เพิ่งได้มาสักสองสามชั่วโมงนี้เอง แล็ปท๊อปตัวใหม่ 15" 1.67 GHz Apple Macintosh PowerBook อาจจะเป็นเครื่องแรกๆของรุ่นนี้ในเมืองไทย ตัวนี้เพิ่งเปิดตัวในสหรัฐเมื่อต้นเดือนนี้เอง
อะไรๆก็ดีหมดทุกอย่าง เว้นแต่ว่าตัวนี้เป็นเครื่องตัวโชว์ของร้าน เพิ่งส่งเข้ามา เลยยังไม่ได้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยไว้บนคีย์บอร์ด ผมเลยต้องอาศัยคีย์ที่จำได้เอา ถ้าจะพิมพ์ภาษาไทย นานๆไปคงจะชินไปเอง ปัญหาอยู่ที่ตัวที่ไม่ค่อยได้ใช้ และก็ความรูู้สึกที่แตกต่างไปบ้างระหว่างคีย์บอร์ดเต็มรูปสีขาวของแอปเปิ้ลกับคีย์บอดบนแล็ปท๊อป
เปล่า นี่ไม่ได้โพสต์จากเครื่องใหม่หรอก แต่โพสต์จากเครื่อง G5 ตัวเดิมนั่นเอง
ปกิณกะ ไทย I posted about interesting items information I found, write my views on books I read, education, science and technology, Buddhism and meditation, economic and business, music, and movies, country and rural development. Articles are in English or Thai.
Thursday, November 24, 2005
Thursday, November 17, 2005
ข้อคิดจากอินเดีย (ตอน ๒)
เมื่อตอนอยู่อินเดีย ผมมักตื่นแต่เช้า เพราะเวลาที่นั่นช้ากว่าไทยชั่วโมงครึ่ง ตื่นตีสี่ครึ่งที่นั่นก็คือเวลาที่เมืองไทย ๖ โมงเช้านั่นเอง
เช้าวันหนึ่งหนึ่งผมเปิดดูโทรทัศน์เคเบิลสารพัดช่องของอินเดีย สังเกตดูจำนวนช่องดูมากกว่ายูบีซีเมืองไทยเสียอีก มีหลายภาษา
ที่น่าสนใจก็คือ ประมาณ ๑ ใน ๓ ของช่องต่างๆเหล่านั้น ตอนเช้านั่นเป็นรายการทางศาสนาต่างๆลัทธิของอินเดียเต็มไปหมด ส่วนหนึ่งก็เป็นการบรรยายธรรมนั่นแหละ แต่ไม่เห็นมีรายการทางพุทธศาสนา
ที่น่าสนใจคือบางช่องก็เป็นการถ่ายทอดยันต์พิธีจากที่ต่างๆ มีช่องหนึ่งผมนั่งดูอยู่ครึ่งชั่วโมง ไม่เห็นมีอะไร ไม่มีพูดจาอะไร มีแต่คนเหยียบร้อยคนทำหน้าระรื่นชื่นชมอยู่
แต่ก็น่าสนใจ คือเป็นพิธีล้างเท้าโยคีที่เป็นศาสดาของเขา อันที่จริงน่าจะเรียกละเลงเท้ามากกว่า
เพราะว่าเป็นการที่คนหมู่มากมาระดมเอาครีมซึ่งน่าจะเป็นเนยมาละเลงที่เท้าของโยคีที่นั่งอยู่นั่น สักพักก็เอาของเหลวที่ดูเป็นน้ำผึ้งมาราดและล้างต่อ จากนั้นก็เป็นการเอาอะไรมาโปรย อาจจะเป็นดอกไม้ก็ได้
เห็นแล้วก็นึกเอาว่า คงเข้าทำนองโปะครีมบำรุงผิวสมัยใหม่นี่เอง
ผมได้ดูแค่นั้นก็เลิกดูต่อ
