Wednesday, November 08, 2017

New version of English translation: Mind is the Buddha

I have revised my Thai to English translation of "Mind is the Buddha" or "Mind is the Enlightened One" after re-listening to the old voice record of the venerable Luangpoo Dule. The new translation version 1.4 is displayed in bilingual format. The PDF is at GotoKnow HERE.

จิตคือพุทธะ ของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หรือ พระราชวุฒาจารย์

Friday, May 19, 2017

มาริษาราตรี

วันนี้อยากจะเขียนบันทึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมเพิ่งอ่านจบ ไม่ได้จะรีวิว เพราะไม่มีภูมิพอ แค่จะให้ความเห็น บันทึกความรู้สึก(ของนักอ่านวัย ๖๐ ) แค่นั้นเอง

มาริษาราตรี แปลจาก Jasmine Night ของ S.P. Somtow (หรือ สมเถา สุจริตกุล), แปลเป็นภาษาไทยโดย ถ่ายเถา สุจริตกุล, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๘ สำนักพิมพ์มติชน, (แรกตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารแพรว ถึง ๕๒ ปักษ์ หรือกว่า ๒ ปี ก่อนรวมพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๓๙) แต่ดูเหมือนมีการตีพิมพ์หลังจากนี้หลายครั้งแล้ว.

ปกติผมไม่อ่านนวนิยาย, นอกเหนือจากหนังสือหรือบทความวิชาการ มักอ่านสารคดี (non-fiction) เป็นหลัก. มาริษาราตรี เป็นหนึ่งในหนังสือไม่กี่เล่มที่เป็นข้อยกเว้น, ส่วนหนึ่ง ที่ซื้อมาก็ด้วยชื่อเสียงของผู้ประพันธ์, ซึ่งนักวิจารณ์ยกย่องกันมากในอังกฤษและอเมริกา. เล่มนี้ ผมซื้อมาหลายเดือนแล้ว ไปเจอโดยบังเอิญจากร้านมือสอง แต่ถ้านับจากปีที่พิมพ์ครั้งที่ ๒ หนังสือเล่มนี้ก็อายุราว ๑๘ ปี. เป็นนวนิยายที่แปลจาก Jasmine Night ของ สมเถา สุจริตกุล ซึ่งคนแปลเป็นคุณแม่เขา.


สมเถาเป็นนักประพันธ์ระดับโลก, ศึกษาในประเทศอังกฤษ ได้รับรางวัลมากมาย, แน่นอนว่าเขาแต่งได้ดีมาก, อ่านแล้วขำตลอด. เรื่องที่เขียนนั้น, เขาเขียนในฐานะนักเขียนฝรั่ง, เจตนาเขียนเป็นนวนิยายให้คนหนุ่มสาวฝรั่งอ่าน. มีบทไล่ปล้ำกันบ่อย น่าจะติดเรต R เด็กฝรั่งอ่านได้แต่ผู้ใหญ่ไทยก็อ่านดี.

เนื่อเรื่อง เกิดในราว พ.ศ. 2500-2506 ฉากคือกรุงเทพฯ ในยุคนั้น เรื่องราวส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ชีวิตเขาซึ่งเป็นเด็กไทยที่เติบโตและศึกษาในต่างประเทศ มีจินตภาพมาก ติดใจวรรณกรรมกรีก ความคิดแฟนตาซี พระเอกตัวละครในเรื่องซึ่งเป็นเด็กไทยอายุ ๗ ขวบ มีช่วงหนึ่งกลับมาอยู่พระนครกับญาติผู้ใหญ่ไฮโซชาวไทยห่างไกลจากพ่อแม่ ชีวิตเขามีแต่เรื่องผจญ ซุกซนแบบเด็กฝรั่ง มีเรื่องโอละพ่อตลอด ความสนุกของเรื่องอยู่ที่ฉากหักมุมต่างๆ ในชีวิตของเด็กที่ไม่เคยรู้ "เรื่องของผู้ใหญ่" และกำลังโตเป็นวัยรุ่น จนอายุ ๑๓ ปี ถึง "เสียหนุ่ม" แม้หนังสือจะเล่มค่อนข้างโต แต่เดินเรื่องเร็ว อ่านได้เรื่อยๆ แทบวางไม่ลง.

