มีบทความหนี่งคือ
Bai, C., and Cao, J. 2008 Crossing borders, challenging boundaries: Reflections on a decade of exchange at thhe Chinese-American Kavli Frontiers of Science Symposium Exchange. Proc. Natl. Acad. Sci. USA 105, 1101-1102, doi 10.1073/pnas.0712220105
บทความนี้เพิ่งออกออนไลน์เมื่อวาน รู้สีกน่าสนใจมาก
เจอตอนหนี่งที่สำคัญ ในบทความข้างต้น อยากโพสต์เก็บไว้ ด้วยความอิจฉาว่าเมื่อไรเมืองไทยจะเป็นอย่างนี้บ้าง
คำแปล ตอนหนี่งในบทความ
ในสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้ตัดสินใจทุ่มความพยายามเปป็นอย่างมากในการเพิ่มการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาภายในประเทศ หลักฐานเรื่องนี้เห็นได้จากการเพิ่มในสัดส่วนของมวลรวมผลผลิตประชาชาติ (GDP) ที่ลงทุนไปในการวิจัยและพัฒนา ที่เพิ่มจาก 0.67% ของ GDP ในปี 1997 จนมาถีง 1.42% ของ GDP ในปี 2006 โดยยังไม่ต้องพูดถีงว่าในช่วงเวลานั้น มีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยของค่า GDP ของชาติเฉลี่ยปีละ 10% การเพิ่มงบประมาณนี้ ได้มีการจัดสรรไปยังการเพิ่มความสามารถของสถาบันและการจัดระเบียบองค์กรใหม่ จากบรรดาอินฟราซตรัคเจอร์ที่มีอยู่แล้ว และการสร้างอินฟราซตรัคเจอร์ใหม่ๆ ที่โฟกัสไปยังสาขางานวิจัยที่กำลังรุดล้ำหน้า จำนวนบุคคลากรที่เกี่ยวกับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในจีนได้เพิ่มขึ้นประมาณ 50% ในทศวรรษที่ผ่านมา และพร้อมกับการเพิ่มความเข้มในการประเมินผลและเพิ่มความคาดหวังในเรื่องคุณภาพทางวิชาการ
ทว่าการเพิ่มอย่างมากในการลงทุนทางอินฟราซตรัคเจอร์และบุคคลากรนี้ โดนก้าวล่วงไปด้วยอัตราการเพิ่มผลงานทางวิชาการในรูปแบบของการตีพิมพ์ในนานาชาติ ในทศวรรษที่ผ่านมา ที่มีอัตราการเพิ่มจำนวนบทความวิจัยวิทยาศาสตร์ถีง 7 เท่า จาก 25,007 บทความในปี 1997 เพิ่มเป็น 172,000 บทความ ที่เขียนโดยนักวิชาการชาวจีน ซึ่ง 15% ของจำนวนนี้ มาจาก สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (CAS) การเพิ่มจำนวนนี้เป็นไปพร้อมกับการเพิ่มในเชิงคุณภาพทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ด้วย คุณภาพของงานวิจัยแสดงได้จากจำนวนเปเปอร์ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ที่มีลำดับการอ้างอิงสูง ....
เมื่อไรนะประเทศไทยจะมีอัตราสูงกว่า 1% GDP แบบประเทศจีนและประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆบ้าง
No comments:
Post a Comment