ความจริงเรื่องของเวลา ปีหนี่งๆเป็นเรื่องสมมุติอีกเรื่องหนึ่งที่คนเราจัดตั้งขึ้นมา คนส่วนมากพอสิ่นปีหนึ่งๆก็ต้องฉลองกันใหญ่ ขาดสติเป็นส่วนมาก ตอนนี้พิมพ์นี้ก็คนจุดประทัดดังสนั่นหนวกหู หาได้นึกไม่ว่ารบกวนคนอื่นเขา และบางคนอาจจะนึกด่าเอาได้
ในส่วนตัวผมเอง แม้ปากจะบอกว่ามันเป็นเรื่องสมมุติ แต่วันปีใหม่ มันเป็นหลักหมุดบอกตำแหน่งว่า ปีที่ผ่านมา ทำอะไรไปบ้าง พบว่าตนเองไม่ได้ทำอะไรอีกแยะ ที่สมควรทำ ก็ตั้งความหวังไว้ว่า จะได้ทำอะไรๆให้มันดีกว่าในปีหน้าที่จะมาถึงในอีกสามสี่ชั่วโมงข้างหน้านี้
โพสต์นี้อาจจะเป็นโพสต์สุดท้ายของปี ก็เลยจะเอารูปมาลงไว้
ปกิณกะ ไทย I posted about interesting items information I found, write my views on books I read, education, science and technology, Buddhism and meditation, economic and business, music, and movies, country and rural development. Articles are in English or Thai.
Thursday, December 31, 2009
Wednesday, December 30, 2009
เกือบไม่ได้ดูหนัง
สักสองอาทิตย์ก่อน ผมอ่านข่าวบนอินเตอร์เน็ตเมื่อวันที่หนังเรื่อง อวตาร เปิดตัวรอบปฐมทัศน์ ในสหรัฐ แล้วคนบอกว่าดีมาก วันต่อๆมาฝรั่งจำนวนมากก็บอกว่าไปดูสองรอบบ้าง สามรอบบ้าง ผมก็เลยคิดอยากไปดูบ้าง เพราะเมืองไทยก็เปิดฉายพร้อมกับในสหรัฐ ในบ้านผม ปรากฏว่าลูกผมไปดูกับเพื่อนก่อนพ่อกับแม่เสียอีก เพื่อนผมที่เข้าวัดเป็นงานประจำ เป็นคนธรรมะธรรโมมากก็ยังไปดูกัน ก็เลยคิดว่าไม่อยากพลาด แม้จะไม่ได้อยากดูเรื่องนี้มากเหมือนบางเรื่องที่เคยไปดูมาเมื่อเดือนที่แล้ว
มาวันนี้ผมพบว่า โรงหนังจำนวนมากเริ่มเลิกฉายเรื่องนี้แล้ว วันนี้เลยต้องไปเช็คในเว็บว่ายังมีที่ไหนบ้าง พบว่ายังมีอยู่ ที่เป็น 3D digital ด้วยก็ที่ เซ็นทรัล ลาดพร้าว ก็เลยตัดสินใจไปดูก่อนหนังจะออก อดดูกันพอดี ไปกันสองคนแบบ ลุงกับป้า ก็คิดว่าดีที่ได้ไปดู เพราะเมื่อไหร่ ดีวีดีออกมา มันก็จะไม่เป็นสามมิติให้ดูที่บ้าน
สำหรับผม ประเด็นอยู่ที่ีว่า เรื่องนี้ เราไปดูกันทั้งครอบครัว แต่แยกกันดูระหว่างลูก กับพ่อแม่
มาวันนี้ผมพบว่า โรงหนังจำนวนมากเริ่มเลิกฉายเรื่องนี้แล้ว วันนี้เลยต้องไปเช็คในเว็บว่ายังมีที่ไหนบ้าง พบว่ายังมีอยู่ ที่เป็น 3D digital ด้วยก็ที่ เซ็นทรัล ลาดพร้าว ก็เลยตัดสินใจไปดูก่อนหนังจะออก อดดูกันพอดี ไปกันสองคนแบบ ลุงกับป้า ก็คิดว่าดีที่ได้ไปดู เพราะเมื่อไหร่ ดีวีดีออกมา มันก็จะไม่เป็นสามมิติให้ดูที่บ้าน
สำหรับผม ประเด็นอยู่ที่ีว่า เรื่องนี้ เราไปดูกันทั้งครอบครัว แต่แยกกันดูระหว่างลูก กับพ่อแม่
Sunday, December 27, 2009
หยุดช่วงคริสต์มาส (2)
ผมเคยอ่านเรื่องเกี่ยวกับโรงงานบรรจุของขนาดใหญ่เพื่อส่งให้ลูกค้าของอเมซอนมาหลายปีแล้ว ก็รู้สึกทึ่งในการใช้เทคโนโลยีไอที และหุ่นยนต์เพื่อทำงานแบบนี้ และก็ ข้อมูลจากหนังสืออย่างเรื่อง โลกแบน ก็ให้ความรู้สึกเกี่ยวกับการจัดการซัพพลายเชน สมัยใหม่ได้ดี บวกกับผมเคยดูทีวีช่องดิสคอฟเวอรี่ เกี่ยวกับพวกนี้มาบ้างแล้ว รวมทั้งการทำงานของศูนย์รวมพัสดุ ของบริษัทส่งของของอเมริกา ว่ามันทำงานอย่างไร คล้ายๆกัน เมื่อไปเจอลิงก์บทความหนึ่ง เกี่ยวกับชีวิตของคนอเมริกันกลุ่มหนึ่งในปัจจุบัน ที่เป็นคนระดับกลาง มีความรู้ หันมาอาศัยอยู่บนรถบ้าน แล้วย้ายที่ข้ามรัฐไปที่ใหม่ๆเป็นครั้งคราว น่าสนใจตรงที่เขาไปทำงานเป็นพนักงานชั่วคราวให้กับอเมซอน ใน แคนซัส ก็รู้สึกว่าบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนอื่น ก็เลยเก็บลิงก์เอาไว้ข้างบน
