มีบทความหนี่งคือ
Bai, C., and Cao, J. 2008 Crossing borders, challenging boundaries: Reflections on a decade of exchange at thhe Chinese-American Kavli Frontiers of Science Symposium Exchange. Proc. Natl. Acad. Sci. USA 105, 1101-1102, doi 10.1073/pnas.0712220105
บทความนี้เพิ่งออกออนไลน์เมื่อวาน รู้สีกน่าสนใจมาก
เจอตอนหนี่งที่สำคัญ ในบทความข้างต้น อยากโพสต์เก็บไว้ ด้วยความอิจฉาว่าเมื่อไรเมืองไทยจะเป็นอย่างนี้บ้าง
คำแปล ตอนหนี่งในบทความ
ในสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้ตัดสินใจทุ่มความพยายามเปป็นอย่างมากในการเพิ่มการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาภายในประเทศ หลักฐานเรื่องนี้เห็นได้จากการเพิ่มในสัดส่วนของมวลรวมผลผลิตประชาชาติ (GDP) ที่ลงทุนไปในการวิจัยและพัฒนา ที่เพิ่มจาก 0.67% ของ GDP ในปี 1997 จนมาถีง 1.42% ของ GDP ในปี 2006 โดยยังไม่ต้องพูดถีงว่าในช่วงเวลานั้น มีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยของค่า GDP ของชาติเฉลี่ยปีละ 10% การเพิ่มงบประมาณนี้ ได้มีการจัดสรรไปยังการเพิ่มความสามารถของสถาบันและการจัดระเบียบองค์กรใหม่ จากบรรดาอินฟราซตรัคเจอร์ที่มีอยู่แล้ว และการสร้างอินฟราซตรัคเจอร์ใหม่ๆ ที่โฟกัสไปยังสาขางานวิจัยที่กำลังรุดล้ำหน้า จำนวนบุคคลากรที่เกี่ยวกับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในจีนได้เพิ่มขึ้นประมาณ 50% ในทศวรรษที่ผ่านมา และพร้อมกับการเพิ่มความเข้มในการประเมินผลและเพิ่มความคาดหวังในเรื่องคุณภาพทางวิชาการ
ทว่าการเพิ่มอย่างมากในการลงทุนทางอินฟราซตรัคเจอร์และบุคคลากรนี้ โดนก้าวล่วงไปด้วยอัตราการเพิ่มผลงานทางวิชาการในรูปแบบของการตีพิมพ์ในนานาชาติ ในทศวรรษที่ผ่านมา ที่มีอัตราการเพิ่มจำนวนบทความวิจัยวิทยาศาสตร์ถีง 7 เท่า จาก 25,007 บทความในปี 1997 เพิ่มเป็น 172,000 บทความ ที่เขียนโดยนักวิชาการชาวจีน ซึ่ง 15% ของจำนวนนี้ มาจาก สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (CAS) การเพิ่มจำนวนนี้เป็นไปพร้อมกับการเพิ่มในเชิงคุณภาพทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ด้วย คุณภาพของงานวิจัยแสดงได้จากจำนวนเปเปอร์ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ที่มีลำดับการอ้างอิงสูง ....
เมื่อไรนะประเทศไทยจะมีอัตราสูงกว่า 1% GDP แบบประเทศจีนและประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆบ้าง
ปกิณกะ ไทย I posted about interesting items information I found, write my views on books I read, education, science and technology, Buddhism and meditation, economic and business, music, and movies, country and rural development. Articles are in English or Thai.