ในฐานะที่ผมเป็นคนร่วมสมัยกับผู้เขียน อายุอาจจะอ่อนกว่าผู้แต่งไม่กี่ปี เลยสังเกตเห็นและจับผิดเรื่องปลีกย่อยในฉากได้แยะ สิ่งต่างๆ อยู่ผิดกาลเวลาไปบ้าง เช่น เมืองไทยยุคนั้นตามยังสี่แยกไม่มีไฟแดง มีแต่ตำรวจจราจรสวมหมวกพลาสติกคล้ายหมวกกะโล่โบกรถ รถเก๋งต่างๆ รวมทั้ังแท็กซี่ก็ไม่มีแอร์ปรับอากาศมีแต่กระจกหูช้างไว้กวักลมเข้า เดือนมกราคม เมืองไทยยังอยู่ในหน้าหนาว (และสมัยนั้นกรุงเทพฯ อุณหภูมิตอนเช้า ๑๐ องศา ซ.) ยังไม่มีมะม่วงสุกออกมาบนต้น และ ฯลฯ แต่พวกนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย คนเขียนตั้งเป้าให้ฝรั่งอ่านก็คงต้องใส่ลงไป ไม่งั้นก็ไม่มีบรรยากาศตะวันออก และเมืองไทยอาจจะดูล้าหลังเกินไปในสายตาของคนอ่านฝรั่ง อีกเรื่องก็เขาที่พูดถึงสงครามเวียดนาม ซึ่งอันที่จริงอเมริกาเข้าสงครามเวียดนามเต็มตัวในยุคประธานาธิบดีจอห์นสัน แต่ในบทประพันธ์เป็นเรื่องเล่าเหตุการณ์สมัยประธานาธิบดีเค็นเนดี้ และจอมพลสฤษดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งอยู่ช่วงเวลาก่อนหน้ายุคของประธานาธิบดีจอห์นสันอยู่ไม่กี่ปี ทหารอเมริกันยังไม่เข้ามาเมืองไทยมากนัก. ที่ผมพูดถึงเรื่องพวกนี้ เพราะต้องการจะหมายเหตุข้อเท็จจริงในเชิงประวัติศาสตร์เอาไว้เทียบ ไม่ได้จะติเรื่องราวในนวนิยาย.

ผมเข้าใจว่าผู้แต่งคงตั้งใจฝากประเด็นเรื่องการแบ่งแยกชนชั้นเอาไว้ให้เยาวชนคนอ่านชาวตะวันตกได้คิด, ทั้งระหว่างชาวตะวันตกเจ้าอาณานิคมและชนพื้นเมืองจากเหตุการณ์ในโรงเรียนนานาชาติสมัยนั้น, ระหว่างชนชั้นสูงในสังคมตะวันออกและคนรับใช้ จากสภาพความเป็นอยู่หรูหราในครอบครัวขุนนางไทยของตัวละคร, และสีผิว (คนผิวดำ คนผิวสี และ คนผิวขาว) ช่วงเวลานั้นทหารอเมริกันมีทหารผิวดำเข้าประจำการและมีนายทหารผิวดำด้วย (สมัยนั้นคำนี้ไม่ถือว่าไม่เหมาะสม แม้ตอนนี้นิยมใช้คำว่า อัฟริกันอเมริกัน หรือไม่ก็ใช้รวมๆ กับชาวเอเชียและฮีสแปนิก ที่แปลกันว่า ผิวสี แต่ผมขอใช้คำในบริบทของยุคเก่าก็แล้วกัน) ผมเดาว่า ที่เขาพูดถึงสงครามเวียดนามเพราะต้องการสร้างตัวละครเด็กผิวดำขึ้นมาผูกเรื่องความขัดแย้งระหว่างเด็กเชื้อชาติต่างๆ ในโรงเรียนนานาชาติ ผมเชื่อว่าเยาวชนตะวันตกที่อ่านน่าจะได้ข้อคิดกลับไปว่า พวกเขาไม่ควรจะแบ่งแยกเรื่องเหล่านั้น. คนตะวันตกไม่ได้เหนือกว่าชาวเอเชียและชาวผิวดำ ประเด็นนี้อาจจะจับใจนักวิจารณ์หนังสือฝรั่งก็ได้.