หยุดช่วงคริสต์มาส (1)
ช่วงคริสต์มาสก่อนปีใหม่ เป็นอะไรที่น่าเบื่อของปี ฝรั่งหยุดหมด ข่าวสารอะไรเกี่ยวกับเทคโนโลยีก็ไม่มี น่าเบื่อหน่ายสำหรับผม
ไปเจอลิงก์น่าสนใจข้างบน สัมภาษณ์นักเขียนหนุ่มคนหนึ่ง นิ้วกลม อายุคงน้อยกว่าผมราวๆสองทศวรรษเป็นอย่างน้อย แต่มีปฏิภาณมากคนหนึ่ง ผมเคยซื้อหนังสือของเขามาอ่านสองสามเล่ม ผมว่าเขาเขียนสนุก และสำนวนกวนๆดี นานมาแล้วเคยเขียนอีเมลไปคุยกับเขาครั้งหนึ่ง เขาก็กรุณาตอบมา เห็นในข่าวบอกว่าเขาเขียนมาแล้ว ๑๕ เล่ม ภายใน ๕ ปี ตกปีละ ๓ เล่ม นับว่าเก่งทีเดียว
ไปเจอลิงก์น่าสนใจข้างบน สัมภาษณ์นักเขียนหนุ่มคนหนึ่ง นิ้วกลม อายุคงน้อยกว่าผมราวๆสองทศวรรษเป็นอย่างน้อย แต่มีปฏิภาณมากคนหนึ่ง ผมเคยซื้อหนังสือของเขามาอ่านสองสามเล่ม ผมว่าเขาเขียนสนุก และสำนวนกวนๆดี นานมาแล้วเคยเขียนอีเมลไปคุยกับเขาครั้งหนึ่ง เขาก็กรุณาตอบมา เห็นในข่าวบอกว่าเขาเขียนมาแล้ว ๑๕ เล่ม ภายใน ๕ ปี ตกปีละ ๓ เล่ม นับว่าเก่งทีเดียว
Saturday, December 26, 2009
เครื่องบินไทย จะมาปีหน้า
ไปเจอบล๊อกหนึ่งโดยบังเอิญ พูดถึงเครื่องบินขับไล่ใหม่ และ เครื่องบินเรดาร์เตือนภัยและควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ ของ ท.อ. ไทย เพิ่งบินทดสอบเดือนที่แล้ว ที่สวีเดน ตามข่าวบอกว่า จะส่งมอบเดือนธันวาคมปีหน้า (๒๕๕๓) สำหรับเครื่องติดเรดาร์ ส่วนขับไล่ส่งมอบเดือนต่อไปจากนั้น
ลิงก์อยู่ข้างบน
ผมดูวีดีโอ แล้วชอบมาก จึงนำจาก Youtube มาแปะไว้นี่แล้ว แต่หน้าบล๊อกนี้แคบไปหน่อย วีดีโอกว้าง เลยภาพแหว่งด้านขวา (เมื่อผมมองดูด้วยเครื่องแม็ค)
ลิงก์อยู่ข้างบน
ผมดูวีดีโอ แล้วชอบมาก จึงนำจาก Youtube มาแปะไว้นี่แล้ว แต่หน้าบล๊อกนี้แคบไปหน่อย วีดีโอกว้าง เลยภาพแหว่งด้านขวา (เมื่อผมมองดูด้วยเครื่องแม็ค)
Sunday, December 20, 2009
Our trip to Lumbini, Nepal (4)
Next morning we had to leave Lumbini early in order to try to cross the border back to India as early as possible. I missed the nice morning weather there.
After we crossed back to India via the same check point, we stopped by at a new Thai monastery called "Wat Thai 960", to "visit" the facility (among the cleanest toilets in India, we believed). There are a lot of plants so those are nice toilets in a garden. They also have restrooms specifically for monk. (In the picture, airy roots of ornamental plants hanged in front of it to provide green atmosphere.)
The temple also provide some complimentary coffee, hot snack (newly fried Roti with condensed milk!) for us. Thanks. I also donated 1000 Baht to help in the land buying for a new Wat in Savatthi (Saravastri), in addition to another sum to help building additional clean restrooms for traveling Buddhists who mostly would cross the border at Sonauli.