แต่รู้สึกเอาว่า บ้านเมืองเขาคงจะสนับสนุนให้คนประพฤติตามลัทธิของตนๆ เพื่อความเป็นสุขของสังคมที่ยากจนอยู่ทั่วไป
แหม เมืองไทยไม่เห็นมีมั่งแฮะพวกบรรยายธรรมตอนเช้าๆ เว้นแต่บางช่องมีก่อนปิดสถานีแพลบเดียว
เช้าวันหนึ่งหนึ่งผมเปิดดูโทรทัศน์เคเบิลสารพัดช่องของอินเดีย สังเกตดูจำนวนช่องดูมากกว่ายูบีซีเมืองไทยเสียอีก มีหลายภาษา
ที่น่าสนใจก็คือ ประมาณ ๑ ใน ๓ ของช่องต่างๆเหล่านั้น ตอนเช้านั่นเป็นรายการทางศาสนาต่างๆลัทธิของอินเดียเต็มไปหมด ส่วนหนึ่งก็เป็นการบรรยายธรรมนั่นแหละ แต่ไม่เห็นมีรายการทางพุทธศาสนา
ที่น่าสนใจคือบางช่องก็เป็นการถ่ายทอดยันต์พิธีจากที่ต่างๆ มีช่องหนึ่งผมนั่งดูอยู่ครึ่งชั่วโมง ไม่เห็นมีอะไร ไม่มีพูดจาอะไร มีแต่คนเหยียบร้อยคนทำหน้าระรื่นชื่นชมอยู่
แต่ก็น่าสนใจ คือเป็นพิธีล้างเท้าโยคีที่เป็นศาสดาของเขา อันที่จริงน่าจะเรียกละเลงเท้ามากกว่า
เพราะว่าเป็นการที่คนหมู่มากมาระดมเอาครีมซึ่งน่าจะเป็นเนยมาละเลงที่เท้าของโยคีที่นั่งอยู่นั่น สักพักก็เอาของเหลวที่ดูเป็นน้ำผึ้งมาราดและล้างต่อ จากนั้นก็เป็นการเอาอะไรมาโปรย อาจจะเป็นดอกไม้ก็ได้
เห็นแล้วก็นึกเอาว่า คงเข้าทำนองโปะครีมบำรุงผิวสมัยใหม่นี่เอง
ผมได้ดูแค่นั้นก็เลิกดูต่อ
แต่รู้สึกเอาว่า บ้านเมืองเขาคงจะสนับสนุนให้คนประพฤติตามลัทธิของตนๆ เพื่อความเป็นสุขของสังคมที่ยากจนอยู่ทั่วไป
แหม เมืองไทยไม่เห็นมีมั่งแฮะพวกบรรยายธรรมตอนเช้าๆ เว้นแต่บางช่องมีก่อนปิดสถานีแพลบเดียว
ข้อคิดจากอินเดีย
ผมไปอินเดียสัปดาห์ที่แล้ว พบว่าแม้ว่าคนส่วนมากจะยากจน บ้านเมืองจะสกปรก แต่ก็มีคนฉลาดมากๆ มีความรู้ลุ่มลึกระดับโลกอยู่แยะ
เหตุเพราะมีพลเมืองมาก และการแข่งขันสูง ทำให้คนต้องพยายามฟันฝ่าอย่างมากเพื่อให้ได้งานทำ (คงไม้ต้องบอกว่างานดีๆ) นักวิชาการก็เลยเก่งมากๆ
ขนาดไฟฟ้าดับแทบจะทุกชั่วโมงก็ยังทำงานดีๆออกมาได้มาก คิดเป็นสัดส่วนกับประชากรแล้วยังมากกว่าเมืองไทย
บ้านเราคงเป็นเพราะคนไทยมีความเป็นอยู่ดีกว่าเมืองแขกมาก คนจนมากๆมีจำนวนน้อยกว่า บ้านเมืองเราก็สะอาดกว่า แต่ผมดูๆแล้วคนที่ฉลาดมากๆน่าจะมีอยู่น้อย
เพราะบ้านเราเป็นเมืองสบาย อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ฝกตกมาก อาหารไม่ขาดแคลน