ผู้แปลคือคุณ ถ่ายเถา สุจริตกุล, คุณแม่ของผู้แต่ง, เป็นสตรีมีการศึกษา และเป็นภริยาฑูต ถ้าเทียบวัยก็อยู่ในวัยเดียวกับมารดาของผม ช่วงนี้คงอยู่ในวัย ๙๐+ ปี อีกทั้งท่านฑูต ดร. สมปอง, บิดาของผู้แต่ง, ก็คอยติชมสำนวนแปลอยู่ด้วย จึงทำให้การแปลสำนวนเป็นไทยดีมากทีเดียว ผมคิดว่าสำนวนแปลและเรียบเรียงของคุณถ่ายเถาดีกว่าสำนวนแปลนิยายสมัยนี้ แต่เนื่องจากเธออาศัยอยู่ต่างประเทศเป็นหลัก บางคำที่ถอดเสียงออกมาก็เขียนไม่ตรงกับที่คนไทยในยุคนั้นออกเสียง เช่น ไบรล์ครีม (Bryl cream) ยี่ห้อครีมแต่งผม เธอเขียนว่า "บริลครีม" เธอคงออกเสียงถูก แต่ทว่าในเมืองไทยเรียกอย่างที่ผมว่า แต่ประเด็นที่น่าชื่นชมคือชื่อเรื่องภาษาไทย "มาริษาราตรี" คำว่า มาริษา เคยได้ยินเป็นชื่อผู้หญิง นักร้องมีชื่อบางคนในยุคนั้นก็ชื่อนี้ แรกผมนึกว่าแปลว่าดอกมะลิ แต่เมื่อผมไปค้นพจนานุกรมไทยของราชบัณฑิตยสถานก็ไม่มีคำแปล ต้องไปค้นพจนานุกรมบาลี จึงพบคำว่า มาริส ภาษาบาลีแปลว่า ท่านผู้นิรทุกข์ คำนี้ก็คงเป็นต้นเค้าของคำว่า มาริสา หรือ มาริษา ก็เข้ากับเรื่องดี สรุปว่า ชื่อเรื่อง มาริษาราตรี ควรแปลความหมายว่า ผู้ไร้ทุกข์ในยามค่ำคืน ก็ตรงกับบุคคลิกของตัวละครเอกและเนื้อเรื่องที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในตอนกลางคืนให้หรรษาอยู่เสมอ.
ผมเชื่อว่า หนังสือสนุกเช่นนี้คงมีการตีพิมพ์ครั้งต่อไปอีกเรื่อยๆ เป็นแน่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับการตอบรับของนักอ่านรุ่นต่อๆ ไป.

---
Note: This blog is my commentary on the Thai translation of the novel by S.P. Somtow: "Jasmine Nights".







Monday, June 27, 2016

แนะนำวิธีเขียนจดหมายสมัครงาน

ช่วงนี้ผมไปช่วยงานโครงการเกี่ยวกับการปรับปรุงการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มุ่งสร้างเนื้อหาวิชาใหม่ที่เกี่ยวกับทักษะวิชาชีพสำหรับนักรเรียน ม. ปลาย สายสามัญ เผื่อสำหรับเด็กนักเรียนที่อาจจะไม่ตัดสินใจเรียนต่ออุดมศึกษาหรือระดับ ปวส. อาจจะออกไปหางานทำเลย
ผมรู้สึกว่า เด็กของเราโดยมากภาษาอังกฤษอ่อน แต่ทรัพยากรต่างๆ บนเน็ตส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษ ก็เลยตัดสินใจช่วยทะยอยเขียนเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับงานที่ช่วยทำนี้ ออกมาเป็นภาษาไทย เพื่อสร้างแหล่งค้นคว้าเอาไว้ให้เยาวชนไทยเราในอนาคต เป็นการช่วยในระยะเริ่มแรกขณะที่เด็กของเราภาษาอังกฤษยังไม่แข็ง ก็ต้องทำอย่างนี้ไปก่อน

บทความแรกที่เขียนวันนี้คือ วิธีการเขียนจดหมายสมัครงานภาษาไทย เอกสารเป็น PDF ส่งไปเก็บไว้ที่ GotoKnow 
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับใครบางคนนะครับ

I just wrote a short guide as part of a series to create a Thai language educational resource to help provide some vocational skills to high school students. The first Thai-language article entitled 'Writing a job application letter' or  "การเขียนจดหมายสมัครงาน" in Thai is stored at the link above.



Saturday, June 04, 2016

พุทธศาสนากับนักปรัชญาเยอรมันในศตวรรษที่ ๑๙

ถ้าใครสนใจปรัชญาของ คานท์ เฮเกล โชเปนเฮาเออร์ นีตเช่ กับสนใจ พุทธศาสนา
ต้องอ่านบทความของ Heinrich Dumoulin, 1981, Buddhism and 19th-century German Philosophers.
ผมเคยแปลไว้เมื่อ ๓ ปีก่อน แก้ไขคำแปลบทแปลภาษาไทยแล้ว ตอนนี้น่าจะดีกว่าเดิม
แรกแปลเอาไว้อ่านทำความเข้าใจเอง แต่คิดว่าเก็บไว้อ่านคนเดียวก็สู้เอามาแบ่งปันไม่ได้