Afterward, we went to an archeological temple of Kapilavastu (on the India side). This is another important place since the stupa there is the place where the British found remains of Lord Buddha with ancient inscription saying so over a century ago. A part of the remains was given as gift to King Rama V of Siam, and now they are at the Golden Mount's top in Bangkok. I was the one who recognize this fact so, after I told my monk master, he led our group to do the 3 round circum-walking and chanting around the stupa again.
We stop by at a resort to have a lunch. Hidden behind the vast poverty of Indians, this big mansion is a former palace of a Maharaja built in the colonial style. Nice place. They also have rooms for anyone who might want to spend the night there too. But I think we Thais felt a bit creepy although I heard westerners love to stay here a lot.
Our trip to Lumbini, Nepal (3)
Late afternoon, we went to Wat Thai Lumbini. It is also an official Royal Thai Buddhist Monastery, since its construction was funded by the government of Thailand and donation from the people of Thailand. That was a very good deed by "a" government and I 'd like to say Anumodhana with them (although I currently do not have positive attitude to that former Prime Minister, you guess who).
We first headed to a wellcoming Sala to have some complimentary drinks and snacks. (Well, we donated some money later.) It has a very beautiful ordination hall (Uposoth), designed by a prominent Thai architect, using a mix of Thai and Nepali styles. The long structure of the hall is supposed to represent the Himalaya mountain range and the white color is to represent the snow.
We went inside the Uposoth to make merit, where the presiding Buddha image is made of white jade (from Burma), and styled after the Emerald Buddha in the Royal Grand Palace in Bangkok. We were told that another replica of the white jade Buddha image, slightly larger, and decorated with gold, was given to HM the King of Thailand. I believe a major sponsor of the construction of the buddha images was Thai Airways International, since I noticed a logo in a sign nearby.
Some of us (me included) bough some Thai designed and produced "Baby Buddha" images from the temple. The money would go toward the activity of the temple. Since this temple is in the park where Lord Buddha was born, and there was a story that he immediately could walked 7 steps before proclaiming his "Asmiwaja", or the great utterance. So this Thai temple has a numeral sign code as 979, in Thai "Kao Jed Kao" means "walking 7 steps forward". Other temples under the same abbot has other codes, such as 960, and 980 (for the 60th coronation anniversary, and the 80th birthday anniversary of HM the King). (Really smart, your venerable.)
Our trip to Lumbini, Nepal (2)
At the Lumbini park, we visited the shell structure of the archeological site where a footprint was found, presumably to mark the exact birth place of Lord Buddha. Afterward to went to chant and meditate for a while before going to walk around the Ashoka pillar 3 times and wrap a gold laced yellow rope around it. (I had a nagged feeling about the expected quick disappearance of such a nice piece of cloth soon after it was put up there (and at other places as well) by us. Ok, it had been donated, so whoever took them down later we hope they 'd use it for a good cause.) There is a brass plate showing the translation of the inscription on the pillar. I think anyone can read its English text from this small picture.
Our trip to Lumbini, Nepal
We departed Kusinara on Oct 26 2009 when our chartered bus took us across the border to Nepal via Sonaoli border check point. There were hundreds of trucks waiting to cross border. I understand that tourist buses have privilege to cut the several kilometer long line of trucks to the front and took us passing through both Indian and Nepalese immigrations and cross the border in a relatively short time (<1 hr). We then went straight to Lumbini. Inside Nepal, I did not enjoy the scenery outside the bus windows much since there were a lot of garbages dump alongside the road, almost everywhere, so it did not look pleasant. I hope one day the Nepaleses would set up garbage dumps and collection service to beautify their country a bit. After we checked in to a hotel, we immediately rode rickshaws (oh, jeese, I have not used this word for decades) into Lumbini Park (the forest where Lord Buddha was born) in the afternoon.
We took group pictures with very lovely Nepalese kids who also visit the archeological site. Since they have no e-mail that we can mail pictures to them, so I think posting a picture here would be good enough. I hope sometime in the future some of them might stumble upon this picture in the cyberspace.