Wednesday, January 30, 2008
Thursday, January 17, 2008
ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตสมัยใหม่คืออินเตอร์เน็ต
ADSL modem ของผมยี่ห้อหัวเหว่ยที่ได้มาจากทรู (True HiSpeed Internet) เมื่อสองปีก่อนดูเหมือนจะเจ๊งไปแล้ว ควานหาปัญหาเรื่องการต่อเน็ตอยู่สองวัน โทรไปทรูหลายรอบ กังวลใจสุดๆ เพราะต้องใช้ทำงาน ลูกก็ต้องใช้ทำการบ้าน เลยต้องดิ้นสุดๆ สุดท้ายวันนี้เช้าอุตส่าห์แวะไปซื้อโมเด็มใหม่ที่ร้านทรูที่เซ็นทรัลลาดพร้าว ก็ไม่มีของ ของขาดบอกว่าไม่รู้จะมาเมื่อไร ผมก็เลยต้องแวะไปหาซื้อที่พันธุ์ทิพย์ ดูตั้งนาน ดูเหมือนทั้งตีกมีอยู่ยี่ห้อเดียวคือ D-Link ก็เลยซื้อมา เป็นแบบ wireless router ด้วยในตัว ราคาไม่ถีงสองพันบาทดี ติดตั้งไม่ยาก แต่ต้องโทรไปถามที่ทรูเพื่อตั้งค่าบางตัวให้ถูก คือ VPI = 0, VCI =100 ตอนแรกไปใช้ค่ามาตราฐาน ไม่เวอร์ค เสียเวลาไปครึ่งชั่วโมง สุดท้ายแก้ปัญหาได้ ก็เลยมาบล๊อกเอาไว้ ว่าวันนี้เหนื่อยมากเรื่องนี้ทั้งวัน
Thursday, January 10, 2008
รัฐบาลไทยกับอีเมล์
ข่าวจากลิงก์ข้างต้นที่บางกอกโพสต์วันนี้ ทำให้ผมอดต้องมาคอมเม็นต์ไม่ได้ เรื่องก็คือรัฐบาลไทยบ้าจี้ กลัวเรื่องความลับรั่วผ่านอีเมลของข้าราชการ จะบังคับข้าราชการเลิกใช้บริการอีเมลฟรีต่างชาติภายใจหนี่งปี (ไม่รู้ว่ารวมถีงพนักงานองค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ และบริษัทที่รัฐถือหุ้น ด้วยหรือเปล่า)
โดยหลักการก็ดี ปลอดภัยจากหูตาฝรั่ง ลดแบนด์วิธต่างประเทศ แต่ในทางปฏิบัติผมเห็นเลยว่าจะมีผลเสียเกิดขี้น กล่าวคือ หากว่าเซอร์ฟเวอร์ของรัฐล่มล่ะ แบคอัพดีแค่ไหน และคุณภาพของบริการจะดีแค่ไหน ใช้สะดวกแค่ไหน และที่สำคัญ งานนี้น่าจะมีส้มหล่นใส่บางหน่วยงาน ได้งบซื้อของอีกบาน แต่เซอร์วิสนั้นคุณภาพไม่น่าจะขึ้นกับงบ และบริการของรัฐบาลไทย ส่วนมากก็งั้นๆ เป็นที่รู้ๆ
ผมเห็นว่า การมีอีเมลฟรี ที่ใช้งานดีๆ ไว้ใช้ติดต่อเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องงาน ก็คือเรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องจำเป็น อะไรจะไปบังคับไม่ให้ใช้เลย เป็นไปไม่ได้ ผมไม่เชื่อว่า ผู้ใช้ของรัฐจะได้พื้นที่เก็บเมลขนาดสี่ห้ากิ๊กแบบของต่างชาติ ก็หวังว่าข่าวที่ลิงก์มานี้คงไม่เว่อร์เกินไป