แบ่งปันไว้ที่ GotoKnow


Tuesday, May 10, 2016

บทเรียนจากนักเขียนระดับโลก ไอแซค อาซิมอฟ



ผมอ่านอัตตชีวประวัติของ Issac Asimov นักเขียนที่ผลงานมากที่สุดในโลก (ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด) ไปได้ครึ่งเล่มแล้ว
ผมชื่นชมเขามาก และเป็นแฟนหนังสือเขาหลายเล่ม แม้จะเสียชีวิตไปนานแล้ว เฉพาะที่ตีพิมพ์เป็นหนังสือก็ราว ๔๗๐ เล่ม ทั้ง non-fiction และ นวนิยายวิทยาศาสตร์ (เป็นส่วนมาก)

นอกจากเก็บศัพท์ของเขาไว้ได้เผื่อใช้มั่งกว่า ๔๐ คำแล้ว ตอนนี้ได้บทเรียนสรุปที่ได้มาหลายอย่างจากนิสัยของ อาซิมอฟ น่าจะเป็นประโยชน์กับตัวเองและคนที่อยากเขียนหนังสือ หรือ อยากเป็นนักเขียนบ้าง

เขาเขียนหนังสือทุกวัน ตั้งแต่เช้ายันค่ำ ได้ติดต่อกัน ๑๒ ชม. (เพราะเคยทำงานตั้งแต่ ๖ โมงเช้ายันตีหนึ่งในร้านลูกกวาดของพ่อ)

เขา enjoy การเขียนอย่างมาก
เขามี passion กับกระบวนการเขียน(พิมพ์ดีดหนังสือ) ตั้งแต่เริ่มคิดจนออกมาเป็นเล่ม เขาชอบ writing operation ชอบการเขียนดินสอบนกระดาษเปล่า ชอบการกดพิมพ์ดีด หรือชอบตอนตัวหนังสือปรากฏบนจอภาพของ word processor เขาไม่อยากทำอะไรอื่น เขานั่งพิมพ์งานได้ ๑๒ ชม. ติดต่อกัน เขาเขียน(พิมพ์)เมื่อไรก็ได้ ถ้ามีเวลาแค่ ๑๕ นาทีก็พิมพ์ได้ ๑ หน้าแล้ว เขาไม่ยอมเสียเวลา
เขาภูมิใจในการสร้างชื่อ พยายามทำลายสถิติจำนวนหนังสือตัวเอง เมื่องานเขาเริ่มติดตลาดแล้ว เขาตั้งใจผลิตหนังสือออกมาให้ได้ปีละ ๑๓ เล่ม เพราะตั้งใจผลิตหนังสือออกมาทำลายสถิติตัวเองไปเรื่อยๆ เช่นเคยท้าทายตัวเองว่า เพิ่งเขียนและตีพิมพ์ได้แค่ ๒๐๐ เล่มเอง ต่อมาก็ ๓๐๐ เล่ม ต่อมาก็ ๔๐๐ เล่ม ... 
 
เขาภูมิใจในความรู้ดีเยี่ยมของเขาที่อ่านมากรู้มากหลายสาขาปานประหนึ่งสารานุกรม 
 
เขาแนะว่า จะเป็นนักเขียนต้องเขียนแยะๆ ต้องคิดมากๆ แต่ละเรื่องควรมีบทตอนจบอยู่ในใจ
ถ้าเมื่อไรเกิด writer's block เขียนไม่ออก ก็ให้หันไปเขียนอย่างอื่นแทน เช่น บทบรรณาธิการ จดหมาย เขียนเรื่องในโปรเจ็คอื่นๆ ที่เขามีอีกเป็นสิบๆ เรื่องคาไว้
 
เมื่ออ่านงานของคนอื่น เขาสามารถมองเห็นรูปแบบ pattern ในเรื่องราว(วรรณกรรม)ที่เขาอ่านได้ (คล้ายกับนักหมากรุกที่เห็นแพ็ทเทอร์นในการเล่น ให้ชนะเกมส์) แต่เขาไม่มีความสามารถเห็นรูปแบบในการเล่นเกมส์ต่างๆ เลยเล่นไม่เก่ง และเขาก็บอกว่า เขาไม่สามารถเป็นนักวิจารณ์วรรณกรรมได้
 
เขาชอบเขียนในที่แคบๆ เปิดไฟ ปิดม่านไม่ให้แสงอาทิตย์ภายนอกเข้ามา หันหน้าเข้าหากำแพงเปล่าๆ ดังนั้นในการทำงาน แต่ละคนจะต้องหาให้ได้ว่าเราชอบบรรยากาศแบบไหนในการเขียน (ผมเคยอ่านเจอ นักวิชาการเรียกว่าเพื่อให้เกิด flow state)
 
คนเราอาจจะมี hidden talent ที่ยังไม่มีโอกาสแสดงออกก็ได้ (ถ้าไม่มีโอกาสลองสักครั้ง) เช่น เขาพบทีหลังว่าเขาเป็นนักพูดที่ดีมาก
 