หนังสือ เรียนรู้เรื่องนก
สำนักพิมพ์ กรีนแม็คพาย ผู้พิมพ์วารสาร Advanced Thailand Geographic ส่งหนังสือที่ออกใหม่มาให้ ชื่อ เรียนรู้เรื่องนก เขียนโดย โดม ประทุมทอง เป็นหนังสือปกแข็ง เย็บกี่ หนา ๖๒๔ หน้า พิมพ์ด้วยกระดาษอย่างดี ดูเหมือนจะเป็นกระดาษอาร์ทหนา พิมพ์สีมีรูปสีสวยๆทุกหน้า แจกให้กับสมาชิกวารสาร ไม่มีวางจำหน่ายทั่วไป ราคาหน้าปก จำหน่ายที่ ๕๐๐ บาท
ผมอ่านเนื้อหาคร่าวๆ ก็เป็นเรื่องของการสอนให้คนไทยรู้จักเป็นนักดูนกด้วยตนเอง ในเล่มมีรูปถ่ายนกให้ดูหลายร้อยชนิด ทำให้เข้าใจได้ง่ายมาก
ทำเอาผมอยากจะออกป่าไปหัดดูนกบ้าง แต่เสียอย่างเดียว ตอนนี้ไม่มีเวลาเลย ผลัดตัวเองไว้ก่อนๆ
ก็ต้องขอบคุณสำนักพิมพ์กรีนแม็คพาย ไว้ ณ ที่นี้ ครับ
Thursday, December 17, 2009
หนังสือ อัพยากตปัญหา
สัปดาห์ที่แล้ว มีเหตุให้ต้องไปวัดมหาธาตุ เลยไปแวะร้านนายอินทร์ท่าพระจันทร์ซื้อหนังสือได้มาหลายเล่ม เล่มหนึ่งที่ผมเพิ่งอ่านไปเมื่อเร็วๆนี้คือ หนังสือเรื่อง อัพยากตปัญหา ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ พิมพ์ต้นปี ๕๒ นี่เอง หนังสือเล่มนี้เป็นการเอาวิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ธรรมศาสตร์ ของผู้เขียนท่านนั้น มาเขียนใหม่ในรูปแบบที่คนทั่วไปอ่านง่ายขึ้น แรกทีเดียวเมื่ออ่านคร่าวๆ รู้สึกพอใจที่มีหนังสือเล่มนี้ออกมา คนทั่วไปคงไม่อ่านหรอก ก็รู้สึกขอบคุณผู้เขียนและสำนักพิมพ์เป็นอย่างมาก
พอเริ่มอ่านอีกรอบไปสักพักก็รู้สึกว่า การตีความของผู้เขียนไม่ค่อยตรงกับที่ผมเข้าใจ คือผู้เขียนมุ่งแต่จับประเด็นว่า อัพยากตปัญหา คือ ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ แต่ผมอ่านดูๆก็เห็นว่า ในพระไตรปิฎกนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงอธิบายหลายๆเรื่องที่ยกมาแจ่มแจ้งดี เพียงแต่ว่าไม่ทรงตอบคำถามผู้ถามตามมุมมองที่ตั้งคำถามมาเท่านั้น แต่ทรงแสดงไว้ในมุมมองที่ทรงเห็นว่าถูกต้อง ดังนั้นเราไม่น่าจะจำกัดความหมายของอัพยากตไว้แค่ว่าไม่ยอมทรงอธิบายเท่านั้น เพราะจริงๆแล้วทรงอธิบายไว้แจ่มแจ้งทีเดียว ความหมายที่ควร ของคำว่า อัพยากตปัญหา น่าจะเป็นว่า คือปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงตอบไว้เป็นอย่างอื่น มากกว่า
การแปลว่า อัพยากตปัญหา คือ ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ ในความหมายเดียว เป็นการเอาความหมายของคำที่คนยุคปัจจุบันเข้าใจไปตีความหมายของคำเมื่อสองพันหกร้อยปีก่อน ซึ่งอาจจะไม่ตรง หรือมีบริบทที่ใช้่แตกต่างกันได้ (เรื่องนี้มีให้เห็นมาแยะ ธัมมะมีหลายบริบท ศัพท์เดียวกัน ความหมายลึกซึ่งไม่เท่ากัน)
ผมนึกถึง ติกมาติกาบทแรก ใน คัมภีร์ธัมมสังคณีย์ ที่ว่า กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมา
(คนไทยที่เป็นชาวพุทธทั่วไปน่าจะคุ้นบทนี้ดี เวลาไปฟังสวดพระอภิธรรมในงานศพต้องเคยได้ยิน)
จะเห็นว่า ในติกนี้ พูดถึงธรรมสามอย่าง คือ กุสลธรรม อกุสลธรรม อัพยากตธรรม คำว่า อัพยากตธรรมก็คือ ธรรมที่ไม่ใช่ทั้งกุสล ไม่ใช่ทั้งอกุสล อัพยากตธรรมไม่ใช่ธรรมที่อธิบายไม่ได้หรือไม่ได้ทรงแสดง เพราะในอภิธรรมจะสอนแจกองค์ธรรมครบทั้ง สามตัวเลย และ ติกนี้เป็น นิปปเทสติก คือ ปรมัตถธรรมครบ ไม่มีขาด
