วีดิโอน่าดู
HOME
ความยาวกว่า ชั่วโมงครึ่ง ในระบบ ไฮเดฟฟินิชั่น
http://www.youtube.com/watch?v=jqxENMKaeCU
อ่านแล้วทำให้รู้สึกว่าสัตว์จำพวกคน หรือ Homo sapiens นี้เป็นเสมือนมดปลวกที่กำลังกัดกินบ้านตัวเองไปมาก
ปกิณกะ ไทย I posted about interesting items information I found, write my views on books I read, education, science and technology, Buddhism and meditation, economic and business, music, and movies, country and rural development. Articles are in English or Thai.
Friday, June 26, 2009
Friday, June 19, 2009
วีดิโอคลิปน่าสนใจ
รายการของคุณสัญญา สัมภาษณ์ ท่าน ดังตฤณ
หลายๆคนคงไม่ได้ดู รวมถึงผมกำลังดูไป โพสต์ไปเนี่ยแหละ
(หมายเหตุ ผมใช้คำสรรพนามเรียกว่า ท่าน เพราะเคารพในคุณธรรมของท่าน ไม่ได้ใช้ตามแฟชั่นในบล๊อก)
หลายๆคนคงไม่ได้ดู รวมถึงผมกำลังดูไป โพสต์ไปเนี่ยแหละ
(หมายเหตุ ผมใช้คำสรรพนามเรียกว่า ท่าน เพราะเคารพในคุณธรรมของท่าน ไม่ได้ใช้ตามแฟชั่นในบล๊อก)
Tuesday, June 09, 2009
หนี้ประชาชาติของประเทศต่างๆทั่วโลก
จากลิงก์ข้างบน แสดงแผนที่โลก น่าสนใจว่า ประเทศส่วนใหญ่ ไม่มีประเทศไหนไม่เป็นหนี้
ประเทศอุตสาหกรรม เป็นหนี้มาก ข้อยกเว้นคงเป็นอินเดียที่เป็นสีแดงด้วย
ประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ เขาแสดงด้วยสีเทาอ่อน
ผมสงสัยว่า มหาอำนาจเกิดเบี้ยวหนี้ขึ้นมาจะว่าไง
หรือจะมีเหตุอะไร มาทำให้หนี้ทั้งหมดมันสูญไปได้บ้างไหม
ผมจะคอยดู
ประเทศอุตสาหกรรม เป็นหนี้มาก ข้อยกเว้นคงเป็นอินเดียที่เป็นสีแดงด้วย
ประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ เขาแสดงด้วยสีเทาอ่อน
ผมสงสัยว่า มหาอำนาจเกิดเบี้ยวหนี้ขึ้นมาจะว่าไง
หรือจะมีเหตุอะไร มาทำให้หนี้ทั้งหมดมันสูญไปได้บ้างไหม
ผมจะคอยดู
ยูนิกส์อายุ ๔๐ ปี ปีนี้
๔๐ ปีผ่านไป ตั้งแต่ปี ๑๙๖๙ จนปี ๒๐๐๙ ยูนิกส์ก็แข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ จนแขนงหนึ่งของมันกลายมาเป็นพื่นฐานของ โอเอสเท็นในปัจจุบัน และมี Linux เป็น unix lookalike ที่ใช้กันมากในเซอร์ฟเวอร์ใหญ่ๆที่สุดของโลกส่วนใหญ่
สำหรับผมนั้น ผมว่าผมรู้จักมันครั้งแรก ประมาณปี ๑๙๘๗ ตอนนั้นที่บ้านเพื่อนของผมมีคอมพิวเตอร์ระบบยูนิกส์ของเอทีแอนด์ทีที่ยืมมาจากมหาวิทยาลัยมาตั้งไว้ในห้องรับแขก ผมก็เลยไปเล่นมัน ก็คำสั่งมาตราฐาน ง่ายๆ ทำอะไรไม่ได้มาก เพราะตอนนั้นผมไม่ได้ต่อเข้าเน็ตเวอร์คที่ไหน สมัยนั้น โมเด็มต่อโทรศัพท์เข้ามหาวิทยาลัยดูเหมือนจะความเร็วแค่ 100 bps (bits per second) ละมัง พอกลับมาเมืองไทย ในต้นปี 1990s ผมถึงมาใช้โมเด็ม ความเร็ว 300 bps ต่อมาก็เป็น 1200 bps ตัวหนังสือที่ส่งมาที่เทอร์มินัล ส่งมาทีละตัวๆ ช้าๆ ตอนน้ันส่วนมากใช้หลักอยู่สองอย่าง หนี่งคืออ่านข่าว จาก USENET และอีกอย่างก็ส่ง e-mail จำได้ว่า ตอนผมต่อเน็ตไปเข้าเซอร์ฟเวอร์ ก็ต้องใช้คำสั่ง who เช็คว่ามีใครอยู่มั่ง เพราะบางทีถ้ามีปัญหาก็ต้อง ใช้คำสั่ง talk ส่งข้อความไปหาคนอื่นที่ล็อกกินเข้ามาอยู่ด้วย เพื่อถามวิธีแก้ปัญหา
