของ ทมยันตี ออกมากอ่านสลับบรรยากาศ ไม่อ่านจนจบหรอก พอหายเบื่อก็จะกลับไปอ่านเจ้าหนังสืออูฐนั่นต่อ
ต่อมากลับบ้าน รู้สึกเบื่อเรื่องโปรแกรมมิ่ง จึงไปงัดหนังสือนวนิยายเรื่อง สุริยวรรณมัน ของ ทมยันตี ออกมากอ่านสลับบรรยากาศ ไม่อ่านจนจบหรอก พอหายเบื่อก็จะกลับไปอ่านเจ้าหนังสืออูฐนั่นต่อ
Subscribe to:
Posts (Atom)