เขาทำงาน อุตสาหะ (industrious) มีประสิทธิภาพ (efficient) ปฏิบัติเคร่งครัดต่อหลักศีลธรรมจรรยา (puritanical) และ มีสมาธิลึกมากในการทำงาน (deeply absorbed) (ตามคำบรรยายของ น้องชายเขา)
แม้ว่าเขาไม่นั่งเขียนอยู่ที่โต๊ะ สมองเขาก็ทำงานคิดเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องราว บทสนทนา ฯลฯ เขาจึงพร้อมจะนั่งลงเขียนอยู่เสมอ เพราะว่า มันเขียนเสร็จในหัวอยู่แล้ว ต้อง self-absorbed คิดเรื่องอยู่ตลอดเวลา ต้องให้แนวคิดเป็นระเบียบในหัวคนเขียนก่อน และการควบคุมความคิดให้ออกมาจนคนอื่นรู้ชัดว่าคุณต้องการจะพูด(สื่อความหมาย)ว่าอะไร
 
เขาบอกว่าคนที่จะเป็น prolific writer ต้องรักงานที่ตัวเองเขียน และไม่ต้องไปมัวแก้สำนวนอยู่นั่น เขาตรวจแก้แค่รอบเดียว และต้องไม่พยายามทำให้งานเป็นสำนวนวรรณกรรม
 
เขาบอกว่า มีงานเขียน(นวนิยาย) อยู่ ๒ แบบ งานเขียนแบบหนึ่งเปรียบได้กับกระจกสี mosaic ที่ประดับหน้าต่างตามโบสถ์ เป็นภาพต่างๆ ยากที่ตาจะมองผ่านทะลุออกไปได้ ได้แก่งานประพันธ์แบบเก่าและบทกวี งานเขียนอีกแบบเปรียบได้กับกระจกใส ที่คนแทบมองเนื้อกระจกไม่เห็นเลย แต่ทว่าเห็นภาพภายนอกหน้าต่างได้ชัดเจน อาซิมอฟบอกว่างานของเขาเป็นแบบหลัง
 
อาซีมอฟบอกว่า การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ยากกว่าเขียนนิยายธรรมดา เพราะว่า ๑) ต้องสร้างภาพสังคมในอนาคตขึ้นมาก่อน ๒) ต้องสร้างพล๊อตให้เข้ากับบริบทสังคมนั้น และ ๓) การบรรยายสังคมในอนาคตต้องไม่กีดขวางการดำเนินเรื่องในพล๊อตและไม่ทำให้เรื่องอืดอาดลง


(เนื้อหาส่วนมากซ้ำกับที่ผมโพสต์ในเฟซบุ้คผม ต่างที่แก้สำนวนเล็กน้อยและฟอร์แม็ตเนื้อความ)

Sunday, March 29, 2015

Thai Education Improvement ideas from a panel discussion

Recently (March 25, 2015, B.E. 2558)  there was a seminar entitled "Education for the future: Adjusting classrooms, change the future" at Thammasat University.

There was a panel discussion "From the World to Thailand, a new direction for learning in the 21st century."

I found that their excerpts (in Thai language) are very useful and would like to post the links here for future reference.

จากโลกสู่ไทย ทิศทางใหม่ของการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ ๒๑ ปรับห้องเรียน เปลี่ยนอนาคต: เวิร์กช็อปเปลี่ยนชีวิต เปิดพื้นที่ ไม่มีการตัดสินถูก-ผิด





Part I

Part II

Part III

Part IV

Part V


Friday, September 05, 2014

Thai people consume less beef


Thai people are consuming less and less beef. Meanwhile, merchants from Vietnam came to purchase live cattle from NE Thailand. Price of live cattle thus increased from 15000 Baht to 40000 Baht each. Now price of beef increased from 180 Baht per kg up to 300-350 Baht per kg. More Thai people switched into consuming more pork or other cheaper foods.

I think we are witnessing another change in culture and way of life. Earlier, we consumed more fish and vegetables, then more pork and chicken and beef. Now beef (from cows and buffalos) will be less and less.
 