เวลาผ่านไปเร็ว
๒๒ ปีต่อมา ผมก็ยังใช้คำสั่งยูนิกส์หากินอยู่ตอนนี้ แต่ใช้คำสั่งประเภท awk grep sort uniq อะไรพวกนี้แยะ นอกจากนั้นก็ tar zip ssh scp
คนที่นึกเรื่องเก่าๆแสดงว่าแก่แล้ว
แน่นอน เพราะอายุเกินกึ่งศตวรรษไปแล้ว
สำหรับผมนั้น ผมว่าผมรู้จักมันครั้งแรก ประมาณปี ๑๙๘๗ ตอนนั้นที่บ้านเพื่อนของผมมีคอมพิวเตอร์ระบบยูนิกส์ของเอทีแอนด์ทีที่ยืมมาจากมหาวิทยาลัยมาตั้งไว้ในห้องรับแขก ผมก็เลยไปเล่นมัน ก็คำสั่งมาตราฐาน ง่ายๆ ทำอะไรไม่ได้มาก เพราะตอนนั้นผมไม่ได้ต่อเข้าเน็ตเวอร์คที่ไหน สมัยนั้น โมเด็มต่อโทรศัพท์เข้ามหาวิทยาลัยดูเหมือนจะความเร็วแค่ 100 bps (bits per second) ละมัง พอกลับมาเมืองไทย ในต้นปี 1990s ผมถึงมาใช้โมเด็ม ความเร็ว 300 bps ต่อมาก็เป็น 1200 bps ตัวหนังสือที่ส่งมาที่เทอร์มินัล ส่งมาทีละตัวๆ ช้าๆ ตอนน้ันส่วนมากใช้หลักอยู่สองอย่าง หนี่งคืออ่านข่าว จาก USENET และอีกอย่างก็ส่ง e-mail จำได้ว่า ตอนผมต่อเน็ตไปเข้าเซอร์ฟเวอร์ ก็ต้องใช้คำสั่ง who เช็คว่ามีใครอยู่มั่ง เพราะบางทีถ้ามีปัญหาก็ต้อง ใช้คำสั่ง talk ส่งข้อความไปหาคนอื่นที่ล็อกกินเข้ามาอยู่ด้วย เพื่อถามวิธีแก้ปัญหา
เวลาผ่านไปเร็ว
๒๒ ปีต่อมา ผมก็ยังใช้คำสั่งยูนิกส์หากินอยู่ตอนนี้ แต่ใช้คำสั่งประเภท awk grep sort uniq อะไรพวกนี้แยะ นอกจากนั้นก็ tar zip ssh scp
คนที่นึกเรื่องเก่าๆแสดงว่าแก่แล้ว
แน่นอน เพราะอายุเกินกึ่งศตวรรษไปแล้ว
Friday, June 05, 2009
เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยจริงหรือ
ผมคิดว่าคนไทยส่วนมากเห็นว่า เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยจริง ผมก็เห็นด้วยนะ
แต่แหม ประโยคที่พูดกันว่า "เด็กไทยอ่านหนังสือวันหนึ่งแค่คนละ ๗ " บรรทัดนั่น ผมว่ามันก็เกินไปหน่อย เจอบ่อยๆ วันนี้ก็ไปเจอคนพูดประโยคนี้อีก ผมไม่รู้ว่ามีคนไปคำนวณมายังไง เห็นอ้างอิงประโยคนี้กันจัง สงสัยคงไม่รวมหนังสือพิมพ์ กับพวกนิตยสาร แล้วก็คงจะนับเฉพาะหนังสือที่เป็นเล่มๆ นอกหลักสูตรละมัง ไม่งั้นมันก็ต้องเกิน ๗ บรรทัด อยู่แล้ว
และผทเดาเอาว่า คงไม่นับรวมสื่อออนไลน์ ที่มากขึ้นๆ
อนี่ง ผมเองเป็นคนที่ไม่เห็นด้วยกับการอ้างค่าเฉลี่ย เพราะมันเบ้มากๆ (biased) เลยรู้สึกหงุดหงิดกับประโยคดังกล่าว (แต่หงุดหงิด ก็มีสติรู้อยู่)
แต่แหม ประโยคที่พูดกันว่า "เด็กไทยอ่านหนังสือวันหนึ่งแค่คนละ ๗ " บรรทัดนั่น ผมว่ามันก็เกินไปหน่อย เจอบ่อยๆ วันนี้ก็ไปเจอคนพูดประโยคนี้อีก ผมไม่รู้ว่ามีคนไปคำนวณมายังไง เห็นอ้างอิงประโยคนี้กันจัง สงสัยคงไม่รวมหนังสือพิมพ์ กับพวกนิตยสาร แล้วก็คงจะนับเฉพาะหนังสือที่เป็นเล่มๆ นอกหลักสูตรละมัง ไม่งั้นมันก็ต้องเกิน ๗ บรรทัด อยู่แล้ว
และผทเดาเอาว่า คงไม่นับรวมสื่อออนไลน์ ที่มากขึ้นๆ
อนี่ง ผมเองเป็นคนที่ไม่เห็นด้วยกับการอ้างค่าเฉลี่ย เพราะมันเบ้มากๆ (biased) เลยรู้สึกหงุดหงิดกับประโยคดังกล่าว (แต่หงุดหงิด ก็มีสติรู้อยู่)
Subscribe to:
Posts (Atom)