Tuesday, May 15, 2012

ประท้วง ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม

ในหลายๆ ประเทศ ผู้คนที่เดือดร้อนทางเศรษฐกิจเริ่มออกมาประท้วง ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ที่นักการเงินได้กำไรมหาศาล จากการทำลายเศรษฐกิจของคนอื่น (อย่างเช่นที่ประเทศไทยเคยโดน ตอนวิกฤตการณ์ ต้มยำกุ้ง)

นี่เป็น วีดิโอ สัมภาษณ์ที่ลอนดอน



ไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก วิกิพีเดีย

แต่ถ้าไปอ่านหนังสือ The Value of Nothing ก็จะได้อะไรแยะ ตอนนี้กำลังอ่าน(ฉบับแปลไทย) รอบที่ ๓ แล้วมัง

Monday, May 14, 2012

หนังสือเรื่อง คืนชีวิตสู้ห้วงสงบภายใน

เมื่อวาน ผมไปได้หนังสือแนวปรัชญามาสองเล่มจากร้านสมใจ ใครที่เป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบต้องรู้จักร้านนี้ดี เพราะอยู่คู่สวนกุหลาบฯ เชิงสะพานพุทธ มาค่อนศตวรรษ แต่ผมไปได้จากร้านสาขาที่ ดิโอลด์สยามพลาซ่า หนังสือเล่มหนึ่งที่ผมเริ่มอ่านวันนี้คือ หนังสือเรื่อง "คืนชีวิตสู้ห้วงสงบภายใน" แปลโดย สุริยฉัตร ชัยมงคล จากวรรณกรรมลือชื่อเรื่อง Walden ของนักปรัชญา ชาวอเมริกัน Henry David Thoreau ฉบับนี้พิมพ์ครั้งที่ ๔ แล้ว ไม่น่าเชื่อว่า หนังสือแบบนี้ก็มีคนไทยอ่านด้วย (แต่ตอนนี้ร้านนี้อาจจะหมดแล้วก็ได้)

ผมอ่านบทแรกด้วยความสนใจ แต่แล้วก็รู้สึกว่า น่าจะมี ebook จากเว็บของ Project Gutenberg ก็เลยไปเช็คดู

แน่นอน พบว่า มีทั้ง หนังสือเสียง  (audio book) และ อีบุ้ค ฟอร์แมต ต่างๆ ผมจึงดาวโหลด หนังสือเสียงในฟอร์แมต mp3 (ดูเหมือนจะ ๒๓ แฟ้ม ขนาดรวมเกือบ 500 Mb) และ อีบุ้คฟอร์แมต ePub มา ขนาดไม่ใหญ่ (ซึ่งจะเปิดอ่านได้โดยใช้ Firefox browser ที่มีปลั๊กอิน epubreader อยู่)

เทียบกันกับต้นฉบับแล้ว ผู้แปลเป็นภาษาไทย ทำหน้าที่ได้ดีพอสมควร แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้แปลเสียชีิวิตไปนานแล้วตั้งแต่วัยหนุ่ม แต่ทว่าต้นฉบับหนังสือเล่มนี้อายุเกือบ ๒๐๐ ปี สำนวนเป็นแบบโบราณ คนไทยเข้าใจสำนวนวิธีบรรยายของคนเขียนที่เป็นฝรั่งในภาษาไทยได้ยาก ผมไม่ตำหนิว่าเป็นความบกพร่องผู้แปลแต่อย่างใดที่ผมตัดสินใจหันไปอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษประกอบด้วย เพื่อเสริมความเข้าใจ

สำหรับผม การอ่านต้นฉบับภาษาดั้งเดิมของเขาด้วย คิดว่าให้ความเข้าใจเนื้อความและบรรยากาศในบางบริบทได้ดีขึ้น ก็ก่อนหน้านี้พยายามฟัง audio book ก็ไม่ค่อยเข้าใจเนื้อความเท่าไร เพราะสำนวนการเขียนของผู้เขียน เป็นสไตล์การเขียนที่เยิ่นเย้อ ชักแม่น้ำทั้งห้า แบบเมื่อ ๑๕๐ ปีก่อน แต่ละประโยคมีท่อนย่อยๆ ภายในแยะมาก เรียกว่ามักต้องฟังจนจบย่อหน้าเสียก่อนถึงจะพอเข้าใจ เนื้อความแบบนี้ไม่เหมาะในการฟัง ก็เลยไม่ฟังต่อ ทั้งๆ ที่ผู้บรรยายหนังสือ เสียงอ่านได้ดีมาก ชัดเจน ได้จังหวะจะโคนดี