พอนึกถึงประเด็นนี้ก็เลยรู้สึกว่า ผมไม่เห็นด้วยกับชื่อหนังสือเสียแล้ว เลยอ่านแล้วรู้สึกจืดไปหน่อย ยิ่งตอนกลางของหนังสือไปพูดพื้นฐานเรื่องภพภูมิปูพื้นให้คนอ่านทั่วไป ก็เลยจืดไปอีก แต่พูดก็พูดเถอะ หากไปตั้งชื่อหนังสือเป็นอย่างอื่นมันก็ไม่ดึงดูดให้คนหยิบมาดู หรือซื้อมาอ่าน
สรุปว่า อย่างไรก็ตาม ก็คิดว่าเป็นหนังสือที่ดี คอธรรมะก็น่าจะไปซื้อหาอ่านดู จะได้ความรู้อะไรพอสมควร
พอเริ่มอ่านอีกรอบไปสักพักก็รู้สึกว่า การตีความของผู้เขียนไม่ค่อยตรงกับที่ผมเข้าใจ คือผู้เขียนมุ่งแต่จับประเด็นว่า อัพยากตปัญหา คือ ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ แต่ผมอ่านดูๆก็เห็นว่า ในพระไตรปิฎกนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงอธิบายหลายๆเรื่องที่ยกมาแจ่มแจ้งดี เพียงแต่ว่าไม่ทรงตอบคำถามผู้ถามตามมุมมองที่ตั้งคำถามมาเท่านั้น แต่ทรงแสดงไว้ในมุมมองที่ทรงเห็นว่าถูกต้อง ดังนั้นเราไม่น่าจะจำกัดความหมายของอัพยากตไว้แค่ว่าไม่ยอมทรงอธิบายเท่านั้น เพราะจริงๆแล้วทรงอธิบายไว้แจ่มแจ้งทีเดียว ความหมายที่ควร ของคำว่า อัพยากตปัญหา น่าจะเป็นว่า คือปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงตอบไว้เป็นอย่างอื่น มากกว่า
การแปลว่า อัพยากตปัญหา คือ ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ ในความหมายเดียว เป็นการเอาความหมายของคำที่คนยุคปัจจุบันเข้าใจไปตีความหมายของคำเมื่อสองพันหกร้อยปีก่อน ซึ่งอาจจะไม่ตรง หรือมีบริบทที่ใช้่แตกต่างกันได้ (เรื่องนี้มีให้เห็นมาแยะ ธัมมะมีหลายบริบท ศัพท์เดียวกัน ความหมายลึกซึ่งไม่เท่ากัน)
ผมนึกถึง ติกมาติกาบทแรก ใน คัมภีร์ธัมมสังคณีย์ ที่ว่า กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมา
(คนไทยที่เป็นชาวพุทธทั่วไปน่าจะคุ้นบทนี้ดี เวลาไปฟังสวดพระอภิธรรมในงานศพต้องเคยได้ยิน)
จะเห็นว่า ในติกนี้ พูดถึงธรรมสามอย่าง คือ กุสลธรรม อกุสลธรรม อัพยากตธรรม คำว่า อัพยากตธรรมก็คือ ธรรมที่ไม่ใช่ทั้งกุสล ไม่ใช่ทั้งอกุสล อัพยากตธรรมไม่ใช่ธรรมที่อธิบายไม่ได้หรือไม่ได้ทรงแสดง เพราะในอภิธรรมจะสอนแจกองค์ธรรมครบทั้ง สามตัวเลย และ ติกนี้เป็น นิปปเทสติก คือ ปรมัตถธรรมครบ ไม่มีขาด
พอนึกถึงประเด็นนี้ก็เลยรู้สึกว่า ผมไม่เห็นด้วยกับชื่อหนังสือเสียแล้ว เลยอ่านแล้วรู้สึกจืดไปหน่อย ยิ่งตอนกลางของหนังสือไปพูดพื้นฐานเรื่องภพภูมิปูพื้นให้คนอ่านทั่วไป ก็เลยจืดไปอีก แต่พูดก็พูดเถอะ หากไปตั้งชื่อหนังสือเป็นอย่างอื่นมันก็ไม่ดึงดูดให้คนหยิบมาดู หรือซื้อมาอ่าน
สรุปว่า อย่างไรก็ตาม ก็คิดว่าเป็นหนังสือที่ดี คอธรรมะก็น่าจะไปซื้อหาอ่านดู จะได้ความรู้อะไรพอสมควร
Monday, December 14, 2009
เครื่องสแกนภาพหนังสือ
บทความที่ลิงก์ไว้นี้น่าสนใจ เพราะเขาเล่าให้ฟังว่ามีคนสร้างเครื่องสแกนภาพหนังสือได้ด้วยตัวเอง ต้นทุนราคาประมาณ หมื่นบาท อาจจะเหมาะสำหรับห้องสมุดไหนในบ้านเรา ที่อยากจะทำ e-archive หนังสือเอาไว้
Saturday, December 12, 2009
โซเชียลมีเดีย มีดีหรือ
ตอนนี้พรรคพวกโปรโมตกันจัง ผมก็เลยพลอยได้อานิสงค์เรื่องความรู้จากการตามไปอ่านที่เขาเขียนให้ความรู้เอาไว้ด้วย มันก็คงมีประโยชน์อย่างเขาว่านั่นแหละนะ แต่ ....