Ref: Manager

Monday, September 01, 2014

อยากเขียนนวนิยายก็ต้องลองอ่านเล่มนี้


สัปดาห์ที่แล้ว ผมไปได้หนังสือมือสองมาหลายเล่ม จากร้าน Dasa แถวพร้อมพงษ์

ที่อ่านจบไปแล้วอย่างรวดเร็ว พร้อมกับทำโน้ตย่อไว้ด้วยคือ หนังสือของ Stephen King เรื่อง On Writing

ผมหยิบมาเพราะว่า 
๑ ผมรู้ว่าเขาเป็นนักเขียนนวนิยายคนดังของอเมริกา แม้ว่าจะไม่เคยอ่านงานของเขาเลยก็ตาม เขาเขียนเรื่องพวกสยองขวัญ อะไรทำนองนั้น ที่ผมไม่ชอบอ่าน แต่ 
๒ ผมเห็นหนังสือเล่มนี้ที่หมวดภาษา และก็จริงๆ แล้ว เล่มนี้เป็น non-fiction
เป็นบันทึกความทรงจำชีวิตของเขา อธิบายว่าเขามาเป็นนักเขียนนวนิยายได้อย่างไร และ ครึ่งเล่มหลังเขาสอนแนวการเขียนนวนิยายตามความเห็นของเขา

ผมอ่านแล้ว เล่มนี้ดีมาก กำลังสนใจวิธีเขียนนิยายภาษาอังกฤษอยู่ 

แต่ถ้าใครสนใจจะเขียนนวนิยายไทย ก็ต้องไปหาหนังสือของ 'รงษ์ วงษ์สวรรค์ หรือ ไม่ก็ของ ทมยันตี มาอ่าน
ผมอ่านมาหมดทั้งสามเล่มแล้วละ ความจริง ๔ มีของใครอีกคนล่ะ เล่มโตๆ จำไม่ได้ (ตอนนี้หนังสืออยู่ที่อีกบ้านหนึ่ง) แต่จนแล้วจนรอด ก็ยังไม่ได้เขียนนิยายอะไรออกมาเลย

ความจริงการเขียนนิยาย ก็เป็นสิ่งที่คนทำมาหลายร้อยปีแล้ว นักปรัชญายุโรปยุคโบราณ เลี่ยงการลงโทษจากคริสตจักรด้วยการเขียนนิยาย แต่คนก็เอามาตีความกันจนได้แหละ

Tuesday, July 15, 2014

วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์

ไปแวะนมัสการพระพุทธรูปและทำบุญที่วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ อ. ท่าตะโก นครสวรรค์ เลือกเอาบางรูปมาโพสต์ไว้หน่อย เผื่อคนอื่นจะได้อยากไปบ้าง






















Friday, May 02, 2014

Thai aviation museum

I just found a nice web-board posting a lot of air-plane pictures recently taken at the Royal Thai Air Force Aviation Museum.  I suppose air-plane buffs would love it.

I have not visited the place, near Don Mueang airport, but after viewing the page, I think those nice things are enough to would obviate my trip there for now.

Link is here.

Monday, April 07, 2014

Contemporary interests on Thailand

Prachachat Business newspaper published an interesting Thai interview of a British historian, Christ Baker, who recently co-authored a new edition of Contemporary History of Thailand, for both Thai and English versions. He talked about political changes in Thailand up to now. He has a positive view that more Thais have come out to voice their opinions in politics, which is the same trend with other countries in Asia, which have progressed much more. He thought that PM Yingluck is the last clone of former PM Thaksin, and his time in Thai politics is over. And he said that many institutions in Thailand need to change.  Here.

I think he has interseting good points.

Normally I am not interested in contemporary history. But now I think when I go to visit a bookstore later this year I 'll try to get his a copy of his book.

Problem with Future Orientation Index


Today, I stumbled upon the so called 'future orientation index' by chance, and retrieved a short 2012 paper which described it.

Upon browsing the paper by Preis et al (DOI:10.1038/srep00350, also available freely via Pubmed database), I found that the idea of using each country's queries of the years in arabic number, e.g. '2011, 2012', for future prospect is clever.

However, I noticed that it is without flaw: the authors disregarded cultural background of several countries. I should first say that I am not interested in trying to get the ranking of my country to be any higher, but as someone used to work as a reseacher, I could not avoid looking for ways to improve data quality.

Thailand, for example, is a Buddhist country, and people use mainly the Buddhist calendar (CE + 543) in their day-to-day lives. Not only that, Thais also use Thai numerals often interchangeably to Arabic numerals. If people from Thailand conducted searches for events or trends in their queries for next year's, they are also likely to search using the number representing Buddhist year, and might as well using Thai numerals when they are too lazy to swith the keyboard language.
Likewise, people in muslim countries could also be conducting searches using number for islamic year.

That's my 2 cents.