ใครสนใจอยากอ่านบ้าง ก็ไปดาวน์โหลดหนังสือมาได้จาก Project Gutenberg ก็แล้วกันครับ



Sunday, May 13, 2012

ปัจจัยหลักของความเสื่อมสลายของสังคมตะวันตก

ไปดู vdo clip (ความยาวราว ๑ ช.ม.)  องค์ปาฐกพูดถึงปัจจัยหลักของความเสื่อมสลายของสังคมตะวันตก

จากวิดีโอนี้

สรุปความได้ว่า เขาพูดถึงสาเหตุใหญ่ของ ความเสื่อมสลายของสถาบันในสังคมตะวันตก คือ

การบังคับใช้กฎหมาย (rules of laws) มีแต่ การบังคับใช้กฎของนักกฎหมาย (rules of lawyers)
ปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายมหาศาลที่ซ่อนอยู่ คือ ค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย และทำให้ประสิทธิภาพของ การบังคับใช้กฎหมายลดลง (ผมมองว่า ฝรั่งมีแนวโน้มที่จะชอบฟ้องร้อง โดยไม่มีเหตุผล และเรียกแพงๆ) และ ระเบียบยุ่งยากต่างๆ ในการก่อตั้งธุรกิจ ทำให้ล่าช้า เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ พบว่า ประเทศอื่นๆ (เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ นิวซีแลนด์) มีประสิทธิภาพกว่าสหรัฐฯ

(ผมมองย้อนมาบ้านเราว่า ไทยเรามีปัญหามากในเรื่อง การบังคับใช้กฎหมาย และความไม่เท่าเทียมกัน หรือ การเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย และ การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมือง อันนี้ผมไม่ได้เข้าข้างฝ่ายไหน ว่าพรรคไหนโดยเฉพาะ พูดโดยภาพรวมทั้งหมด กล่าวแบบใจมีอุเบกขา)

ผู้พูดกล่าวต่อว่า คอรัปชั่น ทั้งในระดับปัจเจกชน จนถึงระดับใหญ่ๆ เป็นปัจจัยอีกอย่างที่ทำให้สังคมใหญ่สลายลงได้ แม้แต่ อาณาจักรโรมันอันเกรียงไกรในประวัติศาสตร์ ก็ถล่มสลายลงได้ภายในเวลาอันสั้น แค่ ๓ ทศวรรษเท่านั้น
ตัวอย่างระดับปัจเจกชน ก็เช่น การที่คนจำนวนมากขึ้น (ในสหรัฐ) หาวิธีจ่ายภาษีรัฐให้น้อยลง ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไปแบมือรับสวัสดิการจากรัฐมากขึ้น อันนี้สาเหตุเป็นเพราะ ระดับคุณธรรมลดลง

ผมหวังว่าประเด็นปัญหาเหล่านี้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ในการนำมาแก้ปัญหาความเสื่อมสลายของสังคมไทย



ตะวันตกรุ่งเรืองเพราะเหตุ ๖ ปัจจัย

ผมยังคงตามดูการบรรยายของ Niall Ferguson ต่อไป ก็ไปเจอการบรรยายของเขา ที่ TED 2011
ในตอนนี้ เขาบรรยายว่า ตะวันตกรุ่งเรืองเพราะอะไร ในรอบ ๕ ศตวรรษที่ผ่านมา มีปัจจัย หรือ เพราะองค์กร ๖ ประการ ที่เขาใช้ศัพท์สมัยใหม่ว่า Apps และในที่สุด สังคมตะวันออก ก็กำลังจะไล่ตามทัน แต่ว่าจะได้หรือไม่ ถ้าปัจจัยไม่ครบ