อย่างไรก็ดี แม้ว่าผมจะเขียนบล๊อกมาหลายปี ก่อนมาตั้งหลักเขียนที่นี่เสียอีก ผมก็ยังเซย์โนกับโซเชียลมีเดีย อย่างน้อยก็ในตอนนี้ และในอนาคตอันใกล้
สาเหตุน่ะหรือ
ผมว่า tools พวกนี้ มันมักจะก้าวล่วงข้อมูลส่วนตัวและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้มากไป ผมเองเผอิญเป็นพวกตามข่าวไอทีมากมาสักยี่สิบห้าปีท่่าจะได้แล้ว เลยรู้มากหน่อย ขอยกตัวอย่าง ถ้าใครตามอ่านข่าวเรื่อง Facebook จะเจอปัญหาเรื่องสูญเสียข้อมูลส่วนตัวนี้ หรือสมัยสักปีสองปีก่อน ที่จะมี junkmails จาก Hi5 เข้ามาที่เมลบ๊อกซ์ผมและคนไทยจำนวนมาก แยะมาก แยะจนน่าโมโห แต่ตอนนี้เงียบไปแล้ว
ที่สำคัญอีกอย่าง เพื่อนๆรุ่นอายุเท่าผมก็ไม่มีใครมาเล่นสังคมออนไลน์กับผมเสียด้วย ผมก็เลยไม่รู้จะไปโซเชียลไลซ์กับใครมาตั้งแต่ไหนๆแล้ว
อีกเรื่องหนึ่งก็คือเวลาที่มีจำกัด เป็นที่รู้กันว่า social media จะมาดึงเวลาจากเราไปมากเกินไป โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใช้คนหนึ่งๆจะโดนดึงเวลาไปแยะมาก (เว้นแต่จะใช้จากมือถือเป็นหลัก ก็อาจจะพอไหว) ผมเองเป็นคนไม่ค่อยมีเวลาเหลือ ก็เลยยังไม่ยอมกระโดดเข้าไป
แค่บล๊อกก็กินเวลามากเกินพอแล้ว
อย่างไรก็ดี แม้ว่าผมจะเขียนบล๊อกมาหลายปี ก่อนมาตั้งหลักเขียนที่นี่เสียอีก ผมก็ยังเซย์โนกับโซเชียลมีเดีย อย่างน้อยก็ในตอนนี้ และในอนาคตอันใกล้
สาเหตุน่ะหรือ
ผมว่า tools พวกนี้ มันมักจะก้าวล่วงข้อมูลส่วนตัวและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้มากไป ผมเองเผอิญเป็นพวกตามข่าวไอทีมากมาสักยี่สิบห้าปีท่่าจะได้แล้ว เลยรู้มากหน่อย ขอยกตัวอย่าง ถ้าใครตามอ่านข่าวเรื่อง Facebook จะเจอปัญหาเรื่องสูญเสียข้อมูลส่วนตัวนี้ หรือสมัยสักปีสองปีก่อน ที่จะมี junkmails จาก Hi5 เข้ามาที่เมลบ๊อกซ์ผมและคนไทยจำนวนมาก แยะมาก แยะจนน่าโมโห แต่ตอนนี้เงียบไปแล้ว
ที่สำคัญอีกอย่าง เพื่อนๆรุ่นอายุเท่าผมก็ไม่มีใครมาเล่นสังคมออนไลน์กับผมเสียด้วย ผมก็เลยไม่รู้จะไปโซเชียลไลซ์กับใครมาตั้งแต่ไหนๆแล้ว
อีกเรื่องหนึ่งก็คือเวลาที่มีจำกัด เป็นที่รู้กันว่า social media จะมาดึงเวลาจากเราไปมากเกินไป โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใช้คนหนึ่งๆจะโดนดึงเวลาไปแยะมาก (เว้นแต่จะใช้จากมือถือเป็นหลัก ก็อาจจะพอไหว) ผมเองเป็นคนไม่ค่อยมีเวลาเหลือ ก็เลยยังไม่ยอมกระโดดเข้าไป
แค่บล๊อกก็กินเวลามากเกินพอแล้ว
Saturday, December 05, 2009
Kusinara
From Varanasi, we headed to Kusinara as Thais called its old name of 2600 years ago. The current name is Kusinagar. The road was narrow, and there were traffic jams along some intersections and railroad crossing. The bus could not drive fast. On a bridge crossing a river, there was only one lane and thus vehicles had to take turns.
We arrived at Kusinara in the afternoon. We went to the main stupa at Kusinara, at the spot where Lord Buddha (died) went to Nirvana 2552 years ago. We took a group picture in front of the stupa and went inside the main Vihara for chanting mantra and meditation. We then also conducted a 3 round clockwise walking around the main buddha image there. He is in the final resting posture. We felt as if we were just visiting the Buddha who just passed away only moment ago. While chanting I had some mixed deep feeling of pleasure and sorrow. My master (the monk) also brought a yellow and golden robe as a blanket for the image as a homage gesture. Later, we went out to visit the cremation site, about a kilometer away, where a stupa was also erected. We had an evening chant there until being chased away by darkness and mosquitoes.
After arriving at the Kusinagar hotel, we also walked out to a nearby Bodhi tree, marking the site where the remains of the Buddha after the cremation ceremony was divided by "Tona Brahmin" into 8 parts, one part for his own King and others to give out to emissaries send out by 7 other Buddhist Kings to get their share of the relics too. This is a "sacred site" rarely visited by Buddhists. We chanted there in the dark, and took pictures. There were unusual large number of "stars" seen in the pictures. Obviously, the "stars" are caused by particles which reflected the photographic flash light. However, interpretation on the nature of the particles is up to individuals. I can say that the weather at that time was quite nice and I did not feel the presence of dust or any particles. Afterward, we walked to the nearby Thai temple at Kusinara. This is an "official" royal temple erected by the King of Thailand and the Thai government. It has the same status as hundreds of official royal temples in Thailand. We conducted a chant inside the main Jedi (from the Pali word "Jetiya" = pagoda) there. We also donated some money and stuff there to monks and officials of the temple. It is a very beautiful temple, even at night.
Toward Varanasi
On October 24, 2009, from Sujata's house near Gaya, our group traveled in the afternoon in a new air-conditioned minibus to Varanasi. A portion of the road that we took was a 4-lane divided highway with toll plazas along the way. We stopped by to have an afternoon tea at a gas station, Indian tea with ginger added, that I heard they call it Kalam Jai, so we Thai called it in a similar sound but in Thai language as "Kamlang Jai" which means "enrouragement or moral support".