Monday, March 31, 2014

รถไฟฟ้าน่าสนใจ เทสล่า


นที่อ่านข่าวต่างประเทศมักจะได้ยินชื่อ Tesla บ่อยๆ ตอนแรกผมก็นึกเอะใจว่าว่าเขาหมายถึงนักประดิษฐ์ผู้มีชื่อเสียง ในอดีต หรือเปล่า แต่ก็เปล่า ชื่อนี้ที่ฮิตเป็นชื่อของบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และยี่ห้อรถยนต์ซีดานไฟฟ้า ที่กำลังร้อนแรงมากในโลกตะวันตก พอๆ กับ บีเอ็มดับเบิลยู ทีเดียว ตอนนี้ดูเหมือนบริษัทนี้ขายไปแล้วกว่า ๕ หมื่นคัน ในรอบ ๒ ปี ทั้งในสหรัฐ และยุโรปตะวันตก
ข้อมูลเพิ่มเติม วิกิพีเดีย

และรุ่นของรถที่พูดถึงกันก็คือรถซีดานรุ่น Model S

แม้ว่ารถจะมีสมรรถภาพดีมาก และประหยัดค่าน้ำมันได้มาก แต่ปัญหาของรถไฟฟ้าอยู่ที่แบตเตอรี่ขนาดใหญ่ใต้ท้องรถ อาจไฟไหม้ได้ ถ้าเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ แล้วแบตเตอรี่โดนกระแทกและมีโลหะแปลกปลอมแทงทะลุเข้าไป ข่าวล่าสุดเพิ่งออกมา คือ บริษัทตัดสินใจหุ้มเกราะแบตเตอรี่เพิ่มเติม ด้วยโลหะไทเทเนียมอีกชั้นหนึ่ง จากเดิมซึ่งก็มีเกราะเหล็กหน้า 0.25 นิ้วกันอยู่แล้ว

อีกชื่อที่ดังไม่แพ้กันก็คือ CEO ของบริษัทนี้ที่ชื่อ Elon Musk เมื่อเร็วๆ นี้มีคนอาสาทำคลิปโฆษณารถยนต์นี้ให้ คนดูกันมาก

บริษัท Tesla นี้ขายรถยนต์โดยตรงให้ลูกค้าโดยไม่ผ่านตัวแทนจำหน่าย ทำให้เกิดการขัดผลประโยชน์อย่างแรง กับงสมาคมผู้ประกอบการจำหน่ายรถยนต์ในรัฐต่างๆ และทำให้เกิดงัดข้อกันทางข้อกฏหมายหลายอย่าง

ผมคิดว่า รถยนต์ไฟฟ้าคงเป็นเรื่องที่ในที่สุดก็คงเข้ามาในบ้านเรา เพราะไฟฟ้าสามารถมาได้จากพลังแสงอาทิตย์ ในอนาคตรถยนต์ใช้น้ำมันคงต้องลดจำนวนน้อยลง ดังนั้นเรื่องราวของรถยนต์จากบริษัทนี้ ควรเป็นที่สนใจของคนไทย เพราะมีหลายแง่มุม ไม่เพียงในแง่เทคโนโลยีไฮเทค สิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน เรื่องของเศรษฐกิจ สังคม ธุรกิจ ข้อกฏหมายต่างๆ ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย และแม้แต่ในประเทศเช่น สหรัฐเอง ก็ยังตามการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน และมีคนบางส่วนในสังคมพยายามหยุดความเปลี่ยนแปลงนั้น เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มตัวเองอยู่




Wednesday, March 05, 2014

พื้นที่ภายในขนาดใหญ่ไว้สำหรับคนเดิน


อ่านบทความที่สัมภาษณ์ Norman Foster ผู้ออกแบบอาคารใหญ่ๆ สำคัญๆ ทั่วโลกหลายแห่ง เช่น สนามบินกรุงปักกิ่ง ในประเทศจีน และ อาคารสำนักงานใหญ่ของแอปเปิล ที่ Cupertino, California
แล้วรู้สึกชอบ ลิงก์ที่นี่


วันนี้ผมอยากจะเขียนสิ่งที่อยู่ในใจผมเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลังจากผมตามข่าวเขามาหลายปีแล้ว ตั้งแต่ก่อน สตีฟ จ๊อบส์ เสียชีวิต

อาคารของแอปเปิลที่กำลังสร้าง มีแนวคิดน่าสนใจ คือ มีพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ตรงกลาง ทำเป็นสวนผลไม้ ซึ่งสะท้อนอดีตของแคลิฟอเนียร์ และเป็นศูนย์กลางของชุมชนพนักงานกว่า ๑๒๐๐๐ คน รายรอบไปด้วยสำนักงานอาคารรูปวงแหวนขนาดยักษ์ประดับกระจก ๔ ชั้น สำหรับชั้นแรก มีร้านอาหารอยู่เป็นช่วงๆ อาคารนี้ออกแบบให้คนเข้าถึงกันได้ มีปฏิสัมพันธ์กัน และมีบรรยากาศส่งเสริมให้คนมีการร่วมมือกัน ไม่ได้มีการแยกเป็นอาคารย่อยๆ ซึ่งนอกจากคนเข้าถึงได้ยากแล้ว ยังไม่ประหยัดพลังงานอีกด้วย ลานจอดรถซ่อนไว้ใต้ดิน ภายใต้สนามหญ้า ส่วนรอบๆ อาคารปลูกเป็นสวนป่า มีทางเดินให้คนเดินปรึกษาหารือและครุ่นคิดได้ และมีทางสำหรับคนวิ่งจ๊อกกิ้งออกกำลังกาย