โดยหลักการก็ดี ปลอดภัยจากหูตาฝรั่ง ลดแบนด์วิธต่างประเทศ แต่ในทางปฏิบัติผมเห็นเลยว่าจะมีผลเสียเกิดขี้น กล่าวคือ หากว่าเซอร์ฟเวอร์ของรัฐล่มล่ะ แบคอัพดีแค่ไหน และคุณภาพของบริการจะดีแค่ไหน ใช้สะดวกแค่ไหน และที่สำคัญ งานนี้น่าจะมีส้มหล่นใส่บางหน่วยงาน ได้งบซื้อของอีกบาน แต่เซอร์วิสนั้นคุณภาพไม่น่าจะขึ้นกับงบ และบริการของรัฐบาลไทย ส่วนมากก็งั้นๆ เป็นที่รู้ๆ
ผมเห็นว่า การมีอีเมลฟรี ที่ใช้งานดีๆ ไว้ใช้ติดต่อเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องงาน ก็คือเรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องจำเป็น อะไรจะไปบังคับไม่ให้ใช้เลย เป็นไปไม่ได้ ผมไม่เชื่อว่า ผู้ใช้ของรัฐจะได้พื้นที่เก็บเมลขนาดสี่ห้ากิ๊กแบบของต่างชาติ ก็หวังว่าข่าวที่ลิงก์มานี้คงไม่เว่อร์เกินไป
Friday, January 04, 2008
มาตราฐานเอกสารแฟ้มประมวลคำ
บทความที่ลิงก์อยู่ข้างบนในวันนี้ เมื่อตามไปอ่านแล้ว ทำให้เข้าใจชัดเจนว่าทำไปประเทศไทย จึงไม่ควรสนับสนุน มาตราฐานเอกสารแฟ้มประมวลคำแบบ OOXML ที่สนับสนุนทุกวิถีทางโดยไมโครซอฟต์ และบริษัททั่วโลกที่เป็นคู่ค้าของเขา แต่ควรสนับสนุนมาตราฐาน ODF มากกว่า การหันไปสนับสนุนใช้ OOXML จะทำให้มาตราฐานนานาชาติจะโดนยึดโดยไมโครซอฟต์ไปโดยปริยาย
ไม่รู้ว่าหน่วยงานไหนของไทยบ้างเป็นตัวโหวตก็ไม่ทราบ
ไม่รู้ว่าหน่วยงานไหนของไทยบ้างเป็นตัวโหวตก็ไม่ทราบ
Wednesday, January 02, 2008
กรุงเทพฯเสี่ยงภัยพิบัติเหมือนนิวออลีนส์
รู้สึกดี ที่นักวิชาการเริ่มออกมาพูดเรื่องนี้ หลายเดือนก่อนคุณสมิทธิ์ ท่านออกมาพูดทีหนี่ง ต่อมาวันเฉลิมพระชนมพรรษา ท่านก็ตรัสอยู่หน่อยหนี่ง มาวันนี้มีข่าวนักวิชาการออกมาแสดงความเห็นอีก ถีงผลกระทบมูลค่ามหาศาลหากเกิดพายุเข้าถล่มกรุงเทพฯและน้ำท่วม
แต่สังหรณ์ใจว่ารัฐบาลใหม่ของไทยก็จะยังไม่ทำอะไรในปีนี้หรอก ใครต่อใครคงต้องออกมาพูดกันอีกหลายรอบ
ผมเคยคิดเล่นๆว่า อีกสักสิบปีน่าจะย้ายไปอยู่แถวๆทางอีสาณตอนเหนือ เพราะตอนน้ันระดับน้ำทะเลก็คงจะเริ่มสูงขึ้นๆ และกรุงเทพฯก็จะเสี่ยงมากขี้น
แต่สังหรณ์ใจว่ารัฐบาลใหม่ของไทยก็จะยังไม่ทำอะไรในปีนี้หรอก ใครต่อใครคงต้องออกมาพูดกันอีกหลายรอบ
ผมเคยคิดเล่นๆว่า อีกสักสิบปีน่าจะย้ายไปอยู่แถวๆทางอีสาณตอนเหนือ เพราะตอนน้ันระดับน้ำทะเลก็คงจะเริ่มสูงขึ้นๆ และกรุงเทพฯก็จะเสี่ยงมากขี้น
Tuesday, January 01, 2008
Year of working hard commences
Subscribe to:
Posts (Atom)