Of course, on a long road journey like this we need that refreshment as an encouragement, esp. when there is no clean restroom for us to use. We thus had the first chance to use "the largest toilet in the World" on this route, that is the open air, to relieve some internal pressure once in a while. For ladies, the tour company have some foldable personal tents to be used as mobile toilets for them. Yes, those tents are mobile, since it has to be moved after each lady is finished with the business and the next lady surely would not want to use the same spot as the toilet. Before this trip, I had read some Thai books about trips to India before and I know that Thai people had developed a convention of using the open air as toilets along the way, i.e. women go to the left of the bus, men go across the road to the right side of the bus, monks go the front of the bus, nuns go to the back side of the bus. :-) On our road journeys, we try to keep that convention, i.e. men tried to use the right side of the road and women tried to use the left side when possible, although that 's not always possible. It 's o.k. now since women now have tents to keep their privacy during such awkward situation. For me, I tried to manage myself quite well and I tried to have "heavy task" at the hotels, i.e. in the early morning before each day's departure and late evening after arriving at the new hotel. I only used roadside for "lighter task".
About an hour before we arrived Varanasi, we started to smell some pungent unique smell, probably due to smog. Varanasi, as Thais called Banarasi, is perhaps a 4000 years old city, or perhaps older than that. I have been to India before this trip, but never before to Varanasi. That day, I though that I felt I just reached and felt more of India.
That evening, we went to the Ganges to watch a ceremony in the evening of daily worshipping Suriya Dev, the Sun angel. I had seen that evening ceremony in a Thai documentary DVD before. There were thousands of locals on the river bank while hundreds of tourists (seen in the foreground in the picture) were floating in perhaps a hundred rented boats in the river snapping pictures along the way and during the ceremony. We stayed there to watch the sacred ritual for about half an hour before heading back to the hotel in preparation for tomorrow early departure to Kusinara (Kusinaga). I had some feeling about their ceremony. One remark though, quality of the the river in some area, esp. the pier that they cremate bodies was "not clean". It's amazing nevertheless : I have heard before a saying that bonfires on the Ganges bank at Varanasi never stop for thousands of years. We 'll be back to this area again in the next few days but in the morning.
Of course, on a long road journey like this we need that refreshment as an encouragement, esp. when there is no clean restroom for us to use. We thus had the first chance to use "the largest toilet in the World" on this route, that is the open air, to relieve some internal pressure once in a while. For ladies, the tour company have some foldable personal tents to be used as mobile toilets for them. Yes, those tents are mobile, since it has to be moved after each lady is finished with the business and the next lady surely would not want to use the same spot as the toilet. Before this trip, I had read some Thai books about trips to India before and I know that Thai people had developed a convention of using the open air as toilets along the way, i.e. women go to the left of the bus, men go across the road to the right side of the bus, monks go the front of the bus, nuns go to the back side of the bus. :-) On our road journeys, we try to keep that convention, i.e. men tried to use the right side of the road and women tried to use the left side when possible, although that 's not always possible. It 's o.k. now since women now have tents to keep their privacy during such awkward situation. For me, I tried to manage myself quite well and I tried to have "heavy task" at the hotels, i.e. in the early morning before each day's departure and late evening after arriving at the new hotel. I only used roadside for "lighter task".
About an hour before we arrived Varanasi, we started to smell some pungent unique smell, probably due to smog. Varanasi, as Thais called Banarasi, is perhaps a 4000 years old city, or perhaps older than that. I have been to India before this trip, but never before to Varanasi. That day, I though that I felt I just reached and felt more of India.
That evening, we went to the Ganges to watch a ceremony in the evening of daily worshipping Suriya Dev, the Sun angel. I had seen that evening ceremony in a Thai documentary DVD before. There were thousands of locals on the river bank while hundreds of tourists (seen in the foreground in the picture) were floating in perhaps a hundred rented boats in the river snapping pictures along the way and during the ceremony. We stayed there to watch the sacred ritual for about half an hour before heading back to the hotel in preparation for tomorrow early departure to Kusinara (Kusinaga). I had some feeling about their ceremony. One remark though, quality of the the river in some area, esp. the pier that they cremate bodies was "not clean". It's amazing nevertheless : I have heard before a saying that bonfires on the Ganges bank at Varanasi never stop for thousands of years. We 'll be back to this area again in the next few days but in the morning.