๖ ปัจจัยนั้นได้แก่

๑  การแข่งขันในยุโรประหว่างสถาบันต่างๆ (องค์กรต่าง นครรัฐ ต่างๆ) ทำให้เกิดการพัฒนาทุกๆ ด้าน รวมทั้งสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
๒ การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การค้นพบใหม่ๆ โดยนักวิทยาศาสตร์ผู้ปราชญ์เปรื่อง ส่งผลกระทบให้มีการประยุกต์ความรู้ไปใช้ รวมทั้งในทางอุตสาหกรรม
๓ สิทธิเป็นเจ้าของในที่ทำกิน (ในระดับพอเพียง) ทำให้คนมีความกระตือรือร้น มากกว่าในดินแดนที่ราษฎรไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของในที่ดิน
๔ พัฒนาการทางการแพทย์ เช่นการรักษาโรคร้ายแรง ลดอัตราการตาย เพิ่มอายุขัยเฉลี่ย มากกว่าประเทศอื่นๆ
๕ สังคมแห่งการบริโภค ทำให้เกิดการขยายการค้าขนานใหญ่
๖ จรรยาบรรณในการทำงาน มีความรับผิดชอบในการงาน ทำงานหนัก ตรงเวลา

ผมว่าปัจจัยพวกนี้ต้องคิดให้มากๆ และตีโจทย์ให้แตก เราคงต้องฟังข้อเสนอของเขา มาพิจารณาอย่างพินิจพิเคราะห์ เพื่อสร้างสังคมไทยใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมาในอนาคต โดยเฉพาะหลังวิกฤติการเมืองระดับโลก ระดับประเทศ และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ที่กำลังทวีกำลังแรง และในที่สุดก็น่าจะผ่านพ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
น่าไปชม

การบรรยายที่ TED ของ Ferguson

ควันหลงจากการอ่านหนังสือเรื่อง ความรุ่งเรืองของเงินตรา

ผมเพิ่งอ่านหนังสือแปลเล่มหนึ่งจบ หลังจากซื้อหนังสือมาหลายเล่ม ช่วงสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เล่มนี้มีชื่อว่า "ความรุ่งเรืองของเงินตรา ประวัติศาสตร์การเงินโลก" แปลจาก The Ascent of Money: A Financial History of the World เขียนโดย Prof. Niall Ferguson แปลโดย อรนุช อนุศักดิ์เสถียร ผมเห็นว่าเป็นหนังสือที่ให้ความรู้มาก ผู้แปลก็แปลได้ดี อ่านแล้วทำให้ผมเกิดความเข้าใจว่า พัฒนาการของระบบการเงินของโลกที่ทำให้คนเชื้อสายยิวในยุโรปและอเมริกาเข้าครอบครองโลกและมีอิทธิพลเหนือรัฐบาลต่างๆ ของโลก ทำให้เกิดการเอาเปรียบคนส่วนใหญ่ของโลก และริบเอาทรัพยากรของโลกส่วนมากไปไว้ในกำมือ พร้อมทั้งทำลายสิ่งแวดล้อมของโลกอย่างมหาศาล มีความเป็นมาอย่างไร

ผมเริ่มมอง หรือ คิดอะไรจากมุมมองสามมิติ (perspective) มากขึ้น เห็นความเชื่อมโยงของ วิชาประวัติศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์ วิชารัฐศาสตร์ และ วิชาปรัชญา อีกด้วย

ผมกำลังตัดสินใจว่าจะอ่านหนังสือแปลเล่มนี้รอบสอง แต่ก็ขอพักก่อน ผมเกิดสนใจในตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา

ผมเลยเปลี่ยนด้วยการไปดู Youtube และดูวิดีโอ ที่ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ให้สัมภาษณ์หลายตอน ตอนหนึ่งที่มีประโยชน์ และให้ข้อคิดมาก คือ ตอนนี้ใส่ลิงก์ไว้ข้างล่างนี้ เกี่ยวกับหนังสือล่าสุดของเขาที่ชื่อ Civilization เดาว่า คงมีคนกำลังแปลเป็นไทยอยู่แน่ๆ (ผมก็จะรอซื้ออ่านเมื่อมันออกมา) ในคลิป
เขาพูดเรื่อง ทำไมประเทศตะวันตกถึงพัฒนามาในรอบ ๕๐๐ ปีที่ผ่านมา แซงหน้า อาหรับ อินเดีย และ จีน ที่เจริญมาก่อนได้เพราะอะไร เขายังทำนาย แนวโน้มของการเมืองและเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบันและในอนาคต จากมุมมองของเขา ผมว่า ความเห็นเขาน่าฟัง และเป็นไปได้มากทีเดียว

สัมภาษณ์ นีล เฟอร์กูสัน นักประวัติศาสตร์ของ ฮาร์วาด

Monday, May 07, 2012

The real Visak day is in May not June

During my meditation this morning, my mind remembered that 2 days ago was Vesak day, what we call วิสาขบูชา in Thai language. It is on the 15th waxing-moon night, or the full moon night of the sixth lunar calendar, usually in May of the solar calendar. Over 26 centuries ago, Prince Sidhartha was born in 80 B.B.E. , then became enlighten when he was 29 years old, and entered Parinirvana (passed away) when he was 80 years old, on this very important same lunar date but in different years.  So the important date is the waxing full moon night of the 6th lunar calendar. It has been like that since I remember from my childhood.

Makapuja day is on the full moon night of the third lunar month. Asarnhapuja is in the eight lunar month.

There is only one problem for lunar calendar. Every four years, there is one leap year. And in that case, Asarnhapuja day has been moved forwarded one month, into the so called second eight lunar month. (I guess they don't want to call it the ninth month to avoid confusion of having 13 lunar months in leap year.)

But this leap year, as far as I notice is weird. All the Thai calendar move not only Asarnhapuja day, but also Makapuja day, and Visak day, one month forward as well.  I don't know why "they" do it. Nor do I know who "they" are.

Many of the Buddhist monks I revered don 't change their Vesak and Makapuja dates after the schedules in this leap year calendar. They sticked to the traditional 6th lunar month for Vesak and the 3rd month for Makapuja. So I can't help but make a note here in my blog about this.

As far as I am concerned, I will stick to my master monk, who regard the Vesak as in the 6th lunar month, i.e. just 2 days ago. Others can choose next month date as they wish.

Sunday, May 06, 2012

การคิดเป็นระบบ

ผมค้นข้อมูลเกี่ยวกับ การคิดเชิงระบบ หรือ การคิดเป็นระบบ systems thinking แล้วไปเจอ วีดิโอคลิปน่าดู จาก youtube ผมดู ๒ รอบ เลย ดีมาก


Update : ผมไปดูมาอีกเป็นรอบที่ ๓

ในการบรรยายของเขา เขาพูดว่า ตอนนี้สภาพการในโลกมันยุ่งเหยิงไปหมด อย่างเช่นคนที่ต้องรับผิดชอบระดับสูงของชาติ (อเมริกา) ไม่มีความรู้อะไรเพียงพอที่จะเข้าใจสภาพการณ์เลย ไม่ต้องพูดถึงว่าจะไปเข้าควบคุมสถานการณ์ (ดูเหมือน สารขันฑ์ ยังไงไม่รู้แฮะ) และก็ว่า องค์กร ต่างๆ ต้องการ Transformation ไม่ใช่แค่ Reformation และว่า องค์กร ต่างๆ ไม่ทำตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง ตามที่ตั้งไว้ ดูได้จากการกระทำของผู้บริหารองค์กรต่างๆ ส่วนมากเห็นได้ชัดว่า เป็นไปเพื่อ ประโยชน์และคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้บริหารองค์กรมากกว่า เขายกตัวอย่างทั้งบริษัทใหญ่ๆ ระดับโลก และ มหาวิทยาลัย ด้วย

ใครเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย น่าจะไปฟังเขาครับ

จากห้วงเวลา ดูเหมือนว่า หลังจากการบรรยายนี้ไม่นาน เขาก็เสียชีวิตลง น่าเสียดาย
Dr. Russell Ackoff's talk in 2004