ผมได้มีโอกาสฟังผู้บริหารของบริษัททางไบโอเทคแห่งหนึ่งของอินเดียเล่าว่า เมื่อเขาเปิดบริษัทสามปีก่อน ต้องการพนักงานราว ๒๕ คนเท่านั้น
แต่มีผู้สมัครเข้าไปถึงราว ๒๔๐๐๐ คน ผลสุดท้ายเลยคัดมาได้ราว ๓๐ คน จะเห็นว่า บริษัทเขาได้คนแบบหัวกะทิจริงๆเข้าไปทำงาน
ปัญหาหนึ่งที่เขาพบก็คือ เขาพบว่าบัณฑิตที่นั่นก่อนจะทำงานได้ต้องฝึกงานเสียก่อน เพราะบัณฑิตจบใหม่ยังไม่มีทักษะสูงพอที่จะทำงาน ผมได้ฟังก็เฉยๆในเรื่องนี้
บ้านเราปัญหาอาจจะแย่กว่ามาก เพราะมีมหาวิทยลัยใหม่ๆที่ปรับสถานะขึ้นมาสอนระดับปริญญาตรีแยะมาก แต่ดูแล้ว คุณภาพหลักสูตร และคุณภาพของคณาจารย์ส่วนมาก
ดูจะไม่ได้ปรับตาม มหาวิทยาลัยชั้นนำในบ้านเราบางแห่งบางหลักสูตรก็อาจจะมีปัญหาเรื่อง หลักสูตรไม่เคยเปลี่ยนเลยมาสี่สิบปีแล้วก็มี แม้ว่าโลกจะก้าวหน้าไปมากแค่ไหน
เผลอๆถ้าผมหรือใครกะจะเปิดบริษัทมั่ง คงต้องฝึกงานไม่น้อยกว่า ๖ เดือนละมัง
เหตุเพราะมีพลเมืองมาก และการแข่งขันสูง ทำให้คนต้องพยายามฟันฝ่าอย่างมากเพื่อให้ได้งานทำ (คงไม้ต้องบอกว่างานดีๆ) นักวิชาการก็เลยเก่งมากๆ
ขนาดไฟฟ้าดับแทบจะทุกชั่วโมงก็ยังทำงานดีๆออกมาได้มาก คิดเป็นสัดส่วนกับประชากรแล้วยังมากกว่าเมืองไทย
บ้านเราคงเป็นเพราะคนไทยมีความเป็นอยู่ดีกว่าเมืองแขกมาก คนจนมากๆมีจำนวนน้อยกว่า บ้านเมืองเราก็สะอาดกว่า แต่ผมดูๆแล้วคนที่ฉลาดมากๆน่าจะมีอยู่น้อย
เพราะบ้านเราเป็นเมืองสบาย อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ฝกตกมาก อาหารไม่ขาดแคลน
ผมได้มีโอกาสฟังผู้บริหารของบริษัททางไบโอเทคแห่งหนึ่งของอินเดียเล่าว่า เมื่อเขาเปิดบริษัทสามปีก่อน ต้องการพนักงานราว ๒๕ คนเท่านั้น
แต่มีผู้สมัครเข้าไปถึงราว ๒๔๐๐๐ คน ผลสุดท้ายเลยคัดมาได้ราว ๓๐ คน จะเห็นว่า บริษัทเขาได้คนแบบหัวกะทิจริงๆเข้าไปทำงาน
ปัญหาหนึ่งที่เขาพบก็คือ เขาพบว่าบัณฑิตที่นั่นก่อนจะทำงานได้ต้องฝึกงานเสียก่อน เพราะบัณฑิตจบใหม่ยังไม่มีทักษะสูงพอที่จะทำงาน ผมได้ฟังก็เฉยๆในเรื่องนี้
บ้านเราปัญหาอาจจะแย่กว่ามาก เพราะมีมหาวิทยลัยใหม่ๆที่ปรับสถานะขึ้นมาสอนระดับปริญญาตรีแยะมาก แต่ดูแล้ว คุณภาพหลักสูตร และคุณภาพของคณาจารย์ส่วนมาก
ดูจะไม่ได้ปรับตาม มหาวิทยาลัยชั้นนำในบ้านเราบางแห่งบางหลักสูตรก็อาจจะมีปัญหาเรื่อง หลักสูตรไม่เคยเปลี่ยนเลยมาสี่สิบปีแล้วก็มี แม้ว่าโลกจะก้าวหน้าไปมากแค่ไหน