e-book ภาษาไทยเกี่ยวกับพืชพันธุ์ต่างๆ
ผมเพิ่งไปเจอโดยบังเอิญว่า ที่เว็บไซต์ของ กรมอุทยานแห่งชาติ (Thai National Parks Department's website) มี e-books ให้ดาวน์โหลดมาอ่านหลายเล่ม เกี่ยวกับ ป่า และ พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ก็ได้ใช้บริการแล้ว ด้วยความขอบคุณ
จากนั้นแล้ว ก็เลยอยากจะลิงก์มาให้จากบล๊อกนี้ เพราะเขาทำดี
จากนั้นแล้ว ก็เลยอยากจะลิงก์มาให้จากบล๊อกนี้ เพราะเขาทำดี
Labels:
พฤกษศาสตร์,
วนศาสตร์,
หอพรรณไม้,
อีบุ้คส์
ลองใช้ EPUBReader บน Firefox
เนื่องจากสนใจตามไปอ่านเรื่อง e-book ก็เลยได้ความรู้เรื่องฟอร์แม็ตใหม่ของ e-book ที่เป็นมาตราฐานเปิดที่ชื่อว่า Epub แล้วก็เลยพบว่า มี addon ของ Firefox browser ที่ชื่อ EPUBReader ให้ใช้ เลยไปดาวน์โหลดมาดู จากนั้น ก็ไปหา e-book ที่ให้ดาวน์โหลดมาอ่านได้ฟรีจากเน็ต มาอ่านเป็นครั้งแรกบน Firefox ดูเหมือนตอนนี้ หนังสือในฟอร์แม็ตนี้จะมียังน้อยอยู่ แต่คาดว่าจะมากขึ้นๆในอนาคต
ผมเคยคิดเล่นๆว่า ผมจะทำ e-book ฟรี เป็นภาษาไทย แต่แทนที่จะทำเป็นฟอร์แม็ต pdf อย่างเดียว ก็อาจจะทำเป็นฟอร์แม็ตนี้ด้วย แต่ผมยังไม่แน่ใจว่า การสร้างเอกสารออกมาในฟอร์แม็ตนี้ ตอนนี้จะใช้ software tool ตัวไหนได้บ้าง แต่ไม่น่าจะยาก เพราะ Epub มันก็คือ XHTML + XML นั่งเอง
ผมเคยคิดเล่นๆว่า ผมจะทำ e-book ฟรี เป็นภาษาไทย แต่แทนที่จะทำเป็นฟอร์แม็ต pdf อย่างเดียว ก็อาจจะทำเป็นฟอร์แม็ตนี้ด้วย แต่ผมยังไม่แน่ใจว่า การสร้างเอกสารออกมาในฟอร์แม็ตนี้ ตอนนี้จะใช้ software tool ตัวไหนได้บ้าง แต่ไม่น่าจะยาก เพราะ Epub มันก็คือ XHTML + XML นั่งเอง
ข่าวการแจกคอมพิวเตอร์ 380,000 เครื่องให้เด็กนักเรียนในอุรุกวัย
เผอิญแวะไปดูเว็บของโครงการ OLPC หรื่อ โครงการ หนึ่งแล็พท๊อปต่อเด็กหนึ่งคน มา ก็เลยเพิ่งไปได้ลิงก์ข่าวดังกล่าว จากวารสาร ดิอิโคโนมิสต์ เรื่อง การแจกคอมพิวเตอร์ 380,000 เครื่องให้เด็กนักเรียนในอุรุกวัย ก็เป็นเรื่องน่าสนใจ ที่อ่านแล้วก็ทำให้ได้รับทราบปัญหาของโครงการในระดับการแจกให้เด็กจริงๆ เขามีปัญหาหลายเรื่อง นอกจากเรื่อง คือ ภาษาที่เด็กใช้ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก หลายท้องที่ไม่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สายให้ใช้ และ ครูแก่เกินไปไม่พร้อมรับเทคโนโลยี และการซ่อมเครื่องที่เสียหายเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องซ่อมในท้องที่เพราะเด็กไม่ยอมส่งซ่อมกลัวไม่ได้ของคืน แต่ในบทความไม่ได้พูดถึงเรื่อง คอร์สแวร์ ว่าเขาเตรียมไว้พร้อมแล้วใช่หรือไม่ ก็คาดเอาว่าคงได้เตรียมเรื่องนั้นไว้พอควร
หวังว่าในอนาคตเมืองไทยจะทำอะไรอย่างนี้บ้าง ก่อนหน้านี้ที่ยกเลิกโครงการเก่าไปแล้วก็โอเค แต่ในอนาคตน่าจะทำอะไรได้ดีกว่าคราวที่แล้ว
ในใจผมลึกๆ อยากให้เด็กไทยได้โชคดีเหมือนเด็กในสหรัฐที่ได้ใช้แม็ค ถ้าไม่อย่างนั้น ก็ใช้อูบันตูลินิกส์ก็ได้ แต่คงต้องพัฒนาดิสทริบิวชั่นโดยเฉพาะขึ้นมา
ครูๆทั้งหลายก็คงต้องหันมาทำเรื่องเนื้อหากัน รวมทั้งเรื่อง e-textbook อีกด้วย
หวังว่าในอนาคตเมืองไทยจะทำอะไรอย่างนี้บ้าง ก่อนหน้านี้ที่ยกเลิกโครงการเก่าไปแล้วก็โอเค แต่ในอนาคตน่าจะทำอะไรได้ดีกว่าคราวที่แล้ว
ในใจผมลึกๆ อยากให้เด็กไทยได้โชคดีเหมือนเด็กในสหรัฐที่ได้ใช้แม็ค ถ้าไม่อย่างนั้น ก็ใช้อูบันตูลินิกส์ก็ได้ แต่คงต้องพัฒนาดิสทริบิวชั่นโดยเฉพาะขึ้นมา
ครูๆทั้งหลายก็คงต้องหันมาทำเรื่องเนื้อหากัน รวมทั้งเรื่อง e-textbook อีกด้วย
Subscribe to:
Posts (Atom)