ผมรู้สึกอยากเห็นคนสร้างอาคารใหญ่ที่มีมโนทัศน์แบบของเขาในเมืองไทยบ้าง ผมย้อนนึกถึงมหาวิทยาลัยในเมืองไทย ซึ่งปัจจุบันนี้ส่วนมากมีรถยนต์จอดเกะกะไปหมด ดูรกตา อาคารใหญ่บ้างเล็กบ้างกระจายตัวอยู่อย่างไม่ค่อยมีแบบแผน และไม่มีความงามทางสถาปัตยกรรม หรือหากมีก็ไม่สอดคล้องกันเท่าไรนัก ถนนภายในเต็มไปด้วยรถยนต์นับพันๆ คันของนักศึกษาจอดตามถนนแน่นไปหมด ตรงกลางก็มีการจราจรติดขัด พ่นควันออกมา นักศึกษาและอาจารย์ต้องเดินลัดเลาะไปตามช่องว่างระหว่างรถที่ติดหรือจอดอยู่ ดูไม่มีสุนทรียภาพเสียเลย (นึกถึงสถาบันเก่าของผมแถวสามย่านแล้วก็สลดใจ สมัยเมื่อ ๓๐ ปีก่อนนั้น ไม่ค่อยมีรถยนต์ บรรยาการสงบกว่านี้มาก)

สมัยเมื่อผมเรียนอยู่ในอเมริกา ที่มหาวิทยาลัยผม ที่แคนซัสสเตท แม้จะมีนักเรียนกว่า ๑๕๐๐๐ คน เขามีมโนทัศน์ว่า อาคารจะต้องประดับผนังด้วยแผ่นหินทรายทั้งหมด จะทั้งแคมปัสจะต้องเป็นวิทยาเขตคนเดิน (walking campus) คือในบริเวณแกนในของมหาวิทยาลัยนั้น ไม่อนุญาตให้รถยนต์เข้าไปจอด (เว้นแต่รถส่งของ) ลานจอดรถ อยู่จัดสร้างไว้รอบๆ ตรงประตูมหาวิทยาลัยแต่ละด้าน ผมชอบบรรยากาศแบบนั้นมาก และเท่าที่ผมรู้ ไม่มี walking campus มากนักในเมืองไทย

ขอพูดนอกประเด็นนิดหนึ่งว่า ผมชื่นชมผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลในยุคไม่กี่ปีมานี้ ที่ทำวิทยาเขตศาลายาจนน่าอยู่ขึ้นมาก ปลูกต้นไม้และจัดสวนสวยงาม จนบรรยากาศเหมือนมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ผมต้องขอขอบคุณท่านมา ณ ที่นี้ ผมเองรู้สึกดีใจ ที่มีผู้สานต่อคณาจารย์รุ่นบุกเบิกหลายท่าน ที่สมัยก่อนต่างลงทุนลงแรงไปปลูกต้นไม้กันเองไว้แยะ ผมเองก็มีส่วนปลูกไว้บ้างในบางพื้นที่ ในที่สุดผมก็ได้เห็น แคมปัสสีเขียวน่าอยู่น่าเรียนที่คณาจารย์รุ่นต่อมาพัฒนาต่อมา



Tuesday, March 04, 2014

Another source of useful Thai ebooks on public issues


ไปเจอ ebook ดีๆ ภาษาไทย ให้ดาวน์โหลดฟรี จาก แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี
ก็เลยอดมาบันทึกไว้ในบล๊อกไว้ไม่ได้ ไปดูรายชื่อเอาเองครับ
ผมแอบดูดไว้อ่านในอนาคตแล้วหลายเล่มเหมือนกัน

ขอบคุณสปอนเซอร์ของเว็บที่นั่น เจ้าของทุนวิจัย ผู้เขียนหนังสือ ทุกๆ ท่านครับ

ผมหวังว่าในอนาคตผมก็จะตอบแทนสังคมไทยแบบท่านด้วยงานเขียนของผมเพิ่มเติมอีกเหมือนกัน

Many useful non-fiction Thai ebooks, freely downloadable from 'good public policy constructive project' TUHPP. Scopes of the topics include developments of community, social, economic, environment. Here.