เผลอๆถ้าผมหรือใครกะจะเปิดบริษัทมั่ง คงต้องฝึกงานไม่น้อยกว่า ๖ เดือนละมัง
ไบโอไทแลนด์ กับธุรกิจไบโอเทคในเมืองไทย
งานไบโอไทแลนด์ที่ศูนย์สิริกิตติ์เพิ่งจบไปเมื่อสองสัปดาห์ก่อน งานนี้จัดปีเว้นปี โดย BIOTEC เป็นเจ้าภาพ ใช้เงินหลายล้านในการจัด นับเป็นการประชุมวิชาการระดับภูมิภาคในประเทศไทย ที่จุดประสงค์ของงานดีมาก
งานนี้มีเนื้อหาหลายส่วนที่ บางส่วนก็เข้าฟังได้ทั้งนักวิชาการ บางส่วนเหมาะกับนักธุรกิจที่สนใจทำทางเทคโนโลยีชีวภาพ และบางส่วนเหมาะสำหรับนิสิตนักศึกษา นักเรียน ซึ่งส่วนหลังนี้ฟรี
ผมมีโอกาสไปเข้าฟังการประชุมในช่วงหนึ่งที่ว่าด้วยธุรกิจไบโอเทค ช่วงนั้นได้รับฟังซีอีโอต่างชาติหลายคนมาบรรยาย สนุกมาก เสียดายคนไทยไปเข้าฟังไม่มากนัก
นักศึกษาดูจะไม่มีเลย อาจจะกลัวฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องก็ได้ หรือว่าคงไม่อยากเสียเงิน ถ้าพวกเขาได้มีโอกาสเข้ามาฟัง จะได้อะไรๆเยอะมาก อาจจะได้ไอเดียไปทำธุรกิจก็ได้
และยังมีการบรรยายช่วงหนึ่งว่าด้วยสิทธิประโยชน์ทางภาษี และเงินลงทุนด้วย นักว่ามีประโยชน์มาก
มีซีอีโอจากบริษัทหนึ่งของเกาหลี ผมได้ฟังแล้วผมประทับใจมาก เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วย ทำงานสองงที่ ที่สถาบันวิจัย และที่บริษัท งานวิจัยของเขาที่ทำมาเป็นสิบๆปี เขาเอามาทำขาย
บริษัทเขาผลิตเอ็นไซม์แค่ตัวเดียวออกขายทั่วโลก สารพัดจะใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งในทางเทคนิคแล้วไม่ยากเลยจริงๆ ย้อนกลับมาดูตัวเองบ้าง
สมัยผมเรียนวิทยาศาสตร์ ผมก็เคยผ่านเรื่องพวกนี้มาแล้ว แต่ไม่เคยเลยที่จะดิดออกไปหาสตางค์ใช้จากการเอางานวิจัยไปทำเป็นธุรกิจ สงสัยว่าตอนผมเรียน ครูอาจารย์จะยังไม่ได้เน้นเรื่องนี้
ตอนเรียนปริญญาตรีอาจารย์ก็เฝ้าแต่สอนงานที่จะไปทำเป็นลูกจ้างบริษัท(ในห้องแล็บ)ให้ได้ พอเรียนโทก็เหมือนกัน พอเรียนเอกก็เฝ้าสอนจะให้เป็นนักวิจัย หรืออาจารย์ แถมติดทุนอีกต่างหาก
ต้องทำงานเป็นทาษไปกว่าสิบปี ทำให้ไม่มีความคิดเรื่องการทำธุรกิจเลยในตอนนั้น ดูเห็นเป็นเรื่องยากเกินเอื้อม วกกลับมาเรื่องงานไบโอไทยแลนด์ดีกว่า ผมว่าหลังงานนี้ผ่านไปแล้ว คิดดูแล้วก็น่าเสียดาย
