ในรอบสองปีที่ผ่านมาต้องนับว่า โน้ตบุ้คคอมพิวเตอร์ที่วางขายในท้องตลาดโดยเฉพาะบ้านเราค่อนข้างดูน่าเบื่อ ไม่มีอะไรหวือหวาในเรื่องคุณสมบัติของเครื่อง มีแต่การเน้นการขายเครื่องสเป็คต่ำราคาไม่แพงเป็นหลัก ไม่ว่าจะไปดูที่ห้างใดๆ หรือตามแมกกาซีนก็ตาม สาเหตุหนึ่งคงเป็นที่ไมโครซอฟต์ออกโอเอสใหม่ล่าช้ากว่ากำหนดเดิมอย่างน้อยสองปี ทำให้ผู้บริโภคไม่มีเหตุจำเป็นต้องใช้เครื่องใหม่สมรรนะสูงมากนัก และอินเทลเองก็เพิ่งออกซีพียูใหม่ที่ใช้พลังงานต่ำสำหรับโน้ตบุ้คออกมาเร็วๆนี้เอง
จะมีก็แต่เพียง แอปเปิ้ล แม็คอินทอช ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ โอเอสเท็น รุ่น ๑๐.๔ ทีชื่อ ไทเกอร์ เท่านั้น ที่ทันสมัยลำ้หน้าเพียงพอที่จะต้องการซีพียูรุ่นใหม่ และเป็นโอเอสระบบ ๖๔ บิท ไม่ใช่ ๓๒ บิท ทำให้การประกาศในสุนทรพจน์เของ สตีฟ จ้อบส์ ซีอีโอของ แอปเปิ้ล ในงานแม็คเวอล เรื่องจะออกจำหน่ายโน้ตบุ้ครุ่นใหม่ในเดือนหน้า ในรุ่น แม็คบุ้ค โปร ที่ใช้ ดูอัลคอร์ ซีพียู กลายเป็นรุ่นชั้นนำไปในทันที ในราคาคงเดิม มิใยที่ เดล จะพยายามออกข่าวเครื่องรุ่นใหม่ของตนออกมาตัดหน้าพร้อมๆกันก็ตาม
เชื่อว่าปีหน้าผู้ผลิตโน้ตบุ้คบริษัทอื่นๆคงจะเปิดตัวดูอัลคอร์ออกมาอีกระนาว และราคาก็คงจะไม่เพิ่มไปกว่าเดิมเนื่องจากต้องทำราคาแข่งกับแม็คจากแอปเปิ้ล
คาดว่า กว่าเครื่องแม็คโน้ตบุ้ครุ่นใหม่จะมาถึงเมืิองไทย คงตกราวเดือนเมษายน ๒๕๔๙ ไปแล้ว ดังนั้นถ้าใครจะซื้อ ไฮเอ็นโน้ตบุ้ค รอซื้อแม็คตอนเมษายน น่าจะดีกว่า อย่างไรก็ตามมีคนให้ความเห็นว่า การซื้อเครื่องที่เปลี่ยนซีพียูใหม่ทันทีอาจจะเสี่ยงไปหน่อย น่าจะรอไปอย่างน้อยหนึ่งปี เพื่อให้ปัญหาต่างๆที่อาจจะมีได้นั่นโดนค้นพบและแก้ไขไปเสียก่อน และก็กว่าที่ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ๆจะออกมาก็คงปีหน้าไปแล้ว อย่างของอโดบีก็ช้ากว่ากำหนด
No comments:
Post a Comment