ที่คนไทยส่วนมากที่มีศักยภาพจะทำธุรกิจไบโอเทคดูจะไม่รู้เรื่องงานนี้กันหรือกระตือรือร้นมาฟังมากกันเลย คนจึงไม่ได้ไปเข้าฟังมากนัก ทำให้คนเหล่านั้นพลาดโอกาสรับรู้เรื่องราวของการสร้างธุรกิจไบโอเทคในประเทศไทย
ไปอย่างน่าเสียดาย
งานนี้มีเนื้อหาหลายส่วนที่ บางส่วนก็เข้าฟังได้ทั้งนักวิชาการ บางส่วนเหมาะกับนักธุรกิจที่สนใจทำทางเทคโนโลยีชีวภาพ และบางส่วนเหมาะสำหรับนิสิตนักศึกษา นักเรียน ซึ่งส่วนหลังนี้ฟรี
ผมมีโอกาสไปเข้าฟังการประชุมในช่วงหนึ่งที่ว่าด้วยธุรกิจไบโอเทค ช่วงนั้นได้รับฟังซีอีโอต่างชาติหลายคนมาบรรยาย สนุกมาก เสียดายคนไทยไปเข้าฟังไม่มากนัก
นักศึกษาดูจะไม่มีเลย อาจจะกลัวฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องก็ได้ หรือว่าคงไม่อยากเสียเงิน ถ้าพวกเขาได้มีโอกาสเข้ามาฟัง จะได้อะไรๆเยอะมาก อาจจะได้ไอเดียไปทำธุรกิจก็ได้
และยังมีการบรรยายช่วงหนึ่งว่าด้วยสิทธิประโยชน์ทางภาษี และเงินลงทุนด้วย นักว่ามีประโยชน์มาก
มีซีอีโอจากบริษัทหนึ่งของเกาหลี ผมได้ฟังแล้วผมประทับใจมาก เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วย ทำงานสองงที่ ที่สถาบันวิจัย และที่บริษัท งานวิจัยของเขาที่ทำมาเป็นสิบๆปี เขาเอามาทำขาย
บริษัทเขาผลิตเอ็นไซม์แค่ตัวเดียวออกขายทั่วโลก สารพัดจะใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งในทางเทคนิคแล้วไม่ยากเลยจริงๆ ย้อนกลับมาดูตัวเองบ้าง
สมัยผมเรียนวิทยาศาสตร์ ผมก็เคยผ่านเรื่องพวกนี้มาแล้ว แต่ไม่เคยเลยที่จะดิดออกไปหาสตางค์ใช้จากการเอางานวิจัยไปทำเป็นธุรกิจ สงสัยว่าตอนผมเรียน ครูอาจารย์จะยังไม่ได้เน้นเรื่องนี้
ตอนเรียนปริญญาตรีอาจารย์ก็เฝ้าแต่สอนงานที่จะไปทำเป็นลูกจ้างบริษัท(ในห้องแล็บ)ให้ได้ พอเรียนโทก็เหมือนกัน พอเรียนเอกก็เฝ้าสอนจะให้เป็นนักวิจัย หรืออาจารย์ แถมติดทุนอีกต่างหาก
ต้องทำงานเป็นทาษไปกว่าสิบปี ทำให้ไม่มีความคิดเรื่องการทำธุรกิจเลยในตอนนั้น ดูเห็นเป็นเรื่องยากเกินเอื้อม วกกลับมาเรื่องงานไบโอไทยแลนด์ดีกว่า ผมว่าหลังงานนี้ผ่านไปแล้ว คิดดูแล้วก็น่าเสียดาย
ที่คนไทยส่วนมากที่มีศักยภาพจะทำธุรกิจไบโอเทคดูจะไม่รู้เรื่องงานนี้กันหรือกระตือรือร้นมาฟังมากกันเลย คนจึงไม่ได้ไปเข้าฟังมากนัก ทำให้คนเหล่านั้นพลาดโอกาสรับรู้เรื่องราวของการสร้างธุรกิจไบโอเทคในประเทศไทย
ไปอย่างน่าเสียดาย
Subscribe to:
Posts (Atom)